พันธสัญญาเดิม 2022
31 มกราคม–6 กุมภาพันธ์ ปฐมกาล 6–11; โมเสส 8: “​โน‌อาห์​เป็น​ที่​โปรด‍ปราน​ใน​สาย‍พระ‍เนตร​ของ​พระ‍เจ้า”


“31 มกราคม–6 กุมภาพันธ์ ปฐมกาล 6–11; โมเสส 8: ‘​โน‌อาห์​เป็น​ที่​โปรด‍ปราน​ใน​สาย‍พระ‍เนตร​ของ​พระเจ้า’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“31 มกราคม–6 กุมภาพันธ์ ปฐมกาล 6–11; โมเสส 8” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2022

ภาพ
โนอาห์ ครอบครัวของเขา สัตว์ต่างๆ เรือ และสายรุ้ง

ภาพประกอบของโนอาห์ออกจากเรือ โดย แซม ลอว์เลอร์

31 มกราคม–6 กุมภาพันธ์

ปฐมกาล 6–11; โมเสส 8

“​โน‌อาห์​เป็น​ที่​โปรด‍ปราน​ใน​สาย‍พระ‍เนตร​ของ​พระ‍เจ้า”

โครงร่างนี้เน้นหลักธรรมที่พบใน ปฐมกาล 6–11 และ โมเสส 8 แต่ไม่ใช่หลักธรรมเหล่านี้เท่านั้นที่ท่านอาจจะมุ่งเน้นขณะสอน วางใจในการกระตุ้นเตือนทางวิญญาณที่ท่านได้รับขณะศึกษาพระคัมภีร์

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

อาจขอให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันข่าวสารทางวิญญาณสำหรับสมัยของเราจากเรื่องราวของโนอาห์หรือหอบาเบล กระตุ้นให้พวกเขาแบ่งปันพระคัมภีร์หนึ่งข้อที่สนับสนุนข่าวสารนี้

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

ปฐมกาล 6–8; โมเสส 8

มีความปลอดภัยทางวิญญาณในการทำตามศาสดาพยากรณ์ของพระเจ้า

  • ความชั่วร้ายในสมัยของโนอาห์อาจเตือนเราถึงความชั่วร้ายที่เราเห็นรอบตัวเราในปัจจุบัน ในการช่วยสมาชิกชั้นเรียนให้ได้รับประโยชน์จากบทเรียนในเรื่องราวของโนอาห์ ท่านอาจเขียนไว้บนกระดานว่า คำเตือน และ การสร้างความมั่นใจ สมาชิกชั้นเรียนอาจทบทวน ปฐมกาล 6–8 หรือ โมเสส 8:13–30 และค้นหาบางสิ่งที่พวกเขารู้สึกว่าเป็นคำเตือนที่สำคัญสำหรับสมัยของเราและบางสิ่งที่สร้างความมั่นใจให้พวกเขา (ดู “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” ด้วย) พวกเขาอาจเขียนสิ่งที่พวกเขาพบใต้หัวข้อที่เหมาะสมบนกระดาน เหตุใดเรื่องราวของโนอาห์จึงมีคุณค่าต่อเราในปัจจุบัน?

ปฐมกาล 9:8–17

หมายสำคัญหรือสัญลักษณ์ช่วยให้เราจดจำพันธสัญญาของเรากับพระเจ้า

  • โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว เสนอแนะให้อ่าน ปฐมกาล 9:8–17 และไตร่ตรองว่าสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย (หมายสำคัญ) ทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนใจถึงพันธสัญญาของเราอย่างไร ในการช่วยสมาชิกชั้นเรียนให้แบ่งปันความคิดของพวกเขา ท่านอาจนำสิ่งของที่เตือนให้นึกถึงสิ่งสำคัญมาชั้นเรียน—เช่น แหวนแต่งงาน ธงประจำชาติ หรือป้ายชื่อผู้สอนศาสนา—และเปรียบเทียบสิ่งเหล่านี้กับ “หมายสำคัญ” ของสายรุ้ง งานแปลของโจเซฟ สมิธ, ปฐมกาล 9:21–25 (ในคู่มือพระคัมภีร์) สอนอะไรเราเกี่ยวกับหมายสำคัญนี้? พระผู้เป็นเจ้าทรงใช้หมายสำคัญหรือสัญลักษณ์เพื่อช่วยให้เราจดจำพันธสัญญาของเราอย่างไร?

ปฐมกาล 11:1–9

ทางเดียวที่จะไปสวรรค์คือการติดตามพระเยซูคริสต์

  • เรื่องราวเกี่ยวกับผู้คนแห่งบาเบลที่สร้างหอสูงมีความแตกต่างที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับเรื่องราวของเอโนคและผู้คนของเขาที่สร้างไซอัน ซึ่งสมาชิกชั้นเรียนศึกษาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้คนทั้งสองกลุ่มพยายามที่จะไปสวรรค์แต่ใช้วิธีต่างกัน ท่านอาจเชื้อเชิญสมาชิกชั้นเรียนให้เขียนทุกสิ่งที่พวกเขาจดจำได้เกี่ยวกับผู้คนแห่งไซอันบนกระดาน (ดู โมเสส 7:18–19, 53, 62–63, 69) และสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จาก ปฐมกาล 11:1–9 และ ฮีลามัน 6:26–28 เกี่ยวกับผู้คนแห่งบาเบล พวกเขาพบความแตกต่างอะไรบ้าง? สิ่งนี้สอนอะไรเราเกี่ยวกับความพยายามที่เราจะกลับไปที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า?

    ภาพ
    หอบาเบล

    ภาพประกอบหอบาเบล โดย เดวิด กรีน

  • เมืองบาเบลโบราณไม่อยู่แล้ว แต่ความจองหองและความฝักใฝ่ทางโลกที่เป็นสัญลักษณ์ยังคงอยู่ ในการช่วยสมาชิกชั้นเรียนให้ประยุกต์ใช้บทเรียนจากหอบาเบลกับชีวิตของพวกเขา ให้เริ่มจากการเชื้อเชิญให้พวกเขาทบทวน ปฐมกาล 11:1–9 จากนั้นท่านอาจแจกกระดาษแผ่นเล็กและเชื้อเชิญสมาชิกชั้นเรียนให้เขียนสิ่งที่ผู้คนทำแล้วดึงพวกเขาให้ออกจากพระผู้เป็นเจ้า จากนั้นบนกระดาษแผ่นเล็กแผ่นอื่นๆ พวกเขาอาจเขียนสิ่งที่ผู้คนทำแล้วดึงพวกเขาให้เข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น เยาวชนอาจเพลิดเพลินกับการเรียงกระดาษกลุ่มแรกไว้บนกระดานเป็นรูปทรงหอคอยและกลุ่มที่สองเป็นรูปทรงพระวิหาร พระผู้เป็นเจ้าทรงจัดเตรียมอะไรไว้ช่วยให้เรา “เทียมฟ้า” (ไปสู่สวรรค์)? (ปฐมกาล 11:4; ดู ยอห์น 3:16 ด้วย) ท่านอาจร้องเพลงสวดที่เกี่ยวกับหัวข้อนี้ เช่น “เข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้า” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 45)

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

บทเรียนจากโนอาห์

ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์กล่าวว่า

“การไม่ยอมรับเอาคำแนะนำของศาสดาพยากรณ์จะบั่นทอนพลังของเราที่จะรับเอาคำแนะนำแห่งการดลใจในอนาคต เวลาที่ดีที่สุดในการตัดสินใจช่วยโนอาห์สร้างเรือก็คือเวลาที่โนอาห์ขอร้องเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นแล้วการขอร้องในแต่ละครั้งผู้ที่ไม่ยอมตอบรับก็จะมีความรู้สึกต่อพระวิญญาณช้าลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นเมื่อยิ่งมีการขอร้อง ก็ยิ่งดูโง่เขลาเบาปัญญาขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อฝนตกลงมา ทุกสิ่งทุกอย่างก็สายเกินแก้

“ในชีวิตข้าพเจ้า ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าชักช้าที่จะทำตามคำแนะนำจากการดลใจหรือคิดว่าตนเองมีข้อยกเว้น ข้าพเจ้าทราบทันทีว่าข้าพเจ้ากำลังตกอยู่ในอันตราย ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าฟังคำแนะนำของศาสดาพยากรณ์และได้รับการยืนยันถึงสิ่งนั้นจากการสวดอ้อนวอน และทำตาม ข้าพเจ้าก็จะพบว่าตนเองกำลังมุ่งไปสู่ความปลอดภัย” (“ค้นพบความปลอดภัยในคำแนะนำ,” เลียโฮนา, ก.ค. 1997, 29)

เหตุใดพระผู้เป็นเจ้าจึงทรงส่งอุทกภัยมา?

บางคนสงสัยเกี่ยวกับความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้าที่ส่งอุทกภัยมาเพื่อ “ทำลายมนุษย์” (ปฐมกาล 6:7) เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์อธิบายว่าขณะที่เกิดมหาอุทกภัย “ความเสื่อมมาถึงจุดที่ทำลายสิทธิ์เสรีจนไม่สามารถส่งวิญญาณมาที่นี่ได้อย่างยุติธรรม” (We Will Prove Them Herewith [1982], 58)

ปรับปรุงการสอนของเรา

ให้เวลากับการไตร่ตรอง คำถามที่ดีต้องการการไตร่ตรอง การค้นคว้า และการดลใจ ให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนสองสามนาทีเพื่อไตร่ตรองคำถามก่อนถามหาคำตอบ (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 31–34)

พิมพ์