พันธสัญญาเดิม 2022
28 มีนาคม–3 เมษายน อพยพ 7–13: “จงระลึกถึงวันนี้ ที่พวกท่านออกมาจากอียิปต์”


“28 มีนาคม–3 เมษายน อพยพ 7–13: ‘จงระลึกถึงวันนี้ ที่พวกท่านออกมาจากอียิปต์,’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“28 มีนาคม–3 เมษายน อพยพ 7–13,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2022

โมเสส อาโรน และฟาโรห์

ภาพประกอบของโมเสสและอาโรนในท้องพระโรงของฟาโรห์ โดย โรเบิร์ต ที. บาร์เรตต์

28 มีนาคม–3 เมษายน

อพยพ 7–13

“จงระลึกถึงวันนี้ ที่พวกท่านออกมาจากอียิปต์”

ขณะที่ท่านอ่านและไตร่ตรอง อพยพ 7–13 บันทึกความประทับใจที่ท่านรู้สึก เมื่อท่านทำสิ่งนี้เป็นประจำ ความสามารถในการรับรู้เสียงกระซิบของพระวิญญาณบริสุทธิ์ของท่านจะเพิ่มขึ้น

บันทึกความประทับใจของท่าน

โรคระบาดโรคแล้วโรคเล่าทำให้อียิปต์ทุกข์ทรมาน แต่ฟาโรห์ยังคงไม่ยอมปลดปล่อยชาวอิสราเอล แต่ถึงกระนั้นพระผู้เป็นเจ้าก็ยังทรงแสดงให้เห็นถึงพลังของพระองค์และทรงให้โอกาสกับฟาโรห์ที่จะยอมรับว่า “​เรา​คือ​ยาห์‌เวห์” และ “ทั่วโลกไม่มีใครเสมอเหมือนเรา” (อพยพ 7:5; 9:14) ในขณะเดียวกัน โมเสสและชาวอิสราเอลต้องคอยดูด้วยความเกรงกลัวต่อการสำแดงฤทธิ์เดชของพระผู้เป็นเจ้าในนามของพวกเขา แน่นอนว่าเครื่องหมายเหล่านี้ยังคงยืนยันศรัทธาของพวกเขาในพระผู้เป็นเจ้าและเพิ่มความตั้งใจที่จะทำตามศาสดาพยากรณ์ของพระผู้เป็นเจ้า จากนั้น หลังจากเกิดภัยพิบัติร้ายแรงเก้าประการที่ล้มเหลวในการปลดปล่อยชาวอิสราเอล เป็นภัยพิบัติครั้งที่สิบ—การตายของบุตรหัวปี รวมถึงบุตรหัวปีของฟาโรห์—ซึ่งในที่สุดทำให้การเป็นเชลยสิ้นสุดลง สิ่งนี้ดูเหมาะสมเพราะในทุกกรณีของการถูกจองจำทางวิญญาณ มีเพียงวิธีเดียวเท่านั้นจริงๆ ที่จะหนีได้ ไม่ว่าเราจะเคยลองทำอะไรมาก่อนในอดีต สิ่งนี้อยู่กับเราเหมือนที่เคยอยู่กับลูกหลานของอิสราเอล เพียงการพลีพระชนม์ชีพของพระเยซูคริสต์ พระบุตรหัวปีเท่านั้น—เลือดของพระเมษโปดกที่ปราศจากมลทิน—ที่จะช่วยเราให้รอด

ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

อพยพ 7–11

ฉันสามารถเลือกที่จะทำให้หัวใจฉันอ่อนโยนลง

หวังว่าเจตจำนงของท่านจะไม่ขัดกับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าอย่างที่ฟาโรห์เคยเป็น ถึงกระนั้น เราทุกคนต่างก็มีเวลาที่ใจเราไม่นุ่มนวลเท่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงมีบางสิ่งที่เรียนรู้จากการกระทำของฟาโรห์ที่บันทึกไว้ใน อพยพ 7–10 ขณะที่ท่านอ่านเกี่ยวกับภัยพิบัติในบทเหล่านี้ สิ่งใดที่ท่านรู้สึกว่าโดดเด่นเกี่ยวกับการตอบสนองขององค์ฟาโรห์? ท่านสังเกตเห็นแนวโน้มที่คล้ายกันที่จะนำไปสู่การมีใจแข็งกระด้างในตัวท่านหรือไม่? ไตร่ตรองถึงสิ่งที่ท่านเรียนรู้จากบทเหล่านี้เกี่ยวกับการมีจิตใจที่อ่อนโยน

สังเกตว่างานแปลของโจเซฟ สมิธของ อพยพ 7:3, 13; 9:12; 10:1, 20, 27; 11:10 อธิบายว่าพระเจ้าไม่ได้ทำให้หัวใจของฟาโรห์แข็งกระด้าง—ฟาโรห์ทำให้ใจของเขาแข็งกระด้างเอง

ท่านเรียนรู้อะไรจากพระคัมภีร์ต่อไปนี้เกี่ยวกับการพัฒนาจิตใจให้อ่อนโยน? 1 นีไฟ 2:16; โมไซยาห์ 3:19; แอลมา 24:7–8; 62:41; อีเธอร์ 12:27

ดู ไมเคิล ที. ริงก์วูด, “ความว่าง่ายและเต็มใจที่จะเชื่อ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2009, 122–125

อพยพ 12:1–42

ปัสกาเป็นสัญลักษณ์การชดใช้ของพระเยซูคริสต์

วิธีเดียวที่ชาวอิสราเอลจะรอดพ้นจากภัยพิบัติครั้งที่สิบได้อธิบายไว้ใน อพยพ 11:4–5 คือการทำตามคำแนะนำที่พระเจ้าประทานให้โมเสสอย่างไม่ผิดเพี้ยนใน อพยพ 12 พิธีกรรมที่เรียกว่าปัสกา ปัสกาสอนเราผ่านสัญลักษณ์ว่าดังที่พระเจ้าได้ทรงปลดปล่อยชาวอิสราเอลจากการเป็นทาสในอียิปต์ พระองค์ทรงสามารถช่วยเราให้พ้นจากพันธนาการแห่งบาป ท่านพบอะไรในคำแนะนำและสัญลักษณ์ของปัสกาที่เตือนให้ท่านนึกถึงพระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์? สัญลักษณ์และคำแนะนำเหล่านี้แนะนำอะไรท่านเกี่ยวกับวิธีรับพรจากการชดใช้ของพระองค์? ยกตัวอย่างเช่น เลือดของลูกแกะบนเสาประตูอาจแทนอะไรได้? (ข้อ 7) การ “สวมรองเท้าและถือไม้เท้าไว้ในมือ” หมายความว่าอย่างไรสำหรับท่าน? (ข้อ 11)

ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 89:21 ด้วย

ผู้คนกำลังรับศีลระลึก

ศีลระลึกช่วยให้เราระลึกถึงพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นพระผู้ปลดปล่อยของเรา

อพยพ 12:14–17, 24–27; 13:1–16

ศีลระลึกช่วยให้ฉันระลึกถึงการปลดปล่อยของฉันผ่านองค์พระเยซูคริสต์

พระผู้ช่วยให้รอดทรงต้องการให้ชาวอิสราเอลจดจำไว้เสมอว่าพระองค์ทรงปลดปล่อยพวกเขา แม้หลังจากการถูกจองจำพวกเขากลายเป็นความทรงจำที่เลือนรางก็ตาม นี่คือสาเหตุที่พระองค์ทรงบัญชาพวกเขาให้ถือปฏิบัติเทศกาลปัสกาในแต่ละปี ในขณะที่ท่านอ่านคำแนะนำของพระองค์ใน อพยพ 12:14–17, 24–27; 13:1–16 ให้คิดเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านกำลังทำเพื่อระลึกถึงพรที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้ท่าน ท่านจะรักษาความทรงจำนั้น “ชั่วชาติพันธุ์ของพวกเจ้า” ไว้ได้อย่างไร? (ดู อพยพ 12:14, 26–27)

อะไรคือความคล้ายคลึงที่ท่านเห็นระหว่างจุดประสงค์ของเทศกาลปัสกาและศีลระลึก? การอ่านเกี่ยวกับเทศกาลปัสกาเตือนให้ท่านระลึกถึงศีลระลึกและทำให้ศาสนพิธีนั้นมีความหมายมากขึ้นอย่างไร? พิจารณาสิ่งที่ท่านสามารถทำได้เพื่อ “ระลึกถึง (พระเยซูคริสต์) ตลอดเวลา” (โมโรไน 4:3; 5:2; ดู ลูกา 22:7–8, 19–20)

ท่านอาจไตร่ตรองถึงสิ่งอื่นๆ ที่พระเจ้าทรงต้องการให้ท่านจดจำ ตัวอย่างเช่น ฮีลามัน 5:6–12; โมโรไน 10:3; หลักคำสอนและพันธสัญญา 3:3–5, 10; 18:10; 52:40

ดู ยอห์น 6:54; “ระลึกถึงพระองค์ตลอดเวลา” (วีดิทัศน์), ChurchofJesusChrist.org; “ศีลระลึกแห่งพระกระยาหารของพระเจ้า” ใน คำสอนของประธานศาสนจักร: ฮาเวิร์ด ดับเบิลยู. ฮันเตอร์ (2015), 199–208

NaN:NaN
family study icon

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและการสังสรรค์ในครอบครัว

อพยพ 7–12บางทีหลังจากอ่านเรื่องภัยพิบัติที่พระเจ้าทรงส่งให้ชาวอียิปต์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพลังของพระองค์ ครอบครัวของท่านสามารถแบ่งปันวิธีที่พระเจ้าทรงแสดงให้เห็นถึงพลังของพระองค์ในยุคนี้

อพยพ 8:2832; 9:27–28, 34–35สามารถใช้ข้อเหล่านี้เพื่อเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาคำพูดของเรา บางทีสมาชิกครอบครัวอาจแบ่งปันประสบการณ์เมื่อพวกเขาเห็นผู้อื่นทำในสิ่งที่พวกเขาตกลงกัน

อพยพ 12:1–42หลังจากอ่าน อพยพ 12:1–42 ร่วมกัน ท่านสามารถเขียนสิ่งต่างๆ ลงบนกระดาษที่ท่านสามารถทำทั้งครอบครัวเพื่อระลึกถึงการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ เพราะเลือดของลูกแกะที่วงกบประตู (ดู ข้อ 23) เป็นตัวแทนของพระผู้ช่วยให้รอด ท่านอาจวางกระดาษเหล่านี้รอบๆ ประตูบ้านของท่าน ท่านอาจทานอาหารบางอย่างจากเทศกาลปัสกาด้วย เช่น ขนมปังไร้เชื้อ (แครกเกอร์หรือตอร์ตียา) หรือสมุนไพรขม (ผักชีฝรั่งหรือหัวผักกาด) และพูดคุยว่าเทศกาลปัสกาช่วยให้เราจดจำว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงปลดปล่อยผู้คนของพระองค์อย่างไร ตัวอย่างเช่น ขนมปังไร้เชื้อเตือนให้พวกเขารู้ว่าไม่มีเวลาที่ขนมปังของพวกเขาจะนุ่มฟูขึ้นก่อนที่พวกเขาจะหนีจากการเป็นเชลย สมุนไพรที่มีรสขมเตือนพวกเขานึกถึงความขมขื่นของการเป็นเชลย

อพยพ 12:14, 24–27บางทีท่านอาจทบทวนข้อเหล่านี้กันทั้งครอบครัวก่อนการประชุมศีลระลึกครั้งต่อไป ข้อเหล่านี้เกี่ยวข้องกับศีลระลึกอย่างไร? เราจะทำให้ศีลระลึกเป็น “อนุสรณ์” ในสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำเพื่อเราอย่างเต็มที่มากขึ้นได้อย่างไร?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “ในความรำลึกนึกถึงการตรึงเพลงสวด บทเพลงที่ 87

ปรับปรุงการสอนของเรา

แบ่งปันบทเรียนที่ใช้อุปกรณ์จริง เชื้อเชิญสมาชิกครอบครัวให้หาสิ่งของที่ช่วยให้พวกเขาเข้าใจหลักธรรมในพระคัมภีร์ที่ท่านกำลังอ่าน ตัวอย่างเช่น วัตถุที่นิ่มและแข็งสามารถช่วยให้สมาชิกในครอบครัวพูดคุยเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการมีหัวใจที่อ่อนโยนและใจที่แข็งกระด้าง

ครอบครัวฮีบรูกับมื้ออาหารปัสกา

ภาพประกอบของอาหารปัสกา โดย ไบรอัน คอลล์