“29 เมษายน–5 พฤษภาคม: ‘การเปลี่ยนแปลงอันลึกล้ำ’ โมไซยาห์ 4–6,” จงตามเรามา—สำหรับบ้านและศาสนจักร: พระคัมภีร์มอรมอน 2024 (2024)
“29 เมษายน–5 พฤษภาคม โมไซยาห์ 4–6,” จงตามเรามา—สำหรับบ้านและศาสนจักร: 2024 (2024)
29 เมษายน–5 พฤษภาคม: “การเปลี่ยนแปลงอันลึกล้ำ”
โมไซยาห์ 4–6
ท่านเคยได้ยินคนพูดและรู้สึกได้รับการดลใจให้เปลี่ยนชีวิตท่านหรือไม่? ท่านอาจจะตัดสินใจดำเนินชีวิตต่างจากเดิมเล็กน้อย—หรือแม้ต่างจากเดิมมากเพราะสิ่งที่ท่านได้ยิน โอวาทของกษัตริย์เบ็นจามินเป็นเช่นนั้น และความจริงที่เขาสอนมีผลเช่นนั้นต่อคนที่ได้ยิน กษัตริย์เบ็นจามินแบ่งปันสิ่งที่เทพสอนเขาให้แก่ผู้คน—ว่าพรสุดวิเศษเกิดขึ้นได้ผ่าน “พระโลหิตที่ชดใช้ของพระคริสต์” (โมไซยาห์ 4:2) ข่าวสารของพระองค์เปลี่ยนการมองตนเองของพวกเขา (ดู โมไซยาห์ 4:2) พระวิญญาณเปลี่ยนความปรารถนาของพวกเขา (ดู โมไซยาห์ 5:2) และพวกเขาทำพันธสัญญากับพระผู้เป็นเจ้าว่าจะทำตามพระประสงค์ของพระองค์เสมอ (ดู โมไซยาห์ 5:5) คำพูดของกษัตริย์เบ็นจามินมีผลต่อผู้คนของเขาเช่นที่กล่าวมา และจะมีผลต่อท่านอย่างไร?
แนวคิดสำหรับการเรียนรู้ที่บ้านและที่โบสถ์
โดยผ่านพระเยซูคริสต์ฉันสามารถได้รับและมีการปลดบาปของฉันอยู่เสมอ
บางครั้งแม้เมื่อท่านรู้สึกได้รับการอภัยบาปแล้ว ท่านอาจจะรักษาความรู้สึกนั้นและอยู่บนเส้นทางแห่งความชอบธรรมได้ยาก กษัตริย์เบ็นจามินสอนให้ผู้คนของเขารู้ทั้งวิธีรับและคงไว้ซึ่งการปลดบาปอยู่เสมอ ขณะที่ท่านศึกษาโมไซยาห์ บทที่ 4 ท่านอาจจะถามคำถามดังนี้:
-
ข้อ 1–8เงื่อนไขของการที่พระผู้เป็นเจ้าจะประทานการปลดบาปของท่านมีอะไรบ้าง? ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระองค์ในข้อเหล่านี้ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ท่านกลับใจ? ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่าท่านกลับใจแล้ว?
-
ข้อ 11–16ตามที่กล่าวไว้ในข้อเหล่านี้ จะเกิดอะไรขึ้นในชีวิตเราถ้าเราทำสิ่งที่อธิบายไว้ใน ข้อ 11? ท่านหรือคนที่ท่านรักเคยประสบกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างไร? เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กับการเปลี่ยนแปลงที่อธิบายไว้ใน โมไซยาห์ 3:19
-
ข้อ 16–30การแบ่งปันสิ่งที่ท่านมีกับผู้อื่นจะช่วยให้ท่านปลดบาปต่อไปได้อย่างไร? ท่านจะประยุกต์ใช้ ข้อ 27 กับการพยายามเป็นเหมือนพระคริสต์ได้อย่างไร?
เราล้วนเป็นคนขอทานในด้านใด? ตามที่กล่าวไว้ในข้อเหล่านี้ เราควรปฏิบัติอย่างไรต่อบุตรธิดาทุกคนของพระผู้เป็นเจ้า? (ดู โมไซยาห์ 4:26) ใครต้องการความช่วยเหลือจากท่านบ้าง?
ดู เบคกี้ เครเวน, “เก็บการเปลี่ยนแปลง,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 58–60 ด้วย
ฉันเชื่อและวางใจในพระผู้เป็นเจ้า
คำเชื้อเชิญของกษัตริย์เบ็นจามินให้เชื่อและวางใจพระผู้เป็นเจ้ามีความสำคัญเทียบเท่ากับที่กล่าวไว้ในสมัยโบราณ ขณะที่ท่านอ่าน โมไซยาห์ 4:5–10 ให้มองหาความจริงเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ท่านวางใจพระองค์ สังเกตคำเชื้อเชิญที่กษัตริย์เบ็นจามินให้ไว้ในข้อ 10 เหตุใดการวางใจพระผู้เป็นเจ้าจึงช่วยให้การทำสิ่งที่กษัตริย์เบ็นจามินเชื้อเชิญเป็นเรื่องง่ายขึ้น
ท่านอาจค้นพระคัมภีร์เพิ่มเติมต่อไปนี้บางข้อเพื่อเขียนรายการคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า ได้แก่ เยเรมีย์ 32:17; 1 ยอห์น 4:8; 2 นีไฟ 9:17; แอลมา 32:22; มอรมอน 9:9; อีเธอร์ 3:12; หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:1–3; 88:41 ท่านสามารถใช้รายการที่สร้างขึ้นเพื่อหาวิธีเติมประโยคให้สมบูรณ์ เช่น “เพราะฉันรู้ว่าพระผู้เป็นเจ้า ฉันจึงสามารถวางใจให้พระองค์ ”
ความวางใจในพระผู้เป็นเจ้าของเราเพิ่มขึ้นเมื่อเรามีประสบการณ์ร่วมกับพระองค์ ใน โมไซยาห์ 4:1–3 สิ่งใดช่วยให้ผู้คนของกษัตริย์เบ็นจามิน “เข้าถึงความรู้เกี่ยวกับพระคุณความดีของพระผู้เป็นเจ้า” (ข้อ 6) นึกถึงประสบการณ์ที่ท่านมีร่วมกับพระผู้เป็นเจ้า ประสบการณ์เหล่านี้สอนอะไรท่านเกี่ยวกับพระองค์? ท่านกำลังทำอะไร (หรือสามารถทำอะไร) เพื่อให้ความเชื่อหรือความวางใจในพระผู้เป็นเจ้าของท่านลึกซึ้งยิ่งขึ้น?
ดู เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “ความยิ่งใหญ่ของพระผู้เป็นเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2003, 70–73; “ฉันรู้ว่าพระบิดาทรงพระชนม์,” เพลงสวด, บทเพลงที่ 150 ด้วย
ฉันต้องระวังความนึกคิด คำพูด และการกระทำของตนเอง
พระผู้เป็นเจ้ามิได้ทรงแจกแจงรายละเอียดของบาปทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น แต่พระองค์ทรงทำสิ่งใดแทน ตามที่บอกไว้ใน โมไซยาห์ 4:29–30? ไตร่ตรองว่าความคิด คำพูด และการกระทำของท่านส่งผลต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไร สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อสัมพันธภาพของท่านกับพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร? ท่าน “เฝ้าดู [ตัวท่านเอง]” อย่างไร?
พระวิญญาณของพระเจ้าสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งในใจฉัน
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนทั่วจะไปพูดว่า “ฉันเปลี่ยนไม่ได้ ฉันก็เป็นของฉันแบบนี้” ในทางตรงกันข้าม ประสบการณ์ของผู้คนของกษัตริย์เบ็นจามินแสดงให้เราเห็นว่าพระวิญญาณของพระเจ้าสามารถเปลี่ยนใจเราได้จริงๆ ขณะที่ท่านอ่าน โมไซยาห์ 5:1–5 ให้คิดดูว่า “การเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้ง” ที่นำไปสู่การเปลี่ยนใจเลื่อมใสที่แท้จริงเกิดขึ้นมาแล้ว—หรือจะเกิดขึ้น—ในชีวิตท่านอย่างไร นึกถึงการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยและละเอียดอ่อน รวมถึงประสบการณ์ที่ “ลึกซึ้ง” ประสบการณ์เหล่านี้ช่วยท่านได้อย่างไรเมื่อท่านเผชิญกับการล่อลวง?
ดู เอเสเคียล 36:26–27; แอลมา 5:14 ด้วย
ฉันรับพระนามของพระคริสต์ไว้กับตนเองขณะที่ฉันทำพันธสัญญากับพระองค์
ท่านเรียนรู้อะไรจาก โมไซยาห์ 5:7–9 เกี่ยวกับความหมายของการรับพระนามของพระเยซูคริสต์ไว้กับตัวท่าน? คำสวดอ้อนวอนศีลระลึก (ดู โมโรไน 4–5) สอนอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้? ท่านจะแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าท่าน “เป็นของ” พระผู้ช่วยให้รอด?
ดู ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “เหตุใดจึงเป็นเส้นทางพันธสัญญา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2021, 116–119 ด้วย
แนวคิดสำหรับการสอนเด็ก
การกลับใจทำให้เกิดปีติ
-
เพื่อสอนเรื่องปีติของการกลับใจ ท่านอาจให้เด็กทำมือให้เหนียวเหนอะหนะหรือสกปรกและสังเกตว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรหลังจากล้างมือ จากนั้นท่านสามารถเปรียบเทียบการกระทำดังกล่าวกับวิธีที่ผู้คนใน โมไซยาห์ 4:1–3 รู้สึกก่อนและหลังการให้อภัยบาปของพวกเขา บอกเล่าถึงประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับเดชานุภาพของพระผู้ช่วยให้รอดในการชำระเราทางวิญญาณ
-
เด็กรู้วิธีกลับใจอย่างเต็มที่และจริงใจหรือไม่? ช่วยพวกเขาค้นหาสิ่งที่ผู้คนของกษัตริย์เบ็นจามินทำใน โมไซยาห์ 4:1–3, 10 หรือท่านอาจจะให้ทบทวนคู่มือพระคัมภีร์หัวข้อ “กลับใจ (การ)” ก็ได้เช่นกัน พระเยซูคริสต์ทรงทำให้การกลับใจเป็นไปได้อย่างไร?
พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์เป็นแรงบันดาลใจให้ฉันปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความรักและความกรุณา
-
การรับใช้ผู้อื่นทำให้เรารู้สึกดี ท่านอาจให้เด็กพูดถึงเวลาที่พวกเขารักหรือรับใช้บางคนและความรู้สึกที่ได้รับจากประสบการณ์นั้น ผู้คนอาจไม่ต้องการรับใช้ผู้อื่นด้วยเหตุผลอะไรบ้าง? เราจะพูดอะไรกับผู้อื่นเพื่อเชื้อเชิญให้พวกเขาช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก? มองหาแนวคิดใน โมไซยาห์ 4:16–26
-
กษัตริย์เบ็นจามินสอนว่าเมื่อเรามาหาพระคริสต์และรับการปลดบาปของเรา เรา “เปี่ยมด้วยความรักของพระผู้เป็นเจ้า” (โมไซยาห์ 4:12) สิ่งนี้จะทำให้เรามีความรักและความเมตตาต่อผู้อื่น ท่านและเด็กสามารถค้นคว้า โมไซยาห์ 4:13–16, 26 (หรือเพลงอย่าง “ฉันเดินกับเธอ,” หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 78–79) และค้นหาวลีที่บรรยายถึงวิธีที่เรารับใช้ผู้อื่น จากนั้นท่านอาจให้เด็กแสดงบทบาทสมมติเกี่ยวกับวิธีรับใช้หรือวาดภาพและเดาวลีของกันและกัน เราจะแสดงความรักและความเมตตาที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือที่โบสถ์ได้อย่างไร?
ขณะที่ฉันทำพันธสัญญากับพระผู้เป็นเจ้า ฉันรับพระนามของพระเยซูคริสต์ไว้กับตัวฉัน
-
เด็กอาจสนุกสนานกับการทำป้ายชื่อที่เขียนว่า “พระเยซูคริสต์” และติดไว้ที่เสื้อเหนือหัวใจของพวกเขา (ดูหน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้) ขณะที่เด็กทำกิจกรรม ท่านอาจอ่าน โมไซยาห์ 5:12 ให้พวกเขาฟังและสนทนาว่าการทำพันธสัญญาหรือคำสัญญากับพระผู้เป็นเจ้าเปรียบเสมือนการมีพระนามของพระคริสต์ “เขียนอยู่ในใจ [ของเรา] เสมอ”