พันธสัญญาใหม่ 2023
10 กันยายน ฉันจะพบการปลอบประโลมในพระเยซูคริสต์ได้อย่างไรเมื่อคนที่ฉันรักสิ้นชีวิต? 1 โครินธ์ 14–16


“10 กันยายน ฉันจะพบการปลอบประโลมในพระเยซูคริสต์ได้อย่างไรเมื่อคนที่ฉันรักสิ้นชีวิต? 1 โครินธ์ 14–16” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2023 (2022)

“10 กันยายน ฉันจะพบการปลอบประโลมในพระเยซูคริสต์ได้อย่างไรเมื่อคนที่ฉันรักสิ้นชีวิต?” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2023

ภาพ
ผู้หญิงกำลังเดิน

10 กันยายน

ฉันจะพบการปลอบประโลมในพระเยซูคริสต์ได้อย่างไรเมื่อคนที่ฉันรักสิ้นชีวิต?

1 โครินธ์ 14–16

ภาพ
ไอคอนหารือกัน

หารือกัน

นำโดยสมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายประธานโควรัมหรือฝ่ายประธานชั้นเรียน ประมาณ 10–20 นาที

เมื่อเริ่มการประชุม ให้ท่อง สาระสำคัญเยาวชนหญิง หรือ สาระสำคัญโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน พร้อมกัน จากนั้นนำการสนทนาเกี่ยวกับงานแห่งความรอดและความสูงส่งโดยใช้คำถามด้านล่างหนึ่งข้อหรือมากกว่านั้นหรือคำถามของท่านเอง (ดู คู่มือทั่วไป, 10.2, 11.2) วางแผนวิธีปฏิบัติตามที่ท่านสนทนา

  • ดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ การหันมาหาพระเจ้าจะช่วยเรารับมือกับความท้าทายและการทดลองต่างๆ ได้อย่างไร?

  • ดูแลคนขัดสน เรารู้จักใครบ้างที่ต้องการคำสวดอ้อนวอนและมิตรภาพจากเรา?

  • เชื้อเชิญให้ทุกคนรับพระกิตติคุณ ในการประชุมสภาเยาวชนวอร์ดพูดถึงแผนการแบ่งปันพระกิตติคุณอะไรบ้าง? ชั้นเรียนและโควรัมของเราจะมีส่วนได้อย่างไร?

  • ทำให้ครอบครัวเป็นหนึ่งเดียวกันชั่วนิรันดร์ การทำงานประวัติครอบครัวจะกระชับความสัมพันธ์ของเรากับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูได้อย่างไร?

ตอนจบบทเรียนให้ทำดังต่อไปนี้เมื่อเห็นเหมาะสม:

  • เป็นพยานถึงหลักธรรมที่สอน

  • เตือนความจำสมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนเกี่ยวกับแผนและคำเชื้อเชิญที่ทำไว้ระหว่างการประชุม

ภาพ
ไอคอนสอนหลักคำสอน

สอนหลักคำสอน

นำโดยผู้นำที่เป็นผู้ใหญ่หรือเยาวชน ประมาณ 25–35 นาที

เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ

เมื่อคนที่เราห่วงใยสิ้นชีวิต เรารู้สึกแย่มาก การแยกจากคนที่เรารักทำให้เรารู้สึกเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้ง แต่เปาโลสอนว่าสุดท้ายแล้ว “ความตายก็ถูกกลืนเข้าในชัยชนะแล้ว” (1 โครินธ์ 15:54) เพราะการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ “ความเจ็บแปลบ [เหล็กใน] แห่งความตาย”—ความเจ็บปวดและความสิ้นหวังที่เรารู้สึกในมรรตัย—“ถูกกลืนเข้าไปในพระคริสต์” (โมไซยาห์ 16:7–8; ดู 1 โครินธ์ 15:54–57 ด้วย)

เมื่อถึงจุดหนึ่งทุกคนจะประสบความตายของคนที่เรารัก ท่านจะช่วยให้คนที่ท่านสอนพบการปลอบประโลมในช่วงเวลายากๆ เหล่านั้นผ่านศรัทธาของพวกเขาในพระเยซูคริสต์อย่างไร? นึกถึงคำถามนี้ขณะเตรียมสอนโดยอ่าน 1 โครินธ์ 15, โมไซยาห์ 16:7–9 และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 42:44–46

เรียนรู้ด้วยกัน

ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมเล่าตอนที่พวกเขาเคยรู้สึกเจ็บแปลบบางอย่าง จากนั้นอาจจะถามว่าพวกเขาคิดว่าทำไมเปาโลจึงใช้คำว่า “เหล็กใน (ความเจ็บแปลบ)” เพื่อพูดถึงความตาย (ดู 1 โครินธ์ 15:54–56) ให้เวลาพวกเขาสองสามนาทีทบทวน 1 โครินธ์ 15 และแบ่งปันความจริงที่พบเกี่ยวกับวิธีเอาชนะความเจ็บแปลบ (เหล็กใน) แห่งความตาย จากนั้นให้ใช้กิจกรรมดังต่อไปนี้ช่วยให้เยาวชนเข้าใจดีขึ้นว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงปลอบประโลมเราได้อย่างไรเมื่อคนที่เราห่วงใยสิ้นชีวิต

  • ท่านอาจจะแบ่งสมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมเป็นคู่ๆ และขอให้แต่ละคู่ทบทวนพระคัมภีร์บางข้อใน “แหล่งข้อมูลสนับสนุน” ด้วยกัน พวกเขาอาจจะเขียนคำตอบของคำถาม “ฉันหวังจะจดจำความจริงสำคัญๆ อะไรได้บ้างเมื่อฉันสูญเสียคนที่ฉันรัก?” ขอให้พวกเขารวมข้อมูลจากข้อพระคัมภีร์ไว้ในคำตอบของพวกเขา แล้วเชิญพวกเขาแบ่งปันความจริงที่มีความหมายต่อพวกเขามากที่สุดและเหตุใดจึงมีความหมาย

  • อาจจะทบทวนเรื่องหนึ่งจากข่าวสารการประชุมใหญ่ด้วยกันที่แสดงให้เห็นว่าคนๆ หนึ่งพบความหวังในพระเยซูคริสต์อย่างไรเมื่อคนที่พวกเขาห่วงใยสิ้นชีวิต ตัวอย่างได้แก่ ข่าวสารของซิสเตอร์เรย์นา ไอ. อะบูร์โตเรื่อง “หลุมศพไม่มีชัยชนะ” (เลียโฮนา, พ.ค. 2021, 85–86) หรือข่าวสารของเอ็ลเดอร์เอส. มาร์ก พอลเมอร์เรื่อง “ความทุกข์ของเราจะกลับกลายเป็นความชื่นชมยินดี” (เลียโฮนา, พ.ค. 2021, 88–89) ท่านอาจได้รับการกระตุ้นเตือนให้แบ่งปันประสบการณ์ของท่านเองหรือเชิญเยาวชนแบ่งปันว่าพวกเขาพบการปลอบประโลมและความหวังในพระเยซูคริสต์หลังจากคนที่พวกเขารักสิ้นชีวิตอย่างไร

  • หลังจากพิจารณาความต้องการของสมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมแล้ว ให้ฉายวีดิทัศน์ใน “แหล่งข้อมูลสนับสนุน” หนึ่งเรื่องหรือมากกว่านั้น เชิญเยาวชนแบ่งปันความประทับใจของพวกเขา การรู้ว่าพระเยซูคริสต์ฟื้นคืนพระชนม์มีผลต่อวิธีที่เรามองความตายอย่างไร? เชิญสมาชิกของชั้นเรียนหรือโควรัมแบ่งปันประจักษ์พยานของพวกเขาเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดและการฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ และความรู้นี้ทำให้พวกเขาเกิดความหวังอย่างไร

  • ยอห์น 11 พูดถึงประสบการณ์ของพระผู้ช่วยให้รอดกับความตายของคนที่พระองค์ทรงรัก—ลาซารัสเพื่อนของพระองค์ ชั้นเรียนหรือโควรัมอาจจะอ่าน ข้อ 1–45 ด้วยกัน และขณะอ่านพวกเขาอาจจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้จากแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอด เราสามารถเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้ที่ปลอบประโลมเราเมื่อคนที่เราห่วงใยสิ้นชีวิต? เราจะทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในการ “โศกเศร้ากับคนที่โศกเศร้า … และปลอบโยนคนที่ต้องการการปลอบโยน” ได้อย่างไร? (โมไซยาห์ 18:9) เราเรียนรู้อะไรจาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 42:45–46 ที่สามารถช่วยเราทำตามแบบอย่างของพระองค์?

ภาพ
เยาวชนชายไตร่ตรอง

ประจักษ์พยานของเราในการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ให้ความหวังแก่เราเมื่อคนที่เรารักสิ้นชีวิต

กระทำด้วยศรัทธา

กระตุ้นให้สมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองและบันทึกสิ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อกระทำตามการกระตุ้นเตือนที่ได้รับวันนี้ พวกเขาอาจแบ่งปันแนวคิดของตน ถ้าต้องการ เชื้อเชิญให้พวกเขาตรึกตรองว่าการกระทำตามการกระตุ้นเตือนเหล่านั้นจะกระชับความสัมพันธ์ของพวกเขากับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์อย่างไร

แหล่งข้อมูลสนับสนุน

การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด

การสอนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติศาสนกิจด้วยความรักและการช่วยให้ผู้อื่นได้รับพรของพระกิตติคุณ และความช่วยเหลือนี้มักเป็นสิ่งที่สมาชิกชั้นเรียนที่แข็งขันน้อยต้องการพอดี เราทุกคนต้องทำงานด้วยกันเพื่อยื่นมือช่วยเหลือคนที่ประสบปัญหา และในฐานะครูท่านอยู่ในตำแหน่งที่จะช่วยได้

พิมพ์