พันธสัญญาเดิม 2022
24–30 มกราคม โมเสส 7: “พระเจ้าทรงเรียกผู้คนของพระองค์ว่าไซอัน”


“24–30 มกราคม โมเสส 7: ‘พระเจ้าทรงเรียกผู้คนของพระองค์ว่าไซอัน’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“24–30 มกราคม โมเสส 7” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2022

ภาพ
หลายคนมีปฏิสัมพันธ์ด้วยความรัก

รักกันและกัน โดย เอมมา โดนัลด์สัน เทย์เลอร์

24–30 มกราคม

โมเสส 7

“พระเจ้าทรงเรียกผู้คนของพระองค์ว่าไซอัน”

ขณะที่ท่านศึกษา โมเสส 7 ให้นึกถึงคนที่ท่านสอนและวิธีที่ท่านจะสามารถช่วยให้พวกเขาเข้าใจสิ่งที่บทนี้สอนเกี่ยวกับไซอันและหลักธรรมพระกิตติคุณอื่นๆ

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

บางครั้งคำถามง่ายๆ และการไตร่ตรองสองสามนาทีเพียงพอที่จะช่วยให้ผู้คนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ที่บ้าน ท่านอาจจะให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนสักเล็กน้อยเพื่อทบทวน โมเสส 7 ค้นหาข้อที่ทำให้พวกเขารู้สึกสำนึกคุณสำหรับความจริงที่ได้รับการฟื้นฟูในหนังสือของโมเสส และจากนั้นแบ่งปัน

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

โมเสส 7:16–21, 27, 53, 62–69

เราสามารถสร้างไซอันในสมัยของเรา

  • วิธีที่ดีที่สุดในการแนะนำแนวคิดของไซอันในชั้นเรียนคืออะไร? แนวคิดหนึ่งคือติดต่อสมาชิกชั้นเรียนระหว่างสัปดาห์ก่อนชั้นเรียนและเชื้อเชิญพวกเขาให้นำสิ่งของมาจากบ้านที่พวกเขาคิดว่าเป็นตัวแทนลักษณะสำคัญของผู้คนแห่งไซอัน ดังที่บรรยายไว้ใน โมเสส 7:18 ขณะที่ท่านสนทนาข้อนี้ร่วมกัน สมาชิกชั้นเรียนอาจอธิบายความสำคัญของสิ่งของที่พวกเขานำมา

    ภาพ
    ผู้คนทักทายกัน

    เราควรพยายาม “มีจิตใจเดียวและความคิดเดียว” (โมเสส 7:18)

  • วีดิทัศน์เรื่อง “We Come Together and Unite as One” (ChurchofJesusChrist.org) อาจช่วยให้ท่านเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถ “มีจิตใจเดียวและความคิดเดียว” (โมเสส 7:18) ในวอร์ดและครอบครัวของเรา อาจขอให้สมาชิกชั้นเรียนนึกถึงเวลาที่พวกเขาเคยรู้สึกถึงความเป็นหนึ่งเดียวภายในครอบครัวหรือขณะที่รับใช้ในโบสถ์หรือชุนชนกับคนอื่นๆ ผู้คนทำอะไรเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวในสถานการณ์เหล่านี้? เราสามารถเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับไซอันและความเป็นหนึ่งเดียวจาก โมเสส 7? (ดู ข้อ 16–21, 27, 53, 62–69 เป็นพิเศษ) นี่คือข้อพระคัมภีร์อื่นๆ ที่อาจช่วย: ฟีลิปปี 2:1–4; 4 นีไฟ 1:15–18; หลักคำสอนและพันธสัญญา 97:21; 105:5

โมเสส 7:28–44

พระผู้เป็นเจ้าทรงร่ำไห้ให้บุตรธิดาของพระองค์

  • บางคนอาจมองว่าพระผู้เป็นเจ้าประทับอยู่ห่างไกล ทรงเข้าถึงยากและไม่แม้แต่จะทรงใส่ใจ ท่านจะใช้นิมิตของเอโนคเพื่อช่วยให้ชั้นเรียนเข้าใจว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเกี่ยวข้องกับชีวิตของพวกเราและทรงดูแลเราอย่างไร? ท่านอาจเชื้อเชิญสมาชิกชั้นเรียนให้อ่าน โมเสส 7:28–44 และเขียนเหตุผลบางประการที่พระผู้เป็นเจ้าทรงร่ำไห้ ข้อเหล่านี้สอนอะไรเกี่ยวกับความรู้สึกที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมีต่อบุตรธิดาของพระองค์? ข้อความใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” จะช่วยสนับสนุนการสนทนานี้ได้

  • โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว เสนอแนะให้ไตร่ตรองว่า โมเสส 7:28–31, 35 สอนอะไรเกี่ยวพระผู้เป็นเจ้า ผู้คนที่ทำสิ่งนี้ที่บ้านอาจเต็มใจแบ่งปันความคิดของพวกเขากับชั้นเรียน หรือท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองข้อเหล่านี้และสนทนากันในชั้นเรียน

โมเสส 7:59–67

พระเจ้าจะเสด็จมาอีกครั้งในวันเวลาสุดท้าย

  • ท่านจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนค้นพบสิ่งที่ โมเสส 7:59–67 สอนเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สองของพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร? ท่านอาจจะเขียนความจริงหรือเหตุการณ์สองหรือสามอย่างจากข้อเหล่านี้บนกระดานและขอให้สมาชิกชั้นเรียนค้นคว้าข้อดังกล่าวและเพิ่มลงในรายการ เหตุใดการมีบันทึกนิมิตของเอโนค—หนึ่งในคำพยากรณ์สมัยแรกๆ เกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สองจึงเป็นพร?

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

พระผู้เป็นเจ้าทรงร่ำไห้ให้บุตรธิดาของพระองค์

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์สอนว่า

“ท่ามกลางนิมิตอันยิ่งใหญ่ของมวลมนุษย์ซึ่งสวรรค์เปิดต่อสายตาเอโนค โดยที่เห็นทั้งพรและการท้าทายของมนุษย์ ท่านหันไปมองพระบิดาและตื่นตะลึงเมื่อเห็นพระองค์ทรงกันแสง ท่านทูลพระองค์ผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุดในจักรวาลด้วยความอัศจรรย์ใจและพิศวงว่า ‘เป็นอย่างไรเล่าที่พระองค์จะทรงกันแสงได้’ …

“พระผู้เป็นเจ้าทอดพระเนตรเหตุการณ์ในเกือบทุกยุคสมัยพลางตรัสตอบว่า ‘จงดูพี่น้องพวกนี้ของเจ้า เขาเป็นฝีมือของมือเราเอง … เราให้ … บัญญัติ [ข้อหนึ่ง] แก่เขาว่าเขาจะรักกัน และว่าเขาจะเลือกเรา พระบิดาของเขา แต่ดูเถิด พวกเขาปราศจากความรัก และเขาเกลียดเลือดของเขาเอง … ดังนั้นท้องฟ้าจะไม่ร้องไห้โดยเห็นพวกนี้จะรับทุกขเวทนาหรือ’ [โมเสส 7:29–33, 37]

“ภาพน่าสะเทือนใจดังกล่าวสอนพระลักษณะแท้จริงของพระผู้เป็นเจ้าเกินกว่าบทความใดๆ ทางศาสนาจะถ่ายทอดได้ … นี่เป็นภาพที่ไม่อาจลบล้างได้ถึงความเกี่ยวพันของพระผู้เป็นเจ้าในชีวิตเรา! เป็นความเจ็บปวดสาหัสของพระบิดาพระมารดาเมื่อลูกๆ ไม่เลือกทั้งพระองค์หรือ ‘ข่าวประเสริฐของพระเจ้า’ ที่พระองค์ทรงส่งมา! [โรม 1:1] ง่ายเพียงใดที่จะรักพระองค์ ผู้ทรงรักเรายิ่งสิ่งใด!” (“ความยิ่งใหญ่ของพระผู้เป็นเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2003, 84)

ปรับปรุงการสอนของเรา

กระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนศึกษาพระคัมภีร์ที่บ้าน วิธีหนึ่งที่ท่านจะกระตุ้นให้ศึกษาพระคัมภีร์ที่บ้านคือให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่ค้นพบและข้อคิดจากการศึกษาส่วนตัวและกับครอบครัวของพวกเขา (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 29)

พิมพ์