จงตามเรามา
10–16 มิถุนายน มัทธิว 26; มาระโก 14; ลูกา 22; ยอห์น 18: ‘อย่าให้เป็นไปตามใจปรารถนาของข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์’


“10–16 มิถุนายน มัทธิว 26; มาระโก 14; ลูกา 22; ยอห์น 18: ‘อย่าให้เป็นไปตามใจปรารถนาของข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“10–16 มิถุนายน มัทธิว 26; มาระโก 14; ลูกา 22; ยอห์น 18,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2019

พระกระยาหารมื้อสุดท้าย

ขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน โดย เบ็นจามิน แม็คเฟอร์สัน

10–16 มิถุนายน

มัทธิว 26; มาระโก 14; ลูกา 22; ยอห์น 18

“อย่าให้เป็นไปตามใจปรารถนาของข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยพระองค์”

ขณะที่ท่านอ่านเหตุการณ์ที่บรรยายไว้ใน มัทธิว 26; มาระโก 14; ลูกา 22; และ ยอห์น 18 จงเอาใจใส่ความประทับใจที่ท่านได้รับโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระตุ้นเตือนให้ทำการเปลี่ยนแปลงในชีวิตท่าน

บันทึกความประทับใจของท่าน

มีพยานเพียงสามคนเท่านั้นที่เห็นความทุกขเวทนาของพระเยซูคริสต์ในสวนเกทเสมนี—และพวกเขานอนหลับเป็นส่วนใหญ่ ในสวนนั้นและต่อมาบนกางเขน พระเยซูทรงรับเอาบาป ความเจ็บปวด และความทุกขเวทนาของทุกคนที่เคยมีชีวิตอยู่มาไว้กับพระองค์ ถึงแม้เวลานั้นแทบไม่มีใครรับรู้สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นก็ตาม แต่จากนั้น เหตุการณ์สำคัญที่สุดของนิรันดรมักจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้รับความสนใจมากนักจากชาวโลก อย่างไรก็ตาม พระผู้เป็นเจ้าพระบิดาทรงรับรู้ พระองค์ทรงได้ยินคำวิงวอนของพระบุตรที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ว่า “ข้า‍แต่พระ‍บิดา ถ้าพระ‍องค์พอ‍พระ‍ทัย ขอให้ถ้วยนี้เลื่อน‍พ้น‍ไปจากข้า‍พระ‍องค์ แต่อย่าง‍ไรก็ดีอย่าให้เป็นไปตาม‍ใจข้า‍พระ‍องค์ แต่ให้เป็นไปตามพระ‍ทัยของพระ‍องค์ มีทูตองค์หนึ่งจากฟ้า‍สวรรค์มาปรา‌กฏต่อพระ‍องค์ และช่วยชูกำลังพระ‍องค์” (ลูกา 22:42–43) แม้ตัวเราจะไม่ได้อยู่เห็นพระราชกิจนี้ของความไม่เห็นแก่พระองค์และความนอบน้อม แต่เราทุกคนสามารถเป็นพยานถึงการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ได้ ทุกครั้งที่เรากลับใจและได้รับการให้อภัยบาป และทุกครั้งที่เรารู้สึกถึงเดชานุภาพการทำให้เข้มแข็งของพระผู้ช่วยให้รอด เราสามารถเป็นพยานได้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในสวนเกทเสมนี

ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

มัทธิว 26:17–30; มาระโก 14:12–26; ลูกา 22:7–39

ศีลระลึกเป็นโอกาสให้ระลึกถึงพระผู้ช่วยให้รอด

ท่านทำอะไรเพื่อระลึกถึงคนที่มีความสำคัญในชีวิตท่าน เมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทรงแนะนำศีลระลึกต่อเหล่าสาวกของพระองค์ พระองค์ตรัสว่า “จงทำอย่างนี้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเรา” (ลูกา 22:19; ดู 3 นีไฟ 18:7 ด้วย) ขนมปัง น้ำ และองค์ประกอบอื่นของศาสนพิธีนี้ช่วยให้ท่านระลึกถึงพระองค์และความทุกขเวทนาของพระองค์อย่างไร ไตร่ตรองคำถามนี้ขณะที่ท่านอ่านเกี่ยวกับศีลระลึกครั้งแรก ขอให้สังเกตการแก้ไขที่พบในงานแปลของโจเซฟ สมิธด้วย (ดู เชิงอรรถและ Bible appendix)

ใช้เวลาสักครู่ไตร่ตรองประสบการณ์ที่ท่านมีระหว่างศีลระลึกแต่ละสัปดาห์ ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้ศีลระลึกมีความหมายมากขึ้น บางทีท่านอาจจะเขียนสองสามสิ่งที่ท่านรู้สึกได้รับการดลใจให้ระลึกถึงเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด—คำสอนของพระองค์ พระราชกิจแห่งความรักของพระองค์ เมื่อท่านรู้สึกใกล้ชิดพระองค์เป็นพิเศษ หรือบาปและความเจ็บปวดที่พระองค์ทรงรับไว้กับพระองค์แทนท่าน

ดู 3 นีไฟ 18:1–13; หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:76–79; “Sacrament,” Gospel Topics, topics.lds.org; “Always Remember Him” (วีดิทัศน์, LDS.org) ด้วย

มัทธิว 26:36–46; มาระโก 14:32–42; ลูกา 22:40–46

พระผู้ช่วยให้รอดทรงทนทุกข์เพื่อฉันในเกทเสมนี

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันเชื้อเชิญให้เรา “ใช้เวลาเรียนรู้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดและการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ของพระองค์” (“ดึงพลังของพระเยซูคริสต์เข้ามาในชีวิตเรา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2017, 40)

พิจารณาว่าท่านจะทำอะไรเพื่อยอมรับคำเชื้อเชิญของประธานเนลสัน ท่านอาจจะเริ่มโดยไตร่ตรองความทุกขเวทนาของพระผู้ช่วยให้รอดในเกทเสมนีดังบรรยายไว้ในข้อเหล่านี้ร่วมกับการสวดอ้อนวอน จากนั้นเขียนความประทับใจและคำถามที่เข้ามาในความคิดท่าน

เพื่อศึกษาเรื่องพระผู้ช่วยให้รอดและการชดใช้ของพระองค์ให้ลึกซึ้งขึ้น ลองค้นคว้าพระคัมภีร์ข้ออื่นเพื่อตอบคำถามดังต่อไปนี้

ขณะท่านเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในเกทเสมนี อาจจะน่าสนใจที่ได้รู้ว่าเกทเสมนีเป็นสวนมะกอกและมีเครื่องคั้นมะกอกอยู่ด้วย เครื่องนี้ใช้บดมะกอกและสกัดน้ำมันมาใช้ติดไฟ ทำอาหาร และเป็นยารักษาโรค (ดู ลูกา 10:34) ขั้นตอนการใช้น้ำหนักสกัดน้ำมันมะกอกสามารถเป็นสัญลักษณ์แทนน้ำหนักของบาปและความเจ็บปวดที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงแบกรับแทนเรา (ดู ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “ติดสนิทอยู่กับความรักของเรา,” เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 50–51)

มาระโก 14:27–31, 66–72; ลูกา 22:31–32

การเปลี่ยนใจเลื่อมใสเป็นกระบวนการต่อเนื่อง

ลองนึกถึงประสบการณ์ที่เปโตรมีกับพระผู้ช่วยให้รอด—ปาฏิหาริย์ที่เขาเห็นด้วยตาและหลักคำสอนที่เขาเรียนรู้ เหตุใดเวลานั้นพระผู้ช่วยให้รอดจึงตรัสกับเปโตรว่า “เมื่อ ท่านหันกลับแล้ว จงชูกำลังพี่น้องทั้งหลายของท่าน” (ลูกา 22:32; เน้นตัวเอน) เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์สอนว่าอะไรคือความแตกต่างระหว่างการมีประจักษ์พยานกับการเปลี่ยนใจเลื่อมใสอย่างแท้จริง (ดู “เปลี่ยนใจเลื่อมใสมาสู่พระเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2012, 106–109) ขณะที่ท่านอ่านประสบการณ์ของเปโตรใน มาระโก 14:27–31, 66–72 ให้นึกถึงการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของท่านเอง ท่านสามารถเรียนรู้บทเรียนอะไรจากเปโตร ขณะที่ท่านยังคงอ่านพันธสัญญาใหม่ ท่านพบหลักฐานอะไรยืนยันการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของเปโตรและการที่เขาพยายามทำให้ผู้อื่นเข้มแข็ง การได้รับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มีผลอะไรต่อการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของเขา (ดู ยอห์น 15:26–27; กิจการของอัครทูต 1:8; 2:1–4)

ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและการสังสรรค์ในครอบครัว

ขณะที่ท่านยังคงอ่านเกี่ยวกับสัปดาห์สุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอดกับครอบครัวท่าน พระวิญญาณจะทรงช่วยให้ท่านรู้ว่าจะเน้นและสนทนาหลักธรรมใดจึงจะตอบรับความต้องการของครอบครัวท่าน ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะบางประการ:

มัทธิว 26:17–30; มาระโก 14:12–26; ลูกา 22:7–39

ประสบการณ์ของครอบครัวท่านเป็นอย่างไรระหว่างศีลระลึกแต่ละสัปดาห์ การอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับศีลระลึกครั้งแรกอาจจะดลใจให้เกิดการสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของศีลระลึกและวิธีที่สมาชิกครอบครัวจะทำให้การนมัสการของพวกเขามีความหมายมากขึ้น ท่านอาจจะให้ดูภาพ การส่งผ่านศีลระลึก (หนังสือภาพพระกิตติคุณ, หน้า 108) และแบ่งปันแนวคิดให้กันว่าท่านจะทำอะไรได้บ้างก่อนศีลระลึก ระหว่างศีลระลึกและหลังศีลระลึก

ลูกา 22:40–46

เมื่อครอบครัวท่านอ่านข้อเหล่านี้ พวกเขาอาจจะแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้ขณะศึกษาข้อพระคัมภีร์ที่แนะนำไว้ในหัวข้อการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว “พระผู้ช่วยให้รอดทรงทนทุกข์เพื่อฉันในเกทเสมนี”

ลูกา 22:50–51

เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูจากประสบการณ์นี้

พระคริสต์ทรงรักษาหูของทาส

พอเสียทีเถอะ โดยวอลเตอร์ เรน

มัทธิว 26:36–46; มาระโก 14:32–42; ลูกา 22:40–46

เราเรียนรู้อะไรจากพระดำรัสของพระผู้ช่วยให้รอดในข้อเหล่านี้

สำหรับแนวคิดการสอนเด็กเพิ่มเติม ดู โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

ปรับปรุงการศึกษาส่วนตัว

ศึกษาถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์และอัครสาวกยุคสุดท้าย อ่านสิ่งที่ศาสดาพยากรณ์และอัครสาวกยุคสุดท้ายสอนเกี่ยวกับความจริงที่ท่านพบในพระคัมภีร์ ตัวอย่างเช่น ใน เลียโฮนา ฉบับการประชุมใหญ่สามัญครั้งล่าสุด ท่านอาจจะค้นคว้าดัชนีหัวข้อ “การชดใช้” (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 21)

พระคริสต์ในเกทเสมนี

อย่าให้เป็นไปตามใจปรารถนาของข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์ โดย วอลเตอร์ เรน