พันธสัญญาใหม่ 2023
20–26 กุมภาพันธ์ มัทธิว 6–7: “พระองค์ทรงสั่งสอนพวกเขาอย่างผู้มีสิทธิอำนาจ”


“20–26 กุมภาพันธ์ มัทธิว 6–7: ‘พระองค์ทรงสั่งสอนพวกเขาอย่างผู้มีสิทธิอำนาจ,’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“20–26 กุมภาพันธ์ มัทธิว 6–7,” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2023

พระเยซูทรงสอนริมฝั่งทะเล

พระเยซูทรงสอนผู้คนริมฝั่งทะเล โดย เจมส์ ทิสสอท

20–26 กุมภาพันธ์

มัทธิว 6–7

“พระองค์ทรงสั่งสอนพวกเขาอย่างผู้มีสิทธิอำนาจ”

เริ่มโดยอ่าน มัทธิว 6–7 ขณะนึกถึงเด็กที่ท่านสอน พวกเขาจำเป็นต้องได้ยินข่าวสารอะไรบ้างจากบทเหล่านี้? จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว และโครงร่างนี้จะช่วยให้แนวคิดการสอนที่ท่านต้องการได้

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ขอให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาทำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อเป็นความสว่างหรือแบบอย่างให้แก่ผู้อื่น

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

มัทธิว 6:5–13

ฉันสามารถสวดอ้อนวอนพระบิดาบนสวรรค์เหมือนกับพระเยซู

เด็กสามารถเรียนรู้การสวดอ้อนวอนโดยฟังการสวดอ้อนวอนของผู้อื่น ท่านจะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้จากการสวดอ้อนวอนของพระเยซูคริสต์ในข้อเหล่านี้ได้อย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • ทบทวนคำสอนของพระเยซูเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนใน มัทธิว 6:5–13 ท่านอาจจะใช้ “บทที่ 20: พระเยซูทรงสอนเรื่องการสวดอ้อนวอน” (ใน เรื่องราวในพันธสัญญาใหม่, 51–52, หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ ChurchofJesusChrist.org)

    NaN:NaN
  • ใช้หน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้ช่วยเด็กจดจำส่วนต่างๆ ของการสวดอ้อนวอน

  • ลากเส้นตามภาพมือของเด็กแต่ละคนไว้บนแผ่นกระดาษ พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เราควรทำกับมือและแขนของเราขณะที่เราสวดอ้อนวอน เขียนบางสิ่งที่เราทำเพื่อแสดงความคารวะเมื่อสวดอ้อนวอนไว้บนรอยนิ้วแต่ละนิ้ว (ตัวอย่างเช่น ก้มหน้า หลับตา เป็นต้น)

  • ร้องเพลงเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนกับเด็ก เช่น “เราน้อมศีรษะ” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 18) และแสดงประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับพลังของการสวดอ้อนวอน เชื้อเชิญให้เด็กเล่าประสบการณ์สวดอ้อนวอนของพวกเขา

เด็กชายกำลังสวดอ้อนวอน

ฉันสามารถสวดอ้อนวอนพระบิดาบนสวรรค์เหมือนกับพระเยซู

มัทธิว 7:12

ฉันควรปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่ฉันต้องการให้พวกเขาปฏิบัติต่อฉัน

คำสอนของพระเยซูใน มัทธิว 7:12—ที่รู้กันทั่วไปในชื่อกฎทองคำ—ให้แนวทางที่เรียบง่ายในการปฏิบัติต่อผู้อื่น อะไรจะช่วยให้เด็กที่ท่านสอนดำเนินชีวิตตามหลักธรรมนี้?

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน มัทธิว 7:12 และถอดความเป็นคำพูดง่ายๆ ที่เด็กสามารถเข้าใจได้ ช่วยเด็กคิดหลายๆ วิธีเพื่อเติมประโยคนี้ให้สมบูรณ์ “ฉันชอบเมื่อคนอื่น ฉัน” หลังจบแต่ละประโยค ให้พวกเขาพูดทวนพร้อมกับท่านว่า “ฉันจึงควร ผู้อื่น”

  • ร้องเพลงกับเด็กเพลงที่ท่านรู้สึกเสริมกำลังใจ มัทธิว 7:12 เช่น “พระเยซูตรัสจงรักทุกคน” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 39) คิดท่าทางเรียบง่ายที่ทำพร้อมกับเพลง ถามเด็กว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรจากแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดเกี่ยวกับวิธีที่เราควรปฏิบัติต่อผู้อื่น

  • เชื้อเชิญให้เด็กเขียนสิ่งดีๆ ที่พ่อแม่หรือสมาชิกคนอื่นในครอบครัวทำให้พวกเขา อ่าน มัทธิว 7:12 และเชื้อเชิญให้เด็กบอกถึงสิ่งดีๆ ที่พวกเขาสามารถทำให้ครอบครัวตนเองได้

มัทธิว 7:24–27

ฉันสามารถสร้างบนรากฐานอันมั่นคงโดยติดตามพระเยซู

เราสามารถใช้อุปมาของพระผู้ช่วยให้รอดเรื่องการสร้างบ้านบนทรายหรือบนศิลาสอนเด็กให้จดจำความสำคัญของการปฏิบัติตามสิ่งที่เราเรียนรู้

กิจกรรมที่ทำได้

  • ร้องเพลง “คนมีปัญญาและคนโง่” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 132) กับเด็กๆ และใช้ท่าทางประกอบตามคำร้อง

  • ใช้ มัทธิว 7:24–27 สอนเรื่องความแตกต่างระหว่างคนมีปัญญากับคนโง่ เชื้อเชิญให้เด็กทำท่าสร้างบ้าน เราจะเป็นเหมือนคนมีปัญญาได้อย่างไร?

  • ให้เด็กวาดภาพอุปมาเรื่องคนมีปัญญากับคนโง่

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

มัทธิว 6–7

คำเทศนาบนภูเขามีข่าวสารสำหรับฉัน

บทเหล่านี้มีข่าวสารมากมายที่ประยุกต์ใช้ได้กับเด็กที่ท่านสอน อ่านบทเหล่านี้พร้อมกับนึกถึงเด็กๆ อะไรสะดุดใจท่าน?

กิจกรรมที่ทำได้

  • เตือนเด็กว่าพวกเขาเรียนรู้มาแล้วเกี่ยวกับสิ่งที่พระเยซูทรงสอนระหว่างเทศนาบนภูเขา พวกเขาจำความจริงอะไรได้บ้างที่พวกเขาเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา?

  • เขียนบางวลีจากคำเทศนาบนภูเขาและวลีอื่นที่ไม่ได้มาจากพระคัมภีร์ไว้บนกระดาน เชิญเด็กๆ ให้ระบุว่าวลีใดที่มาจากคำเทศนาบนภูเขา ขอให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้จากคำสอนเหล่านี้

  • เลือกหลายๆ ข้อจาก มัทธิว 6–7 ที่ท่านรู้สึกว่าจะมีความหมายต่อเด็ก เขียนพระคัมภีร์อ้างอิงไว้บนการ์ด และซ่อนไว้ทั่วห้อง ให้เด็กหา อ่านข้อเหล่านั้น และอธิบายว่าเหตุใดคำสอนเหล่านี้จึงสำคัญต่อพวกเขา

  • แบ่งปันข้อที่ชื่นชอบเป็นพิเศษข้อหนึ่งจาก มัทธิว 6–7 และอธิบายว่าเหตุใดท่านชอบข้อนั้น ถ้าเด็กมีข้อที่พวกเขาชอบ ให้พวกเขาแบ่งปันว่าเหตุใดพวกเขาชอบและพวกเขาเรียนรู้อะไรจากข้อนั้น

  • ร้องเพลงกับเด็กเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดและคำสอนของพระองค์ เช่น “ฉันพากเพียรเป็นเหมือนพระเยซู” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 40–41) หยุดเพลงเมื่อท่านมาถึงวลีที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมที่สอนใน มัทธิว 6–7 ช่วยเด็กทำการเชื่อมโยงกับสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้จากบทเหล่านี้

มัทธิว 6:5–13; 7:7–11

พระบิดาบนสวรรค์จะทรงฟังและทรงตอบฉันเมื่อฉันสวดอ้อนวอน

ขณะที่ท่านศึกษา มัทธิว 6:5–13; 7:7–11 ท่านรู้สึกว่าเด็กจำเป็นต้องเข้าใจอะไรเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน?

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กอ่านออกเสียง มัทธิว 6:9–13 และเขียนสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดตรัสในคำสวดอ้อนวอนของพระองค์ เราจะทำตามแบบอย่างของพระองค์ได้อย่างไรเมื่อเราสวดอ้อนวอน?

  • ร้องเพลงเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนกับเด็ก เช่น “สวดอ้อนวอนหรือเปล่า?” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 61) ช่วยเด็กสำรวจคำร้องเพื่อหาเหตุผลที่เราสวดอ้อนวอนและพรที่มาจากการสวดอ้อนวอน

  • ช่วยเด็กท่องจำ มัทธิว 7:7 โดยเล่นเกมดังนี้: เด็กคนหนึ่งท่องคำแรกหรือวลีแรกจากข้อนั้น แล้วโยนบอลให้เด็กอีกคนหนึ่งท่องคำหรือวลีถัดไป

  • แสดง มัทธิว 7:9–10 กับเด็กๆ โดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ขอให้เด็กแบ่งปันว่าสิ่งนี้สอนอะไรพวกเขาเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน

  • แบ่งปันประสบการณ์ที่พระองค์ทรงตอบคำสวดอ้อนวอนของท่าน

มัทธิว 6:19–21

ฉันสามารถแสวงหาทรัพย์สมบัตินิรันดร์แทนทรัพย์สมบัติทางโลก

ท่านจะช่วยให้เด็กที่ท่านสอนเห็นค่าสิ่งที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์มากกว่าสิ่งของทางโลกอย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • นำกล่อง “สมบัติ” ที่เต็มไปด้วยสิ่งของหรือรูปภาพแทนสิ่งที่โลกเห็นค่า—ตัวอย่างเช่น เงินหรือของเล่น อ่าน มัทธิว 6:19–21 ด้วยกัน แล้วขอให้เด็กช่วยท่านนึกถึงทรัพย์สมบัติในสวรรค์ที่จะใช้แทนสิ่งของทางโลกในกล่องได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กบอกชื่อหรือวาดบางสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อ “สะสมทรัพย์สมบัติ … ไว้ในสวรรค์” (มัทธิว 6:20)

ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันคำสอนที่พวกเขาชอบเป็นพิเศษจากคำเทศนาบนภูเขากับครอบครัวของพวกเขา

ปรับปรุงการสอนของเรา

พยายามเข้าใจสมาชิกชั้นเรียนของท่าน ท่านรู้จักเด็กที่ท่านสอน ท่านอาจจำเป็นต้องปรับแนวคิดในโครงร่างเหล่านี้ให้ตรงกับความต้องการของชั้นเรียนมากที่สุด ท่านอาจต้องการทบทวนกิจกรรมทั้งหมดในโครงร่างนี้ ไม่เพียงกิจกรรมที่กำหนดสำหรับกลุ่มอายุที่ท่านสอนเท่านั้น เพื่อหาแนวคิดให้ชั้นเรียนของท่าน (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 7)