เซมินารี
2 ทิโมธี 4


2 ทิโมธี 4

“ข้าพเจ้าได้รักษาความเชื่อไว้แล้ว”

การดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์เป็นพรแก่เราหลายด้าน แม้ว่าเราจะต้องเผชิญกับการทดลองและการข่มเหง เมื่อมีศรัทธาในพระเยซูคริสต์ เราก็ยังคงองอาจได้จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ผ่านไปหลายทศวรรษหลังจากมุ่งมั่นที่จะติดตามพระผู้ช่วยให้รอด เปาโลทราบว่าเขาจะถูกฆ่าในอีกไม่ช้า ในจดหมายฉบับสุดท้ายที่ส่งไปยังทิโมธี เขาแสดงออกว่าเหตุใดการคงความซื่อสัตย์จึงคุ้มค่าสำหรับเขาและทุกคนที่เลือกที่จะอดทนด้วยศรัทธา บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้ท่านกลายเป็นหรือยังคงมุ่งมั่นเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ตลอดชีวิต

ช่วยให้นักเรียนระบุคำเชิญให้ “ค้นหา” เมื่อใกล้ช่วงเริ่มต้นของบทเรียน บ่อยครั้งมักมีคำเชิญให้นักเรียนค้นหาหลักคำสอน ความจริง หรือหลักธรรมที่จะมาจากเนื้อหาพระคัมภีร์ อาจเป็นประโยชน์ที่จะแสดงสิ่งที่ท่านต้องการให้นักเรียนค้นหา การทำเช่นนี้สามารถช่วยให้นักเรียนเก็บคำเชิญให้ค้นหาไว้ในใจของตนในขณะที่ศึกษาพระคัมภีร์

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนค้นหาข้อพระคัมภีร์ที่นักเรียนอาจแบ่งปันกับผู้ที่รู้สึกหมดกำลังใจในความพยายามที่จะติดตามพระเยซูคริสต์

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

การอดทนอย่างซื่อสัตย์

ในระหว่างกิจกรรมต่อไปนี้ ให้ระมัดระวังกับนักเรียนที่อาจเจ็บป่วยร้ายแรงหรือมีเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวที่เพิ่งสิ้นชีวิตเมื่อไม่นานมานี้

ลองจินตนาการดูว่า การทราบว่าท่านกำลังจะสิ้นชีวิตจะเป็นเช่นไร

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนคำตอบของคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษา จากนั้นท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนสองสามคนแบ่งปันคำตอบของคำถามสุดท้ายกับชั้นเรียน

  • ท่านหวังว่าจะสามารถพูดถึงชีวิตของท่านได้อย่างไรเมื่อวันนั้นมาถึง?

  • อะไรจะเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับท่านในช่วงเวลานั้น? สิ่งใดที่จะไม่สำคัญ?

  • ท่านคิดว่าความพยายามของท่านในการติดตามผู้พระผู้ช่วยให้รอดตลอดชีวิตของท่านจะส่งผลต่อท่านในช่วงเวลานั้นอย่างไร?

หลังจากรับใช้อย่างองอาจมาหลายทศวรรษในฐานะสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ เปาโลเขียนจดหมายถึงทิโมธีจากคุกโรมันโดยทราบว่าเขาจะถูกประหารในไม่ช้า ซึ่งน่าจะเป็นจดหมายฉบับสุดท้ายที่เปาโลเขียนซึ่งรวมอยู่ในพันธสัญญาใหม่นี้ เราได้รับพรที่สามารถอ่านความคิดสุดท้ายบางอย่างของชายผู้ยิ่งใหญ่คนนี้ ขณะที่เขาใคร่ครวญถึงชีวิตและความตายของเขาที่กำลังจะมาถึง

เปาโลเปรียบเทียบความพยายามของเขาที่จะยังคงซื่อสัตย์กับการกระทำที่แตกต่างกันสองอย่าง อ่าน 2 ทิโมธี 4:6–7 และมองหาการเปรียบเทียบของเปาโล

Two men in a park boxing in a boxing ring with a man acting as Referee.
Two young men are outside. They are running on a track. This is in Lisbon, Portugal.

ให้แสดงรูปภาพทั้งสองนี้ขณะที่นักเรียนสนทนาคำถามต่อไปนี้

  • เหตุใดการต่อสู้อย่างเต็มกำลังและการวิ่งแข่งจนครบถ้วนจึงเป็นการเปรียบเทียบที่มีประสิทธิภาพในการรักษาศรัทธาของเราในพระเยซูคริสต์ไปตลอดชีวิตเรา?

ไตร่ตรองครู่หนึ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ของท่าน ณ จุดนี้ของชีวิตในการวิ่งแข่งของท่านหรือการต่อสู้ของท่านเพื่อยังคงซื่อสัตย์ต่อพระคริสต์ ท่านเคยรู้สึกเหนื่อย ถูกโบยตีหรือบาดเจ็บหรือไม่? ท่านเคยถูกล่อลวงให้ยอมแพ้หรือไม่? พระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยท่านในสถานการณ์เหล่านี้อย่างไร? ขณะที่ท่านศึกษาในวันนี้ คิดดูว่าเหตุใดจึงคุ้มค่าสำหรับท่านที่จะวิ่งแข่งต่อไปหรือต่อสู้ในการต่อสู้ของการเป็นสานุศิษย์

สิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงเสนอให้กับผู้ซื่อสัตย์

อ่าน 2 ทิโมธี 4:8 และค้นหาพรที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงเตรียมไว้ให้เปาโลและทุกคนที่อดทนอย่างซื่อสัตย์

มงกุฎนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิตนิรันดร์กับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ หรือเป็นที่รู้จักในนามความสูงส่ง

  • ท่านคิดว่าเหตุใดเปาโลจึงอธิบายถึงพรข้อนี้ที่พระเยซูคริสต์ประทานแก่เราว่าเป็น “มงกุฎแห่งความชอบธรรม”?

ความจริงข้อหนึ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากข้อนี้คือ: เพราะพระเยซูคริสต์ ทุกคนที่อดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่อย่างซื่อสัตย์จะได้รับชีวิตนิรันดร์

  • วลี “อดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่” มีความหมายต่อท่านอย่างไร? ท่านต้องอดทนในด้านใดบ้างตอนนี้? สิ่งใดที่ทำให้การอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่ท้าทาย?

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นแบบอย่างที่ดีพร้อมของการอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่ในด้านใดบ้าง? (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:16–19)

  • การอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่ของพระผู้ช่วยให้รอดส่งผลต่อเราอย่างไร?

ใช้เวลาคิดว่าผู้ใดบ้างที่อาจได้รับผลจากการเลือกของท่านที่จะอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่

ท่านอาจแจกกระดาษแผ่นเล็กๆ ให้นักเรียนคนละแผ่น เชื้อเชิญให้นักเรียนแต่ละคนเขียนโดยไม่ระบุตัวตนและส่งสถานการณ์สั้นๆ ที่มีใครสักคนอาจรู้สึกถูกล่อลวงให้เลิกติดตามพระเยซูคริสต์ (อาจเป็นเหตุผลที่แท้จริงที่คนที่ท่านรักตัดสินใจเลิกติดตามพระเยซูคริสต์) เอกสารเหล่านี้สามารถแจกจ่ายใหม่ได้ภายหลังในบทเรียน หรืออ่านและใช้ในวิธีอื่นๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงบทเรียนกับชีวิตของตน

ความหวังของเราอยู่ในพระเยซูคริสต์

เอ็ลเดอร์ แอล. ทอม เพอร์รีย์ (1922–2015) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่า เนื่องจากความท้าทายในการอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เราไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เพียงลำพัง ท่านสอนว่า

Final official portrait of Elder L. Tom Perry of the Quorum of the Twelve Apostles, 2004. Passed away 30 May 2015.

การอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่ไม่ใช่โครงการทำด้วยตนเองอย่างแน่นอน … ต้องมีเดชานุภาพแห่งการไถ่ของพระผู้ช่วยให้รอด

(ดู แอล. ทอม เพอร์รีย์, “พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2008, 56)

เช่นเดียวกับเปาโล คนอื่นๆ หลายคนอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่ด้วยความช่วยเหลือของพระผู้ช่วยให้รอด อ่านข้อพระคัมภีร์มอรมอนต่อไปนี้อย่างน้อยสองข้อ พิจารณาว่าความสัมพันธ์กับพระผู้ช่วยให้รอดมีอิทธิพลต่อศาสดาพยากรณ์แต่ละคนเหล่านี้อย่างไร ขณะที่ศาสดาพยากรณ์เหล่านั้นอดทนอย่างซื่อสัตย์และเข้าใกล้ความตายของตน

นอกจากนี้ยังสามารถเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันตัวอย่างจากครอบครัวของตนเกี่ยวกับสันติสุขที่สามารถรู้สึกได้เมื่อใครสักคนเข้าใกล้ความตายหลังจากใช้ชีวิตด้วยความมุ่งมั่นที่จะติดตามพระเยซูคริสต์

ลีไฮ: 2 นีไฟ 1:14–15

อีนัส: อีนัส 1:27

โมโรไน: โมโรไน 10:32–34

  • สานุศิษย์เหล่านี้อธิบายความสัมพันธ์ของตนกับพระเยซูคริสต์อย่างไร?

  • ความสัมพันธ์นั้นส่งผลต่อความรู้สึกของสานุศิษย์คนนั้นเกี่ยวกับความตายของตนอย่างไร?

ท่านจะให้คำแนะนำอะไร?

ท่านอาจแจกจ่ายกระดาษที่นักเรียนส่งมาเกี่ยวกับสถานการณ์ที่อาจล่อลวงให้ใครสักคนยอมเลิกติดตามพระเยซูคริสต์ให้กับนักเรียนแต่ละคน

แสดงคำถามต่อไปนี้และให้เวลานักเรียนได้ไตร่ตรองในใจเกี่ยวกับสถานการณ์ที่นักเรียนได้รับมา จากนั้นเชื้อเชิญอาสาสมัครมาแบ่งปันสิ่งที่นักเรียนอาจพูดกับบางคนในสถานการณ์นั้น แม้ว่าจะไม่ได้ตอบคำถามนั้นโดยตรงก็ตาม เชิญผู้ที่ทำการเตรียมของนักเรียนเสร็จแล้วให้แบ่งปันพระคัมภีร์ที่ตนพบด้วย

  • ท่านจะให้คำแนะนำใดแก่บุคคลที่ซื่อสัตย์ที่กังวลว่าตนจะไม่เข้มแข็งพอที่จะอดทน?

  • ท่านจะพูดอะไรกับใครบางคนที่เลิกติดตามพระผู้ช่วยให้รอดแล้ว และตอนนี้รู้สึกว่าสายเกินไปที่จะเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง? ท่านจะใช้แบบอย่างชีวิตของเปาโลเพื่อช่วยให้บุคคลนั้นเห็นว่าพระผู้ช่วยให้รอดจะสามารถช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงและเริ่มต้นใหม่ได้อย่างไร?

  • บุคคลนั้นสามารถทำตามขั้นตอนอะไรเพื่อหันไปขอความช่วยเหลือจากพระผู้ช่วยให้รอด?

อะไรคือข่าวสารสำหรับท่าน?

กลับไปที่ 2 ทิโมธี 4 และอ่านข้อ 6–8, 18 ลองจินตนาการตัวเองในอนาคต ที่ท่านสามารถพูดสิ่งที่เปาโลพูดขณะที่ท่านเข้าใกล้วาระสุดท้ายในชีวิตท่าน จากนั้นให้ตอบคำถามต่อไปนี้:

  • ท่านรู้สึกว่าข่าวสารของพระบิดาบนสวรรค์ที่ทรงมีให้ท่านคืออะไร?

  • สิ่งที่ท่านเรียนรู้และรู้สึกในวันนี้ช่วยให้ท่านเข้าใจความจำเป็นของท่านที่ต้องมีพระเยซูคริสต์ได้ดีขึ้นอย่างไร?

  • ท่านรู้สึกได้รับการกระตุ้นเตือนให้ทำอะไร?

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

เราจะอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่อย่างไร?

เอ็ลเดอร์ แอล. ทอม เพอร์รีย์ (1922–2015) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่า:

Final official portrait of Elder L. Tom Perry of the Quorum of the Twelve Apostles, 2004. Passed away 30 May 2015.

การอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ดังในกรณีของเปาโลที่บอกกับทิโมธีว่า “ข้าพเจ้าได้ต่อสู้อย่างเต็มกำลัง ข้าพเจ้าได้วิ่งแข่งจนครบถ้วน ข้าพเจ้าได้รักษาความเชื่อไว้แล้ว” ( 2 ทิโมธี 4:7) เห็นได้ชัดว่านี่ไม่ใช่งานง่าย งานนี้จงใจให้เป็นงานยาก ท้าทาย และในที่สุดเพื่อขัดเกลาในขณะที่เราเตรียมกลับไปอยู่กับพระบิดาในสวรรค์ของเราและรับพรที่เป็นนิรันดร์

(แอล. ทอม เพอร์รีย์, “พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2008, 56)

&#160 &#160

2:6

//media.ldscdn.org/webvtt/scripture-and-lesson-support/doctrine-and-covenants-visual-resource/2010-07-019-endure-to-the-end-en.vtt

จะเป็นอย่างไรหากบางครั้งเป็นเรื่องยากที่จะเห็นพรจากการยังคงซื่อสัตย์?

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า

Official Portrait of Elder Jeffrey R. Holland. Photographed January 2018.

อย่าหยุด เดินต่อไป พยายามต่อไป มีความช่วยเหลือและความสุขอยู่เบื้องหน้า … ในที่สุดทุกอย่างจะดี จงวางใจพระผู้เป็นเจ้าและเชื่อในสิ่งดีๆ ที่จะมาถึง

… พรบางอย่างมาเร็ว บางอย่างมาช้า และบางอย่างไม่มาจนวาระสุดท้ายของชีวิต แต่สำหรับผู้ที่ยอมรับพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ พรจะมา

(เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “มหาปุโรหิตแห่งสิ่งประเสริฐซึ่งจะมาถึง,” เลียโฮนา, ม.ค. 2000, 45)

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

หนังสือฟีเลโมนสามารถสอนเราเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดได้

เชื้อเชิญนักเรียนอ่านออกเสียงข้อมูลต่อไปนี้เกี่ยวกับสถานการณ์ที่เปาโลพูดถึงในสาส์นฉบับนี้

ฟีเลโมนมีคนรับใช้ หรือทาส ชื่อว่าโอเนสิมัสที่หนีไปกรุงโรมและอาจขโมยบางอย่างไปจากฟีเลโมน (ดู ฟีเลโมน 1:18) ระบบทาสไม่ได้ถูกมองว่าเป็นสิ่งชั่วร้ายในวัฒนธรรมชาวคริสต์ยิวสมัยของเปาโล และได้รับการสนับสนุนจากกฎหมายโรมัน การลงโทษทาสที่หลบหนีได้แก่การโบยอย่างหนัก ตีตราบนหน้าผาก หรือแม้แต่ถูกประหาร หลังจากหนีไป โอเนสิมัสพบกับอัครสาวกเปาโลและได้เปลี่ยนใจเลื่อมใสพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ เปาโลสนับสนุนให้โอเนสิมัสกลับไปหาฟีเลโมน

เชื้อเชิญนักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียง ฟีเลโมน 1:8–12 ขอให้ชั้นเรียนดูตาม โดยมองหาสิ่งที่เปาโลขอร้องหรือขอให้ฟีเลโมนทำ

จากนั้นเชิญนักเรียนให้อ่าน ฟีเลโมน 1:15–19 และเปรียบเทียบสิ่งที่เปาโลกล่าวและสิ่งที่เขาเสนอให้ทำในนามของโอเนสิมัสกับสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงกระทำเพื่อเราแต่ละคน

2 ทิโมธี 4:8 พระเยซูคริสต์ประทานความหวังสำหรับอนาคตของเราแม้ว่าเราจะเคยทำผิดพลาด

ช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าความเชื่อมั่นของเปาโลที่มีต่อรางวัลชั่วนิรันดร์ (ดู 2 ทิโมธี 4:8) ไม่ได้มาเพราะเขาไม่เคยทำผิดพลาดเลย อันที่จริง ช่วงแรกในชีวิตของเขาเมื่อเขาเป็นที่รู้จักในนามของเซาโล เขาต่อสู้กับศาสนจักรของพระผู้ช่วยให้รอด (ดู กิจการ 8:3 ; 9:1–2) เปาโลมองย้อนกลับไปในชีวิตเขา เขาเล่าถึงตัวตนผู้อ่อนวัยของเขาว่าเป็น “ตัวเอ้” ในพวกคนบาป (ดู 1 ทิโมธี 1:15) บางทีเปาโลอาจได้รับการล่อลวงให้ยอมแพ้เพราะบาปและจุดอ่อนที่ผ่านมาของเขา

เชิญนักเรียนอ่าน 1 ทิโมธี 1:12–17 และทำเครื่องหมายในแต่ละข้อที่แสดงให้เห็นถึงความวางใจของเปาโลในพระเยซูคริสต์ที่จะช่วยเขา แทนการวางใจกำลังของตัวเขาเอง

ขอให้นักเรียนแบ่งปันว่าข้อใดเหล่านี้ที่มีความหมายต่อพวกเขามากที่สุดและเพราะเหตุใด

เชิญชวนให้นักเรียนสรุปข่าวสารสำคัญของเปาโลให้ใครสักคนที่รู้สึกว่าอยากยอมแพ้เนื่องจากความผิดพลาดในอดีตหรือความอ่อนแอที่พบในปัจจุบัน