เซมินารี
โมโรไน 7:1–19: “ค้นหาอย่างขยันหมั่นเพียรโดยผ่านแสงสว่างของพระคริสต์”


“โมโรไน 7:1–19: ‘ค้นหาอย่างขยันหมั่นเพียรโดยผ่านแสงสว่างของพระคริสต์’” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“โมโรไน 7:1–19” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

โมโรไน 7:1–19

“ค้นหาอย่างขยันหมั่นเพียรโดยผ่านแสงสว่างของพระคริสต์”

ประชาชนกำลังฟังพระคริสต์

บางครั้งอาจเป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด แต่พระผู้เป็นเจ้าประทานความช่วยเหลือแก่เรา โมโรไนกระตุ้นให้เราใช้แสงสว่างของพระคริสต์เพื่อรู้สิ่งที่ถูกจากสิ่งที่ผิดตามถ้อยคำของบิดาของเขา บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านพึ่งพาพระเยซูคริสต์เพื่อตัดสินระหว่างความดีกับความชั่ว

กระตุ้นให้นักเรียนคิดอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับหลักธรรมพระกิตติคุณ การศึกษาพระคัมภีร์โดยละเอียดจะสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนจดจำได้ว่าหลักธรรมพระกิตติคุณมีอิทธิพลต่อชีวิตพวกเขาอย่างไร เชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงประสบการณ์ในอดีตที่ช่วยให้พวกเขาเข้าใกล้พระเยซูคริสต์มากขึ้น

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนเตรียมแบ่งปันว่าการเลือกของพวกเขาได้รับอิทธิพลจากความเชื่อในพระเยซูคริสต์อย่างไร

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

สี่เหลี่ยมจัตุรัสอันไหนสว่างกว่ากัน?

ท่านอาจเริ่มชั้นเรียนโดยให้ดูภาพต่อไปนี้ เชื้อเชิญให้นักเรียนมองไปที่สี่เหลี่ยมจตุรัสสีเทาสองอัน แล้วบอกคู่ว่าอันไหนสว่างกว่ากัน

ภาพลวงตาของสี่เหลี่ยมจตุรัสสีเทาบนเส้นสีขาวและสีดำ

ท่านจะแปลกใจหรือไม่ที่รู้ว่าสี่เหลี่ยมจตุรัสสีเทาทั้งสองมีเฉดสีเดียวกัน? สมองของท่านรับรู้ว่าสี่เหลี่ยมจตุรัสสีเทาทั้งสองมีเฉดสีที่แตกต่างกันเนื่องจากมีสีอ่อนหรือสีเข้มอยู่รอบๆ

แทนที่จะอ่านย่อหน้าต่อไปนี้ ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนอ่าน อิสยาห์ 5:20 และขอให้พวกเขาเปรียบเทียบภาพลวงตาของสี่เหลี่ยมจัตุรัสกับคำพยากรณ์ของอิสยาห์เกี่ยวกับยุคสมัยของเรา

อาจมีบางสถานการณ์ที่ยากที่จะตัดสินได้อย่างถูกต้องเช่นเดียวกับภาพลวงตานี้ อิสยาห์พยากรณ์ว่าในยุคสุดท้าย บางคนจะ “เรียกความชั่วว่าดี, และความดีว่าชั่ว [และ] ให้ความมืดแทนความสว่าง, และความสว่างแทนความมืด” (อิสยาห์ 5:20; ดู 2 นีไฟ 15:20 ด้วย)

เพื่อช่วยให้นักเรียนคิดว่าพวกเขาเห็นคำพยากรณ์ของอิสยาห์เกิดสัมฤทธิผลอย่างไรในยุคสมัยของเรา ท่านอาจสนทนาเกี่ยวกับคำถามเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งข้อกับนักเรียน

  • วิธีหนึ่งที่ท่านเคยเห็นผู้คนในยุคสมัยของเรา “เรียกความชั่วว่าดีและความดีว่าชั่ว” คืออะไร?

  • สิ่งที่ทำให้คนบางคนมองเห็นความจริงได้ง่ายหรือชัดเจนเป็นเรื่องยากมีอะไรบ้าง?

เชื้อเชิญนักเรียนให้ไตร่ตรองคำตอบของคำถามต่อไปนี้ในใจ

  • ท่านพิจารณาได้อย่างไรว่าสิ่งใดถูกหรือผิด?

  • ท่านมั่นใจเพียงใดว่าท่านสามารถแยกแยะความดีจากความชั่ว? เพราะเหตุใด?

นึกถึงบางสิ่งที่ท่านต้องการแยกแยะให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าดีหรือไม่ดี ตัวอย่างเช่น บางคนอาจคิดว่าการเลือกเพลงของตนนั้นดี แต่พ่อแม่ของพวกเขาอาจไม่เห็นด้วย ใครถูก? ตัวอย่างอื่นๆ อาจเป็นการตัดสินใจว่าจะแสดงออกอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาทางสังคม เช่น เลือกว่าจะเป็นเพื่อนกับใคร การมีส่วนร่วมในงานอดิเรก และอื่นๆ

ขณะศึกษาในวันนี้ ให้มองหาสิ่งที่จะช่วยให้ท่านรู้ว่านั่นเป็นสิ่งดีหรือไม่ดี

ความแตกต่างระหว่างความดีกับความชั่ว

เช่นเดียวกับอิสยาห์ โมโรไนเห็นยุคสมัยของเรา (ดู มอรมอน 8:35) เขามอบความช่วยเหลือให้เราในพระคัมภีร์มอรมอน หลังจากสอนความสำคัญของการทำงานดีด้วยเจตนาแท้จริง (ดู โมโรไน 7:1–11) เขาบันทึกถ้อยคำที่มอรมอนบิดาของเขาสอนสมาชิกศาสนจักรเกี่ยวกับการตัดสินระหว่างความดีกับความชั่ว

อ่าน โมโรไน 7:12–17 และท่านอาจทำเครื่องหมายสิ่งที่พบสำหรับแต่ละรายการด้านล่าง:

  1. เราจะรู้ได้อย่างไรว่านั่นเป็นสิ่งดีหรือไม่

  2. เราจะรู้ได้อย่างไรว่านั่นเป็นสิ่งที่ไม่ดีหรือไม่

  3. สิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำเพื่อช่วยเรา

ให้เขียนประโยคข้างต้นสามข้อบนกระดาน แล้วเชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนวลีที่เหมาะสมตามที่ค้นพบไว้ด้านล่างหากท่านรู้สึกว่าวิธีนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่า

  • จากสิ่งที่พบในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ ท่านจะสรุปหลักธรรมที่สนทนาไว้ว่าอย่างไร?

จาก โมโรไน 7:12–17 เราจะค้นพบว่า ทุกสิ่งที่มาจากพระผู้เป็นเจ้าเชื้อเชิญให้เราทำดี เชื่อในพระเยซูคริสต์ รักและรับใช้พระผู้เป็นเจ้า ในทางกลับกัน สิ่งที่ชั่วร้ายชักชวนให้เราทำบาป ปฏิเสธพระเยซูคริสต์ หรือต่อสู้กับพระผู้เป็นเจ้า

ท่านอาจให้นักเรียนทำกิจกรรมต่อไปนี้เป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มเล็ก หรือเป็นชั้นเรียนก็ได้

เพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจคำสอนของมอรมอน สมมติว่าบุคคลหนึ่งเชื่อว่าดนตรีที่เขาฟังและวิธีที่ใช้โทรศัพท์และเทคโนโลยีอื่นๆ เป็นสิ่งที่ดี แต่พ่อแม่หรือผู้นำของพวกเขาไม่เห็นด้วย

  • จากความจริงที่ท่านระบุ บุคคลนี้จะถามอะไรตนเองบ้างเพื่อค้นพบว่าดนตรีและเทคโนโลยีของพวกเขาดีหรือไม่?

ฟังคำตอบของนักเรียนแล้วท่านอาจให้นักเรียนเขียนบนกระดาน หากนักเรียนไม่ได้กล่าวถึงคำถามเหล่านั้น ท่านอาจใช้ตัวอย่างต่อไปนี้:

  • ฟังดนตรีนี้หรือใช้โทรศัพท์และเทคโนโลยีของฉันในแบบที่ฉันทำ …

    • … เติมความคิดของฉันที่จะทำดีหรือทำบาป?

    • … กระตุ้นให้ฉันทำสิ่งที่ผู้ติดตามพระเยซูคริสต์จะทำหรือไม่?

    • … ช่วยให้ฉันรักสิ่งต่างๆ ที่มาจากพระผู้เป็นเจ้าหรือไม่?

โปรดทราบว่าท่านอาจต้องไตร่ตรองถึงศิลปินหรือเพลงแต่ละอย่าง รวมถึงแอป เกม หรือสื่อบางอย่าง นอกจากนี้ ระยะเวลาที่ท่านใช้ในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา

แสงสว่างที่จะช่วยให้ท่านมองเห็น

ท่านอาจสังเกตเห็นว่าในบางสถานการณ์อาจเป็นการยากที่จะตัดสินว่าถูกหรือผิด

ท่านอาจช่วยให้นักเรียนสัมผัสถึงสิ่งที่ขอให้จินตนาการในย่อหน้าต่อไปนี้

ซึ่งอาจทำได้โดยการปิดไฟและขอให้นักเรียนพยายามอธิบายภาพหรืออ่านอะไรบางอย่าง จากนั้นเปิดไฟและเชื้อเชิญให้พวกเขาอธิบายหรืออ่านอีกครั้ง

เมื่อนึกภาพนี้ ให้นึกถึงวลีใน ข้อ 16 ที่แสดงให้เห็นว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยเราอย่างไร

อ่านคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์แห่งฝ่ายประธานสูงสุดเพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจแสงสว่างของพระคริสต์:

ลูกทุกคนของพระบิดาบนสวรรค์ที่เกิดมาในโลกได้รับความสว่างของพระคริสต์เป็นของขวัญได้เปล่าตอนเกิด ท่านเคยรู้สึกถึงสิ่งนั้นแล้ว ความสว่างดังกล่าวคือสำนึกว่าอะไรถูกและอะไรผิด อะไรจริงและอะไรไม่จริง ความสว่างนั้นอยู่กับท่านตั้งแต่การเดินทางในชีวิตเริ่มขึ้น …

… ท่านมีสิ่งที่ต้องเลือกทุกวันและแทบทุกชั่วโมงที่ทำให้ท่านยังคงเดินอยู่ในความสว่างหรือไม่ก็เดินไปสู่ความมืด (เฮนรีย์ บี. อายริงก์, “เดินในความสว่าง,” เลียโฮนา, พ.ค. 2008, 151)

  • ท่านได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับแสงสว่างของพระคริสต์?

topics.ChurchofJesusChrist.org

อ่าน โมโรไน 7:18–19 โดยมองหาคำแนะนำเพิ่มเติมที่มอรมอนให้เกี่ยวกับการตัดสินระหว่างความดีกับความชั่ว

  • ท่านคิดว่า “ค้นหาอย่างขยันหมั่นเพียรโดยผ่านแสงสว่างของพระคริสต์” หมายความว่าอย่างไร?

    ตั้งใจฟังคำตอบของนักเรียน นักเรียนอาจกล่าวถึงการไตร่ตรองในใจ การตัดสินใจ และการฟังจิตใต้สำนึกหรือเสียงในใจเรา อีกแนวคิดหนึ่งคือการคิดว่าอะไรที่ทำให้เราเข้าใกล้พระเยซูคริสต์มากขึ้น หากเป็นประโยชน์ ท่านอาจถามคำถามบางข้อต่อไปนี้:

  • แบบอย่างและคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดอาจเป็นเหมือนแสงสว่างที่จะช่วยให้เราตัดสินระหว่างถูกกับผิดในปัจจุบันอย่างไร?

  • เราจะได้ยินพระวจนะของพระองค์และรู้สึกถึงอิทธิพลของพระองค์ที่นำทางเราได้ในทางใดบ้าง?

อาจเป็นประโยชน์ที่จะถามว่า “ท่านสามารถรับรู้บางสิ่งว่าดีหรือชั่วเพราะแสงสว่างของพระคริสต์ในชีวิตท่านเมื่อใด?”

การประยุกต์ใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้

นึกถึงสถานการณ์ที่ท่านคิดถึงก่อนหน้านี้เมื่อท่านถูกขอให้คิดถึงบางสิ่งที่ต้องการแยกแยะให้ดีขึ้นว่าดีหรือไม่ดี ใช้เวลาสองสามนาทีเพื่อไตร่ตรองร่วมกับการสวดอ้อนวอนถึงวิธีใช้หลักธรรมที่ท่านเรียนรู้ในวันนี้เพื่อพิจารณาสิ่งต่างๆ ว่าถูกหรือผิด พยายามค้นหาแสงสว่างของพระคริสต์อย่างขยันหมั่นเพียรขณะไตร่ตรองสถานการณ์ บันทึกความคิดของท่านลงในสมุดบันทึกการศึกษา

คำถามต่อไปนี้อาจนำมาใช้ในการสรุปชั้นเรียนด้วยการสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้

  • วันนี้ท่านเรียนรู้อะไรที่จะช่วยให้ท่านปรับปรุงความสามารถในการเลือกระหว่างสิ่งที่ถูกกับสิ่งที่ผิด?

  • โปรดระบุสองหรือสามด้านในชีวิตที่ท่านเห็นถึงความจำเป็นในการแยกแยะความดีจากความชั่ว เพราะเหตุใด?