พันธสัญญาใหม่ 2023
14–20 สิงหาคม โรม 7–16: “ชนะ​ความ​ชั่ว​ด้วย​ความ​ดี”


“14–20 สิงหาคม โรม 7–16: ‘ชนะ​ความ​ชั่ว​ด้วย​ความ​ดี,’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“14–20 สิงหาคม โรม 7–16,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2023

ซากปรักหักพังของกรุงโรมสมัยโบราณ

14–20 สิงหาคม

โรม 7–16

“ชนะ​ความ​ชั่ว​ด้วย​ความ​ดี”

อ่าน โรม 7–16 และบันทึกความประทับใจที่ท่านได้รับเกี่ยวกับวิธีช่วยสมาชิกชั้นเรียนของท่านเรียนรู้จากพระคัมภีร์ เมื่อท่านไตร่ตรองความประทับใจของท่าน ความประทับใจเหล่านั้นจะนำไปสู่กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหมาย

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ท่านอาจจะอ่าน โรม 10:17 และ 15:4 และขอให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันพระคัมภีร์จาก โรม 7–16 ที่สร้างศรัทธาในพระเยซูคริสต์หรือให้ความหวังแก่พวกเขา

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

โรม 8:14–18

เราสามารถเป็น “ทายาทร่วมกับพระคริสต์” ได้

  • ในฐานะวิสุทธิชนยุคสุดท้าย เราเชื่อว่าวลีเช่น “ทา‌ยาท​ของ​พระ‍เจ้า” และ “​ทา‌ยาท​ร่วม​กับ​พระ‍คริสต์” หมายความว่าด้วยความช่วยเหลือของพระเยซูคริสต์ เราสามารถเป็นเหมือนพระบิดาบนสวรรค์และได้รับทุกสิ่งที่พระองค์ทรงมี (โรม 8:17; ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 132:20–21 ด้วย) เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเห็นว่าหลักคำสอนนี้ได้รับการสอนตลอดทั้งพระคัมภีร์อย่างไร ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้พวกเขาจับคู่หรือแบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ และศึกษาพระคัมภีร์บางข้อที่ระบุไว้ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” จากนั้นสมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้และสนทนาว่าเหตุใดหลักคำสอนนี้จึงสำคัญมาก

  • การเปรียบเทียบที่ให้ไว้โดยประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” จะช่วยสมาชิกชั้นเรียนสนทนาเกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถเตรียมตัวเป็น “ทายาทของพระเจ้า” (โรม 8:17) “กฎและหลักธรรม” บางข้อที่ประธานโอ๊คส์พูดถึงคืออะไร? ชีวิตเราแตกต่างไปอย่างไรเมื่อรู้ว่าเราสามารถเป็น “​ทา‌ยาท​ของ​พระ‍เจ้า และ​เป็น​ทา‌ยาท​ร่วม​กับ​พระ‍คริสต์” ได้? (โรม 8:17)

โรม 8:18, 28, 31–39

“แล้วใครจะให้เราขาดจากความรักของพระคริสต์ได้?”

  • การสนทนา โรม 8 ด้วยกันจะให้โอกาสสมาชิกชั้นเรียนรู้สึกถึงความรักของพระผู้ช่วยให้รอด ท่านอาจให้ดูภาพพระเยซูคริสต์ (ดู โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว) ขณะท่านอ่าน โรม 8:18, 28, 31–39 ในชั้นเรียน ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันความคิดหรือความรู้สึกที่พวกเขามีหลังจากอ่านข้อเหล่านี้ บางคนอาจแบ่งปันว่าตนได้รับประจักษ์พยานเกี่ยวกับความจริงที่พบในข้อเหล่านี้อย่างไร

โรม 13:8–10

พระบัญญัติของพระเจ้าทุกข้อเกิดสัมฤทธิผลในพระบัญญัติให้รัก

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเห็นว่าพระบัญญัติทุกข้อ “ก็รวมอยู่ใน” พระบัญญัติให้รักเพื่อนบ้านของท่าน (โรม 13:9) เชื้อเชิญให้พวกเขาเขียนพระบัญญัติทุกข้อที่พวกเขานึกได้ อ่าน โรม 13:8–10 และ มัทธิว 22:36–40 ด้วยกันและสนทนาเป็นชั้นเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการรักพระผู้เป็นเจ้าและเพื่อนบ้านของเรากับการเชื่อฟังพระบัญญัติแต่ละข้อที่เขียนไว้บนกระดาน ความจริงนี้เปลี่ยนวิธีที่เราคิดเกี่ยวกับพระบัญญัติและการเชื่อฟังอย่างไร? ตัวอย่างเช่น ความจริงนี้บอกอะไรเกี่ยวกับจุดประสงค์ของพระบัญญัติ?

โรม 14

“อย่าให้เรากล่าวโทษกันและกัน”

  • เพื่อให้บริบทบางอย่างแก่ โรม 14 ท่านอาจอธิบายว่าวิสุทธิชนชาวโรมันบางคนทะเลาะกันเกี่ยวกับการปฏิบัติทางวัฒนธรรม เช่น นิสัยการกินและการถือปฏิบัติในวันหยุด มีสถานการณ์ที่คล้ายกันอะไรบ้างที่เราเผชิญในปัจจุบัน? สมาชิกชั้นเรียนอาจจะอ่าน โรม 14 เพื่อหาสาระสำคัญและสรุปคำแนะนำของเปาโลไว้ในประโยคเดียว เราสามารถแบ่งปันคำแนะนำอะไรให้กันเกี่ยวกับวิธีหลีกเลี่ยงการตัดสินผู้อื่น? สมาชิกชั้นเรียนอาจพบแนวคิดในข่าวสารของประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟเรื่อง “ผู้มีใจกรุณาย่อมได้รับพระกรุณา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 70–77

ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

การได้รับ “ทุกสิ่งที่พระบิดามี” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:38)

ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์เล่าอุปมาต่อไปนี้

“บิดาผู้มั่งคั่งรู้ว่าถ้าเขามอบทรัพย์สมบัติให้ลูกที่ยังไม่รู้จักคิดและเป็นผู้ใหญ่พอ มรดกอาจจะถูกผลาญจนหมด บิดาจึงพูดกับลูกคนนี้ว่า

“‘พ่อจะยกทุกอย่างที่พ่อมีให้กับลูก ไม่เพียงทรัพย์สมบัติเท่านั้น แต่เกียรติยศชื่อเสียงที่มีอยู่ในบรรดาผู้คนด้วย สิ่งที่พ่อ มี พ่อยกให้ลูกได้เลย แต่สิ่งที่พ่อ เป็น ลูกต้องทำด้วยตัวของลูกเอง ลูกจะได้มรดกนี้ก็ต่อเมื่อลูกเรียนรู้สิ่งที่พ่อเรียนรู้และดำเนินชีวิตอย่างพ่อ พ่อจะให้กฎและหลักธรรมแก่ลูกซึ่งสิ่งนั้นทำให้พ่อรู้จักคิดและเป็นผู้ใหญ่มาแล้ว จงทำตามตัวอย่างของพ่อ ประพฤติอย่างที่พ่อประพฤติ และลูกจะกลายเป็นอย่างที่พ่อเป็นและทุกสิ่งที่พ่อมีจะเป็นของลูก’” (“การท้าทายเพื่อที่จะเป็น,” เลียโฮนา, ม.ค. 2001, 47)

ปรับปรุงการสอนของเรา

จงหาแหล่งข้อมูลมาสนับสนุนหลักธรรม นอกจากสอนแนวคิดในโครงร่างนี้ ท่านอาจดัดแปลงกิจกรรมจาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว เพื่อใช้ในชั้นเรียนของท่าน (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 17–18 ด้วย)