พันธสัญญาใหม่ 2023
9–15 ตุลาคม ฟีลิปปี; โคโลสี: “ข้าพ‌เจ้าเผชิญได้ทุก‍อย่างโดยพระ‍องค์ผู้ทรงเสริมกำลังข้าพ‌เจ้า”


“9–15 ตุลาคม ฟีลิปปี; โคโลสี: ‘ข้าพ‌เจ้า​เผชิญ​ได้​ทุก‍อย่าง​โดย​พระ‍องค์​ผู้​ทรง​เสริม​กำลัง​ข้าพ‌เจ้า,’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“9–15 ตุลาคม ฟีลิปปี; โคโลสี,” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2023

เปาโลบอกให้เขียนสาส์นตามจากเรือนจำ

9–15 ตุลาคม

ฟีลิปปี; โคโลสี

“ข้าพ‌เจ้าเผชิญได้ทุก‍อย่างโดยพระ‍องค์ผู้ทรงเสริมกำลังข้าพ‌เจ้า”

อ่าน ฟีลิปปี และ โคโลสี โดยนึกถึงเด็กที่ท่านสอน แสวงหาการดลใจว่าจะสอนหลักธรรมในจดหมายเหล่านี้แก่พวกเขาอย่างไร

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ถามเด็กว่าพวกเขาทำอะไรในสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อลงมือทำสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในชั้นเรียนของสัปดาห์ที่แล้ว ตัวอย่างเช่น พวกเขาเอื้อมออกไปหาคนที่ต้องการเพื่อนอย่างไร?

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

ฟีลิปปี 1:3–4; โคโลสี 1:3, 9

ผู้นำศาสนจักรรักฉันและสวดอ้อนวอนให้ฉัน

เปาโลมักจะเริ่มต้นจดหมายของท่านโดยการแสดงความรักต่อสมาชิกศาสนจักรและบอกพวกเขาว่าท่านสวดอ้อนวอนให้พวกเขา พิจารณาว่าท่านจะช่วยเด็กอย่างไรให้เข้าใจว่าผู้นำของศาสนจักรรักพวกเขา

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่านออกเสียง ฟีลิปปี 1:3–4 และ โคโลสี 1:3, 9 ขอให้เด็กกอดอกและก้มศีรษะทุกครั้งที่ได้ยินคำว่า ทูลขอ และ อธิษฐาน อธิบายว่าอัครสาวกเปาโลสวดอ้อนวอนให้สมาชิกศาสนจักรเช่นเดียวกับที่ผู้นำศาสนจักรสวดอ้อนวอนให้เราในสมัยนี้

  • ให้ดูภาพพระเยซูคริสต์ และอ่านข้อพระคัมภีร์ที่อธิบายว่าพระองค์ทรงสวดอ้อนวอนเพื่อใครบางคน (ตัวอย่างเช่น ลูกา 22:32; 3 นีไฟ 19:21, 23) พระเยซูทูลขอสิ่งใดเมื่อพระองค์ทรงสวดอ้อนวอนเพื่อผู้อื่น?

  • ช่วยเด็กระบุชื่อผู้นำศาสนจักรบางคน เช่น ประธานปฐมวัย อธิการ และประธานศาสนจักร อธิบายว่าผู้นำเหล่านี้ทูลขอพระบิดาบนสวรรค์ให้ทรงอวยพรเด็กๆ และช่วยพวกเขาดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรม ท่านอาจบอกเด็กว่าท่านกล่าวอะไรเมื่อท่านสวดอ้อนวอนให้พวกเขา

ฟีลิปปี 4:4, 8

ฉันสามารถชื่นชมยินดีในพระเจ้า

เปาโลกระตุ้นวิสุทธิชนให้ชื่นชมยินดี—แม้ว่าพวกเขาเผชิญการทดลองและเปาโลเองก็อยู่ในคุก ท่านจะช่วยให้เด็กเห็นว่าการติดตามพระเยซูคริสต์นำมาซึ่งปีติอย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กฟังคำที่กล่าวซ้ำขณะที่ท่านอ่าน ฟีลิปปี 4:4 ขอให้เด็กแสดงให้ท่านเห็นว่าพวกเขาทำอะไรเมื่อพวกเขาชื่นชมยินดี บอกเด็กว่าเหตุใดท่าน “ชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้า”—เหตุใดท่านรู้สึกมีความสุขเพราะพระเยซูคริสต์ ให้เด็กแบ่งปันว่าพวกเขารู้สึกกับพระเยซูคริสต์อย่างไร

  • ให้ดูสิ่งของหรือรูปภาพที่เป็นตัวแทนของสิ่งที่ช่วยให้ท่าน “ชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้า” (ฟีลิปปี 4:4) เช่น งานสร้างของพระองค์ พระวิหาร การฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ หรือครอบครัว ให้เด็กผลัดกันเลือกภาพหรือสิ่งของ และบอกพวกเขาว่าทำไมสิ่งนี้ทำให้ท่านมีความสุข เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่ช่วยให้พวกเขาชื่น‍ชม​ยินดี​ใน​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​

  • อ่าน ฟีลิปปี 4:8 ด้วยกัน และช่วยให้เด็กนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่เข้ากับคำอธิบายในข้อนี้ (ดู หลักแห่งความเชื่อ 1:13 ด้วย) ให้เด็กวาดภาพสิ่งเหล่านี้

โคโลสี 1:23; 2:6–7

ศรัทธาของฉันควร “หยั่งราก” ในพระเยซูคริสต์

หากเด็กสร้างศรัทธาและชีวิตพวกเขาบนพระผู้ช่วยให้รอด พวกเขาจะสามารถต้านทานพายุของชีวิต

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพต้นไม้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว ขณะที่ท่านอ่านวลีสำคัญจาก โคโลสี 1:23; 2:6–7 (หรือฉายวีดิทัศน์ “ลมหมุนทางวิญญาณ” ที่ ChurchofJesusChrist.org) จะเกิดอะไรขึ้นกับต้นไม้นี้หากพายุมาและต้นไม้ไม่มีรากที่แข็งแรง? ให้เด็กยืนขึ้นและทำเป็นต้นไม้ที่มีรากอ่อนแอในพายุแล้วทำเป็นต้นไม้ที่มีรากแข็งแรง เป็นพยานว่าศรัทธาในพระผู้ช่วยให้รอดช่วยให้เราเป็นเหมือนต้นไม้ที่มีรากแข็งแรง จากนั้นเราสามารถทนต่อ “พายุทางวิญญาณ” เช่นการล่อลวงและเวลาที่ยากลำบาก

    2:24
  • เชิญเด็กคนหนึ่งวาดรูปต้นไม้บนกระดาน ขอให้เด็กบอกบางสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อจะ “หยั่งราก” ในพระเยซูคริสต์ ทุกครั้งที่เด็กบอกบางสิ่ง เชื้อเชิญให้เขาเพิ่มรากในรูปดังกล่าว

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

ฟีลิปปี 4:4–13

หากฉันมีศรัทธาในพระเยซูคริสต์ ฉันสามารถมีความสุขได้แม้ระหว่างช่วงเวลายากลำบาก

เปาโลทนทุกข์กับการทดลองมากมาย แต่เขามีความสุขเพราะเขามีศรัทธาในพระเยซูคริสต์

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กจินตนาการว่าพวกเขาอยู่ในคุก เช่นเดียวกับอัครสาวกเปาโลเมื่อเขาเขียน สาส์นถึงชาวฟีลิปปี อ่าน ฟีลิปปี 4:4–13 กับเด็กและขอให้พวกเขามองหาคำว่า “ชื่นชมยินดี” “สันติสุข” และ “พอใจ” เหตุใดเปาโลจึงสามารถชื่นชมยินดีและรู้สึกถึงสันติสุขแม้อยู่ในคุก? จากนั้นขอให้เด็กหาคำว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า” “พระเจ้า” และ “พระคริสต์” ในข้อเหล่านี้ ช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าศรัทธาของเปาโลในพระเยซูคริสต์ทำให้เขาสามารถชื่นชมยินดีได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กช่วยท่านแต่งประโยคให้สมบูรณ์ดังนี้: “ฉันสามารถอยู่ในความมืดและยังมองเห็นได้หากฉันมี ฉันสามารถอยู่ข้างนอกในวันที่ร้อนจัดและยังรู้สึกเย็นได้หากฉันมี ฉันสามารถมีช่วงเวลาที่ยากลำบากและยังพบปีติได้หากฉันฟีลิปปี 4:4–13 แนะนำให้เราทำอย่างไรเพื่อพบปีติ? เชิญเด็กให้แบ่งปันเพลงสวดหรือพระคัมภีร์ที่เกี่ยวกับพระเยซูซึ่งสามารถช่วยให้พวกเขารู้สึกถึงปีติในช่วงเวลาที่ยากลำบาก

ฟิลิปปี 4:8

ฉันสามารถ “ใคร่ครวญดู” สิ่งที่เป็นจริง น่านับถือ และบริสุทธิ์

เด็กมักจะถูกนำมาสัมผัสต่อสิ่งที่ชั่วร้ายและไม่บริสุทธิ์ ท่านสามารถช่วยพวกเขาแสวงหาสิ่งดีและควรค่าแก่การสรรเสริญ

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กคนหนึ่งอ่านออกเสียง ฟีลิปปี 4:8 ขณะที่คนอื่นๆ มองหาคำใน หลักแห่งความเชื่อ 1:13 ที่คล้ายหรือเหมือนกัน เชิญคนหนึ่งเขียนคำเหล่านี้ไว้บนกระดาน ถามเด็กว่าคำเหล่านั้นหมายถึงอะไรและช่วยพวกเขานิยามคำเหล่านั้นตามความจำเป็น เหตุใดเราควร “ใคร่ครวญดู” สิ่งเหล่านี้? เราจะ “แสวงหา” สิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร?

  • ขอให้เด็กบอกสิ่งต่างๆ ที่เข้ากับคำอธิบายใน ฟีลิปปี 4:8 ในสัปดาห์นี้เชื้อเชิญให้พวกเขาจดรายการสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาสังเกตว่าเข้ากับคำอธิบายเหล่านี้ กระตุ้นให้พวกเขานำรายการที่จดไว้มาปฐมวัยสัปดาห์หน้าและแบ่งปันสิ่งที่พบ

โคโลสี 1:23; 2:6–7

ศรัทธาของฉันควร “หยั่งราก” ในพระเยซูคริสต์

ซาตานพยายามทำให้ศรัทธาของเราอ่อนแอผ่านการล่อลวงและหลักคำสอนเท็จ ท่านจะสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กเสริมสร้างศรัทธาในพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไรเพื่อพวกเขาจะ “​ไม่​โยก‍ย้าย​ไป​จาก​ความ​หวัง​ใน​ข่าว‍ประ‌เสริฐ​”? (โคโลสี 1:23)

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กวาดรูปที่แสดงถึงความจริงที่พวกเขาพบใน โคโลสี 1:23; 2:6–7 ให้พวกเขาแบ่งปันภาพวาดกับชั้นเรียนและอธิบายความจริงที่ภาพนั้นแสดงถึง

  • ฉายวีดิทัศน์ “ลมหมุนทางวิญญาณ” ในโลกทุกวันนี้มีการล่อลวงและหลักคำสอนเท็จอะไรบ้างที่สามารถทำให้ศรัทธาของเราอ่อนแอลงได้? กระตุ้นให้เด็กเขียนสิ่งหนึ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อเสริมสร้างศรัทธาของพวกเขาให้ “หยั่งราก” (โคโลสี 2:7) ในพระเยซูคริสต์ ขอให้พวกเขาวางสิ่งนี้ในที่ซึ่งพวกเขาจะเห็นทุกวัน

2:24
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันกับครอบครัวว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ พวกเขาอาจใช้หน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้หรือพระคัมภีร์ข้อหนึ่งที่พวกเขาอ่านในระหว่างชั้นเรียนวันนี้

ปรับปรุงการสอนของเรา

เด็กช่างสงสัยและเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ใหม่ๆ และหลากหลาย ใช้กิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้เคลื่อนไหว ใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมด สำรวจ และลองสิ่งใหม่ๆ คำแนะนำใน “การตอบรับความต้องการของเด็กเล็ก” ช่วงต้นของแหล่งช่วยนี้จะช่วยได้ (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 25–26 ด้วย)