พันธสัญญาเดิม 2022
5–11 ธันวาคม ฮักกัย; เศคาริยาห์ 1–3; 7–14: “บริสุทธิ์แด่พระยาห์เวห์”


“5–11 ธันวาคม ฮักกัย; เศคาริยาห์ 1–3; 7–14: ‘บริสุทธิ์แด่พระยาห์เวห์’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“5–11 ธันวาคม ฮักกัย; เศคาริยาห์ 1–3; 7–14,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2022

ภาพ
พระวิหารลาอีเอ ฮาวาย

พระวิหารลาอีเอ ฮาวาย

5–11 ธันวาคม

ฮักกัย; เศคาริยาห์ 1–3; 7–14

“บริสุทธิ์​แด่​พระ‍ยาห์‌เวห์”

ขณะที่ท่านศึกษา ฮักกัยและเศคาริยาห์ ให้ไตร่ตรองว่าท่านจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนพบความหมายในคำพยากรณ์เหล่านี้ได้อย่างไร

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

สมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันข้อพระคัมภีร์จากฮักกัยและเศคาริยาห์ที่พวกเขาไตร่ตรองหรือสนทนากับผู้อื่นในสัปดาห์นี้และสนทนาว่าข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ช่วยให้พวกเขาเข้าใกล้พระเจ้ามากขึ้นได้อย่างไร

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

ฮักกัย 1; 2:1–9

“จงพิจารณาความเป็นอยู่ของพวกเจ้า”

  • คำแนะนำใน ฮักกัย 1 จะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนนึกถึงลำดับความสำคัญของเขาได้ ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาอ่าน ฮักกัย 1:1–7 และระบุวิธีที่ผู้คนในเยรูซาเล็มล้มเหลวที่จะจัดลำดับความสำคัญให้สิ่งที่พระเจ้าทรงประสงค์ให้พวกเขาทำ อะไรคือสิ่งที่พระเจ้าทรงขอให้เราจัดลำดับความสำคัญระดับสูงในชีวิตเรา? อะไรสามารถทำให้เราเขวจากการจดจ่ออยู่กับพระบิดาบนสวรรค์และพระผู้ช่วยให้รอดรวมทั้งลำดับความสำคัญของทั้งสองพระองค์? สมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันประสบการณ์ที่เคยช่วยให้พวกเขา“พิจารณาความเป็นอยู่ [ของตน]” และการจัดลำดับความสำคัญ

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนนึกถึงวิธีที่พวกเขาจะจดจ่อมากขึ้นกับการจัดลำดับความสำคัญของพระเจ้า ท่านอาจขอให้พวกเขาทบทวน ฮักกัย 2:1–9 พระเจ้าประทานคำแนะนำอะไรที่จะช่วยให้เราทำงานของพระองค์ได้? สมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันวิธีที่พวกเขาสามารถวางลำดับความสำคัญของพระเจ้าไว้ในลำดับแรกในชีวิตขณะต้องจัดการกับหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญอื่นๆ ของตนอีกมากมาย ฮักกัย 2:1–9 สอนอะไรเกี่ยวกับวิธีที่พระเจ้าทรงอวยพรเราเมื่อเราให้พระองค์เป็นอันดับแรกในชีวิตเรา? (ดู “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” ด้วย) ให้เวลาสมาชิกจดสิ่งที่พวกเขารู้สึกได้รับการดลใจให้ทำเพราะการสนทนานี้

เศคาริยาห์ 1–3; 7–8;14

พระเจ้าทรงทำให้เราบริสุทธิ์ได้

  • เพื่อเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ ท่านอาจอ่าน เศคาริยาห์ 14:20–21 ด้วยกัน สมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันว่าวลี “บริสุทธิ์แด่พระยาห์เวห์” มีความหมายอย่างไรต่อพวกเขา จะมีอิทธิพลอย่างไรต่อผู้คนบ้างถ้าพวกเขาเห็นวลี “บริสุทธิ์แด่พระยาห์เวห์” สลักไว้บนวัตถุที่เห็นอยู่ทุกวัน? วลีนี้ส่งผลต่อเราอย่างไรเมื่อเราเห็นอยู่ที่พระวิหารในปัจจุบัน? จากนั้นสมาชิกชั้นเรียนอาจจะอ่าน เศคาริยาห์ 1:1–6; 3:1–7; 7:8–10; 8:16–17 แล้วสนทนาถึงสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของคำว่าบริสุทธิ์ เหตุใดความบริสุทธิ์ส่วนตัวของเราจึงสำคัญต่อพระเจ้า? พระองค์ทรงช่วยให้เราบริสุทธิ์ได้อย่างไร?

  • สมาชิกชั้นเรียนอาจทบทวน เศคาริยาห์ 2:10–11; 8:1–8; 14:9–11, 20–21 แล้วแบ่งปันความประทับใจของตนว่าการอยู่กับพระผู้ช่วยให้รอดในสถานะแห่งความบริสุทธิ์นั้นจะเปรียบได้กับอะไร พระเจ้าทรงเตรียมเราอย่างไรเพื่อให้อยู่ในสภาวะที่เศคาริยาห์บรรยาย? เราจะเข้าถึงเดชานุภาพของพระองค์ที่จะช่วยให้เราบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นได้อย่างไร?

ภาพ
การเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างผู้พิชิต

“นี่แน่ะ กษัตริย์ของเธอเสด็จมาหาเธอ ทรงความยุติธรรมและความรอด พระองค์ทรงอ่อนสุภาพและทรงลา” (เศคาริยาห์ 9:9) เสด็จเข้ากรุงอย่างผู้พิชิต, โดย แฮรีย์ แอนเดอร์สัน

เศคาริยาห์ 9:9–11; 11:12–13; 12:10; 13:6–7

พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ที่สัญญาไว้

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเห็นการเชื่อมโยงระหว่างถ้อยคำของเศคาริยาห์กับพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอด ดังที่ผู้คนในสมัยพระเยซูเห็น ท่านอาจแบ่งชั้นเรียนออกเป็นสองกลุ่ม ให้ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้หนึ่งข้อแก่สมาชิกชั้นเรียนในกลุ่มแรก: เศคาริยาห์ 9:9–11; 11:12–13; 12:10; 13:6–7 ให้ข้อความเหล่านี้หนึ่งข้อแก่สมาชิกชั้นเรียนในกลุ่มที่สอง: มัทธิว 21:1–11; 26:14–16; 26:31; ยอห์น 19:37 สมาชิกชั้นเรียนแต่ละคนอาจลองหาคนที่อยู่อีกกลุ่มที่มีข้อความพระคัมภีร์ตรงกับของตน เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดจากข้อพระคัมภีร์เหล่านี้?

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรอง เศคาริยาห์ 9:9–11 ท่านอาจแสดงภาพพระผู้ช่วยให้รอดเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างผู้พิชิต (ดู โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว) หรือฉายวีดิทัศน์ “The Lord’s Triumphal Entry into Jerusalem” (ChurchofJesusChrist.org) สมาชิกชั้นเรียนอาจสนทนาว่าการอยู่ท่ามกลางผู้คนที่กำลังต้อนรับพระเยซูเข้ากรุงนั้นจะมีความรู้สึกอย่างไร เราจะต้อนรับพระองค์เข้ามาสู่ชีวิตของเรา บ้านของเรา และชุมชนของเราได้อย่างไร?

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

“จงพิจารณาความเป็นอยู่ของพวกเจ้า”

หลังจากยกข้อความใน ฮักกัย 1:4–7 เอ็ลเดอร์เทอเรนซ์ เอ็ม. วินสันสอนว่า

“เราจะรู้สึกถึงปีติอันยั่งยืนเมื่อพระผู้ช่วยให้รอดและพระกิตติคุณของพระองค์กลายเป็นโครงสร้างของชีวิตเรา แต่ง่ายมากที่โครงสร้างนั้นจะกลายเป็นเรื่องทางโลกแทน ในขณะที่พระกิตติคุณกลายเป็นทางเลือกเสริมหรือเป็นเพียงการไปโบสถ์วันอาทิตย์สองชั่วโมง เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เท่ากับเราใส่ค่าจ้างไว้ใน ‘ถุงที่มีรูรั่ว’

“ฮักกัยกำลังบอกให้เรามุ่งมั่น …

“ไม่มีทรัพย์สมบัติใด งานอดิเรกใด สถานะใด สื่อสังคมใด วิดีโอเกมใด กีฬาใด การคบหาใดๆ กับคนมีชื่อเสียง หรือสิ่งใดบนโลกนี้มีค่ามากกว่าชีวิตนิรันดร์ ดังนั้นพระดำรัสแนะนำของพระเจ้าสำหรับทุกคนคือ ‘จงพิจารณาดูความเป็นอยู่ของพวกเจ้า’” (“สานุศิษย์ที่แท้จริงของพระผู้ช่วยให้รอด,” เลียโฮนา, พ.ย. 2019, 9,11)

ปรับปรุงการสอนของเรา

ฟัง การฟังเป็นการแสดงออกของความรัก วิธีหนึ่งที่จะฟังได้อย่างมีประสิทธิผลคือการมองผู้ที่กำลังพูดอยู่ วิธีนี้ช่วยให้ท่านสังเกตเห็นการสื่อสารอื่นๆ ที่ไม่ได้มาจากคำพูดด้วย (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 34)

พิมพ์