พันธสัญญาเดิม 2022
14–20 พฤศจิกายน อาโมส; โอบาดีห์: “จงแสวงหาพระยาห์เวห์และดำรงชีวิตอยู่”


“14–20 พฤศจิกายน อาโมส; โอบาดีห์: ‘จงแสวงหาพระยาห์เวห์และดำรงชีวิตอยู่,’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“14–20 พฤศจิกายน อาโมส; โอบาดีห์” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2022

ภาพ
เทียนในห้องมืดทำให้พระพักตร์ของพระเยซูสว่าง

อาหารแห่งชีวิต, โดย คริส ยังก์

14–20 พฤศจิกายน

อาโมส; โอบาดีห์

“จงแสวงหาพระยาห์เวห์และดำรงชีวิตอยู่”

ขณะที่ท่านศึกษาอาโมสและโอบาดีห์ ให้เปิดใจรับความประทับใจเรื่องสิ่งที่ท่านควรสอนแก่สมาชิกชั้นเรียน บันทึกความคิดเหล่านี้ แล้วหาโอกาสแบ่งปันกับชั้นเรียนวันอาทิตย์ของท่าน

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เช่นเดียวกับที่อาโมสและโอบาดีห์เตือนผู้คนในยุคของท่าน ถ้อยคำเหล่านั้นเตือนเราในยุคปัจจุบันด้วย ท่านอาจเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันคำสอนจากอาโมสและโอบาดีห์ที่ประยุกต์ใช้กับเราได้

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

อาโมส 3:7–8; 7:10–15

พระเจ้าทรงเปิดเผยความจริงผ่านศาสดาพยากรณ์ของพระองค์

  • เชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันความจริงเกี่ยวกับศาสดาพยากรณ์ที่พบในการศึกษา อาโมส 3 และ อาโมส 7 เป็นส่วนตัวหรือเป็นครอบครัว ท่านอาจเขียนคำตอบของพวกเขาเป็นข้อๆ บนกระดาน เรารู้ความจริงอะไรอีกบ้างเกี่ยวกับศาสดาพยากรณ์? (ดูแนวคิดบางอย่างใน Gospel Topics article “Prophets” [topics.ChurchofJesusChrist.org]) กระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนจำนวนหนึ่งแบ่งปันว่าพวกเขาได้รับประจักษ์พยานเกี่ยวกับบทบาทสำคัญของศาสดาพยากรณ์ในแผนของพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร

  • เราจะแบ่งปันกับเพื่อนอย่างไรถึงเหตุผลที่การมีศาสดาพยากรณ์ในยุคของเราเป็นสิ่งสำคัญ? บนกระดาน ท่านอาจเขียนรายการคำถามเกี่ยวกับศาสดาพยากรณ์ที่ผู้ไม่เป็นสมาชิกศาสนจักรอาจถาม เราอาจใช้ อาโมส 3:7–8 และ 7:10–15 ตอบคำถามเหล่านี้บางข้อได้อย่างไร?

  • โดยเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนาเกี่ยวกับศาสดาพยากรณ์, ท่านอาจแบ่งปันวีดิทัศน์ต่อไปนี้หนึ่งเรื่อง: “We Need Living Prophets” หรือ “Words of the Prophets” (ChurchofJesusChrist.org) ศาสดาพยากรณ์ยุคสุดท้ายช่วยให้เราใกล้ชิดพระเยซูคริสต์มากขึ้นอย่างไร?

อาโมส 5; 8:11–12

การละทิ้งความเชื่อเปรียบเสมือนความกันดารการได้ยินพระวจนะของพระเจ้า

  • เพื่อเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับความกันดารอาหารที่อาโมสอธิบายไว้ใน อาโมส 8:11–12 ท่านอาจพบว่ามีประโยชน์ที่จะทบทวนโดยย่อ ถึงภาวะทางวิญญาณของผู้คนที่อาโมสกำลังสั่งสอน ชาวอิสราเอลหันไปจากพระเจ้าได้อย่างไร? (ดูตัวอย่างใน อาโมส 2:6–8; 5:11–12) เหตุใดจึงมีประโยชน์ที่จะรู้เกี่ยวกับการตกของพวกเขา? จากนั้นสมาชิกชั้นเรียนอาจจะอ่าน อาโมส 8:11–12 แล้วพูดคุยกันว่าทำไม “ความกันดาร” และ “ความกระหาย” จึงเป็นคำเหมาะสมที่จะบรรยายภาวะของผู้คนที่หันไปจากพระเจ้า นอกจากนี้ สมาชิกชั้นเรียนอาจค้นคว้า อาโมส 5 เพื่อหาข้อที่สามารถช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการละทิ้งความเชื่อในชีวิต (ดูตัวอย่างใน ข้อ 4, 11–12, 14–15, 25–26)

  • การเข้าใจความหิวโหยทางวิญญาณที่มาพร้อมกับการละทิ้งความเชื่อช่วยให้เราเข้าใจงานเลี้ยงทางวิญญาณที่เราชื่นชมอันเนื่องมาจากการฟื้นฟู บนกระดาน ท่านอาจเขียนคำถามสองสามข้อเกี่ยวกับการละทิ้งความเชื่อและการฟื้นฟู เช่น เหตุใดจึงมีการละทิ้งความเชื่อ? การละทิ้งความเชื่อส่งผลอะไรต่อบุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้า? การฟื้นฟูส่งผลอะไร? กระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนหาคำตอบของคำถามเหล่านี้และคำถามอื่นๆ โดยใช้แหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้: “ข่าวสารการฟื้นฟูพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์” ในบทที่ 3 ของ สั่งสอนกิตติคุณของเรา ([2019], 36–39); the Gospel Topics article “Apostasy” (topics.ChurchofJesusChrist.org); วีดิทัศน์ “The Great Apostasy” (ChurchofJesusChrist.org); และข้อความที่ยกมาใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” เชิญให้สมาชิกชั้นเรียนพูดคุยเกี่ยวกับความจริงที่ได้รับการฟื้นฟูในยุคของเราซึ่งมีความหมายต่อพวกเขาเป็นพิเศษ

ภาพ
กลุ่มเยาวชนยืนอยู่หน้าพระวิหาร

เราสามารถเป็นผู้ช่วยให้รอดบนเขาไซอันโดยทำงานพระวิหารและประวัติครอบครัว

โอบาดีห์ 1:21

“พวกกู้ชาติจะขึ้นไปที่ภูเขาศิโยน”

  • ทำไมวลี “พวกกู้ชาติ [ผู้ช่วยให้รอด] … ที่ภูเขาศิโยน” (โอบาดีห์ 1:21) จึงเป็นคำอธิบายที่เหมาะสมกับเราเมื่อเราทำงานพระวิหารและประวัติครอบครัว? งานที่เราทำเพื่อบรรพชนของเราในพระวิหารช่วยให้เรารู้สึกเข้าใกล้พระผู้ช่วยให้รอด พระเยซูคริสต์มากขึ้นอย่างไร? สมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้ทำงานพระวิหารและประวัติครอบครัวเมื่อไม่นานมานี้

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

บทเรียนจากอดีต

ประธานเอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ดสอนว่า

“ในช่วงเวลาค่อนข้างสั้นครอบคลุมพันธสัญญาใหม่ … ผู้คนหันมาต่อต้านพระคริสต์และอัครสาวก ความเสื่อมถอยใหญ่หลวงถึงขนาดที่เรารู้ว่าเป็นการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่ซึ่งนำไปสู่ความชะงักงันและความเขลาทางวิญญาณนานหลายศตวรรษที่เรียกว่ายุคมืด

“…พระบิดาบนสวรรค์ทรงรักบุตรธิดาทุกคนของพระองค์ และทรงต้องการให้ทุกคนมีพรของพระกิตติคุณในชีวิต แสงสว่างทางวิญญาณไม่ได้หายไปเพราะพระผู้เป็นเจ้าทรงหันพระปฤษฎางค์ให้บุตรธิดาของพระองค์ แต่ความมืดทางวิญญาณเกิดจากการที่บุตรธิดาของพระองค์หันหลังให้พระองค์ นี่เป็นผลพวงจากการเลือกผิดของบุคคล ชุมชน ประเทศชาติ และอารยธรรมทั้งปวง ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดเวลาที่ผ่านมา บทเรียนสำคัญบทหนึ่งของรูปแบบทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวคือ การเลือกของเราทั้งโดยส่วนตัวและโดยรวมส่งผลทางวิญญาณต่อตัวเราเองและลูกหลานของเรา” (“เรียนบทเรียนจากอดีต,” เลียโฮนา, พ.ค. 2009,32)

ปรับปรุงการสอนของเรา

ช่วยให้ผู้เรียนตระหนักถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ “ตามการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ให้ถามผู้เรียนว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรและพวกเขารู้สึกว่าต้องทำอะไร ช่วยพวกเขาเชื่อมโยงความรู้สึกทางวิญญาณของพวกเขากับอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 11)

พิมพ์