“7–13 สิงหาคม โรม 1–6: ‘ฤทธานุภาพของพระเจ้า เพื่อได้รับความรอด,’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)
“7–13 สิงหาคม โรม 1–6,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2023
7–13 สิงหาคม
โรม 1–6
“ฤทธานุภาพของพระเจ้า เพื่อได้รับความรอด”
อ่าน โรม 1–6 ร่วมกับการสวดอ้อนวอนโดยมีสมาชิกชั้นเรียนของท่านอยู่ในใจ ทั้งนี้เพื่อจะช่วยท่านให้รู้สึกไวต่อการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณเมื่อท่านเตรียมสอน
เชื้อเชิญให้แบ่งปัน
ท่านอาจให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนสองสามนาทีในการค้นคว้า โรม 1–6 เพื่อหาข้อที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงช่วยให้พวกเขาเข้าใจดีขึ้น จากนั้นพวกเขาอาจแบ่งปันข้อนั้นที่พวกเขาเลือกกับเพื่อนที่นั่งใกล้
สอนหลักคำสอน
“ข้าพเจ้าไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ”
-
หลายคนเคยมีประสบการณ์ที่พวกเขาถูกเยาะเย้ยเพราะความเชื่อของตน เพื่อช่วยสมาชิกชั้นเรียนเมื่อพวกเขามีประสบการณ์เช่นนั้น ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้พวกเขาอ่าน โรม 1:16–17 และนึกถึงตัวอย่างจากหนังสือกิจการของอัครทูตที่เปาโลแสดงว่าเขาไม่ละอายในพระกิตติคุณ บางทีสมาชิกชั้นเรียนอาจบอกเหตุผลที่พวกเขารู้สึกไม่ละอายต่อพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ได้เช่นกัน หรือพวกเขาอาจแบ่งปันประสบการณ์ที่พวกเขาหรือคนอื่นแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ละอายในพระกิตติคุณ
การเป็นสานุศิษย์ที่แท้จริงปรากฏอยู่ในคำมั่นสัญญาข้างใน ไม่ใช่แค่การกระทำของเราเท่านั้น
-
เราวัดการเป็นสานุศิษย์ของเราเองอย่างไร? คำแนะนำของเปาโลที่มีต่อชาวโรมันสามารถช่วยให้เราจดจำที่จะจดจ่อที่ “จิตใจ [และ] วิญญาณ” (โรม 2:29) มากกว่าการกระทำภายนอก เพื่อช่วยให้ชั้นเรียนของท่านเข้าใจคำแนะนำของเปาโล ท่านอาจเขียนข้อความจาก โรม 2:28–29 บนกระดาน แทนคำว่า ยิว ด้วยคำว่า วิสุทธิชนยุคสุดท้าย และคำว่า การเข้าสุหนัต ด้วยคำว่า พันธสัญญา การเปลี่ยนคำนี้เพิ่มความเข้าใจของเราเกี่ยวกับคำสอนของเปาโลอย่างไร? ท่านอาจสนทนาตัวอย่างของสิ่งที่เราทำในฐานะสมาชิกศาสนจักรที่มีความหมายและทรงพลังมากขึ้นเมื่อทำให้ “เป็นเรื่องของจิตใจ ตามพระวิญญาณ” (โรมัน 2:29)
“ที่ไหนมีบาปปรากฏมากขึ้น ที่นั้นพระคุณก็จะไพบูลย์ยิ่งขึ้น”
-
ท่านจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจคำสอนของเปาโลเกี่ยวกับศรัทธา การงาน และพระคุณได้อย่างไร? ท่านอาจแบ่งปันเหตุการณ์สมมติสองอย่างต่อไปนี้เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าเราไม่ควรมองว่าความดีของเราเป็นวิธีพิสูจน์ค่าควรของเรา หรือไม่ควรมองว่าพระคุณของพระคริสต์เป็นเหตุผลที่จะแก้ตัวเรื่องความผิดพลาดและบาปของเรา สมาชิกชั้นเรียนอาจค้นหาความจริงใน โรม 3:20–31; 5:1–2; 6:1–2, 21–23 ที่อาจช่วยกลอเรียและจัสตินได้ ความจริงอื่นๆ ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” ที่สามารถช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจความสำคัญของทั้งงานอันชอบธรรมและพระคุณของพระคริสต์มีอะไรบ้าง?
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
ศรัทธา พระคุณ และงาน
เหตุการณ์สมมติ 1
-
เจ. เดฟน์ คอร์นิช, “ฉันดีพอหรือไม่ ฉันจะทำได้ไหม,” เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 32–34
-
ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟสอนว่า “ความรอดไม่สามารถซื้อได้ด้วยสกุลเงินแห่งการเชื่อฟัง แต่ซื้อได้ด้วยพระโลหิตของพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า… พระคุณคือของประทานจากพระผู้เป็นเจ้า และความปรารถนาที่จะเชื่อฟังพระบัญญัติแต่ละข้อของพระผู้เป็นเจ้าคือการเอื้อมมือมรรตัยของเราออกไปรับของประทานศักดิ์สิทธิ์นี้จากพระบิดาบนสวรรค์” (“ของประทานแห่งพระคุณ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 109–110)
เหตุการณ์สมมติ 2
-
ดู ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “ติดสนิทอยู่กับความรักของเรา,” เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 48–51
-
ประธานอุคท์ดอร์ฟสอนว่า “ถ้าพระคุณเป็นของประทานจากพระผู้เป็นเจ้า เหตุใดการเชื่อฟังพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าจึงสำคัญ เหตุใดต้องยุ่งเกี่ยวกับพระบัญญัติ—หรือการกลับใจ… การเชื่อฟังพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าจึงเกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการเติบโตของความรักและการสำนึกคุณอันหาที่สุดมิได้สำหรับพระคุณความดีของพระผู้เป็นเจ้า รูปแบบของรักแท้และการสำนึกคุณเช่นนี้จะผสมผสานงานของเรากับพระคุณของพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างน่าอัศจรรย์” (“ของประทานแห่งพระคุณ,” 109)