พันธสัญญาเดิม 2022
8–14 สิงหาคม สดุดี 1–2; 8; 19–33; 40; 46: “พระยาห์เวห์ทรงเลี้ยงดูข้าพเจ้าดุจเลี้ยงแกะ”


“8–14 สิงหาคม สดุดี 1–2; 8; 19–33; 40; 46: ‘พระยาห์เวห์ทรงเลี้ยงดูข้าพเจ้าดุจเลี้ยงแกะ’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“8–14 สิงหาคม สดุดี 1–2; 8; 19–33; 40; 46” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2022

พระเยซูทรงเดินกับแกะ

พระยาห์เวห์ทรงเลี้ยงดูข้าพเจ้าดุจเลี้ยงแกะ โดย ยองซุง คิม havenlight.com

8–14 สิงหาคม

สดุดี 1–2; 8; 19–33; 4046

“พระยาห์เวห์ทรงเลี้ยงดูข้าพเจ้าดุจเลี้ยงแกะ”

อย่ารู้สึกถูกจำกัดให้ศึกษาเฉพาะสดุดีที่เลือกมาหรือหลักธรรมที่แนะนำไว้ในโครงร่างนี้ จงให้พระวิญญาณนำทางท่านไปพบความจริงที่ช่วยให้ท่านรู้สึกใกล้ชิดพระเจ้ามากขึ้น

บันทึกความประทับใจของท่าน

เราไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเขียนสดุดี บางคนเชื่อว่ากษัตริย์ดาวิดเขียน แต่สดุดีส่วนใหญ่ไม่ทราบชื่อผู้เขียน ทว่าหลังจากอ่านสดุดี ท่านอาจรู้สึกประหนึ่งเรารู้ใจของผู้เขียนสดุดีทั้งที่เราไม่รู้ชื่อของพวกเขา สิ่งที่เรารู้คือสดุดีเป็นส่วนสำคัญของการนมัสการในบรรดาคนอิสราเอล และเรารู้ว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงอ้างสดุดีบ่อยครั้ง ในสดุดี เราเห็นทะลุปรุโปร่งเข้าไปในจิตวิญญาณของคนสมัยโบราณของพระผู้เป็นเจ้า เราเห็นว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรกับพระผู้เป็นเจ้า พวกเขากังวลเรื่องอะไร และพวกเขาพบสันติอย่างไร ในฐานะผู้เชื่อในปัจจุบัน เราทุกคนทั่วโลกยังใช้ถ้อยคำเหล่านี้ในการนมัสการพระผู้เป็นเจ้า ผู้เขียนสดุดีดูเหมือนจะเห็นทะลุปรุโปร่งเข้าไปในจิตวิญญาณ ของเรา และดูเหมือนพบวิธีแสดงด้วยคำพูดว่าเรารู้สึกอย่างไรกับพระผู้เป็นเจ้า เรากังวลเรื่องอะไร และเราจะพบสันติได้อย่างไร

ดูคำอธิบายพอสังเขปของหนังสือสดุดีได้จาก “สดุดี” ในคู่มือพระคัมภีร์

ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

สดุดี 1; 23; 26–2846

สดุดีสอนให้เราวางใจพระเจ้า

ท่านอาจสังเกตขณะอ่านสดุดีว่าผู้เขียนแสดงความกลัว ความโศกเศร้า และความกังวลบ่อยเพียงใด ความรู้สึกเช่นนั้นเป็นเรื่องปกติ แม้สำหรับผู้มีศรัทธา แต่สิ่งที่ทำให้สดุดีสร้างแรงบันดาลใจคือทางออกที่เสนอ รวมทั้งความวางใจพระเจ้าโดยสมบูรณ์ พิจารณาข่าวสารสร้างแรงบันดาลใจเหล่านี้ขณะที่ท่านอ่าน สดุดี 1; 23; 26–2846 มองหาสิ่งต่อไปนี้ และจดสิ่งที่ท่านค้นพบ:

  • คำเชื้อเชิญให้วางใจพระเจ้า:

  • คำที่พูดถึงพระเจ้า:

  • คำที่พูดถึงสันติ กำลัง และพรอื่นที่พระองค์ประทาน:

  • คำที่พูดถึงผู้วางใจพระองค์:

สดุดี 222

สดุดีชี้นำความคิดเราไปที่พระชนม์ชีพและการปฏิบัติศาสนกิจของพระเยซูคริสต์

สดุดีหลายบทชี้ไปที่พระชนม์ชีพมรรตัยของพระเยซูคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนในพันธสัญญาใหม่เห็นความเชื่อมโยงเหล่านี้ด้วย—ตัวอย่างเช่น พวกเขารับรู้ว่าใน สดุดี 2 กล่าวอ้างถึงการไต่สวนพระเยซูต่อหน้ากษัตริย์เฮโรดและปอน‌ทิ‌อัส​ปี‌ลาต (ดู กิจการของอัครทูต 4:24–30) ท่านอาจจะอ่าน สดุดี 2 และ 22 ตามด้วย มัทธิว 27:35–46; ลูกา 23:34–35; และ ยอห์น 19:23–24 มองหาความเชื่อมโยงระหว่างคำในสดุดีเหล่านี้กับพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอด และคอยมองหาความเชื่อมโยงคล้ายกันขณะที่ท่านศึกษาหนังสือสดุดีตลอดสองสามสัปดาห์ถัดไป

สมมติว่าท่านเป็นคนยิวในสมัยพระเยซูผู้คุ้นเคยกับสดุดีและเห็นความเชื่อมโยงกับพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอด ความรู้นี้น่าจะเป็นพรแก่ท่านอย่างไร?

ดู สดุดี 31:5; 34:20; 41:9; ลูกา 24:44; ฮีบรู 2:9–12 ด้วย

สดุดี 8; 19; 33

“แผ่นดินโลกเต็มด้วยความรักมั่นคงของพระยาห์เวห์”

การอ่าน สดุดี 8; 19; และ 33 อาจดลใจให้ท่านพิจารณางานสร้างที่ยอดเยี่ยมมากมายของพระเจ้า จงเอาใจใส่ความคิดและความรู้สึกของท่านขณะอ่าน งานสร้างของพระเจ้า “ประกาศพระสิริของพระเจ้า” ต่อท่านอย่างไร? (สดุดี 19:1)

สดุดี 19:7–1129

พระคำของพระเจ้าเปี่ยมด้วยพลัง “ทำให้ใจยินดี”

ในสดุดี คำอย่างเช่น พระโอวาท ข้อบังคับ พระบัญญัติ และ กฎหมาย สามารถหมายถึงพระคำของพระเจ้า นึกถึงสิ่งนี้ขณะที่ท่านอ่าน สดุดี 19:7–11 ข้อเหล่านี้บอกอะไรท่านเกี่ยวกับพระคำของพระเจ้า? สดุดี 29 สอนอะไรท่านเกี่ยวกับสุรเสียงของพระองค์? ในประสบการณ์ของท่าน พระคำหรือสุรเสียงของพระเจ้าตรงกับคำบรรยายเหล่านี้อย่างไร?

พระวิหารกอนเซปซีออน ชิลี

เราต้องสะอาดบริสุทธิ์ทางวิญญาณจึงจะเข้าที่ประทับของพระเจ้าได้

สดุดี 24; 26–27

การเข้าที่ประทับของพระเจ้าเรียกร้องความบริสุทธิ์

เพราะพระวิหารที่เยรูซาเล็มสร้างบนภูเขา วลี “ภูเขาของพระยาห์เวห์” (สดุดี 24:3) อาจหมายถึงพระวิหารหรือที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า วลีนี้เพิ่มอะไรให้กับความเข้าใจของท่านเกี่ยวกับ สดุดี 24? การมี “​มือ​สะอาด​และ​ใจ​บริ‌สุทธิ์” มีความหมายต่อท่านอย่างไร? (สดุดี 24:4)

สดุดี 26 และ 27 สอนอะไรท่านเกี่ยวกับพระนิเวศน์ของพระเจ้า?

ดู สดุดี 15; เดวิด เอ. เบดนาร์, “มือสะอาดและใจบริสุทธิ์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2007, 102–105 ด้วย

ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

สดุดี 22ขณะที่สมาชิกครอบครัวหนึ่งคนอ่านสดุดีบทนี้ คนอื่นอาจมองหาความคล้ายคลึงใน มัทธิว 27:35–46 จากนั้นพวกเขาอาจแบ่งปันความรู้สึกของตนเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และการพลีพระชนม์ชีพของพระองค์เพื่อเรา

สดุดี 23สดุดี 23 เป็นแรงบันดาลใจสำหรับเพลงสวดหลายเพลง เช่น “พระองค์ผู้ทรงเลี้ยงข้า (เพลงสวด, บทเพลงที่ 50) ครอบครัวท่านอาจจะร้องเพลงสวดเหล่านี้หนึ่งเพลงและระบุคำในสดุดีที่อาจเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดเนื้อร้องเพลงนั้น หรือพวกเขาอาจจะชอบวาดภาพบางอย่างที่พบในสดุดีหรือเพลงสวด และให้สมาชิกครอบครัวทายข้อหรือเนื้อร้องที่สอดคล้องกับภาพ พระเจ้าทรงเป็นเหมือนผู้เลี้ยงเราดุจแกะอย่างไร?

สดุดี 24:3–5เพื่อเน้นความสำคัญของการมีมือสะอาดและใจบริสุทธิ์ ท่านอาจจะอ่าน สดุดี 24:3–5 ขณะสมาชิกครอบครัวล้างมือ มือน่าจะหมายถึงอะไรในสดุดีบทนี้? ใจอาจเป็นสัญลักษณ์ของอะไร? เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อชำระมือเราให้สะอาดและทำให้ใจเราบริสุทธิ์ทางวิญญาณ?

สดุดี 30:5, 11สดุดี 30:5 มีคำสัญญาว่า “การร้องไห้อาจจะคงอยู่สักคืนหนึ่ง แต่ความยินดีจะมาเวลาเช้า” พระเจ้าทรงเปลี่ยนความเศร้าของเราเป็นความยินดีมาแล้วอย่างไร? สมาชิกครอบครัวบางคนอาจชอบทำท่าประกอบสิ่งที่ ข้อ 11 พูดถึง

สดุดี 33สังเกตว่าสดุดีบทนี้ใช้คำว่า ทั้งสิ้น กี่ครั้ง เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเจ้าจากการใช้คำนี้ซ้ำหลายครั้ง โดยเฉพาะใน ข้อ 13–15

สดุดี 46:10ท่านอาจจะทำบางอย่างด้วยกันที่เรียกร้องให้สมาชิกครอบครัวอยู่ “นิ่ง” การอยู่นิ่งจะช่วยให้เรารู้จักพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร? เรามีโอกาสใดบ้างให้อยู่นิ่งและรู้จักพระผู้เป็นเจ้า?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “พระองค์ผู้ทรงเลี้ยงข้าเพลงสวด, บทเพลงที่ 50

ปรับปรุงการศึกษาส่วนตัว

จงสร้างสรรค์ พระคัมภีร์อย่างเช่นสดุดีมักสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนสรรเสริญพระเจ้าในวิธีที่สร้างสรรค์ ถ้าท่านรู้สึกได้รับการกระตุ้นเตือนให้แสดงความภักดีผ่านดนตรี บทกวี ทัศนศิลป์ หรือวิธีอื่น ให้ทำตามความรู้สึกเหล่านั้น ท่านอาจจะแบ่งปันสิ่งที่ท่านสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้อื่นสร้างศรัทธาในพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์

พระเยซูทรงแบกแกะไว้บนบ่า

พระเมษบาลผู้ประเสริฐ โดย เคน สเปนเซอร์