เซมินารี
เนื้อหาอารัมภบท: ภาพรวม


“เนื้อหาอารัมภบท: ภาพรวม,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“เนื้อหาอารัมภบท: ภาพรวม,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

เนื้อหาอารัมภบท

ภาพรวม

ปีนี้ท่านจะได้ศึกษาพระคัมภีร์มอรมอนในเซมินารี บทเรียนเหล่านี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจความสำคัญของแผนของพระบิดาบนสวรรค์มากขึ้นและพัฒนาความสามารถในการศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจำทุกวัน นอกจากนี้ท่านยังจะได้เรียนรู้วิธีระบุบทบาทสำคัญของพระวิญญาณบริสุทธิ์ วิธีกระทำด้วยศรัทธาในพระเยซูคริสต์ขณะแสวงหาคำตอบของคำถามของท่าน และวิธีที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากประสบการณ์เซมินารี

เตรียมสอน

ข้อมูลต่อไปนี้จะช่วยให้ครูทราบว่าจะต้องเตรียมอะไรล่วงหน้าบ้างสำหรับแต่ละบทเรียน หมายเหตุ: บทเรียนบางส่วนหรือทั้งหมดอาจสอนได้ในช่วงเริ่มปีการศึกษาหรือช่วงเวลาอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน

แผนแห่งความรอด

จุดประสงค์ของบทเรียน: บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจและเห็นความสำคัญของแผนของพระบิดาบนสวรรค์

  • การเตรียมของนักเรียน: เชิญชวนให้นักเรียนคิดดูว่ามีอะไรบ้างที่จะขาดไม่ได้ในชีวิตนี้และพร้อมอธิบายเหตุผล หากจะนำของสิ่งนั้นหรือรูปออกมาแสดงให้เห็นในชั้นเรียน ก็ทำได้ตามความเหมาะสม

  • เนื้อหาที่แสดง: คำถามที่พระคัมภีร์มอรมอนมีคำตอบ (ระบุไว้บนกระดาน เขียนลงในเศษกระดาษ และติดไว้บนผนังหรือแสดงให้เห็นด้วยวิธีอื่น)

  • คำแนะนำการสอนในการประชุมผ่านวิดีโอ: แสดงคำถามที่พระคัมภีร์มอรมอนไขข้อสงสัยได้ ชวนนักเรียนให้ระบุว่าสนใจอยากรู้คำตอบของคำถามข้อไหนมากที่สุด แบ่งกลุ่มย่อยในการตอบคำถามแต่ละข้อ เพื่อให้นักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ร่วมกันได้ พร้อมจำกัดเวลากิจกรรม เมื่อหมดเวลา ให้ยกเลิกกลุ่มย่อยเพื่อนักเรียนจะได้พูดคุยกันในชั้นถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้

การศึกษาพระคัมภีร์

จุดประสงค์ของบทเรียน: บทเรียนนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความปรารถนาและความสามารถในการศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจำทุกวัน และได้รับพรที่สัญญาไว้ซึ่งมาพร้อมกับการศึกษาพระคัมภีร์

  • การเตรียมของนักเรียน: แจกเอกสาร “การประเมินผลการศึกษาพระคัมภีร์” จากบทเรียนนี้ เพื่อให้นักเรียนนำกลับไปกรอกข้อมูลที่บ้าน ลองชักชวนให้นักเรียนถามสมาชิกในครอบครัวเพื่อค้นหาคำตอบและหารือร่วมกัน

  • เอกสารแจก: “การประเมินผลการศึกษาพระคัมภีร์”

การเรียนรู้โดยพระวิญญาณ

จุดประสงค์ของบทเรียน: บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนบอกถึงบทบาทสำคัญของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งจำเป็นต่อการเติบโตและความก้าวหน้าทางวิญญาณ

  • การเตรียมของนักเรียน: ชักชวนให้นักเรียนนึกถึงประสบการณ์ที่รู้สึกได้ถึงอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ส่งเสริมให้นักเรียนมุ่งความสนใจไปที่ความคิด ความรู้สึก หรือความประทับใจที่มาพร้อมกับประสบการณ์ แล้วมาชั้นเรียนโดยพร้อมแบ่งปันข้อมูลที่เตรียมไว้

  • รูปหรือวัตถุ: รูปอุปกรณ์สื่อสารประเภทต่างๆ รวมถึงสมาร์ทโฟน

  •  

  •  

การเรียนรู้โดยศรัทธาในพระเยซูคริสต์

จุดประสงค์ของบทเรียน: บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนได้รับประโยชน์สูงสุดจากเซมินารี โดยทำความเข้าใจว่าการเรียนรู้โดยศรัทธาในพระเยซูคริสต์หมายถึงอะไร

  • การเตรียมของนักเรียน: ชักชวนให้นักเรียนอ่านย่อหน้าที่ 1–2 ในหมวด “การได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ” ในเอกสารหลักสำหรับผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน (2022) และเตรียมพร้อมที่จะแบ่งปันสิ่งที่เราทำได้เพื่อเรียนรู้ความจริงทางวิญญาณ

  • วีดิท้ศน์:การเรียกที่สูงส่งเป็นพิเศษ” (11:25; รับชมได้ที่รหัสเวลา 2:16 ถึง 3:49)

  • เนื้อหาที่แสดง: ข้อความจากประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันในช่วงแรกของบทเรียน พร้อมรูปนักเรียนในเซมินารี

  • คำแนะนำการสอนในการประชุมผ่านวิดีโอ: หากเป็นไปได้ ลองชวนนักเรียนที่เพิ่งจบจากเซมินารี 1-2 คนให้มาเข้าร่วมการประชุมทางวิดีโอ และแบ่งปันสิ่งที่ช่วยให้พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับพระกิตติคุณในเซมินารี หรือจะแบ่งปันว่าคิดอยากจะทำอะไรที่ต่างไปจากเดิม หรือควรรู้อะไรบ้างเมื่อเริ่มเข้าร่วมประสบการณ์เซมินารีในตอนแรก

การได้มาซึ่งความรู้ทางวิญญาณ ตอนที่ 1

จุดประสงค์ของบทเรียน: บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนกระทำด้วยศรัทธาในพระเยซูคริสต์ ขณะแสวงหาคำตอบเพื่อไขข้อสงสัยและข้อกังวลในชีวิต

  • การเตรียมของนักเรียน: ชวนให้นักเรียนสอบถามสมาชิกในครอบครัวหรือผู้นำโบสถ์ที่ศรัทธาในพระเยซูคริสต์เป็นอย่างมากว่า พวกเขารักษาความเข้มแข็งได้อย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับคำถามหรือข้อกังวลเกี่ยวกับพระกิตติคุณ

  •  

  • เนื้อหาที่แสดง: ข้อมูลอ้างอิงและบทสรุปจาก 1 นีไฟสำหรับการอ้างอิงของนักเรียนระหว่างกิจกรรมการศึกษา

  • คำแนะนำการสอนในการประชุมผ่านวิดีโอ: ชวนนักเรียนมาลงคะแนนเสียงแบบมองเห็นได้เพื่อเลือกคำตอบแต่ละข้อที่อาจเป็นไปได้ของคำถามที่ว่า “ถ้ามีคนถามเกี่ยวกับพระกิตติคุณหรือศาสนจักรของพระเยซูคริสต์ ท่านคิดว่านั่นหมายความว่าอย่างไร” เช่น ถ้านักเรียนคิดว่าคำตอบถูก ให้ปิดกล้อง แต่ถ้าคิดว่าคำตอบผิด ก็เปิดกล้องไว้ หลังจากเลือกแต่ละข้อ ให้หยุดชั่วคราวเพื่อถามนักเรียนบางคนว่าทำไมถึงลงคะแนนแบบนั้น ช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าทุกคำตอบอาจถูกหรือผิดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการและทางเลือกของบุคคล