พันธสัญญาใหม่ 2023
29 พฤษภาคม–4 มิถุนายน มัทธิว 26; มาระโก 14; ยอห์น 13: “เพื่อเป็นที่ระลึก”


“29 พฤษภาคม–4 มิถุนายน มัทธิว 26; มาระโก 14; ยอห์น 13: ‘เพื่อเป็นที่ระลึก,’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“29 พฤษภาคม–4 มิถุนายน มัทธิว 26; มาระโก 14; ยอห์น 13,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2023

ภาพ
พระกระยาหารมื้อสุดท้าย

ในความระลึกถึงเรา โดย วอลเตอร์ เรน

29 พฤษภาคม–4 มิถุนายน

มัทธิว 26; มาระโก 14; ยอห์น 13

“เพื่อเป็นที่ระลึก”

ขณะที่ท่านอ่านเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อธิบายไว้ใน มัทธิว 26; มาระโก 14; และ ยอห์น 13 ให้เอาใจใส่ความประทับใจใดๆ ที่ท่านได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความประทับใจที่เพิ่มพูนศรัทธาของท่านในพระเยซูคริสต์และคำมั่นสัญญาของท่านที่มีต่อพระองค์

บันทึกความประทับใจของท่าน

ก่อนสิ้นพระชนม์ พระเยซูประทานบางสิ่งให้เหล่าสาวกระลึกถึงพระองค์ พระองค์ “ทรงหยิบขนม‍ปังขึ้นมา และเมื่อขอพระ‍พรแล้ว ก็ทรงหักส่งให้บรร‌ดาสาวก ตรัสว่า จงรับไปกินเถิด นี่เป็นกายของเรา แล้วพระ‍องค์ทรงหยิบถ้วย เมื่อขอบ‍พระ‍คุณแล้ว ก็ทรงส่งให้พวก‍เขา ตรัสว่า จงรับไปดื่มทุก‍คนเถิด เพราะว่านี่เป็นโลหิตของเรา” (มัทธิว 26:26–28)

เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปีที่แล้ว ในสถานที่ที่พวกเราส่วนใหญ่ไม่เคยเห็น ในภาษาที่พวกเราบางคนเท่านั้นที่เข้าใจ แต่ตอนนี้ ทุกวันอาทิตย์ในสถานที่ประชุมของเรา ผู้ดำรงฐานะปุโรหิต ได้รับมอบอำนาจให้กระทำในพระนามของพระเยซูคริสต์ ทำสิ่งที่พระองค์ทรงเคยทำ พวกเขานำขนมปังและน้ำ อวยพร และมอบให้เราแต่ละคน ซึ่งเป็นสานุศิษย์ของพระองค์ เป็นการกระทำที่เรียบง่าย—จะมีอะไรง่ายและเป็นพื้นฐานไปกว่านี้ มากกว่าการกินขนมปังและดื่มน้ำไหม แต่ขนมปังและน้ำนั้นศักดิ์สิทธิ์สำหรับเราเพราะสิ่งเหล่านั้นช่วยให้เราระลึกถึงพระองค์ ขนมปังและน้ำเป็นวิธีพูดของเราว่า “ฉันจะไม่มีวันลืมพระองค์”—ไม่ใช่แค่ “ฉันจะไม่มีวันลืมสิ่งที่ฉันได้อ่านเกี่ยวกับคำสอนของพระองค์และพระชนม์ชีพของพระองค์” เรากำลังพูดว่า “ฉันจะไม่ลืมสิ่งที่พระองค์ทรงทำเพื่อฉัน” “ฉันจะไม่มีวันลืมว่าพระองค์ทรงช่วยฉันอย่างไรเมื่อฉันร้องขอความช่วยเหลือ” และ “ฉันจะไม่มีวันลืมคำมั่นสัญญาที่พระองค์ทรงมีต่อฉันและคำมั่นสัญญาที่ฉันมีต่อพระองค์—พันธสัญญาที่เราทำ”

ภาพ
ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

มัทธิว 26:6–13; มาระโก 14:3–9

“หญิงคนนี้ … มาชโลมกายของเราล่วงหน้าก่อนที่จะมีการฝังศพของเรา”

ด้วยการนมัสการอย่างนอบน้อม ผู้หญิงที่บรรยายไว้ในข้อเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าเธอรู้ว่าพระเยซูเป็นใครและพระองค์กำลังจะทำอะไร (ดู มัทธิว 26:12) ท่านคิดว่าเหตุใดการกระทำของเธอจึงมีความหมายต่อพระผู้ช่วยให้รอด? (ดู ข้อ 13) ท่านประทับใจอะไรเกี่ยวกับหญิงคนนั้นและศรัทธาของเธอ? ไตร่ตรองว่าท่านจะทำตามแบบอย่างของเธอได้อย่างไร

ดู ยอห์น 12:1–8 ด้วย

มัทธิว 26:20–22; มาระโก 14:17–19

“องค์พระผู้เป็นเจ้า คือข้าพระองค์หรือ?”

ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับสานุศิษย์จากคำถามที่พวกเขาทูลพระเจ้าในข้อเหล่านี้? ท่านคิดว่าเหตุใดพวกเขาจึงถามเรื่องนี้ พิจารณาว่าท่านจะทูลถามพระเจ้าอย่างไรว่า “คือข้าพระองค์หรือ?”

ดู ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “องค์พระผู้เป็นเจ้า คือข้าพระองค์หรือ?,” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 56–59 ด้วย

มัทธิว 26:26–29; มาระโก 14:22–25

ศีลระลึกเป็นโอกาสให้ระลึกถึงพระผู้ช่วยให้รอด

เมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทรงแนะนำศีลระลึกแก่สานุศิษย์ของพระองค์ ท่านคิดว่าพวกเขาจะมีความคิดและความรู้สึกอย่างไร นึกถึงสิ่งนี้ขณะอ่านประสบการณ์ของพวกเขาใน มัทธิว 26:26–29 และ มาระโก 14:22–25 ท่านคิดว่าเหตุใดพระเยซูจึงเลือกวิธีนี้ให้เราระลึกถึงพระองค์? ท่านอาจไตร่ตรองประสบการณ์ที่ท่านมีระหว่างศีลระลึกด้วย มีอะไรที่ท่านทำได้เพื่อทำให้ประสบการณ์ของท่านศักดิ์สิทธิ์และมีความหมายมากขึ้นหรือไม่?

หลังจากอ่านและไตร่ตรองข้อเหล่านี้แล้ว ท่านอาจเขียนบางสิ่งที่ท่านรู้สึกได้รับการดลใจให้ระลึกถึงพระผู้ช่วยให้รอด ท่านอาจทบทวนสิ่งเหล่านี้ในครั้งต่อไปที่ท่านรับศีลระลึก ท่านอาจจะทบทวนในเวลาอื่นๆ ได้เช่นกันเพื่อเป็นวิธี “ระลึกถึงพระองค์ตลอดเวลา” (โมโรไน 4:3)

ดู ลูกา 22:7–39; 3 นีไฟ 18:1–13; หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:76–79;

ยอห์น 13:1–17

พระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นแบบอย่างของการรับใช้ผู้อื่นอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน

ในสมัยของพระเยซู การล้างเท้าของอีกคนหนึ่งเป็นหน้าที่ของคนรับใช้ ไม่ใช่ผู้นำ แต่พระเยซูทรงต้องการให้สาวกคิดต่างออกไปว่าการเป็นผู้นำและการรับใช้หมายความว่าอย่างไร ท่านพบข่าวสารอะไรในพระคำและการกระทำของพระผู้ช่วยให้รอดใน ยอห์น 13:1–17 ในวัฒนธรรมของท่าน การล้างเท้าของผู้อื่นอาจไม่ใช่วิธีปกติในการรับใช้ แต่ให้พิจารณาว่าท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อทำตามแบบอย่างของการรับใช้อย่างอ่อนน้อมถ่อมตนของพระผู้ช่วยให้รอด

การสังเกตสิ่งที่พระเยซูทรงรู้และรู้สึกในช่วงเวลาศักดิ์สิทธิ์นี้กับอัครสาวกอาจน่าสนใจเช่นกัน (ดู ข้อ 1 และ 3) ข้อคิดเหล่านี้ช่วยให้ท่านเข้าใจอะไรเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด?

ดู ลูกา 22:24–27 ด้วย

ยอห์น 13:34–35

ความรักที่ฉันมีต่อผู้อื่นเป็นเครื่องหมายว่าฉันเป็นสานุศิษย์ที่แท้จริงของพระเยซูคริสต์

ก่อนหน้านี้พระเยซูทรงบัญชาให้ “รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง” (มัทธิว 22:39) บัดนี้พระองค์ประทาน “บัญญัติใหม่” ท่านคิดว่าการรักผู้อื่นดังที่พระเยซูทรงรักท่านหมายความว่าอย่างไร? (ดู ยอห์น 13:34)

ท่านอาจไตร่ตรองด้วยว่าคนอื่นรู้ได้อย่างไรว่าท่านเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ ท่านจะแน่ใจได้อย่างไรว่าความรักเป็นลักษณะเฉพาะของท่านในฐานะคริสต์ศาสนิกชน?

ภาพ
ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

มัทธิว 26:26–29; มาระโก 14:22–25ประสบการณ์ของครอบครัวท่านเป็นอย่างไรระหว่างศีลระลึกแต่ละสัปดาห์ การอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับศีลระลึกครั้งแรกอาจจะดลใจให้เกิดการสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของศีลระลึกและวิธีปรับปรุงประสบการณ์ของท่าน ท่านอาจจะให้ดูภาพ การส่งผ่านศีลระลึก (หนังสือภาพพระกิตติคุณ, ภาพที่ 108) และแบ่งปันแนวคิดว่าท่านจะทำอะไรได้บ้างก่อนศีลระลึก ระหว่างศีลระลึก และหลังศีลระลึก

ภาพ
สตรีรับศีลระลึก

ศีลระลึกช่วยให้เราระลึกถึงพระเยซูคริสต์

มัทธิว 26:30ร้องเพลงสวดดังที่พระเยซูและอัครสาวกทำ—อาจเป็นเพลงสวดศีลระลึก การร้องเพลงสวดอาจเป็นพรต่อพระเยซูและอัครสาวกในเวลานั้นได้อย่างไร? เพลงสวดเป็นพรแก่เราอย่างไร?

ยอห์น 13:1–17ท่านอาจต้องการให้ครอบครัวดูรูปภาพท้ายโครงร่างนี้ขณะอ่านข้อเหล่านี้ พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนความจริงอะไรจากการกระทำของพระองค์? รายละเอียดใดในภาพช่วยให้เราเข้าใจความจริงเหล่านี้? บางทีสมาชิกครอบครัวอาจแบ่งปันว่าการดำเนินชีวิตตามความจริงเหล่านี้ทำให้พวกเขามีความสุขได้อย่างไร (ดู ยอห์น 13:17)

ยอห์น 13:34–35หลังจากอ่านข้อเหล่านี้แล้ว ท่านอาจจะคุยกันว่าคนอื่นรู้ว่าท่านเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร พระผู้ช่วยให้รอดทรงต้องการให้ผู้อื่นรู้จักผู้ติดตามพระองค์อย่างไร? ท่านอาจขอให้สมาชิกครอบครัวพูดถึงคนที่ความรักของพวกเขาต่อผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็นสานุศิษย์ที่แท้จริงของพระเยซูคริสต์ ท่านอาจจะหารือถึงวิธีแสดงความรักมากขึ้นในครอบครัวเช่นกัน

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “จงรักกันและกันหนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 74

ปรับปรุงการศึกษาส่วนตัว

ไตร่ตรอง พระคัมภีร์มีความหมายทางวิญญาณที่เราอาจพลาดหากเราอ่านแบบลวกๆ เกินไป เช่นเดียวกับการอ่านเนื้อหาอื่นๆ อย่ารีบอ่านให้จบบท ใช้เวลาในการคิดอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านกำลังอ่าน

ภาพ
พระเยซูทรงล้างเท้าสานุศิษย์

เป็นใหญ่ที่สุดในแผ่นดินสวรรค์ โดย เจ. เคิร์ค ริชาร์ดส์

พิมพ์