พันธสัญญาใหม่ 2023
23–29 มกราคม มัทธิว 3; มาระโก 1; ลูกา 3: “จงเตรียมมรรคาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า”


“23–29 มกราคม มัทธิว 3; มาระโก 1; ลูกา 3: ‘จงเตรียมมรรคาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า,’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“23–29 มกราคม มัทธิว 3; มาระโก 1; ลูกา 3,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2023

ยอห์นผู้ถวายบัพติศมาถวายบัพติศมาพระเยซู

หน้าต่างกระจกสีของพระวิหารนอวู อิลลินอยส์ โดย ทอม โฮลด์แมน

23–29 มกราคม

มัทธิว 3; มาระโก 1; ลูกา 3

“จงเตรียมมรรคาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า”

เริ่มโดยอ่าน มัทธิว 3; มาระโก 1; และ ลูกา 3 เมื่อท่านสวดอ้อนวอนขอให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงช่วยให้ท่านเข้าใจบทเหล่านี้ พระองค์จะประทานข้อคิดสำหรับท่านโดยเฉพาะ บันทึกความประทับใจเหล่านี้ และวางแผนทำตามนั้น

บันทึกความประทับใจของท่าน

พระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์เปลี่ยนท่านได้ ลูกาอ้างคำพยากรณ์สมัยโบราณของอิสยาห์ที่พูดถึงผลการเสด็จมาของพระผู้ช่วยให้รอดว่า “หุบเขาทุกแห่งจะถมให้เต็ม ภูเขาและเนินทุกแห่งจะให้ต่ำลง ทางคดจะกลายเป็นทางตรง และทางที่สูงๆ ต่ำๆ จะเป็นทางราบ” (ลูกา 3:5; ดู อิสยาห์ 40:4 ด้วย) นี่เป็นข่าวสารสำหรับเราทุกคน รวมถึงคนที่คิดว่าพวกเขาเปลี่ยนไม่ได้ ถ้าสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างถาวรเช่นภูเขาราบเรียบได้ พระเจ้าย่อมทรงสามารถช่วยเราทำให้ทางคดของเราตรงได้ (ดู ลูกา 3:4–5) เมื่อเรายอมรับคำเชื้อเชิญของยอห์นผู้ถวายบัพติศมาให้กลับใจและเปลี่ยน เท่ากับเราเตรียมความคิดและใจเราให้พร้อมรับพระเยซูคริสต์ทั้งนี้เพื่อเราจะสามารถ “เห็นความรอดของพระเจ้า” ได้ด้วย (ลูกา 3:6)

ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

มาระโกเป็นใคร?

ในบรรดาผู้เขียนกิตติคุณ เรารู้จักมาระโกน้อยที่สุด เรารู้ว่าเขาเป็นคู่สอนศาสนาของเปาโล เปโตร และผู้สอนศาสนาอีกหลายคน นักวิชาการพระคัมภีร์ไบเบิลหลายคนเชื่อว่าเปโตรสั่งให้มาระโกบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอด กิตติคุณของมาระโกน่าจะเขียนก่อนอีกสามคน

ดู คู่มือพระคัมภีร์, “มาระโก

มัทธิว 3:1–12; มาระโก 1:1–8; ลูกา 3:2–18

การกลับใจคือการเปลี่ยนแปลงอันลึกล้ำของความคิดและใจ

พันธกิจของยอห์นผู้ถวายบัพติศมาคือเตรียมใจผู้คนให้พร้อมรับพระผู้ช่วยให้รอดและเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้น เขาทำเช่นนั้นอย่างไร? เขาประกาศว่า “จงกลับใจใหม่” (มัทธิว 3:2) และเขาใช้ภาพลักษณ์ เช่น ผลไม้และข้าวสาลีเพื่อสอนเรื่องการกลับใจใหม่ (ดู ลูกา 3:9, 17)

ท่านพบภาพลักษณ์อะไรอีกบ้างในเรื่องราวการปฏิบัติศาสนกิจของยอห์นผู้ถวายบัพติศมา? (ดู มัทธิว 3:1–12; มาระโก 1:1–8; ลูกา 3:2–18) ท่านอาจจะทำเครื่องหมายภาพลักษณ์เหล่านั้นในพระคัมภีร์ของท่านหรือวาดภาพลักษณ์เหล่านั้น ภาพลักษณ์เหล่านี้สอนอะไรเกี่ยวกับหลักคำสอนและความจำเป็นของการกลับใจ?

การกลับใจที่แท้จริงคือ “การเปลี่ยนแปลงความคิดและใจที่ให้มุมมองใหม่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า เกี่ยวกับตัวเราเอง และเกี่ยวกับโลก … [หมายถึง] ทุ่มเทใจและความตั้งใจให้พระผู้เป็นเจ้า” (คู่มือพระคัมภีร์, “กลับใจ (การ)”) ใน ลูกา 3:7–14 ยอห์นเชื้อเชิญให้ผู้คนเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเพื่อเตรียมรับพระคริสต์? คำแนะนำนี้จะประยุกต์ใช้กับท่านได้อย่างไร? ท่านจะแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าท่านกลับใจอย่างแท้จริง? (ดู ลูกา 3:8)

ดู รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “เราสามารถทำได้ดีขึ้นและเป็นคนดีขึ้น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 67–69; ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “การกลับใจทำให้สะอาด,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 91–94 ด้วย

มัทธิว 3:7; ลูกา 3:7

พวกฟาริสีและพวกสะดูสีเป็นใคร?

พวกฟาริสีเป็นสมาชิกของกลุ่มศาสนายิวผู้อวดอ้างว่าตนถือปฏิบัติกฎของโมเสสและพิธีกรรมอย่างเคร่งครัด พวกสะดูสีเป็นชนชั้นชาวยิวที่ร่ำรวยซึ่งมีอิทธิพลทางศาสนาและการเมืองอย่างมาก พวกเขาไม่เชื่อในหลักคำสอนเรื่องการฟื้นคืนพระชนม์ ทั้งสองกลุ่มหลงผิดจากเจตนาดั้งเดิมของกฎของพระผู้เป็นเจ้า

ดู มัทธิว 23:23–28; คู่มือพระคัมภีร์, “ฟาริสี,” “สะดูสี (พวก)” ด้วย

มัทธิว 3:11, 13–17; มาระโก 1:9–11; ลูกา 3:15–16, 21–22

พระเยซูคริสต์ทรงรับบัพติศมาเพื่อ “ทำความชอบธรรมให้ครบถ้วนทุกประการ”

เมื่อท่านรับบัพติศมา ท่านทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอด เปรียบเทียบสิ่งที่ท่านเรียนรู้จากเรื่องราวบัพติศมาของพระผู้ช่วยให้รอดกับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างบัพติศมาของท่าน

บัพติศมาของพระผู้ช่วยให้รอด

บัพติศมาของข้าพเจ้า

บัพติศมาของพระผู้ช่วยให้รอด

ใครถวายบัพติศมาพระเยซูและเขาดำรงสิทธิอำนาจอะไร?

บัพติศมาของข้าพเจ้า

ใครให้บัพติศมาท่าน และเขาดำรงสิทธิอำนาจอะไร?

บัพติศมาของพระผู้ช่วยให้รอด

พระเยซูทรงรับบัพติศมาที่ไหน?

บัพติศมาของข้าพเจ้า

ท่านรับบัพติศมาที่ไหน?

บัพติศมาของพระผู้ช่วยให้รอด

พระเยซูทรงรับบัพติศมาอย่างไร?

บัพติศมาของข้าพเจ้า

ท่านรับบัพติศมาอย่างไร?

บัพติศมาของพระผู้ช่วยให้รอด

เหตุใดพระเยซูทรงรับบัพติศมา?

บัพติศมาของข้าพเจ้า

เหตุใดท่านรับบัพติศมา?

บัพติศมาของพระผู้ช่วยให้รอด

พระบิดาบนสวรรค์ทรงแสดงให้เห็นอย่างไรว่าพระองค์พอพระทัยพระเยซู?

บัพติศมาของข้าพเจ้า

พระบิดาบนสวรรค์ทรงแสดงให้เห็นอย่างไรว่าพระองค์พอพระทัยเมื่อท่านรับบัพติศมา? พระองค์ทรงแสดงความเห็นชอบของพระองค์นับแต่นั้นอย่างไร?

ดู 2 นีไฟ 31; โมไซยาห์ 18:8–11; หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:37, 68–74 ด้วย

3:8

มัทธิว 3:16–17; มาระโก 1:9–11; ลูกา 3:21–22

สมาชิกของพระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์คือสัตภาวะที่แยกจากกันสามองค์

พระคัมภีร์ไบเบิลมีหลักฐานมากมายแสดงว่าสมาชิกของพระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์เป็นสามพระองค์แยกจากกัน เรื่องราวบัพติศมาของพระผู้ช่วยให้รอดเป็นตัวอย่างหนึ่ง ขณะที่ท่านอ่านเรื่องราวเหล่านี้ ให้ไตร่ตรองสิ่งที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์ เหตุใดหลักคำสอนเหล่านี้จึงมีค่าต่อท่าน?

ดู ปฐมกาล 1:26; มัทธิว 17:1–5; ยอห์น 17:1–3; กิจการของอัครทูต 7:55–56; หลักคำสอนและพันธสัญญา 130:22 ด้วย

ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

มัทธิว 3ยอห์นผู้ถวายบัพติศมาดำรงฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน เราเรียนรู้อะไรได้บ้างจากแบบอย่างของยอห์นเกี่ยวกับจุดประสงค์ของฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน? เราได้รับพรอะไรบ้างเนื่องจากฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน? หากท่านมีเยาวชนชายในครอบครัว ท่านอาจใช้เวลาช่วยให้เขาเข้าใจว่าเขาจะใช้ฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนเป็นพรแก่ผู้อื่นได้อย่างไร (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 13:1; 20:46–60 ด้วย)

เยาวชนชายกำลังให้บัพติศมา

เมื่อเรารับบัพติศมา บาปของเราถูกล้างออกไป

มัทธิว 3:11–17; มาระโก 1:9–11; ลูกา 3:21–22สมาชิกในครอบครัวของท่านเคยเห็นคนรับบัพติศมาหรือรับการยืนยันเป็นสมาชิกของศาสนจักรหรือไม่? สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรบ้าง? บางทีท่านอาจสอนพวกเขาเกี่ยวกับสัญลักษณ์ของบัพติศมาและการยืนยันได้ การรับบัพติศมาและการยืนยันเหมือนการเกิดใหม่อย่างไร? เหตุใดเราจึงถูกจุ่มลงในน้ำทั้งตัวเมื่อเรารับบัพติศมา? เหตุใดเราต้องใส่ชุดขาวเมื่อเรารับบัพติศมา? เหตุใดจึงเรียกของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ว่า “บัพติศมาด้วยไฟ”? (หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:41; ดู คู่มือพระคัมภีร์ “บัพติศมา, ให้บัพติศมา,” “พระวิญญาณบริสุทธิ์” ด้วย)

มัทธิว 3:17; มาระโก 1:11; ลูกา 3:22เราเคยรู้สึกเมื่อใดว่าพระผู้เป็นเจ้าพอพระทัยเรา? ครอบครัวเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้พระผู้เป็นเจ้าพอพระทัย?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

ปรับปรุงการศึกษาส่วนตัว

ทูลขอให้พระเจ้าช่วย พระคัมภีร์ประทานให้โดยการเปิดเผย และเพื่อเข้าใจพระคัมภีร์อย่างแท้จริงเราต้องได้รับการเปิดเผยส่วนตัว พระเจ้าทรงสัญญาว่า “จงขอแล้วจะได้ จงหาแล้วจะพบ จงเคาะแล้วจะเปิดให้แก่พวกท่าน” (มัทธิว 7:7)

ยอห์นกำลังถวายบัพติศมาพระเยซู

ยอห์นผู้ถวายบัพติศมาให้บัพติศมาพระเยซู โดย เกรก เค. โอลเซ็น