เซมินารี
โมไซยาห์ 4:9–10: “จงเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า”


“โมไซยาห์ 4:9–10: ‘จงเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า,’” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“โมไซยาห์ 4:9–10,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

โมไซยาห์ 4:9–10

“จงเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า”

ภาพของพระผู้เป็นเจ้า

ท่านเคยหยุดไตร่ตรองถึงผลของความเชื่อที่ท่านมีต่อการกระทำของท่านและต่อผู้ที่เป็นต้นแบบของท่านหรือไม่? ขณะที่กษัตริย์เบ็นจามินสอนสิ่งที่เราต้องทำเพื่อคงไว้ซึ่งการปลดบาป ท่านเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเสริมสร้างความเชื่อและความรักที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า

สอนพระคัมภีร์และถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์อย่างมีความเชื่อมั่นและจุดประสงค์สร้างแรงบันดาลใจทุกครั้งที่มีโอกาสให้คนที่ท่านสอนหันมาหาพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าสำหรับการนำทาง คำตอบของคำถาม และการสนับสนุน หากนักเรียนจะ “ดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์” ความจริงที่พวกเขาพบจะ “บอก [พวกเขา] ทุกสิ่งที่ [พวกเขา] ควรทำ” (2 นีไฟ 32:3)

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนมาที่ชั้นเรียนพร้อมรายการของสิ่งที่พวกเขาเชื่อเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าสามถึงห้าอย่าง

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ผลจากความเชื่อของเรา

ต่อไปนี้เป็นความคิดผิดๆ ที่คนเคยคิดว่าเป็นเรื่องจริง ไตร่ตรองถึงผลกระทบของความเชื่อเหล่านี้ที่อาจมีต่อชีวิตของบุคคลเหล่านั้น

ท่านอาจแสดงข้อความต่อไปนี้บนกระดาน

  • โลกแบน

  • การถูกตัวคางคกทำให้ท่านเป็นหูด

  • ดาวโคจรรอบโลก

  • การเชื่อในความคิดที่ผิดๆ อาจก่อให้เกิดปัญหาอะไรบ้าง?

  • ท่านคิดว่าความเชื่อของท่านหรือของผู้อื่นมีอิทธิพลต่อเจตคติหรือการกระทำของท่านอย่างไร?

  • สิ่งที่เราเชื่ออาจส่งผลกระทบต่อเราทางวิญญาณอย่างไร?

จงเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า

กษัตริย์เบ็นจามินสอนถึงความสำคัญของการเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า ก่อนที่จะเริ่มต้นการศึกษา ใช้เวลาสักครู่เพื่อทบทวนสิ่งที่ท่านเชื่อเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า ความเชื่อเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าของท่านมีอิทธิพลต่อการกระทำของท่านอย่างไร? ท่านอาจเขียนรายการความเชื่อเหล่านี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน และไตร่ตรองว่าเหตุใดท่านจึงเชื่อสิ่งที่ท่านทำ เพิ่มความคิดหรือความประทับใจที่ท่านอาจมีได้ตลอดการศึกษา

คัดลอกภาพต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน เขียน จงเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า และ โมไซยาห์ 4:9–10 ที่วงกลมตรงกลาง

วาดภาพต่อไปนี้บนกระดานและเชื้อเชิญให้นักเรียนช่วยเติมคำสอนจาก โมไซยาห์ 4:9–10 ให้เต็มวงกลม

แผนภาพความคิด

อ่าน โมไซยาห์ 4:9–10, โดยมองหาสิ่งต่างๆ ที่กษัตริย์เบ็นจามินเชื้อเชิญให้ผู้คนของท่านเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า เขียนแต่ละรายการนอกวงกลม หากจำเป็น เพิ่มวงกลมลงในภาพของท่านได้

  • หากให้ท่านสรุปคำสอนของกษัตริย์เบ็นจามินใน โมไซยาห์ 4:9–10 เป็นประโยคง่ายๆ หนึ่งประโยค ท่านอาจสรุปว่าอย่างไร? ท่านอาจใช้ประโยคสรุปตั้งเป็นชื่อภาพที่ท่านสร้างขึ้น

เปิดโอกาสให้นักเรียนหลายคนแบ่งปันบทสรุปของข้อพระคัมภีร์เหล่านี้กับชั้นเรียน พวกเขาอาจระบุความจริงที่เป็นไปได้ให้เป็นส่วนหนึ่งของบทสรุปนี้ รวมถึงข้อความต่อไปนี้: ศาสดาพยากรณ์ของพระเจ้าเชื้อเชิญให้เราเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าพระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างทุกสิ่งและทรงมีเดชานุภาพและปรีชาญาณทั้งหมด เราแสดงให้เห็นถึงความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าได้โดยผ่านการกระทำของเรา

ท่านอาจแบ่งชั้นเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ และกำหนดให้แต่ละกลุ่มมุ่งเน้นไปที่คำสอนของกษัตริย์เบ็นจามินตั้งแต่ ข้อ 9–10 นักเรียนอาจสนทนาถึงคำถามต่อไปนี้เกี่ยวกับความจริงตามที่ได้รับมอบหมายให้มุ่งเน้น และแบ่งปันคำตอบกับชั้นเรียน

  • การเข้าใจและเชื่อในคำสอนเหล่านี้ของกษัตริย์เบ็นจามินจะส่งผลต่อชีวิตท่านอย่างไร?

  • ท่านเห็นว่าคำสอนเหล่านี้ถูกต่อต้านหรือเพิกเฉยจากโลกปัจจุบันอย่างไร?

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน แบ่งปันคำแนะนำต่อไปนี้ให้แก่ผู้ที่ไม่แน่ใจว่าพวกเขาเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า:

2:3

ถ้าท่านไม่แน่ใจว่าท่านเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า ให้เริ่มตรงจุดนั้น ขอให้เข้าใจว่าเมื่อไม่มีประสบการณ์กับพระผู้เป็นเจ้า เราจะสงสัยการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า ฉะนั้น จงวางตัวท่านไว้ในจุดที่จะเริ่มมีประสบการณ์กับพระองค์ … ทูลขอให้ทรงบอกท่านว่าพระองค์อยู่ที่นั่นจริงหรือ—พระองค์ทรงรู้จักท่านหรือไม่ พระองค์ทรงรู้สึกต่อท่านอย่างไร แล้วฟัง (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “มาติดตามเรา,” เลียโฮนา, พฤษภาคม 2019, 90)

  • ประสบการณ์ใดที่ท่านเคยประสบซึ่งช่วยเสริมสร้างความเชื่อในพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์?

หากนักเรียนจะได้รับประโยชน์จากการพูดคุยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกที่จะเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า ลองใช้ข้อความของเอ็ลเดอร์ แอล. วิทนีย์ เคลย์ตัน ในหมวด “บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง”

เจาะลึกกว่านี้

วิธีหนึ่งที่เราจะเสริมสร้างความเชื่อและความไว้วางใจในพระผู้เป็นเจ้าคือ การเรียนรู้จากคำสอนและประสบการณ์ของผู้อื่นที่สร้างแรงบันดาลใจ (ดู คู่มือพระคัมภีร์, “ศรัทธา”) เลือกอย่างน้อยหนึ่งในสามกิจกรรมต่อไปนี้ เพื่อช่วยเสริมสร้างความเชื่อของท่านในพระผู้เป็นเจ้า:

แสดงสามตัวเลือกต่อไปนี้และให้นักเรียนมีเวลาพอในการทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้เสร็จสมบูรณ์ นักเรียนอาจทำกิจกรรมเหล่านี้ให้เสร็จสมบูรณ์เป็นรายบุคคล หรืออาจทำร่วมกับคนอื่นๆ ที่มุ่งเน้นไปที่กิจกรรมเดียวกัน อาจรวมกิจกรรมที่แตกต่างกันตามความต้องการและความสามารถของนักเรียน

  • เพลงสวด: ค้นหาหนังสือเพลงสวดสำหรับคำ วลี ข้อ หรือเพลงสวดทั้งหมดที่สอนเกี่ยวกับพระลักษณะและพระอุปนิสัยของพระผู้เป็นเจ้าหรือที่อาจเสริมสร้างความเชื่อในพระองค์

  • เรื่องราวพระคัมภีร์อื่นๆ: ค้นหาและศึกษาเรื่องราวในพระคัมภีร์ที่คนอื่นๆ เป็นพยานถึงความเชื่อของพวกเขาเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์หรือพระบุตรของพระองค์ พระเยซูคริสต์ ตัวอย่างข้อพระคัมภีร์ที่ท่านอาจศึกษา ได้แก่ แอลมา 26:16, 35–37; 34:8–10; และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 76:22–24

    ท่านอาจให้สำเนาฉบับปัจจุบันของการประชุมใหญ่สามัญจาก เลียโฮนา หากใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ นักเรียนอาจใช้แอปคลังค้นคว้าพระกิตติคุณด้วย

  • การประชุมใหญ่สามัญ: ใช้คำปราศรัยจากการประชุมใหญ่สามัญล่าสุด โดยมองหาคำ วลี บันทึก หรือเรื่องราวที่สอนเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์ พระเยซูคริสต์ และเสริมสร้างความเชื่อของท่านในพระองค์ (ค้นหาการประชุมใหญ่สามัญตามหัวข้อ เช่น “พระบิดาบนสวรรค์,” “พระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์,” หรือ “พระเยซูคริสต์”)

เปิดโอกาสให้นักเรียนหลายๆ คนแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือรู้สึกจากการศึกษา

หลังจากเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันข้อคิดแล้ว ท่านอาจแจกกระดาษแผ่นเล็กๆ และเชื้อเชิญให้พวกเขาเขียนสิ่งที่เชื่อเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า อาจโพสต์ข้อความที่บอกถึงความเชื่อเหล่านี้ลงในห้องเรียนสัปดาห์ถัดไปเพื่อให้ผู้อื่นเห็นและไตร่ตรอง

ขั้นตอนถัดไปของท่าน

ไม่ว่าท่านจะมีความเชื่ออย่างแรงกล้าในพระผู้เป็นเจ้าหรือพยายามที่จะกำหนดสิ่งที่ท่านเชื่อ มีหลายสิ่งที่เราแต่ละคนอาจทำได้เพื่อเสริมสร้างความเชื่อและความรักต่อพระผู้เป็นเจ้า ใช้เวลาสักครู่เพื่อใคร่ครวญว่าท่านรู้สึกว่าก้าวต่อไปที่จะทำเพื่อรู้จักพระผู้เป็นเจ้าให้มากขึ้นคืออะไร จดความคิดของท่านและความประทับใจลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

สรุปบทเรียนด้วยการแบ่งปันประจักษ์พยานถึงพระผู้เป็นเจ้า กระตุ้นให้นักเรียนทำตามความประทับใจที่ได้รับในวันนี้