พันธสัญญาใหม่ 2023
27 สิงหาคม ฉันจะแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าฉันรู้ว่าร่างกายฉันเป็นของประทานศักดิ์สิทธิ์จากพระผู้เป็นเจ้า? 1 โครินธ์ 1–7


“27 สิงหาคม ฉันจะแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าฉันรู้ว่าร่างกายฉันเป็นของประทานศักดิ์สิทธิ์จากพระผู้เป็นเจ้า? 1 โครินธ์ 1–7” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2023 (2022)

“27 สิงหาคม ฉันจะแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าฉันรู้ว่าร่างกายฉันเป็นของประทานศักดิ์สิทธิ์จากพระผู้เป็นเจ้า?” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2023

ภาพ
พระวิหาร

พระวิหารอินเดียแนโพลิส อินดีแอนา

27 สิงหาคม

ฉันจะแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าฉันรู้ว่าร่างกายฉันเป็นของประทานศักดิ์สิทธิ์จากพระผู้เป็นเจ้า?

1 โครินธ์ 1–7

ภาพ
ไอคอนหารือกัน

หารือกัน

นำโดยสมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายประธานโควรัมหรือฝ่ายประธานชั้นเรียน ประมาณ 10–20 นาที

เมื่อเริ่มการประชุม ให้ท่อง สาระสำคัญเยาวชนหญิง หรือ สาระสำคัญโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน พร้อมกัน จากนั้นนำการสนทนาเกี่ยวกับงานแห่งความรอดและความสูงส่งโดยใช้คำถามด้านล่างหนึ่งข้อหรือมากกว่านั้นหรือคำถามของท่านเอง (ดู คู่มือทั่วไป, 10.2, 11.2) วางแผนวิธีปฏิบัติตามที่ท่านสนทนา

  • ดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ เมื่อเร็วๆ นี้มีประสบการณ์อะไรนำเราให้ใกล้ชิดพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์มากขึ้น?

  • ดูแลคนขัดสน มีใครเพิ่งย้ายเข้ามาในวอร์ดของเราหรือเพิ่งเข้าร่วมศาสนจักรหรือไม่? เราจะช่วยให้พวกเขารู้สึกถึงการต้อนรับได้อย่างไร?

  • เชื้อเชิญให้ทุกคนรับพระกิตติคุณ กิจกรรมใดจะจัดเร็วๆ นี้ที่เราสามารถชวนเพื่อนๆ มาร่วมได้?

  • ทำให้ครอบครัวเป็นหนึ่งเดียวกันชั่วนิรันดร์ เราจะพยายามทำอะไรได้บ้างเพื่อบันทึกประวัติส่วนตัวของเรา?

ตอนจบบทเรียนให้ทำดังต่อไปนี้เมื่อเห็นเหมาะสม:

  • เป็นพยานถึงหลักธรรมที่สอน

  • เตือนความจำสมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนเกี่ยวกับแผนและคำเชื้อเชิญที่ทำไว้ระหว่างการประชุม

ภาพ
ไอคอนสอนหลักคำสอน

สอนหลักคำสอน

นำโดยผู้นำที่เป็นผู้ใหญ่หรือเยาวชน ประมาณ 25–35 นาที

เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ

ไม่ว่าดีหรือร้าย ดูเหมือนคนทั่วไปจะทราบกันดีถึงสิ่งที่วิสุทธิชนยุคสุดท้ายอย่างเรา ไม่ ทำ สิ่งที่ “ไม่” ทำหลายๆ อย่างนั้นเกี่ยวข้องกับวิธีที่เราปฏิบัติต่อร่างกายของเรา เบื้องหลังการเลือกแต่ละอย่างเหล่านั้นเกี่ยวกับสิ่งที่ต้อง ทำ คือความจริงนิรันดร์บางประการ—สิ่งที่เรา รู้ เมื่อความจริงนิรันดร์ชี้นำการเลือกของเรา การเลือกเหล่านั้นจะง่ายขึ้น น่ายินดีมากขึ้น และยั่งยืนมากขึ้น ความจริงนิรันดร์ยังช่วยเราอธิบายการเลือกของเรากับเพื่อนๆ ด้วย นอกจากจะทราบกันว่าเราไม่ทำอะไรแล้ว น่าจะทราบกันดีกว่านั้นว่าเรารู้อะไร

คิดถึงความจริงนิรันดร์ที่ท่านรู้เกี่ยวกับร่างกายของเรา—ทำไมเรามีร่างกาย พระผู้เป็นเจ้าทรงรู้สึกอย่างไรกับร่างกายเรา และพระองค์ทรงต้องการให้เรารู้สึกอย่างไรกับร่างกายเรา การรู้ความจริงเหล่านี้เป็นพรแก่ท่านและมีอิทธิพลต่อการเลือกของท่านมาแล้วอย่างไร? ความรู้นี้จะเป็นพรแก่สมาชิกของชั้นเรียนหรือโควรัมของท่านได้อย่างไร? ขณะไตร่ตรองเรื่องนี้ ให้อ่าน ปฐมกาล 1:27; 1 โครินธ์ 6:19–20; และบทความของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันเรื่อง “ร่างกายของท่าน: ของประทานอันงดงามที่พึงหวงแหน” (เลียโฮนา, ส.ค. 2019, 50–55)

เรียนรู้ด้วยกัน

ขณะที่สมาชิกของชั้นเรียนหรือโควรัมศึกษาพระคัมภีร์สัปดาห์นี้ พวกเขาอาจเคยมีความคิดเรื่องคำสอนของเปาโลเกี่ยวกับร่างกายของเราใน 1 โครินธ์ 6 วิธีหนึ่งที่จะเชิญพวกเขาแบ่งปันความคิดเหล่านั้นคือแจกกระดาษให้คนละแผ่นและขอให้พวกเขาเขียนคำตอบอย่างน้อยสามข้อของคำถามว่า “ร่างกายเราเหมือนวิหารอย่างไร?” กระตุ้นให้พวกเขาอ่าน 1 โครินธ์ 6:19–20 ขณะไตร่ตรองคำถามนี้ จากนั้นพวกเขาจะแบ่งปันคำตอบให้กัน คำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดเกี่ยวกับร่างกายเรามีอิทธิพลต่อการเลือกของเราอย่างไร? ต่อไปนี้เป็นแนวคิดกิจกรรมเพิ่มเติมบางอย่างเกี่ยวกับหัวข้อนี้ เลือกจากแนวคิดเหล่านี้ หรือวางแผนกิจกรรมของท่านเอง

  • ถ้าท่านต้องการสนทนาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปรียบเทียบของเปาโลระหว่างร่างกายกับวิหาร ท่านอาจให้ดูภาพพระวิหารหลายๆ แห่ง หาภาพบางภาพได้ที่ temples.ChurchofJesusChrist.org สมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมอาจจะสนทนาความแตกต่างที่เห็นในพระวิหารเหล่านี้ ตามด้วยสิ่งที่พระวิหารมีเหมือนๆ กัน พวกเขาอาจจะพูดคุยกันว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรเมื่ออยู่ในพระวิหาร อะไรทำให้พระวิหารเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางวิญญาณ? จากนั้นให้ชั้นเรียนหรือโควรัมเชื่อมโยงสิ่งที่สนทนาไปแล้วเกี่ยวกับพระวิหารกับร่างกายเรา คำสอนเกี่ยวกับพระวิหารใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 97:15–16; 109:8, 12 จะเชื่อมโยงกับร่างกายเราได้อย่างไร?

  • สมาชิกของชั้นเรียนหรือโควรัมน่าจะเคยมี—หรือจะมี—โอกาสอธิบายว่าทำไมพวกเขาทำตามคำสอนของพระผู้ช่วยให้รอดเกี่ยวกับการดูแลร่างกายของพวกเขา ท่านอาจจะถามบางคนว่าพวกเขาจะตอบว่าอย่างไรถ้ามีคนถามว่าทำไมพวกเขาไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา หรือกาแฟ หรือทำไมพวกเขาไม่สวมเสื้อผ้าแบบนั้น ความจริงอะไรบ้างจากพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ที่ส่งผลต่อวิธีที่เราปฏิบัติต่อร่างกายเรา? สมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมอาจจะหาความจริงบางประการเหล่านี้ใต้ “แหล่งข้อมูลสนับสนุน

  • พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงต้องการให้เรารู้สึกอย่างไรกับร่างกายเรา? ท่านอาจจะสนทนาวิธีต่างๆ ที่ซาตานพยายามชักจูงให้เราดูถูกหรือแม้ถึงกับเกลียดร่างกายของเรา เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเอาชนะคำโกหกและการล่อลวงของเขา? ความจริงอะไรบ้างจะช่วยเรา? แหล่งข้อมูลบางอย่างใต้ “แหล่งข้อมูลสนับสนุน” อาจเป็นประโยชน์

ภาพ
เยาวชนวิ่งเหยาะๆ

ร่างกายเราเป็นของประทานจากพระผู้เป็นเจ้า และความจริงของพระกิตติคุณช่วยเราดูแลร่างกายของเรา

กระทำด้วยศรัทธา

กระตุ้นให้สมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองและบันทึกสิ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อกระทำตามการกระตุ้นเตือนที่ได้รับวันนี้ พวกเขาอาจแบ่งปันแนวคิดของตน ถ้าต้องการ เชื้อเชิญให้พวกเขาตรึกตรองว่าการกระทำตามการกระตุ้นเตือนเหล่านั้นจะกระชับความสัมพันธ์ของพวกเขากับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์อย่างไร

แหล่งข้อมูลสนับสนุน

  • ปฐมกาล 1:27; 1 โครินธ์ 6:19–20; แอลมา 11:42–44; 40:23; หลักคำสอนและพันธสัญญา 89; 130:22

  • ครอบครัว: ถ้อยแถลงต่อโลก” โดยเฉพาะสามย่อหน้าแรก

  • พระเจ้าประทานพระวิหารให้ฉันหนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 73

  • บทความเกี่ยวกับร่างกายของเราใน New Era หรือ เลียโฮนา เดือนสิงหาคมปี 2019

  • ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนว่า: “โดยการมอบของประทานแห่งร่างกายแก่เรา พระผู้เป็นเจ้าทรงยอมให้เราเดินก้าวสำคัญสู่การเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้น ซาตานเข้าใจเรื่องนี้ … ฉะนั้นการล่อลวงหลายอย่างหรือเกือบทั้งหมดที่เขาวางไว้ในทางของเราทำให้เราใช้ร่างกายของเราหรือของผู้อื่นในทางที่ผิด … ร่างกายของท่านคือพระวิหารส่วนตัว สร้างขึ้นเพื่อให้วิญญาณนิรันดร์ของท่านอาศัยอยู่ [ดู 1 โครินธ์ 3:16–17; 6:18–20] การดูแลพระวิหารเป็นสิ่งสำคัญ เวลานี้ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ท่านสนใจเครื่องแต่งกายและเสริมสวยร่างกายท่านเพื่อให้โลกสนใจมากกว่าจะให้พระผู้เป็นเจ้าพอพระทัยหรือ? คำตอบของท่านสำหรับคำถามนี้ส่งข้อความตรงไปหาพระองค์เกี่ยวกับความรู้สึกของท่านในเรื่องของประทานพิเศษที่ประทานแก่ท่าน” (“เราสามารถทำได้ดีขึ้นและเป็นคนดีขึ้น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 68)

  • เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันสอน: “คนที่เชื่อว่าร่างกายเราไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าผลของวิวัฒนาการจะรู้สึกว่าไม่ต้องมีภาระรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าหรือใครก็ตามในสิ่งที่เขาทำกับบุคคลเหล่านั้นหรือกับร่างกายเขาเอง เราผู้มีพยานถึงความเป็นจริงของนิรันดรก่อนชีวิตมรรตัย ในชีวิตมรรตัย และหลังชีวิตมรรตัยพึงยอมรับว่าเรามีหน้าที่ต่อพระผู้เป็นเจ้าเกี่ยวกับความสำเร็จสูงสุดนี้ของพระองค์ในการสร้างร่างกาย … ร่างกายเป็นเครื่องมือของวิญญาณเรา ด้วยเหตุนี้จึงสำคัญอย่างยิ่งที่เราต้องดูแลให้ดีที่สุด เราควรอุทิศถวายพลังกายรับใช้และขยายงานของพระคริสต์” (“สะท้อนถึงชีวิตที่อุทิศถวาย,” เลียโฮนา, พ.ย 2010, 17)

การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด

จงรู้สึกไวต่อคนพิการหรือมีความท้าทายอื่นทางร่างกายในชั้นเรียนหรือโควรัมของท่าน ช่วยให้คนเหล่านั้นเข้าใจว่าร่างกายของทุกคนมีค่าและควรได้รับความเคารพ ความรักเหมือนพระคริสต์ที่ท่านแสดงต่อคนทั้งปวงจะมีอิทธิพลแรงกล้าต่อวิธีที่สมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมมองกันและมองตนเอง

พิมพ์