จงตามเรามา
2–8 มิถุนายน: “ทํางานอย่างทุ่มเทในอุดมการณ์ดี”: หลักคําสอนและพันธสัญญา 58–59


“2–8 มิถุนายน: ‘ทํางานอย่างทุ่มเทในอุดมการณ์ดี’: หลักคําสอนและพันธสัญญา 58–59” จงตามเรามา—สําหรับบ้านและศาสนจักร: หลักคําสอนและพันธสัญญา 2025 (2025)

“หลักคําสอนและพันธสัญญา 58–59” จงตามเรามา—สําหรับบ้านและศาสนจักร: 2025

อินดิเพนเดนซ์ มิสซูรี ในทศวรรษ 1830

อินดิเพนเดนซ์ มิสซูรี ปี 1831 โดย อัล ราวด์ส

2–8 มิถุนายน: “ทำงานอย่างทุ่มเทในอุดมการณ์ดี”

หลักคำสอนและพันธสัญญา 58–59

เมื่อเหล่าเอ็ลเดอร์ของศาสนจักรเห็นที่ตั้งของนครไซอัน—อินดิเพนเดนซ์ มิสซูรี—ครั้งแรก ที่แห่งนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่พวกเขาคาดหวัง บางคนคิดว่าตนจะพบชุมชนที่เจริญรุ่งเรืองและขยันขันแข็งกับกลุ่มวิสุทธิชนที่เข้มแข็ง แต่พวกเขากลับพบหมู่บ้านชายแดนร้างผู้คน ขาดความเจริญที่พวกเขาคุ้นเคย และมีคนหยาบกระด้างตั้งรกรากอยู่ที่นั่นแทนที่จะเป็นวิสุทธิชน กลายเป็นว่าพระเจ้าไม่ทรงขอให้พวกเขามาไซอันเท่านั้น—แต่ทรงต้องการให้พวกเขา สร้าง ไซอันด้วย

เมื่อความคาดหวังของเราไม่ตรงกับความเป็นจริง เราพึงจดจำสิ่งที่พระเจ้ารับสั่งกับวิสุทธิชนในปี 1831 “เจ้า​จะ​มอง​เห็น​แผน​ของพระผู้เป็นเจ้า​ของ​เจ้า​ด้วย​ดวงตา​ฝ่าย​ธรรมชาติ​ของ​เจ้า​ไม่​ได้ … และ​รัศมีภาพ​ซึ่ง​จะ​ตาม​มา​หลังจาก​ความ​ยาก​ลำบาก​ยิ่ง” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:3) ใช่ ชีวิตเต็มไปด้วยความยากลำบาก แม้กระทั่งความชั่วร้าย แต่เราสามารถ “ทำให้เกิดความชอบธรรมยิ่ง; เพราะพลังอยู่ใน [เรา]” (ข้อ 27–28)

ดู วิสุทธิชน 1:127–133 ด้วย

ไอคอนการศึกษา

แนวคิดสำหรับการเรียนรู้ที่บ้านและที่โบสถ์

หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:1–5; 59:23

“หลังจากความยากลำบากมากมาย จึงบังเกิดพร”

วิสุทธิชนหวังว่าในช่วงชีวิตของพวกเขา เทศมณฑลแจ๊คสันจะเจริญรุ่งเรืองจนเป็นไซอัน สถานที่ซึ่งให้วิสุทธิชนทุกคนอยู่รวมกันได้ แต่ช่วงเวลาของพวกเขาในเทศมณฑลแจ็คสันนั้นเต็มไปด้วยความยากลําบาก ภายในไม่กี่ปี พวกเขาถูกบังคับให้ออกไปและ “รอชั่วระยะเวลาไม่นานเพื่อการไถ่ไซอัน” (หลักคําสอนและพันธสัญญา 105:9)

ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับความยากลำบากหรือความท้าทายจากพระวจนะของพระเจ้าใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:1–5? ท่านคิดว่าเหตุใดพรบางอย่างจึงเกิดหลังความยากลำบากเท่านั้น? ท่านได้รับพรอะไรบ้างหลังจากผ่านความยากลำบาก?

ท่านเรียนรู้อะไรจาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:23 ซึ่งทำให้ท่านมีความหวัง?

หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:26–29

ฉันสามารถ “ทำให้เกิดความชอบธรรมยิ่ง” ด้วย “เจตจำนงอิสระ” ของเราเอง

ส่วนหนึ่งของการศึกษาข้อเหล่านี้คือท่านอาจเขียนบางสิ่งที่ท่าน “ทํางานอย่างทุ่มเท” ออกเป็นข้อๆ ข้อทั้งหมดนั้นเป็น “อุดมการณ์ดี” หรือไม่? ไตร่ตรองสิ่งที่ท่านทําได้เพื่อ “ทําให้เกิดความชอบธรรมยิ่ง”—และพิจารณาตั้งเป้าหมายที่จะทําเช่นนั้น

เหตุใดพระเจ้าทรงต้องการให้เราทำ “สิ่งสารพันด้วยเจตจำนงอิสระ [ของเรา]”? จะเกิดอะไรขึ้นหากท่าน “ถูกบีบบังคับในทุกเรื่อง”? 2 นีไฟ 2:27 เพิ่มความเข้าใจของท่านเกี่ยวกับหลักธรรมนี้อย่างไรบ้าง?

ดู เดล จี. เรนลันด์, “ท่านจงเลือกเสียในวันนี้,” เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 104–106 ด้วย

หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:42–43

ไอคอนเซมินารี
พระเจ้าทรงให้อภัยเราเมื่อฉันกลับใจ

คําสัญญาของพระเจ้าใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 58:42 ว่าจะให้อภัยผู้ที่กลับใจโดยสิ้นเชิง เป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ แต่ก็ทําให้เกิดคําถามบางข้อเช่นกัน: การกลับใจหมายถึงอะไร? เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากลับใจอย่างสมบูรณ์? โชคดีที่พระเจ้าตรัสต่อไปว่า “โดยสิ่งนี้เจ้าจะรู้ …” (ข้อ 43)

ต่อไปนี้เป็นคําถามเพิ่มเติมที่ผู้คนมีในบางครั้งเกี่ยวกับการกลับใจ พระวิญญาณทรงสอนอะไรท่านเมื่อท่านศึกษาแหล่งช่วยที่แนะนําซึ่งให้ไว้ด้านล่าง?

การสารภาพบาปของฉันช่วยให้ฉันกลับใจได้อย่างไร? ดู สดุดี 32:1–5; สุภาษิต 28:13; โมไซยาห์ 27:34–37; แอลมา 39:12–13

ฉันกำลังพยายามละทิ้งบาป แต่ทำบาปอยู่เรื่อย การกลับใจของฉันยังมีผลหรือไม่? ดู แบรดลีย์ อาร์. วิลค็อกซ์, “การมีค่าควรไม่ใช่การไร้ที่ติ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2021, 61–67; “การกลับตัวรายวัน” (วีดิทัศน์), คลังค้นคว้าพระกิตติคุณ

5:27

Daily Restoration

Elder Dieter F. Uchtdorf and Church members compare drifting in life to the circles walked by test participants in a dense forest. Shadows creep in off the path, but we can chase away darkness and come back.

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงให้อภัยบาปฉันแล้ว? ดู แทด อาร์. คอลลิสเตอร์, “การชดใช้ของพระเยซูคริสต์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 85–87, โดยเฉพาะหัวข้อเรื่อง “2. บาป

ท่านสามารถหาข้อคิดเพิ่มเติมได้ใน “คําถามและคําตอบ” เกี่ยวกับการกลับใจใน เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน: คู่มือแนะแนวการเลือก (หน้า 8–9)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 59

พอลลี ไนท์เป็นใคร?

พอลลี ไนท์กับโจเซฟ ไนท์ ซีเนียร์สามีเธอเป็นผู้เชื่อคนแรกๆ ในการเรียกโจเซฟ สมิธเป็นศาสดาพยากรณ์ พอลลีกับโจเซฟให้ความช่วยเหลือที่สำคัญแก่ท่านศาสดาพยากรณ์ในงานแปลพระคัมภีร์มอรมอน ครอบครัวไนท์ออกจากโคลสวิลล์ นิวยอร์กมารวมกับวิสุทธิชนในโอไฮโอและต่อมาได้รับบัญชาให้ย้ายไปเทศมณฑลแจ๊คสัน มิสซูรี ขณะที่พวกเขาเดินทาง สุขภาพของพอลลีเริ่มทรุดลง แต่เธอตั้งใจจะเห็นไซอันก่อนสิ้นชีวิต เธออยู่ในมิสซูรีได้เพียงไม่กี่วันก่อนเธอจะสิ้นใจ (ดู วิสุทธิชน, 1:127–128, 132–133) หลักคำสอนและพันธสัญญา 59 ได้รับในวันที่เธอสิ้นชีวิต และ ข้อ 1 กับ 2 อาจกล่าวเจาะจงถึงเธอ

หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:4–19

พระบัญญัติเป็นพร

ท่านคิดว่า “สวมมงกุฎ … ด้วยบัญญัติ” (ข้อ 4) หมายความว่าอย่างไร? พิจารณาว่าพระเจ้าทรงอวยพรท่านอย่างไรเมื่อท่านพยายามเชื่อฟังพระบัญญัติแต่ละข้อใน ข้อ 5–19

แบ่งปันสิ่งที่ท่านกำลังเรียนรู้ ในหลายกรณี ข้อคิดทางวิญญาณที่ท่านได้รับขณะศึกษาพระคัมภีร์จะเสริมสร้างศรัทธาของครอบครัว มิตรสหาย และสมาชิกวอร์ด แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้สึก และประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์กับพวกเขา

หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:9–19

สะบาโตเป็นวันของพระเจ้า

หลังจากสัญญาจะประทานพรแก่วิสุทธิชนในไซอัน “ด้วยพระบัญญัติไม่น้อย” พระเจ้าทรงเน้นพระบัญญัติข้อหนึ่งเป็นพิเศษ นั่นคือ พระบัญชาเรื่องการให้เกียรติ “วันศักดิ์สิทธิ์” ของพระองค์ (หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:4, 9) ขณะที่ท่านศึกษา หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:9–19 พึงไตร่ตรองว่าเหตุใดการให้เกียรติวันสะบาโตจึงสำคัญต่อวิสุทธิชนเหล่านี้ขณะพวกเขาพยายามสร้างไซอัน เหตุใดจึงมีค่าต่อท่าน?

ท่านอาจไตร่ตรองด้วยว่าท่านใช้วันสะบาโตตามแบบที่พระเจ้าตั้งพระทัยไว้หรือไม่ การรักษาวันสะบาโตให้ศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้ท่านรักษาตนให้ “หมดจดจากโลก” อย่างไร? (ข้อ 9) ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อแสดง “ความจงรัก [ของท่าน] แด่พระผู้สูงสุด” (ข้อ 10)

ศีลระลึก

ท่านอาจสังเกตว่าพระเจ้าทรงใช้คําอย่างเช่น “การชื่นชมยินดี” “รื่นเริง” และ “ยินดี” เพื่อสอนเกี่ยวกับวันสะบาโต อะไรทําให้วันสะบาโตเปี่ยมปีติสําหรับท่าน? ท่านจะอธิบายให้บางคนฟังอย่างไรว่าเหตุใดท่านจึงเลือกให้เกียรติวันของพระเจ้า?

ท่านเรียนรู้สิ่งใดบ้างจากเพลงสวด “ขับร้องเพลงศักดิ์สิทธิ์อ่อนโยน” (เพลงสวด บทเพลงที่ 68) เกี่ยวกับจุดประสงค์และพรของวันสะบาโต?

ดู ปฐมกาล 2:2–3; อิสยาห์ 58:13–14; รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “สะบาโตคือวันปีติยินดี,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 129–132 ด้วย

ดูแนวคิดเพิ่มเติมได้จากนิตยสาร เลียโฮนา และ เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน ฉบับเดือนนี้

ไอคอนหมวดเด็ก 02

แนวคิดสำหรับการสอนเด็ก

หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:26–28

พระบิดาบนสวรรค์ประทานพลังความสามารถให้ฉันเลือก

  • การอ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 58:26–28 ร่วมกันจะทําให้ท่านและเด็กมีโอกาสพูดคุยเกี่ยวกับพลังความสามารถที่พระบิดาบนสวรรค์ประทานให้เราเลือกทําดี ท่านอาจบอกกันและกันเกี่ยวกับการเลือกต่างๆ ที่ท่านทําและสิ่งที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากการเลือกนั้น เด็กอาจต้องการวาดภาพประสบการณ์ของพวกเขา

  • ท่านอาจเขียน การเลือก ไว้ด้านหนึ่งของกระดาษและเขียน ผลที่ตามมา ไว้อีกด้านหนึ่งและใช้กระดาษแผ่นนี้อธิบายว่าการเลือกของเราและผลของการเลือกนั้นแยกจากกันไม่ได้ เด็กอาจเขียนการเลือกสองสามข้อและพูดถึงผลที่มาจากการเลือกสิ่งเหล่านั้น จากนั้นท่านอาจอ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 58:27–28 ด้วยกันและพูดถึงการเลือกที่ “ทําให้เกิดความชอบธรรมยิ่ง” หรือผลดี พระบิดาบนสวรรค์ทรงมอบ “รางวัล” หรืออวยพรเราอย่างไรเมื่อเราพยายามทําดี? (ข้อ 28)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:7, 18–21

“จงขอบพระทัยพระเจ้า พระผู้เป็นเจ้าของเจ้าในทุกสิ่ง”

  • ท่านอาจอ่านข้อเหล่านี้ขณะท่านและเด็กไปเดินเล่นหรือดูภาพธรรมชาติ โดยสังเกตสิ่งที่ “ทําให้จำเริญตาและจำเริญใจ” (ข้อ 18) ท่านอาจสังเกตเห็นสิ่งคล้ายกันในเพลง เช่น “พระบิดาบนสวรรค์ทรงรักฉัน” (หนังสือเพลงสําหรับเด็ก, 16–17) หรือท่านอาจเชื้อเชิญให้เด็กวาดภาพสิ่งที่พวกเขารู้สึกขอบคุณและให้พวกเขาเล่าเกี่ยวกับภาพของพวกเขาให้ท่านฟัง เราจะแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าเราสำนึกคุณต่อสิ่งเหล่านี้?

ฮัมมิงเบิร์ดและดอกไม้

พระเจ้าทรงสร้างสิ่งสวยงามมากมายเพื่อให้เราเกิดปีติ

หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:9–12

สะบาโตเป็นวันของพระเจ้า

  • เราจะทําอะไรได้บ้างในวันอาทิตย์เพื่อนมัสการพระเจ้าและพบปีติ? ช่วยเด็กหาแนวคิดใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 59:9–12 และ หน้ากิจกรรม ของสัปดาห์นี้ เด็กอาจหาภาพหรือสิ่งของแทนสิ่งที่เราทําในวันสะบาโตด้วย (เช่น ภาพศีลระลึกในโครงร่างนี้) สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เราเข้าใกล้พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์มากขึ้นอย่างไร?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมจากนิตยสาร เพื่อนเด็ก ฉบับเดือนนี้

การเตรียมรับศีลระลึก

ภาพประกอบโดย มาร์ตี เมเจอร์

หน้ากิจกรรมสําหรับเด็ก