เซมินารี
ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 3: 2 นีไฟ 26–เจคอบ 7


“ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 3: 2 นีไฟ 26–เจคอบ 7,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 3,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 3

2 นีไฟ 26เจคอบ 7

เยาวชนหญิงเขียนสมุดบันทึก

บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้ท่านเห็นว่าท่านเติบโตหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรระหว่างการศึกษา 2 นีไฟ 26เจคอบ 7

การสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนเรียนรู้กระตุ้นให้นักเรียนใช้สิทธิ์เสรีเพื่อมีส่วนร่วมในประสบการณ์การเรียนรู้ เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า “ผู้เรียนที่ใช้สิทธิ์เสรีโดยการกระทำที่สอดคล้องกับหลักธรรมอันถูกต้องย่อมเปิดใจรับพระวิญญาณบริสุทธิ์—และเชื้อเชิญคำสอน พลังการเป็นพยานและพยานยืนยันของพระองค์” (“Seek Learning by Faith,” Ensign, Sept. 2007, 64)

การเตรียมของนักเรียน: ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนใคร่ครวญว่าการเติบโตทางวิญญาณผ่านการศึกษาคัมภีร์มอรมอนในช่วงสี่สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาทบทวนสมุดบันทึกการศึกษาและระบุคำสอนเฉพาะเจาะจงที่นำไปใช้หรือข้อพระคัมภีร์ที่มีความหมายอย่างยิ่งสำหรับพวกเขา

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ดีขึ้นวันละนิด

ลองเริ่มต้นบทเรียนนี้ด้วยการสนทนาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และคุณค่าของการประเมินตนเอง ท่านอาจให้นักเรียนแบ่งปันคำสอนเฉพาะเจาะจงจากพระคัมภีร์มอรมอนที่นำไปใช้ในชีวิตหรือข้อพระคัมภีร์จากพระคัมภีร์มอรมอนที่มีความหมายอย่างยิ่งสำหรับพวกเขา

ประธานลอเรนโซ สโนว์ (1814–1901) ประธานศาสนจักรคนที่ห้าสอนดังนี้:

อย่าคาดหวังว่าจะดีพร้อมในทันที ถ้าท่านคาดหวังเช่นนั้น ท่านจะผิดหวัง วันนี้จงเป็นคนดีกว่าวันวาน และวันพรุ่งนี้ดีกว่าวันนี้ การล่อลวงที่อาจจะชนะเราบ้างวันนี้ อย่าให้ชนะเราวันพรุ่งนี้ ด้วยเหตุนี้จงเป็นคนดีขึ้นวันละนิด อย่าปล่อยชีวิตให้ผ่านไปโดยไม่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นและตัวเราเอง (คำสอนของประธานศาสนจักร: ลอเรนโซ สโนว์ [2012], 103)

  • ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่าวันนี้ท่านดีกว่าเมื่อวาน?

  • พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์จะทรงช่วยท่านอย่างไรในการพยายามทำให้พรุ่งนี้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน?

บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้ท่านนึกถึงการเติบโตในฐานะสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ รวมถึงความสามารถในการอธิบายหลักคำสอนที่ท่านเรียนรู้ในพระคัมภีร์ ลองนึกถึงวิธีที่การศึกษาพระคัมภีร์มอรมอนช่วยให้ท่านเติบโตในฐานะสานุศิษย์ของพระคริสต์ ขณะที่ท่านศึกษาในวันนี้ ให้อัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อช่วยให้ท่านเห็นว่าการศึกษาพระคัมภีร์มอรมอนมีผลต่อความสามารถในการดำเนินชีวิตและแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์อย่างไร

การศึกษา 2 นีไฟ 26 ถึง เจคอบ 7 ในชั้นเรียนอาจเน้นถึงความจริงอื่นๆ นอกเหนือจากที่มีอยู่ในกิจกรรมต่อไปนี้ อย่าลังเลที่จะเลือกกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการของชั้นเรียนมากที่สุด หรือปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้สอดคล้องกับความจริงที่นักเรียนของท่านระบุไว้

กิจกรรม ก และ ข มีไว้เพื่อช่วยเปิดโอกาสให้นักเรียนอธิบายหลักคำสอนในบทเรียนก่อนหน้านี้ โดยอาจจำเป็นต้องทำเพียงกิจกรรมเดียว เพื่อให้มีเวลาสำหรับกิจกรรม ค หรือ ง

กิจกรรม ก: อธิบายหลักคำสอนของพระเยซูคริสต์

กิจกรรมต่อไปนี้จะกำหนดให้นักเรียนทบทวนพระคัมภีร์หลายข้อ ขอให้ไวต่อความรู้สึกของนักเรียนที่อาจมีปัญหาด้านการอ่านหรือทำความเข้าใจพระคัมภีร์ ลองให้นักเรียนจับคู่หรือจัดกลุ่ม และช่วยให้พวกเขาระบุหลักธรรมและศาสนพิธีในหลักคำสอนของพระคริสต์ ได้แก่ ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ การกลับใจ บัพติศมาเพื่อการปลดบาป การรับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ และการอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่

นีไฟสอนสิ่งที่เราต้องทำเพื่อรับชีวิตนิรันดร์ หลักธรรมและศาสนพิธีเหล่านี้เรียกว่าหลักคำสอนของพระคริสต์ (ดู 2 นีไฟ 31:2, 21) หลักคำสอนของพระคริสต์ “นี่คือทางนั้น; และไม่มีทางอื่นทั้งนามอื่นใดประทานไว้ภายใต้ฟ้าสวรรค์ซึ่งโดยทางนั้นมนุษย์จะได้รับการช่วยให้รอดได้ในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า” (2 นีไฟ 31:21) ทบทวน 2 นีไฟ 31:10–12, 17, 20–21 โดยมองหาหลักธรรมและศาสนพิธีที่เป็นส่วนหนึ่งในหลักคำสอนของพระคริสต์

เชื้อเชิญให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้กับกลุ่มหรือเขียนคำตอบลงในสมุดบันทึกการศึกษา

  • ท่านจะอธิบายหลักคำสอนของพระคริสต์ให้คนอื่นฟังโดยใช้สิ่งที่นีไฟบันทึกไว้ใน 2 นีไฟ 31 อย่างไร?

  • หลักคำสอนของพระคริสต์ช่วยให้เราวางใจในพระองค์เพื่อความรอดของเราได้อย่างไร?

  • ท่านได้รับพรโดยปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระคริสต์อย่างไร?

กิจกรรม ข: อธิบายบทบาทของพระคัมภีร์มอรมอนในการฟื้นฟูพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

ท่านอาจนำสถานการณ์ต่อไปนี้มาทำเป็นบทบาทสมมติ โดยท่านทำหน้าที่เป็นประธานสเตคและให้นักเรียนเป็นลูกา ถ้าท่านทำเช่นนี้ ให้ถามคำถามต่อไปนี้ที่ช่วยให้นักเรียนเป็นพยานเกี่ยวกับพระคัมภีร์มอรมอนซึ่งเป็นพระคัมภีร์ที่ใช้คู่กันและเป็นพยานถึงความจริงของพระคัมภีร์ไบเบิล (ดู 1 นีไฟ 13:40–42; 2 นีไฟ 3:11–12) สัญลักษณ์ของการฟื้นฟู (ดู 2 นีไฟ 27; 29:1–10) และ “ศิลาหลักแห่งศาสนาของเรา” (คำนำพระคัมภีร์มอรมอน)

ลองจินตนาการตามเหตุการณ์ต่อไปนี้:

ลูกากำลังเตรียมเป็นผู้สอนศาสนาเต็มเวลา ประธานสเตคส่งข้อความต่อไปนี้หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่จะพบเพื่อสัมภาษณ์

“ลูกา ผมตื่นเต้นที่จะได้พบคุณ ในการเตรียมการประชุมของเรา ขอให้คุณใช้พระคัมภีร์มอรมอนตอบคำถามนี้ได้ไหม?: พระคัมภีร์มอรมอนมีบทบาทอย่างไรในการฟื้นฟูพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์? (ดู 2 นีไฟ 3:11–12; 2 นีไฟ 27:25–26; 2 นีไฟ 29:7–11)”

  • ลูกาสามารถแบ่งปันอะไรได้บ้างจากพระคัมภีร์มอรมอนเกี่ยวกับบทบาทการฟื้นฟูพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์?

กิจกรรม ค: ต่อต้านมารด้วยศรัทธาในพระเยซูคริสต์

หากไม่ได้เชื้อเชิญให้นักเรียนสร้างแผนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียน “2 นีไฟ 28:1–26” จะต้องปรับเปลี่ยนส่วนนี้ตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น ท่านอาจช่วยนักเรียนสร้างแผนหรือพูดคุยเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ใช้ต่อต้านความพยายามของซาตาน

ใน 2 นีไฟ 28:20–22 นีไฟสอนเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ซาตานจะใช้ดึงผู้คนออกไปจากพระผู้เป็นเจ้าในยุคสุดท้าย ซึ่งได้แก่ การปลุกปั่นผู้คนให้โกรธสิ่งที่ดี ปลอบและหลอกผู้คนให้รู้สึกถึงความปลอดภัยอันเป็นตัณหา และบอกผู้คนว่าไม่มีนรกและไม่มีมาร ส่วนหนึ่งของการศึกษาบทเรียน “2 นีไฟ 28:1–26” ท่านอาจสร้างแผนที่ดีกว่าเพื่อปกป้องตัวท่านเองจากเล่ห์เหลี่ยมของซาตาน ทบทวนสิ่งที่ท่านเขียนในสมุดบันทึกการศึกษาจากบทเรียนนั้น

  • ท่านดำเนินการตามแผนของท่านอย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด? เพราะเหตุใด?

  • แผนของท่านช่วยให้พระผู้ช่วยให้รอดทรงคุ้มครองท่านจากเล่ห์เหลี่ยมของซาตานในด้านใด?

  • ท่านเรียนรู้หรือมีประสบการณ์อะไรบ้างที่อาจช่วยท่านเพิ่มลงในแผน?

พิจารณาวิธีที่จะนำแผนของท่านกลับมาใช้อีกครั้ง อย่าลืมมองไปที่พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ที่ทรงเตือนท่านให้พ้นจากอันตรายและเสริมพลังให้ท่านรอดพ้นหรือเอาชนะความพยายามของซาตาน (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 10:5)

กิจกรรม ง: มีส่วนร่วมในการรวบรวมอิสราเอล

ทั้งนีไฟและเจคอบสนใจอย่างยิ่งในการรวบรวมอิสราเอล นี่อาจเป็นเพราะพระเจ้าทรงแสดงให้นีไฟเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับลูกหลานของพวกเขา (ดู 1 นีไฟ 12–13)

ส่วนหนึ่งของการศึกษา 1 นีไฟ 19–22; 2 นีไฟ 6; หรือ เจคอบ 5:52–77; 6:1–13 ท่านจะได้รับเชิญให้มีส่วนร่วมในการรวบรวมอิสราเอล หากเป็นเช่นนั้น ให้ทบทวนคำมั่นสัญญาหรือแผนที่ท่านทำไว้ หรือเจตคติและความเต็มใจที่จะมีส่วนร่วมในงาน

  • ท่านเรียนรู้อะไรบ้างจากการศึกษาเกี่ยวกับการรวบรวมอิสราเอลที่พบว่าทำให้มีกำลังใจหรือเป็นประโยชน์?

  • มีความพยายามอะไรบ้างที่ท่านไม่เคยลองทำมาก่อน? สำเร็จไหม? เหตุใดจึงรู้สึกเช่นนั้น?

  • ท่านรู้สึกอย่างไรที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงชี้นำหรือเสริมกำลังท่านเมื่อมีส่วนร่วมในการทำงานของพระองค์?

  • ท่านเห็นพรอะไรบ้างจากการมีส่วนร่วมในงานนี้?