คลังค้นคว้า
การกลับใจ


“การกลับใจ” หัวข้อและคําถาม (2023)

เด็กผู้หญิงมองออกไปนอกหน้าต่าง

แนวทางศึกษาพระกิตติคุณ

การกลับใจ

เติบโตและปรับปรุงผ่านความรักและพระเมตตาของพระเยซูคริสต์

พระบิดาบนสวรรค์ทรงรักเรา พระองค์ทรงต้องการให้เรากลับไปหาพระองค์ยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด แต่บาปและความไม่ดีพร้อมของเราแยกเราจากพระผู้เป็นเจ้า สิ่งเหล่านี้ขัดขวางเราไม่ให้กลับไปอยู่ในที่ประทับของพระองค์และจากการเป็นเหมือนพระองค์ แต่ยังมีความหวัง เพราะพระบิดาในสวรรค์ทรงรักเรามาก พระองค์จึงทรงส่งพระบุตรของพระองค์พระเยซูคริสต์มาช่วยให้เรารอด พระคริสต์เต็มพระทัยรับเอาบาปและความไม่ดีพร้อมของเราไว้กับพระองค์เพื่อเราจะได้รับการให้อภัย เติบโตต่อไป และกลับไปอยู่กับพระบิดาในสวรรค์ของเราในที่สุด ของประทานอันยิ่งใหญ่นี้เรียกว่าการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ เราเริ่มได้รับพรแห่งการชดใช้ของพระคริสต์เมื่อเราใช้ศรัทธาในพระองค์และกลับใจจากบาป

การกลับใจคืออะไร?

การกลับใจคือการเปลี่ยนแปลงความคิดและจิตใจ—การหันหลังให้บาปและการกลับไปหาพระผู้เป็นเจ้า การกลับใจเกิดขึ้นเมื่อเราประสบความเสียใจแบบพระเจ้าเพราะทําบาป (ดู 2 โครินธ์ 7:9–11) เมื่อเรากลับใจ เรายอมรับอย่างจริงใจถึงความผิดและบาปของเรา เราทําสิ่งที่ทําได้เพื่อแก้ไข เราพยายามทําการเปลี่ยนแปลงที่จําเป็นทั้งหมดที่เราทําได้ และเราพึ่งพาเดชานุภาพของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างนอบน้อมเพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราทําไม่ได้ การกลับใจอย่างจริงใจเกิดขึ้นได้เมื่อเราใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์และในพระปรีชาสามารถของพระองค์ในการทำให้เราสะอาด

ภาพรวมหัวข้อ: การกลับใจ

แนวทางศึกษาพระกิตติคุณที่เกี่ยวข้อง: Faith in Jesus Christ, Atonement of Jesus Christ, Sacrament, Obedience

หมวดที่ 1

ได้รับการชําระล้างผ่านการกลับใจ: “เป็นไปได้อย่างไรหรือ?”

ผู้ชายสวดอ้อนวอน

ในพระคัมภีร์มอรมอน ศาสดาพยากรณ์อีนัสบรรยายถึง “การต่อสู้ซึ่ง [เขา] ผจญมาต่อพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้า” ขณะแสวงหาการให้อภัยบาป ในที่สุดเมื่อ “ความผิด [ของเขา] ถูกลบล้างไป” เขาถามบางอย่างที่บางทีท่านอาจสงสัยว่า: “ข้าแต่พระเจ้า, นี่เป็นไปได้อย่างไรหรือ?” อ่านประสบการณ์ของเขาใน อีนัส 1:1–8 อีนัสเปลี่ยนไปอย่างไร? ท่านเรียนรู้อะไรจากวิธีที่เขาอธิบายการกลับใจของเขา?

แน่นอนว่าวิธีเดียวที่จะเข้าใจการกลับใจอย่างถ่องแท้คือการประสบกับเรื่องนั้น ขณะท่านกลับใจและรู้สึกถึงสันติสุขและปีติของการให้อภัย ท่านอาจเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ของท่าน ท่านอาจรู้สึกถึงการดลใจให้แบ่งปันกับสมาชิกครอบครัวหรือเพื่อน

สิ่งที่ควรคำนึงถึง

  • เราจะเข้าถึงอำนาจแห่งการชำระล้างให้สะอาดของพระผู้ช่วยให้รอดในชีวิตเราได้อย่างไร? ท่านสามารถหาคําตอบของคําถามนี้ในข่าวสารของประธานดัลลิน เอช.โอ๊คส์เรื่อง “การกลับใจทำให้สะอาด ให้นึกถึงคําสอนโดยเฉพาะที่พบในหมวดแรกที่ชื่อว่า “การกลับใจ” ไตร่ตรองสิ่งที่พระเจ้าทรงต้องการให้ท่านทําเพื่อรับการให้อภัยบาปของท่าน

    • สํารวจสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดตรัสเกี่ยวกับการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้เพื่อเราใน 3 นีไฟ 9:13–14 และ หลักคําสอนและพันธสัญญา 19:16–19 พระเจ้าอาจมีข่าวสารอะไรบ้างสำหรับท่าน โดยเฉพาะในพระวจนะของพระองค์?

    • สังเกตคําและวลีที่อธิบายการให้อภัยใน เยเรมีย์ 33:6–9; แอลมา 5:21 คําและวลีเหล่านี้บอกอะไรท่านเกี่ยวกับการกลับใจและการให้อภัยบาป?

กิจกรรมสําหรับการเรียนรู้กับผู้อื่น

  • ศาสดาพยากรณ์อิสยาห์พูดถึงการล้างและชําระให้สะอาดเมื่อท่านสอนเรื่องการกลับใจ ท่านอาจจะอ่าน อิสยาห์ 1:16–18 เป็นครอบครัวขณะทําความสะอาดบางอย่างด้วยกัน เช่น เสื้อผ้าหรือจานชาม อะไรทําให้สิ่งเหล่านี้สะอาดได้? อะไรทําให้เราสามารถสะอาดทางวิญญาณ—หรือสะอาดจากบาปของเรา (ดู 3 นีไฟ 27:19–20)

    ท่านอาจจะเปรียบเทียบความรู้สึกที่ได้รับการชําระให้สะอาดทางกายกับความรู้สึกที่ได้รับการอภัยบาปของเรา

เรียนรู้เพิ่มเติม

หมวดที่ 2

การกลับใจหมายถึงการเปลี่ยนแปลง—และมีไว้สําหรับทุกคน

ผู้หญิงมองออกนอกหน้าต่าง

พระคัมภีร์ให้ตัวอย่างมากมายของผู้ที่ดูเหมือนไม่น่าจะเป็นผู้ที่จะเปลี่ยนแปลงแต่กลับใจและเป็นคนชอบธรรมโดยผ่านเดชานุภาพของพระเยซูคริสต์ อัครสาวกเปาโล ชาวเลมันจํานวนมาก และแอลมาผู้บุตรล้วนประสบกับการเปลี่ยนแปลงในใจอันน่าทึ่ง พวกเขาหันหลังให้บาปและหันไปหาพระผู้ช่วยให้รอด โดยยอมให้พระองค์ทรงเปลี่ยนชีวิตพวกเขา บางครั้งการเปลี่ยนแปลงนี้ดูเหมือนจะเกิดขึ้นโดยฉับพลัน แต่บ่อยครั้งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็เป็นปาฏิหาริย์ที่พระเยซูคริสต์ทรงมอบให้ทุกคนที่กลับใจ และเป็นปาฏิหาริย์ที่เราทุกคนต้องการ “เพราะว่าทุกคนทำบาป และเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า” (โรม 3:23)

สิ่งที่ควรคำนึงถึง

  • ศึกษาตัวอย่างการกลับใจใน กิจการของอัครทูต 22:3–21 (เกี่ยวกับเปาโล) แอลมา 24:6–19 (เกี่ยวกับชาวเลมันกลุ่มหนึ่ง); และ แอลมา 36 (เกี่ยวกับแอลมาผู้บุตร) คนเหล่านี้ทำอะไรเพื่อกลับใจ? เหตุใดการอ่านประสบการณ์ของพวกเขาจึงมีค่า? ไตร่ตรองและบันทึกสิ่งที่ท่านเรียนรู้

  • ท่านรู้สึกได้รับแรงบันดาลใจให้เปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในชีวิตท่านเอง? ขณะที่ท่านไตร่ตรองเรื่องนี้ ให้ศึกษา ยากอบ 4:17; โมไซยาห์ 4:29–30; แอลมา 5:26; และข่าวสารของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันเรื่อง “เราสามารถทำได้ดีขึ้นและเป็นคนดีขึ้น ท่านรู้สึกอย่างไรที่พระเจ้าทรงต้องการให้ท่านปรับปรุงและเติบโต?

กิจกรรมสําหรับการเรียนรู้กับผู้อื่น

  • โลกเต็มไปด้วยแบบอย่างของการเปลี่ยนแปลงอันน่าประทับใจ—เมล็ดเล็กๆ ที่กลายเป็นต้นไม้ใหญ่ ตัวอ่อนที่กลายเป็นผีเสื้อ ไข่ที่กลายเป็นนกอินทรี ท่านหรือครอบครัวอาจสํารวจตัวอย่างเหล่านี้บางส่วนและอ่าน 2 โครินธ์ 5:17 สิ่งนี้อาจนำไปสู่การสนทนาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ผ่านทางพระเยซูคริสต์

  • เด็กเล็กอาจจะชอบเรียนรู้เกี่ยวกับการกลับใจจากเรื่องราวในพระคัมภีร์มอรมอน เช่นจากตัวอย่างใน “บทที่ 18: แอลมาผู้บุตรกลับใจ และ “บทที่ 26: ผู้คนของแอมัน พระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยให้คนเหล่านี้เปลี่ยนแปลงอย่างไร?

  • ท่านอาจจะจดคุณลักษณะบางอย่างของพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์เป็นข้อๆ ได้เช่นกัน (เพลงสวด “เพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้ฉัน กล่าวถึงหลายข้อ) เราจะเปลี่ยนให้เป็นเหมือนทั้งสองพระองค์มากขึ้นในทางใดได้บ้าง? ทั้งสองพระองค์ทรงช่วยให้เราทำเช่นนั้นได้อย่างไร?

เรียนรู้เพิ่มเติม

หมวดที่ 3

การกลับใจเป็นความปีติยินดี

ชายหนุ่มกำลังยิ้ม

เพราะการเปลี่ยนแปลงอาจเป็นเรื่องยาก บางครั้งเราจึงอาจรู้สึกกลัวการกลับใจ บางทีเราคิดว่าการกลับใจเป็นเรื่องน่าเศร้า น่าหดหู่ หรือยากลําบากจนไม่น่าเชื่อ แต่แผนของพระบิดาบนสวรรค์เป็นแผนแห่งความสุข โดยผ่านการกลับใจ เราจะมีเมตตา มีความรัก อดทน อ่อนน้อมถ่อมตน และมีปีติมากขึ้น

บาปนำมาซึ่งความเศร้าหมอง—การกลับใจเป็นวิธีที่เราหลีกหนีจากความเศร้าหมองนั้น

สิ่งที่ควรคำนึงถึง

กิจกรรมสําหรับการเรียนรู้กับผู้อื่น

  • ท่านอาจรับชมวีดิทัศน์เหล่านี้หนึ่งเรื่องหรือทั้งสองเรื่องกับผู้อื่นเพื่อเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับปีติของการกลับใจ: “The Shiny Bicycle” (3:04) และ “The Goal: A Story of Faith, Friendship, and Forgiveness” (7:27) ขณะที่ท่านดูวีดิทัศน์ ให้มองหา (1) สิ่งที่ทําให้บุคคลในวีดิทัศน์เศร้าและ (2) สิ่งที่ทําให้บุคคลนั้นมีความสุข ท่านอาจมองหาสิ่งเหล่านี้ในอุปมาใน ลูกา 15

  • หรือท่านอาจพูดถึงเวลาที่ใครบางคนหายจากความเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บและเปรียบเทียบประสบการณ์นั้นกับการกลับใจ อ่าน 3 นีไฟ 9:13–14 และพูดถึงปีติที่เรารู้สึกเมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทรงรักษาเราทางวิญญาณขณะที่เรากลับใจ เราจะพูดอะไรเพื่อช่วยเหลือคนที่รู้สึกกลัวที่จะกลับใจ?

เรียนรู้เพิ่มเติม