พันธสัญญาใหม่ 2023
27 กุมภาพันธ์–5 มีนาคม มัทธิว 8; มาระโก 2–4; ลูกา 7: “ความเชื่อของเธอทำให้เธอรอด”


“27 กุมภาพันธ์–5 มีนาคม มัทธิว 8; มาระโก 2–4; ลูกา 7: ‘ความเชื่อของเธอทำให้เธอรอด,’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“27 กุมภาพันธ์–5 มีนาคม มัทธิว 8; มาระโก 2–4; ลูกา 7,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2023

พระเยซูทรงยกชายขึ้นจากเตียง

27 กุมภาพันธ์–5 มีนาคม

มัทธิว 8; มาระโก 2–4; ลูกา 7

“ความเชื่อของเธอทำให้เธอรอด”

ระวังอย่ารีบเร่งศึกษาพระคัมภีร์ ใช้เวลาไตร่ตรองร่วมกับการสวดอ้อนวอน แม้จะทำให้ท่านไม่มีเวลาอ่านทุกข้อ ช่วงเวลาแห่งการไตร่ตรองเหล่านี้มักนำไปสู่การเปิดเผยส่วนตัว

บันทึกความประทับใจของท่าน

ข่าวสารที่ชัดเจนที่สุดในพันธสัญญาใหม่คือพระเยซูคริสต์ทรงเป็นผู้เยียวยา เรื่องราวที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงรักษาคนป่วยและคนทุกข์ยากมีมากมาย—ตั้งแต่หญิงที่เป็นไข้ไปจนถึงลูกชายของหญิงม่ายที่สิ้นชีวิต เหตุใดจึงต้องให้ความสำคัญกับการรักษาทางกาย? ปาฏิหาริย์เหล่านี้อาจจะมีข่าวสารอะไรสำหรับเรา? แน่นอนว่าข่าวสารที่ชัดเจนเรื่องหนึ่งคือพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า ทรงมีเดชานุภาพเหนือสิ่งทั้งปวง รวมทั้งความเจ็บปวดและความบกพร่องทางกาย แต่อีกความหมายหนึ่งพบในพระดำรัสของพระองค์ต่อพวกธรรมาจารย์ที่สงสัย “ทั้ง‍นี้เพื่อให้พวก‍ท่านรู้ว่าบุตร‍มนุษย์มีสิทธิ‍อำนาจในโลกที่จะอภัยบาปได้” (มาระโก 2:10) ดังนั้นเมื่อท่านอ่านเรื่องการรักษาคนตาบอดหรือคนโรคเรื้อน ท่านอาจจะนึกถึงการรักษา—ทั้งวิญญาณและร่างกาย—ที่ท่านจะได้รับจากพระผู้ช่วยให้รอดและได้ยินพระองค์ตรัสกับท่านว่า “ความเชื่อของเธอทำให้เธอรอด” (ลูกา 7:50)

ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

มัทธิว 8; มาระโก 2–3; ลูกา 7

พระผู้ช่วยให้รอดทรงสามารถรักษาความทุพพลภาพและความเจ็บป่วย

บทต่อไปนี้สองสามบทบันทึกเหตุการณ์มากมายของการรักษาอันน่าอัศจรรย์ของพระผู้ช่วยให้รอด ขณะท่านศึกษาการรักษาเหล่านี้ ให้มองหาข่าวสารสำหรับท่าน ท่านอาจจะถามตัวท่านเองว่า เรื่องนี้สอนอะไรเกี่ยวกับศรัทธาในพระเยซูคริสต์? เรื่องนี้สอนอะไรเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด? พระผู้เป็นเจ้าทรงต้องการให้ฉันเรียนรู้อะไรจากปาฏิหาริย์ครั้งนี้? นี่คือตัวอย่างบางส่วน แต่มีตัวอย่างอื่นๆ อีกมากมาย

ดู เดวิด เอ. เบดนาร์, “ยอมรับพระประสงค์และจังหวะเวลาของพระเจ้า,” เลียโฮนา, ส.ค. 2016, 17–23; นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น, “บาดเจ็บ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 83–86 ด้วย

มาระโก 2:15–17; ลูกา 7:36–50

พระเยซูคริสต์มิได้เสด็จมาประณามคนบาปแต่ทรงมาเยียวยาพวกเขา

ขณะที่ท่านอ่านข้อเหล่านี้เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของพระเยซูกับพวกธรรมาจารย์และฟาริสี ท่านอาจพิจารณาว่าท่านเห็นตัวเองในเรื่องราวเหล่านี้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น ความคิดและการกระทำของท่านเหมือนซีโมนชาวฟาริสีไหม? ท่านจะอธิบายความแตกต่างระหว่างวิธีที่พระเยซูทรงเห็นคนบาปกับวิธีที่พวกฟาริสีเช่นซีโมนเห็นพวกเขาอย่างไร? พิจารณาว่าคนที่หนักอึ้งไปด้วยบาปจะรู้สึกอย่างไรเมื่ออยู่กับพระผู้ช่วยให้รอด พวกเขารู้สึกอย่างไรเมื่ออยู่กับท่าน?

ท่านอาจไตร่ตรองด้วยว่าท่านเป็นเหมือนผู้หญิงที่อธิบายไว้ใน ลูกา 7:36–50 อย่างไร ท่านเคยประสบความอ่อนโยนและพระเมตตาที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงแสดงต่อเธอเมื่อใด? ท่านเรียนรู้อะไรจากแบบอย่างของเธอในศรัทธา ความรัก และความนอบน้อมถ่อมตน?

ดู ยอห์น 3:17; ลูกา 9:51–56; ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “ของประทานแห่งพระคุณ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 107–110 ด้วย

มัทธิว 8:18–22; มาระโก 3:31–35

การเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์หมายความว่าฉันให้พระองค์มาเป็นอันดับแรกในชีวิต

ในข้อเหล่านี้ พระเยซูทรงสอนว่าการเป็นสานุศิษย์ของพระองค์เรียกร้องเราให้พระองค์มาเป็นอันดับแรกในชีวิตเรา แม้บางครั้งหมายความว่าเราต้องเสียสละอย่างอื่นที่เราเห็นค่า ขณะท่านศึกษาข้อเหล่านี้ ให้ไตร่ตรองการเป็นสานุศิษย์ของท่าน เหตุใดสานุศิษย์ต้องเต็มใจให้พระผู้ช่วยให้รอดมาเป็นอันดับแรก? ท่านอาจจะต้องยอมทิ้งอะไรเพื่อให้พระเยซูมาเป็นอันดับแรก? (ดู ลูกา 9:57–62 ด้วย)

มัทธิว 8:23–27; มาระโก 4:35–41

พระเยซูคริสต์ทรงมีเดชานุภาพทำให้เกิดสันติสุขท่ามกลางมรสุมชีวิต

ท่านเคยรู้สึกเหมือนเหล่าสาวกของพระเยซูคราวเกิดมรสุมที่ทะเลหรือไม่—มองดูคลื่นน้ำเข้ามาเต็มเรือและถามว่า “พระอาจารย์ พระองค์ไม่ทรงเป็นห่วงว่าพวกเรากำลังจะพินาศหรือ?”

ใน มาระโก 4:35–41 ท่านจะพบคำถามสี่ข้อ เขียนคำถามแต่ละข้อ และไตร่ตรองว่าข้อนั้นสอนอะไรท่านเกี่ยวกับการเผชิญความท้าทายของชีวิตด้วยศรัทธาในพระเยซูคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำให้เกิดสันติสุขท่ามกลางมรสุมของชีวิตเราอย่างไร?

ดู ลิซา แอล. ฮาร์คเนสส์, “จงสงบเงียบ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 80–82 ด้วย

พระเยซูทรงอยู่ในเรือและทำให้พายุสงบ

จากความกลัวสู่ศรัทธา โดย ฮาเวิร์ด ลีออน

ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

มัทธิว 8; มาระโก 2–4; ลูกา 7ท่านอาจสร้างรายการปาฏิหาริย์ที่อธิบายไว้ในบทเหล่านี้ ลองหาหรือวาดรูปปาฏิหาริย์ (ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ หรือ ChurchofJesusChrist.org) สมาชิกครอบครัวแต่ละคนสามารถใช้ภาพเล่าเรื่องปาฏิหาริย์เรื่องหนึ่งและแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากปาฏิหาริย์นั้นได้ ท่านอาจจะยกตัวอย่างของปาฏิหาริย์บางอย่างที่ท่านเคยเห็นหรืออ่านในสมัยของเรา

2:22
2:17

มัทธิว 8:5–13; ลูกา 7:1–10ความเชื่อของนายร้อยที่ทำให้พระเยซูประทับใจคืออะไร? เราจะแสดงศรัทธาในพระเยซูคริสต์ที่คล้ายกันได้อย่างไร?

มาระโก 2:1–12บทที่ 15: ชายที่เดินไม่ได้” (ใน เรื่องราวในพันธสัญญาใหม่, 57–58, หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ใน ChurchofJesusChrist.org) สามารถช่วยครอบครัวท่านสนทนา มาระโก 2:1–12 ได้ เราจะเป็นเหมือนเพื่อนของคนที่เดินไม่ได้อย่างไร? ใครเคยเป็นเพื่อนแบบนี้กับเราบ้าง?

NaN:NaN
NaN:NaN

มาระโก 4:35–41เรื่องนี้จะช่วยสมาชิกครอบครัวเมื่อพวกเขารู้สึกกลัวได้หรือไม่? บางทีพวกเขาอาจจะอ่าน ข้อ 39 และแบ่งปันประสบการณ์เมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยให้พวกเขารู้สึกสงบ

เด็กๆ อาจสนุกกับการแกล้งทำเป็นอยู่ในเรือท่ามกลางพายุในทะเลขณะที่มีคนอ่าน มาระโก 4:35–38 จากนั้น เมื่อมีคนอ่าน ข้อ 39 พวกเขาสามารถแกล้งทำเป็นอยู่ในเรือท่ามกลางทะเลที่สงบได้ ท่านอาจจะร้องเพลงร่วมกันเกี่ยวกับการพบสันติสุขในพระผู้ช่วยให้รอด เช่น “อาจารย์พายุกำลังโหมหนัก” (เพลงสวด บทเพลงที่ 46) วลีใดในเพลงที่สอนเราเกี่ยวกับสันติสุขที่พระเยซูประทานให้?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงสวดที่แนะนำ: “อาจารย์พายุกำลังโหมหนักเพลงสวด บทเพลงที่ 46

ปรับปรุงการสอนของเรา

มีเวลาให้พูดคุยด้วยได้ ช่วงการสอนที่ดีที่สุดบางครั้งเริ่มต้นเมื่อสมาชิกครอบครัวมีคำถามหรือข้อกังวลในใจ ให้สมาชิกครอบครัวรู้ผ่านคำพูดและการกระทำของท่านว่าท่านอยากจะฟังพวกเขา (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 16)

พระเยซูกับผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงถูกหย่อนตัวลงมาจากหลังคา

พระคริสต์กับคนง่อย โดย เจ. เคิร์ค ริชาร์ดส์