เซมินารี
แอลมา 57: พยายามเชื่อฟังพระบัญญัติตลอดเวลา


“แอลมา 57: พยายามเชื่อฟังพระบัญญัติตลอดเวลา” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“แอลมา 57” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

แอลมา 57

พยายามเชื่อฟังพระบัญญัติตลอดเวลา

นักรบหนุ่มที่ได้รับบาดเจ็บ

ท่านมีเจตคติอย่างไรต่อการรักษาพระบัญญัติ? เหตุใดเจตคติของท่านจึงสำคัญ? ขณะต่อสู้ในการรบที่อันตรายอีกครั้ง นักรบหนุ่มเชื่อฟัง “คำสั่งทุกคำอย่างเคร่งครัด” โดยมอบ “ความไว้วางใจของตนในพระผู้เป็นเจ้าตลอดเวลา” (แอลมา 57:21, 27) บทเรียนนี้ออกแบบไว้ช่วยให้ท่านพยายามจะเชื่อฟังพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าตลอดเวลา

ช่วยนักเรียนฝึกใช้ทักษะการศึกษาตลอดทั้งปี ครูสามารถแสดงให้นักเรียนเห็นวิธีใช้ทักษะการศึกษาพระคัมภีร์และวิธีการเรียนรู้หลายๆ วิธีในชั้นเรียน ท่านอาจต้องการหยุดสักครู่และสนทนาสั้นๆ ว่าจะใช้วิธีหรือทักษะอย่างไรแล้วฝึกใช้ระหว่างบทเรียน กระตุ้นให้นักเรียนใช้ทักษะในการศึกษาส่วนตัวด้วย

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงแบบอย่างการเชื่อฟังพระบิดาบนสวรรค์ของพระผู้ช่วยให้รอด และไตร่ตรองว่าพวกเขาจะเรียนรู้จากแบบอย่างเหล่านั้นได้อย่างไร

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำได้

เจตคติต่อพระบัญญัติ

เพื่อช่วยเตรียมนักเรียนให้พร้อมเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษาพระบัญญัติ ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้พวกเขาทำกิจกรรมต่อไปนี้ กระตุ้นให้นักเรียนทำให้คำอธิบายของพวกเขาใช้ได้จริงและตรงประเด็น

อธิบายเจตคติต่างกันสามอย่างที่บางคนอาจจะมีต่อการรักษาพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าและเหตุผล

ขณะที่นักเรียนแบ่งปัน ท่านอาจจะเขียนเจตคติเหล่านั้นไว้บนกระดาน: กระตุ้นให้นักเรียนแบ่งปันเหตุผลจริงๆ ว่าทำไมบางคนจึงมีเจตคตินี้

ใช้เวลาสักครู่เขียนคำตอบของคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

  • ท่านมีเจตคติอย่างไรต่อการรักษาพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า? เหตุใดเจตคติของท่านจึงสำคัญ?

  • หากปัจจุบันท่านไม่ได้พยายามรักษาพระบัญญัติให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ อะไรขัดขวางไม่ให้ทำเช่นนั้น?

ขณะศึกษาวันนี้ ให้มองหาหลักธรรมเกี่ยวกับการเชื่อฟังที่อาจดลใจและจูงใจท่านและช่วยท่านตอบคำถามหรือไขข้อกังวล ไตร่ตรองว่าหลักธรรมเหล่านั้นจะประยุกต์ใช้และเป็นพรแก่ชีวิตท่านได้อย่างไร

นักรบหนุ่ม

ใน บทเรียนก่อนนี้ ท่านได้เรียนรู้ว่านักรบหนุ่ม 2,000 คนช่วยให้แอนทิพุสและคนของเขาชนะกองทัพชาวเลมันที่ “แข็งแรงที่สุด” และ “มีกำลังพลมากที่สุด” ในแผ่นดินส่วนนั้น (ดู แอลมา 56:34) ใน แอลมา 57 ฮีลามันเขียนจดหมายถึงแม่ทัพโมโรไนต่อ บุตรอีกหกสิบคนของชาวแอมันมาสมทบกับกองทัพของเขา (ดู แอลมา 57:6) และนักรบหนุ่ม 2,060 คนต้องเผชิญกับภัยคุกคามอีกครั้ง ชาวเลมันโจมตีชาวนีไฟและกำลังจะพ่ายแพ้เมื่อทหารกลุ่มหนึ่งที่ขนย้ายเชลยชาวเลมันมาสมทบกับฮีลามันและคนของเขาพอดี (ดู แอลมา 57:1–18)

ทักษะการศึกษาพระคัมภีร์สองทักษะที่ทำให้การศึกษาเรื่องนี้ของท่านลึกซึ้งขึ้นและช่วยท่านประยุกต์ใช้บทเรียนเรื่องนี้กับชีวิตคือการระบุและไตร่ตรองคำหรือวลีสำคัญๆ

อ่าน แอลมา 57:19–23 เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น อาจจะทำเครื่องหมายคำและวลีที่พูดถึงนักรบหนุ่มของฮีลามัน

เพื่อจำลองทักษะนี้ ท่านอาจจะศึกษา แอลมา 57:19–20 ด้วยกันและชี้ให้เห็นคำและวลีต่างๆ เช่น “ยืนหยัด” และ “ไม่หวาดหวั่น” กระตุ้นให้นักเรียนค้นหาความหมายของคำเหล่านี้และแบ่งปันความหมายที่มีผลต่อความเข้าใจของพวกเขา จากนั้นให้นักเรียนหาคำและวลีสำคัญอื่นๆ ใน แอลมา 57:21–23 และแบ่งปันความคิดของพวกเขาเกี่ยวกับคำและวลีเหล่านั้น

ใน ข้อ 21 ท่านอาจจะทำเครื่องหมายว่าฮีลามันพูดถึงการเชื่อฟังของชายหนุ่มเหล่านี้ว่าอย่างไร อ่าน แอลมา 58:40 เพื่อมองหาเจตคติของนักรบต่อพระผู้เป็นเจ้าและพระบัญญัติของพระองค์หลังจากการคุกคามทางทหารครั้งต่อมา

  • ท่านคิดว่า “ถือปฏิบัติตามคำสั่งทุกคำอย่างเคร่งครัด” (แอลมา 57:21) และ “ยึดมั่นต่อการรักษา … พระบัญญัติของพระองค์ตลอดเวลา” (แอลมา 58:40)?

  • ศรัทธาของเราและการระลึกถึงพระเยซูคริสต์มีอิทธิพลต่อความปรารถนาและความสามารถของเราในการเชื่อฟังพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร?

อ่าน แอลมา 57:24–27 เพื่อมองหาคำหรือวลีที่แสดงให้เห็นว่าพวกบุตรของฮีลามันได้รับพรอย่างไรในการรบครั้งที่สองเพราะศรัทธาและการเชื่อฟังพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา

ให้นักเรียนแบ่งปันว่าพวกเขาประทับใจวลีใด และคิดว่าเหตุใดวลีเหล่านั้นจึงสำคัญ

  • ท่านเรียนรู้อะไรบ้างจากเรื่องนี้ที่เชื่อมโยงกับชีวิตของท่านในปัจจุบัน?

กระตุ้นให้นักเรียนแบ่งปันหลักธรรมต่างๆ ท่านอาจจะเขียนคำตอบไว้บนกระดาน

หลักธรรมข้อหนึ่งที่เราได้เรียนรู้คือ ถ้าเราวางใจในพระผู้เป็นเจ้าและพยายามทำตามพระบัญชาของพระองค์ตลอดเวลา พระองค์ย่อมประทานพรเราโดยเดชานุภาพอันน่าอัศจรรย์ของพระองค์

  • การรู้ว่ามี “พระผู้เป็นเจ้าผู้เที่ยงธรรม” ผู้ทรงมีเดชานุภาพอัน “ปาฏิหาริย์” และ “อัศจรรย์” (แอลมา 57:26) จะส่งผลอย่างไรต่อเจตคติที่เรามีต่อการเชื่อฟังพระองค์?

  • ท่านคิดว่าพระเจ้าทรงต้องการให้เรามีเจตคติเช่นไรเมื่อเราพยายามรักษาพระบัญญัติของพระองค์แต่ขาดการเชื่อฟังโดยครบถ้วน? ความเข้าใจของท่านเรื่องการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ช่วยตอบคำถามนี้อย่างไร?

สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าเมื่อเราเชื่อฟังพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ย่อมประทานพรเราในวิธีและเวลาของพระองค์เอง ในการรบทั้งสองครั้ง นักรบหนุ่มรอดชีวิตทั้งที่มีการต่อสู้ที่เป็นอันตรายและการบาดเจ็บ

ให้เวลานักเรียนสองสามนาทีทำข้อต่อไปนี้อย่างน้อยสองข้อ

  1. อ่านข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้อย่างน้อยสองข้อเพื่อเพิ่มความเข้าใจของท่านเรื่องจุดประสงค์ของพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าและวิธีที่พระองค์ประทานพรท่านเพราะการเชื่อฟัง: อับราฮัม 3:25; ยอห์น 14:15; โมไซยาห์ 2:41; แอลมา 9:13

  2. นึกถึงแบบอย่างการเชื่อฟังพระบิดาบนสวรรค์ของพระผู้ช่วยให้รอด และไตร่ตรองสิ่งที่ท่านเรียนรู้จากแบบอย่างของพระองค์ เอ็ลเดอร์ ดี. เฮลส์ (1932–2017) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า “ความรักของเราต่อพระผู้ช่วยให้รอดเป็นกุญแจสู่การเชื่อฟังเหมือนพระผู้ช่วยให้รอด” (ดู “ถ้าพวกท่านรักเรา ท่านก็จะประพฤติตามบัญญัติของเราเลียโฮนา, พ.ค. 2014, 37) นึกถึงเหตุผลบางประการที่ท่านรักพระผู้ช่วยให้รอด และความรักนั้นส่งผลอย่างไรต่อเจตคติของท่านต่อการเชื่อฟังพระบัญญัติ

  3. ใคร่ครวญวิธีที่ท่านได้เชื่อฟังพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าและพรที่พระองค์ประทานแก่ท่านเพราะการเชื่อฟังของท่าน

หลังจากนักเรียนทำเสร็จแล้ว ให้พวกเขาทำตามคำแนะนำเหล่านี้สุดความสามารถ: ลุกขึ้นยืน หาคนหนึ่งในห้อง แล้วแบ่งปันสิ่งที่ท่านเรียนรู้จากงานหนึ่งอย่าง หาอีกคนในห้อง แล้วแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้จากงานอีกอย่างหนึ่ง กลับไปนั่งที่ของท่าน

หลังจากนักเรียนทำเสร็จแล้ว ให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้ผ่านการศึกษาของตนเองกับชั้นเรียนหรือสิ่งที่มีความหมายที่เพื่อนร่วมชั้นได้แบ่งปัน

นึกถึงพระบัญญัติข้อหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า อธิบายว่าจะเป็นอย่างไรถ้าวัยรุ่นสมัยนี้พยายามระลึกถึงพระเจ้าและเชื่อฟังพระบัญญัติข้อนี้ตลอดเวลา แล้วอธิบายว่าวัยรุ่นที่เชื่อฟังแบบนี้น่าจะได้รับพรอะไรบ้าง

  • มีเหตุผลใดบ้างที่เราอาจรู้สึกถูกล่อลวงไม่ให้เชื่อฟังพระบัญญัติสุดความสามารถ? เราจะเอาชนะการล่อลวงเหล่านี้ได้อย่างไร?

  • การพยายามรักษาพระบัญญัติทำให้เราต้องพึ่งพาพระผู้ช่วยให้รอดพระเยซูคริสต์ตลอดเวลาอย่างไร?

เพื่อสรุปบทเรียนนี้ ให้ตั้งเป้าหมายในสมุดบันทึกการศึกษาว่าท่านต้องการ “ระลึกถึงพระเจ้าพระผู้เป็นเจ้า [ของท่านทุกวัน]; [และ] … ยึดมั่นต่อการรักษา … พระบัญญัติของพระองค์ตลอดเวลา” (แอลมา 58:40) อย่างไร ท่านอาจจะเลือกพระบัญญัติข้อหนึ่งที่ท่านต้องการเชื่อฟังให้ดีขึ้น เป้าหมายส่วนหนึ่งของท่านคือการให้เวลาตนเองช่วงหนึ่ง—ตัวอย่างเช่น “ฉันจะสวดอ้อนวอนอย่างจริงใจตอนเช้าและตอนกลางคืนเป็นเวลาห้าวันติดต่อกัน” หรือ “ฉันจะ ในวันสะบาโตเป็นเวลาสี่สัปดาห์ติดต่อกัน”

อาจเป็นประโยชน์ถ้ารู้ว่าจะมีโอกาสในบทเรียน “ประเมินผลการเรียนรู้ของท่าน 7” ให้นักเรียนประเมินความก้าวหน้าของตน