เซมินารี
ฮีบรู 12


ฮีบรู 12

“องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงตีสอนผู้ที่พระองค์ทรงรัก”

ครอบครัวหนุ่มสาวในนิวซีแลนด์เล่นและหัวเราะกับลูกๆ นอกบ้าน พวกเขากําลังเล่นบาสเกตบอล อุ้มลูกๆ หัวเราะ และดูลูกชายตัวเล็กขี่จักรยานสามล้อ

ครั้งสุดท้ายที่ท่านถูกใครบางคนตีสอนหรือแก้ไขคือเมื่อใด? ท่านตอบสนองอย่างไร? ท่านเคยรู้สึกสำนึกคุณต่อการแก้ไขที่ได้รับหรือไม่? เปาโลเขียนถึงวิสุทธิชนชาวฮีบรูและอธิบายให้พวกเขาฟังว่าพระบิดาบนสวรรค์ของเรามักจะทรงแสดงความรักของพระองค์ผ่านการแก้ไขเรา บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเรียนรู้ว่าการอ่อนน้อมยอมตามการแก้ไขจากพระบิดาบนสวรรค์สามารถช่วยให้ท่านมีสันติและเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้นได้อย่างไร

การแข่งขันของชีวิต

นักวิ่ง
ทางวิ่งหรือลู่วิ่งที่มีทิวทัศน์สวยงาม

ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ให้จดด้านต่างๆ ที่ชีวิตมรรตัยของท่านรู้สึกเหมือนเป็นการแข่งวิ่งระยะไกล ตัวอย่างเช่น ท่านจะตอบคำถามต่อไปนี้:

  • อะไรกำลังทำให้ท่านรู้สึกเหนื่อยหรือหมดแรง?

  • ท่านกำลังทำด้านใดได้ดีบ้างในการแข่งขัน และด้านใดท่านจะทำให้ดีขึ้น?

  • จุดหมายที่ท่านกำลังจะวิ่งไปถึงคืออะไร? เหตุใดท่านจึงปรารถนาจะวิ่งไปให้ถึงจุดหมายนั้น?

  • เหตุใดท่านจึงต้องการความช่วยเหลือเพื่อให้จบการแข่งขันของชีวิต?

“วิ่งด้วยความอดทน”

อัครสาวกเปาโลเปรียบเทียบชีวิตเรากับการแข่งขัน อ่าน ฮีบรู 12:1–2 เพื่อดูสิ่งที่เปาโลสอนเกี่ยวกับวิธีวิ่งแข่งในชีวิตให้สำเร็จ โปรดทราบว่า “พยานมากมาย” ที่กล่าวไว้ใน ข้อ 1 หมายถึงตัวอย่างศรัทธาที่บันทึกไว้ใน ฮีบรู 11

  • ท่านประทับใจอะไรในข้อเหล่านี้?

  • การทำตามคำแนะนำของเปาโลจะช่วยให้เราวิ่งแข่งในชีวิตสำเร็จอย่างไร?

เปาโลกล่าวไว้ใน ข้อ 2 ว่า พระผู้ช่วยให้รอดทรงอดทนต่อความท้าทายของการตรึงกางเขนโดยทรงจดจ่อกับ “ความยินดีที่อยู่ต่อหน้าพระองค์” (ฮีบรู 12:2) ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันอธิบายว่า:

17:1

ปีติและการอยู่รอดทางวิญญาณ

ประธานเนลสันสอนว่าเราสามารถมีปีติไม่ว่าจะอยู่ท่ามกลางสภาวการณ์ใดหากเราจับตามองที่พระเยซูคริสต์และแผนแห่งความรอด

ภาพครึ่งตัวอย่างเป็นทางการของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน ถ่ายเมื่อเดือนมกราคม ปี 2018

ปีติที่อยู่ต่อหน้าพระองค์คืออะไร? แน่นอนว่าปีตินั้นรวมถึงปีติของการชำระให้สะอาด การรักษา และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เรา ปีติของการจ่ายค่าบาปของทุกคนที่จะกลับใจ ปีติของการทำให้ท่านและข้าพเจ้าได้กลับบ้าน—สะอาดและมีค่าควร—ไปอยู่กับพระบิดาพระมารดาและครอบครัวบนสวรรค์ของเรา

(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ปีติและการอยู่รอดทางวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 83)

  • การจดจ่อของพระผู้ช่วยให้รอดในระหว่างการตรึงกางเขนของพระองค์สอนอะไรท่านเกี่ยวกับความรู้สึกของพระองค์ต่อท่าน?

  • การรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์เช่นนี้จะช่วยให้ท่านประสบปีติแม้ในช่วงเวลายากๆ ได้อย่างไร?

  • ท่านสามารถจดจ่อกับปีติอะไรได้บ้างในช่วงเวลายากๆ ในชีวิตท่าน?

การอดทนต่อการตีสอนจากพระเจ้า

นึกถึงเวลาที่มีคนแก้ไขท่านและปฏิกิริยาของท่านต่อการแก้ไขนั้น

  • คนแก้ไขท่านด้วยเหตุผลอะไรบ้าง?

  • เหตุใดบางครั้งท่านไม่อยากให้คนอื่นแก้ไขท่าน?

  • ท่านเคยรู้สึกสำนึกคุณต่อการแก้ไขบางอย่างที่ท่านได้รับเมื่อใด? เพราะเหตุใด?

อ่าน ฮีบรู 12:5–7, 9–11 เพื่อดูสิ่งที่เปาโลสอนเกี่ยวกับการตีสอนหรือการแก้ไข

ไอคอนผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน (น้ำเงิน) ภาพหนังสือที่เปิดอยู่ ฮีบรู 12:9 เป็นข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน ท่านอาจทำเครื่องหมายข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนให้ชัดเจนเพื่อจะหาเจอได้ง่าย ท่านจะเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนนี้ในบทเรียนถัดไป

  • ข้อเหล่านี้สอนอะไรเกี่ยวกับจุดประสงค์ของพระบิดาบนสวรรค์ในการตีสอนเรา?

ทบทวน ฮีบรู 12:10–11 อีกครั้ง เพื่อดูว่าท่านจะเติมความจริงต่อไปนี้ให้สมบูรณ์ได้อย่างไร:

  • ถ้าเรายอมให้พระบิดาบนสวรรค์ตีสอน …

นี่คือวิธีหนึ่งที่ท่านสามารถเติมความจริงนี้ให้สมบูรณ์: ถ้าเรายอมให้พระบิดาบนสวรรค์ตีสอน เราจะเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้นและมีสันติสุขที่มาจากความชอบธรรม

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้ข้อคิดต่อไปนี้เกี่ยวกับการตีสอนที่เราได้รับจากพระเจ้า:

ภาพครึ่งตัวของเอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน ถ่ายเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2020

การตีสอนจากพระเจ้ามีจุดประสงค์อย่างน้อยสามประการ คือ (1) ชักชวนให้เรากลับใจ (2) ขัดเกลาและชำระเราให้บริสุทธิ์ และ (3) บางครั้งเพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตเราไปในทางที่พระผู้เป็นเจ้าทรงทราบว่าดีกว่า …

… หากเราเปิดใจยอมรับ การแก้ไขที่จำเป็นจะมาในหลายรูปแบบจากหลายแหล่ง อาจจะมาในวิถีทางของการสวดอ้อนวอนเมื่อพระผู้เป็นเจ้าตรัสกับความคิดและจิตใจเราผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์ [ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 8:2] อาจมาในรูปแบบของการสวดอ้อนวอนที่ได้รับคำตอบว่าไม่หรือแตกต่างจากที่เราคาดหวังไว้ การตีสอนอาจเกิดขึ้นขณะศึกษาพระคัมภีร์และได้รับการเตือนให้รู้ถึงข้อบกพร่อง การไม่เชื่อฟัง หรือเพียงแต่บอกเรื่องที่เราละเลย

(ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “เรารักผู้ใดเราก็ตักเตือนและตีสอนผู้นั้น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2011, 122–126)

  • จากคำกล่าวของเอ็ลเดอร์คริสทอฟเฟอร์สัน มีวิธีใดบ้างที่พระบิดาบนสวรรค์จะทรงตีสอนหรือแก้ไขเรา?

หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ให้ดูเรื่อง “The Will of God” (3:01) เพื่อดูว่าประธานฮิวจ์ บี. บราวน์ (1883–1975) แห่งฝ่ายประธานสูงสุดได้รับการตีสอนจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร วีดิทัศน์เรื่องนี้อยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org

2:57

พระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า

พระผู้เป็นเจ้าทรงใช้การแก้ไขอันเกิดจากความรักเพื่อนำทางเราไปสู่อนาคตที่เรามองไม่เห็นหรือตอนนี้นึกภาพไม่ออกแต่พระองค์ทรงทราบว่าเป็นทางที่ดีกว่าสำหรับเรา

  • ท่านมีความคิดหรือความรู้สึกอะไรบ้างขณะดูวีดิทัศน์เรื่องนี้ที่จะช่วยท่านในชีวิตได้?

  • การยอมให้พระบิดาบนสวรรค์ตีสอนจะทำให้เกิดสันติสุขและช่วยให้ท่านเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้นได้อย่างไร?

  • ท่านเคยมีประสบการณ์ใดซึ่งการตีสอนของพระบิดาบนสวรรค์ช่วยให้ท่านพบสันติสุขและเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้น?

  • ประสบการณ์นี้มีผลต่อความรู้สึกของท่านต่อพระองค์อย่างไร?

เขียนบนกระดาษด้วยปากกาหรือดินสอ 1. เขียนดังต่อไปนี้สามถึงห้าประโยคลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

ใคร่ครวญสิ่งที่ท่านเรียนรู้และรู้สึกวันนี้ที่สามารถช่วยท่านได้ในชีวิต บันทึกความคิดและความประทับใจของท่าน รวมถึงสิ่งที่ท่านวางแผนจะทำตามที่ท่านเรียนรู้และรู้สึก

เลือกได้: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือไม่?

จะทำอย่างไรถ้าฉันรู้สึกว่าฉันตามหลังผู้อื่นในการแข่งขันของชีวิต?

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่า:

ภาพครึ่งตัวอย่างเป็นทางการของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ ถ่ายเมื่อเดือนมกราคมปี 2018

เราไม่ได้แข่งกันเพื่อดูว่าใครร่ำรวยที่สุด หรือมีพรสวรรค์มากที่สุด หรือสวยที่สุด หรือแม้กระทั่งได้รับพรมากที่สุด การแข่งขัน จริงๆ ของเราคือแข่งกับบาป

(ดู เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “คนงานในสวนองุ่น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 31)

การตีสอนของพระบิดาบนสวรรค์แสดงให้เห็นความรักของพระองค์ต่อเราอย่างไร?

เอ็ลเดอร์ทาเนียลา บี. วาโคโลแห่งสาวกเจ็ดสิบอธิบายตัวอย่างจากชีวิตท่านเองและชีวิตของโจเซฟ สมิธที่แสดงให้เห็นความรักของพระผู้เป็นเจ้าในการตีสอน

ดูตัวอย่างเหล่านี้จาก “God Loves His Children” ตั้งแต่รหัสเวลา 5:23 ถึง 8:04

8:40

พระผู้เป็นเจ้าทรงรักลูกๆ ของพระองค์

เอ็ลเดอร์วาโคโลเป็นพยานถึงความรักของพระผู้เป็นเจ้าและอธิบายวิธีที่พระองค์ทรงแสดงความรักนั้นต่อลูกๆ ของพระองค์

พระคัมภีร์ยืนยันจุดประสงค์มากมายสำหรับการตีสอนของพระเจ้า ใน ฮีบรู 12:10 เปาโลสอนว่าพระเจ้าทรงแก้ไขเรา “เพื่อประโยชน์ของเรา เพื่อเราจะมีส่วนในความบริสุทธิ์ของพระองค์” การแก้ไขของพระองค์ “ก่อให้เกิดผลคือสันติสุขและความชอบธรรม แก่บรรดาคนที่ถูกฝึกฝนโดยการตีสอนนั้น” (ฮีบรู 12:11) การแก้ไขของพระเจ้าอาจมีหลายรูปแบบ และจะช่วยสอนแต่ละคนรวมทั้งให้การแก้ไขที่จำเป็นด้วย การตีสอนช่วยให้ผู้คนระลึกถึงพระเจ้า กลับใจ ได้รับการให้อภัยและการปลดปล่อย เรียนรู้การเชื่อฟัง และได้รับการขัดเกลาดั่งทองคำ (ดู ฮีลามัน 12:3; หลักคำสอนและพันธสัญญา 1:27; 95:1; 105:6; โยบ 23:10)

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวถึงการตีสอนของพระเจ้าดังนี้:

ภาพครึ่งตัวของเอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน ถ่ายเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2020

การแก้ไขสำคัญอย่างยิ่งหากเราจะปรับชีวิตให้สอดคล้องกับการ “บรรลุถึงความเป็นผู้ใหญ่ [นั่นคือ] โตเต็มถึงขนาดความบริบูรณ์ของพระคริสต์” (เอเฟซัส 4:13) เปาโลพูดถึงการแก้ไขหรือการตีสอนจากเบื้องบนว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงตีสอนผู้ที่พระองค์ทรงรัก” (ฮีบรู 12:6) แม้บ่อยครั้งเราจะอดทนต่อการตีสอนได้ยาก แต่เราควรชื่นชมยินดีอย่างยิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงถือว่าเรามีค่าคุ้มกับเวลาและความยุ่งยากที่พระองค์จะทรงแก้ไขเรา

(ดู ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “เรารักผู้ใดเราก็ตักเตือนและตีสอนผู้นั้น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2011, 122–126)