เซมินารี
1 ยอห์น 1–5


1 ยอห์น 1–5

“พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นความรัก”

A Hispanic man gives the Savior, Jesus Christ, a hug. Christ is wearing a white robe.

ความรักมีอิทธิพลต่อชีวิตท่านอย่างไร? เพราะเหตุใดเราทุกคนล้วนจำเป็นต้องรู้สึกถึงความรัก โดยเฉพาะความรักของพระผู้เป็นเจ้า? อัครสาวกยอห์นเขียนสาส์นถึงเหล่าวิสุทธิชนที่ถูกชี้นำไปในทางที่ผิดโดยคำสอนเท็จ เขามุ่งเน้นไปที่ความรักที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมีต่อวิสุทธิชนทั้งหลาย และวิธีที่ความรักนี้ปรากฏออกมาผ่านพันธกิจช่วยให้รอดของพระเยซูคริสต์ บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้ท่านรู้สึกว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงรักท่าน

การเน้นย้ำการศึกษาพระกิตติคุณที่มีบ้านเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้พระกิตติคุณเป็นกิจกรรมที่มีบ้านเป็นศูนย์กลาง มองหาโอกาสที่จะส่งเสริมให้นักเรียนแบ่งปันกับชั้นเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ตนกำลังเรียนรู้ที่บ้าน และส่งเสริมให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่ตนเรียนรู้และประสบในเซมินารีกับครอบครัวของตนด้วย

การเตรียมของนักเรียน: เชิญนักเรียนให้เตรียมมาแบ่งปันวิธีต่างๆ ที่นักเรียนสามารถเติมคำต่อไปนี้ให้สมบูรณ์ได้อย่างถูกต้อง: “พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็น…”

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็น …

แสดงวลี “พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็น…” แล้วเชิญให้นักเรียนใคร่ครวญถึงการเตรียมตัวสำหรับชั้นเรียนของตน ขณะนักเรียนระบุวิธีการต่างๆ ในการเติมข้อความนี้ให้สมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นักเรียนสามารถทำงานเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ และสามารถเขียนวิธีที่นักเรียนจะเติมประโยคให้สมบูรณ์บนกระดาน ขออาสาสมัครสองสามคนมาแบ่งปันถึงเหตุผลที่ตนเติมประโยคเช่นนั้น

ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ให้เขียนวลี “พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็น…” แล้วเขียนวิธีเติมประโยคนี้ให้สมบูรณ์อย่างถูกต้องมากที่สุดเท่าที่ท่านจะคิดได้ ตัวอย่างเช่น ท่านสามารถเขียน “พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้รอบรู้” หรือ “พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้เปี่ยมด้วยเดชานุภาพ”

อ่าน 1 ยอห์น 4:8, 16 แล้วมองหาวิธีที่ยอห์นอธิบายถึงพระผู้เป็นเจ้า

  • ท่านค้นพบอะไรบ้าง?

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่าสามารถอธิบายว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นความรัก?

หนึ่งในพระคุณลักษณะที่นิยามพระผู้เป็นเจ้าคือความรักของพระองค์ที่ทรงมีต่อเรา ตรึกตรองคำถามต่อไปนี้:

  • ท่านรู้สึกหรือไม่ว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงรักท่านเป็นการส่วนตัว? เพราะเหตุใดจึงรู้สึกหรือไม่รู้สึก?

  • ท่านเชื่อหรือไม่ว่าพระองค์ทรงรูัจักท่าน รวมทั้งความสำเร็จและการต่อสู้ดิ้นรนส่วนตัวของท่าน? เพราะเหตุใดจึงเชื่อหรือไม่เชื่อ?

  • มีวิธีใดบ้างที่พระองค์เคยแสดงให้เห็นหรืออาจแสดงให้เห็นถึงความรักของพระองค์ที่มีต่อท่าน?

เมื่อท่านศึกษาสาส์นของยอห์น ให้มองหาความจริงที่อาจช่วยให้ท่านตอบคำถามเหล่านี้ได้ นอกจากนั้นให้ไตร่ตรองว่าการทำความเข้าใจและการรู้สึกถึงความรักที่พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงมีต่อท่านสร้างความแตกต่างในชีวิตของท่านอย่างไร

ท่านอาจเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงหรือสรุปย่อหน้าต่อไปนี้

คำสอนของยอห์นเกี่ยวกับความรักของพระผู้เป็นเจ้า

ยอห์นน่าจะเขียนสาส์นของเขาระหว่าง ค.ศ. 80 ถึง ค.ศ. 100 จากเอเฟซัส สมาชิกศาสนจักรบางคนรับความเชื่อมาจากกลุ่มคนที่เรียกว่านอสติก กลุ่มนี้สอนว่าพระเยซูทรงไม่มีร่างกายและความรอดเกิดขึ้นได้ผ่านความรู้พิเศษแทนที่จะผ่านศรัทธาในพระคริสต์ ยอห์นปฏิเสธคำสอนอันเป็นเท็จเหล่านี้ด้วยการสอนสาระสำคัญต่างๆ รวมถึงการที่พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงสำแดงความรักอันดีพร้อมของพระองค์ผ่านพระชนม์ชีพ การชดใช้ และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอด (ดู 1 ยอห์น 1:1–3 ; 3:16 ; 4:9–10).

วาดรูปหัวใจขนาดใหญ่บนกระดาน เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมการศึกษาต่อไปนี้และวาดหัวใจในสมุดบันทึกการศึกษาของตนเสร็จแล้ว สามารถให้นักเรียนมาที่กระดานและเขียนถ้อยคำและวลีที่นักเรียนชื่นชอบลงบนหัวใจของชั้นเรียนได้

อ่าน 1 ยอห์น 4:19 จากนั้นทำเครื่องหมายว่าเหตุใดเราจึงรักพระผู้เป็นเจ้าตามที่ยอห์นกล่าว

ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ให้วาดหัวใจขนาดใหญ่ ตรงกลางหัวใจให้เขียนว่า “ฉันรู้ว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงรักฉันเพราะ …” แล้วเว้นพื้นที่ให้เพียงพอสำหรับการเขียนข้ออ้างอิงพระคัมภีร์และวลี ไตร่ตรองว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ “ทรงรักเราก่อน” อย่างไร

อ่านข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้ มองหาและทำเครื่องหมายตรงวลีที่แสดงให้เห็นถึงความรักที่พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงมีต่อท่าน เขียนวลีเหล่านั้นพร้อมกับข้ออ้างอิงพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องไว้ในหัวใจ

อย่าลืมแสดงข้ออ้างอิงพระคัมภีร์ต่อไปนี้ในที่ที่นักเรียนสามารถมองเห็นได้

1 ยอห์น 2:1–2 &#160

1 ยอห์น 3:5, 16, 22

1 ยอห์น 4:9–10, 13–19

1 ยอห์น 5:12–15, 20

ทบทวนวลีและข้ออ้างอิงที่ท่านทำเครื่องหมายและจดไว้ เลือกวลีที่มีความหมายต่อท่านมากที่สุดและทำสองถึงสามข้อต่อไปนี้ให้เสร็จ:

แสดงคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อให้นักเรียนมองเห็นขณะนักเรียนทำกิจกรรมให้เสร็จสมบูรณ์

ให้ยกตัวอย่างสำหรับนักเรียนเกี่ยวกับวิธีทำส่วนต่อไปนี้ของรายการบันทึกประจำวันให้เสร็จสมบูรณ์

  1. อธิบายว่าวลีที่ท่านเลือกมีความหมายต่อท่านอย่างไร

  2. หากเป็นไปได้ ให้อธิบายถึงประสบการณ์ที่ท่านรู้สึกถึงความรักของพระบิดาบนสวรรค์หรือพระเยซูคริสต์ที่เป็นเช่นนั้น นอกจากนี้ท่านยังสามารถแบ่งปันตัวอย่างจากพระคัมภีร์ วีดิทัศน์ของศาสนจักร หรือคำปราศรัยการประชุมใหญ่สามัญ (เพื่อเป็นตัวอย่าง ท่านอาจรับชมคำปราศรัยของเอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเรื่อง “เพื่อเราจะดึงมนุษย์ทั้งปวงมาหาเรา” ตั้งแต่รหัสเวลา 7:32 ถึง 9:14)

13:39

//media.ldscdn.org/webvtt/general-conference/april-2016-general-conference/2016-04-1070-dale-g-renlund-eng.vtt

อธิบายว่าการทราบความจริงของวลีนี้เคยทำให้เกิด กำลังทำให้เกิด หรือสามารถทำให้เกิดความแตกต่างในชีวิตของท่านได้อย่างไร ท่านอาจเพิ่มประจักษ์พยานส่วนตัวของท่านเกี่ยวกับความรักของพระผู้เป็นเจ้า

ให้เวลานักเรียนอย่างเพียงพอเพื่อทำรายการบันทึกการศึกษาให้เสร็จ เชิญอาสาสมัครหลายๆ คนมาแบ่งปันสิ่งที่ตนเขียนกับชั้นเรียน

ท่านอาจเชื้อเชิญนักเรียนที่สามารถแชร์รูปภาพหน้าในสมุดบันทึกของตนบนสื่อสังคมออนไลน์ พร้อมด้วยประจักษ์พยานส่วนตัวเกี่ยวกับความรักของพระผู้เป็นเจ้า

แบ่งปันรายการบันทึกนี้กับเพื่อนและครอบครัวหรือแม้แต่บนสื่อสังคมออนไลน์

ไตร่ตรองสิ่งที่ท่านเรียนรู้เมื่อท่านอ่านข้อความต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์ โรเบิร์ต ซี. เกย์แห่งสาวกเจ็ดสิบเกี่ยวกับพลังแห่งความรักของพระผู้เป็นเจ้า:

Former Official Portrait of Elder Robert C. Gay. Photographed in March 2017. Replaced February 2021.

ความรักของพระองค์ยิ่งใหญ่กว่าความกลัว บาดแผล การเสพติด ความสงสัย การล่อลวง บาป ครอบครัวแตกแยก ความหดหู่และความวิตกกังวล ความเจ็บป่วยเรื้อรัง ความยากไร้ การกระทำทารุณกรรม ความสิ้นหวัง และความเหงาของเรา พระองค์ทรงต้องการให้ทุกคนรู้ว่าไม่มีสิ่งใดและไม่มีใครที่พระองค์ทรงรักษาและมอบปีติที่ยั่งยืนให้ไม่ได้

(โรเบิร์ต ซี. เกย์, “การรับพระนามของพระเยซูคริสต์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 99)

  • อะไรสำคัญต่อท่านมากที่สุดในคำกล่าวนี้? เพราะเหตุใด?

การรู้สึกถึงความรักของพระผู้เป็นเจ้า

ลองจินตนาการดูว่ามีใครสักคนหนึ่งที่ท่านรู้จักไม่ได้คิดว่าตนรู้สึกถึงความรักของพระผู้เป็นเจ้า หรือไม่ได้สังเกตเห็นบ่อยนัก คิดถึงสิ่งที่ท่านได้เรียนรู้ในวันนี้รวมถึงประสบการณ์ส่วนตัวของท่านเอง

  • ท่านจะแบ่งปันอะไรกับคนๆ นี้ที่อาจช่วยให้เขารู้สึกถึงความรักของพระผู้เป็นเจ้า?

อาจเป็นการดีที่จะให้เวลากับนักเรียนในการไตร่ตรองคำถามก่อนหน้านี้ก่อนที่จะตอบคำถาม การให้นักเรียนแบ่งปันแนวคิดกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ก่อนที่จะสนทนาคำถามเป็นชั้นเรียนอาจเป็นประโยชน์เช่นกัน

ในบทเรียนที่ตามมา ท่านจะได้ศึกษาคำสอนเพิ่มเติมของยอห์นเกี่ยวกับวิธีที่เราแสดงความรักของเราต่อพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ รวมถึงการรักษาพระบัญญัติของพระองค์และการรักกันและกัน

ท่านอาจร้องเพลง “ฉันเฝ้าพิศวง” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 89) เป็นชั้นเรียนหรือแบ่งปันตัวอย่างส่วนตัวเกี่ยวกับอิทธิพลจากความรักของพระผู้เป็นเจ้า

แสวงหาความช่วยเหลือจากพระบิดาบนสวรรค์และรู้สึกถึงการกระตุ้นเตือนจากพระองค์ผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์ ลองนึกถึงวิธีที่ท่านจะสามารถเข้าถึงหรือรับความรักจากพระผู้เป็นเจ้าและวิธีที่ท่านจะสามารถสังเกตเห็นความรักของพระองค์ได้บ่อยครั้งมากขึ้นในชีวิตของท่าน ไตร่ตรองว่าการทำเช่นนั้นอย่างต่อเนื่องจะเพิ่มปีติที่ท่านประสบในชีวิตท่านได้อย่างไร

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

&#160

&#160

การตระหนักและรู้สึกถึงความรักของพระผู้เป็นเจ้ามีอิทธิพลต่อชีวิตเราอย่างไร?

ขณะรับใช้เป็นสมาชิกในโควรัมสาวกเจ็ดสิบ เอ็ลเดอร์จอห์น เอช. โกรเบิร์กอธิบายว่า

Former official portrait of Elder John H. Groberg of the Presidency of the Seventy, 1994. Released from the presidency effective August 15, 2005. Called as Idaho Falls Idaho Temple president effective November 1, 2005. Status changed to emeritus at October 2005 general conference.

เมื่อเราเปี่ยมด้วยความรักของพระผู้เป็นเจ้า เราจะสามารถทำ มองเห็น และเข้าใจในสิ่งที่เราจะทำ มองเห็น หรือเข้าใจไม่ได้ด้วยวิธีอื่น เมื่อเปี่ยมด้วยความรักของพระองค์ เราจะสามารถทนความเจ็บปวด ขับความกลัว เต็มใจให้อภัย หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ฟื้นฟูกำลัง เป็นพรและช่วยผู้อื่นได้อย่างที่เราเองก็ต้องแปลกใจ

พระเยซูคริสต์ทรงเปี่ยมด้วยความรักล้ำลึกขณะทรงทนต่อความเจ็บปวด ความโหดร้าย และความอยุติธรรมที่เราไม่อาจเข้าใจได้ เพราะความรักที่ทรงมีต่อเรา พระองค์จึงทรงเอาชนะอุปสรรคที่ไม่อาจเอาชนะได้ด้วยวิธีอื่น ความรักของพระองค์ไม่มีอุปสรรค พระองค์ทรงเชื้อเชิญให้เราติดตามพระองค์และรับส่วนความรักอันไร้ขีดจำกัดของพระองค์ เพื่อเราจะสามารถเอาชนะความเจ็บปวด ความโหดร้าย และความอยุติธรรมบนโลกนี้ อีกทั้งช่วยเหลือ ให้อภัย และเป็นพรด้วย

(จอห์น เอช. โกรเบิร์ก, “พลังของความรักของพระผู้เป็นเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2004, 14)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

พยานของการฟื้นคืนพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอดเป็นพยานให้แก่ความจริงของพระองค์ และช่วยให้เราตระหนักถึงความรักส่วนพระองค์ของพระองค์

หากนักเรียนจะได้รับประโยชน์จากการสนทนาถึงลักษณะส่วนพระองค์ของความรักของพระผู้ช่วยให้รอด เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน 1 ยอห์น 1:1–3 และ 3 นีไฟ 11:13–17 ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้อธิบายถึงประสบการณ์ที่ทั้งยอห์นและผู้คนในทวีปอเมริกามีกับพระผู้ช่วยให้รอดผู้ฟื้นคืนพระชนม์

เชิญนักเรียนมาแบ่งปันว่าประสบการณ์เหล่านี้สอนเราเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และความรักของพระองค์อย่างไร

เป็นพยานว่า แม้เราจะไม่สามารถติดต่อกับพระผู้ช่วยให้รอดทางกายภาพ แต่พระองค์ทรงสามารถช่วยให้เรารู้จักพระองค์ผ่านหนทางอื่นๆ เช่น พระคัมภีร์และพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระองค์จะทรงแสดงความรักของพระองค์ผ่านพระเมตตาอันละเอียดอ่อนมากมายที่พระองค์ทรงหยิบยื่นให้แก่เรา (ดู 1 นีไฟ 1:20) เชิญนักเรียนให้แบ่งปันตัวอย่างส่วนตัวของนักเรียนว่า เมื่อใดที่นักเรียนเคยประสบความรักของพระผู้ช่วยให้รอดที่มีต่อตน

1 ยอห์น 2:1 “ เราก็มีผู้ช่วยทูลขอเพื่อเรา”

หากนักเรียนจะได้รับประโยชน์จากความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับบทบาทของพระผู้ช่วยให้รอดในฐานะผู้วิงวอนแทนของเรากับพระบิดา เชื้อเชิญให้นักเรียนศึกษา 1 ยอห์น 2:1–2 &#160 เชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 45:3–5 แล้วมองหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นผู้วิงวอนแทนของเราอย่างไร นอกจากนี้ยังอาจเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนในการอ่านสาส์นของ ฟีเลโมน เพื่อดูว่าเปาโลเป็นผู้วิงวอนแทนของโอเนสิมัสอย่างไร ในขณะที่เขาขอให้สมาชิกศาสนจักรยอมรับโอเนสิมัสเพราะเปาโล หรือนักเรียนอาจอ่านเรื่องราวของอาบีกายิล นาบาล และดาวิดใน 1 ซามูเอล 25:1–35 เพื่อดูว่าอาบีกายิลทำหน้าที่เป็นผู้วิงวอนแทนอย่างไรผ่านการเสนอที่จะรับผิดชอบต่อความผิดพลาดของนาบาล เพื่อที่เขาจะได้ไม่ถูกลงโทษจากดาวิดที่เกิดความขัดแย้ง เชื้อเชิญให้นักเรียนร่วมแบ่งปันวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงได้เป็น เป็นอยู่ และจะเป็นผู้วิงวอนแทนนักเรียน และเหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ

พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นความสว่างและความรัก

หากนักเรียนจะได้รับประโยชน์จากการมุ่งเน้นไปที่แสงสว่างของพระผู้เป็นเจ้านอกเหนือจากความรักของพระผู้เป็นเจ้า ท่านอาจให้นักเรียนศึกษา 1 ยอห์น 2:8–11 ; 3:16, 23–24 ; 4:7–21 เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองประสบการณ์ที่ยอห์นพบจากความสว่างและความรักของพระผู้ช่วยให้รอด (ดังที่บันทึกไว้ใน ยอห์น 2:1–11 ยอห์น 5:1–9) และนักเรียนอาจพิจารณาสิ่งที่ยอห์นเรียนรู้จากคำสอนของพระเยซูตามที่บันทึกไว้ใน ยอห์น 3:16–17 ; 8:12 ; 12:35–36, 46 ; 15:9–14 ; 19:25–27 เชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันความคล้ายคลึงกันระหว่างคำสอนเหล่านี้กับสิ่งที่ 1 ยอห์น สอนเกี่ยวกับความสว่างและความรักของพระผู้เป็นเจ้า เชิญนักเรียนมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ที่สอนนักเรียนว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นแสงสว่างและความรัก