พันธสัญญาเดิม 2022
14–20 กุมภาพันธ์ ปฐมกาล 18–23: “มีสิ่งใดอัศจรรย์เกินที่พระยาห์เวห์จะทรงทำได้?”


“14–20 กุมภาพันธ์ ปฐมกาล 18–23: ‘มีสิ่งใดอัศจรรย์เกินที่พระยาห์เวห์จะทรงทำได้?’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“14–20 กุมภาพันธ์ ปฐมกาล 18–23” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2022

ภาพ
ซาราห์อุ้มอิสอัค

ซาราห์กับอิสอัค โดย สก็อตต์ สโนว์

14–20 กุมภาพันธ์

ปฐมกาล 18–23

“มีสิ่งใดอัศจรรย์เกินที่พระยาห์เวห์จะทรงทำได้?”

ขณะท่านหาทางตอบสนองความต้องการของเด็กที่ท่านสอน ให้พิจารณาแนวคิดทั้งสำหรับเด็กโตและเด็กเล็กในโครงร่างนี้

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เพื่อช่วยเด็กแบ่งปันสิ่งที่พวกเขารู้แล้วเกี่ยวกับ ปฐมกาล 18–23 ให้ดูภาพเหตุการณ์จากบทเหล่านี้หนึ่งเหตุการณ์หรือมากกว่านั้น และขอให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เด็กจำได้เกี่ยวกับเรื่องนั้น

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

ปฐมกาล 18:9–14; 21:1–7

ฉันวางใจได้ว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงรักษาสัญญาของพระองค์

ถึงแม้พระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญาว่าซาราห์กับอับราฮัมจะมีบุตรชายขณะพวกท่านอายุมากแล้ว แต่ไม่มีทีท่าว่าคำสัญญาจะเกิดสัมฤทธิผล ท่านจะใช้เรื่องนี้ช่วยให้เด็กมีศรัทธาว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงรักษาสัญญาของพระองค์อยู่เสมอได้อย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • สรุปสัญญาของพระผู้เป็นเจ้ากับอับราฮัมและซาราห์ที่ว่าพวกท่านจะมีบุตรและสัมฤทธิผลของสัญญานี้ (ดู ปฐมกาล 17:15–19; 18:9–14; 21:1–7) หรือเชิญสามีภรรยาคู่หนึ่งในวอร์ดแต่งตัวเป็นอับราฮัมกับซาราห์และเล่าเรื่องนั้น ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าอับราฮัมกับซาราห์อายุมากเกินกว่าจะมีบุตร ถามคำถามจาก ปฐมกาล 18:14 “มีสิ่งใดอัศจรรย์เกินที่พระยาห์เวห์จะทรงทำได้?” เป็นพยานว่าพระเจ้าทรงสามารถทำให้สัญญาของพระองค์เกิดสัมฤทธิผลแม้ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้

  • ทำสัญญากับเด็กที่ท่านจะทำให้เกิดสัมฤทธิผลตอนจบชั้นเรียน (ตัวอย่างเช่น ท่านจะให้พวกเขาระบายสีภาพๆ หนึ่ง) เตือนเด็กๆ ตลอดชั้นเรียนให้นึกถึงสัญญาของท่าน แล้วทำตามสัญญา อธิบายว่าพระเจ้าทรงรักษาสัญญาของพระองค์เสมอ

  • ขอให้เด็กเล่าตอนที่พวกเขาต้องรอบางสิ่งที่พวกเขาต้องการจริงๆ ร้องเพลงๆ หนึ่งกับเด็กที่เป็นพยานถึงสัญญาของพระผู้เป็นเจ้า เช่น “รักษาพระบัญญัติ” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 68–69) ช่วยเด็กระบุสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญากับเราถ้าเราซื่อสัตย์

ปฐมกาล 22:1–14

อับราฮัมเชื่อฟังพระเจ้า

เป็นเรื่องยากมากที่อับราฮัมจะทำตามพระบัญชาให้เสียสละบุตรชายของท่าน ไตร่ตรองว่าท่านจะใช้เรื่องนี้อย่างเหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้เด็กเชื่อฟังพระผู้เป็นเจ้าแม้เชื่อฟังได้ยากหรือพวกเขาไม่รู้เหตุผลทั้งหมดสำหรับพระบัญญัตินั้นได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพอับราฮัมกับอิสอัค (ดู โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว) และใช้ภาพเล่าเรื่องของอับราฮัมกับอิสอัค (ดู “อับราฮัมถวายอิสอัค” ใน เรื่องราวในพันธสัญญาเดิม ด้วย) ให้ดูภาพพระเยซูคริสต์ และพูดคุยกับเด็กว่าเรื่องราวของอับราฮัมกับอิสอัคจะเตือนเราให้นึกถึงการเสียสละที่พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงทำเพื่อเราได้อย่างไร

  • เล่นเกมง่ายๆ ที่เด็กต้องทำตามคำสั่ง ตัวอย่างเช่น คำสั่งจะพาเด็กไปถึงภาพพระผู้ช่วยให้รอดที่ซ่อนอยู่ในห้องเรียน พระบิดาบนสวรรค์ทรงขอให้เราทำสิ่งใดบ้าง? ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าการรักษาพระบัญญัติจะช่วยให้เรากลับไปอยู่กับพระองค์และพระเยซูคริสต์อีกครั้ง

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

ปฐมกาล 18:9–14; 21:1–7

พระเจ้าทรงทำให้สัญญาของพระองค์เกิดสัมฤทธิผลแม้ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้

พระเจ้ารับสั่งกับอับราฮัมและซาราห์ว่าพวกท่านจะมีบุตรชาย แต่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้—อับราฮัมอายุ 100 ปีและซาราห์อายุ 90 ปี (ดู ปฐมกาล 17:17) พระผู้เป็นเจ้าทรงทำให้สัญญาของพระองค์เกิดสัมฤทธิผล และเรื่องนี้สามารถช่วยให้เด็กที่ท่านสอนเพิ่มพลังศรัทธาในสัญญาที่พระผู้เป็นเจ้าทรงทำกับพวกเขา

กิจกรรมที่ทำได้

  • เขียนแต่ละคำจากประโยคแรกของ ปฐมกาล 18:14 ลงในกระดาษแผ่นละคำและแจกให้เด็กคนละแผ่น แล้วขอให้ชั้นเรียนเรียงคำให้ถูกต้อง อ่าน ปฐมกาล 18:9–14; 21:1–7 กับเด็กเพื่อหาหนึ่งตัวอย่างจากชีวิตของซาราห์กับอับราฮัมเมื่อพระเจ้าทรงทำบางสิ่งที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ เราสามารถเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์ของซาราห์กับอับราฮัมที่สามารถกระตุ้นให้เราวางใจสัญญาของพระผู้เป็นเจ้า?

ปฐมกาล 19:15–26

ฉันสามารถหนีความชั่วร้ายได้

เรื่องราวของโลทกับครอบครัวหนีจากเมืองชั่วร้ายอาจสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กที่ท่านสอนหนีจากอิทธิพลชั่วในชีวิตพวกเขา

ภาพ
ภาพประกอบของโลทกับครอบครัวหนีจากเมืองโสโดมและเมืองโกโมราห์

หนีจากเมืองโสโดมและเมืองโกโมราห์ โดย จูเลียน ชนอรร์วอน แครอลส์เฟลด์

กิจกรรมที่ทำได้

  • สรุป ปฐมกาล 19:15–26 โดยอธิบายว่าครอบครัวของโลทอาศัยอยู่ในเมืองที่ชั่วร้ายมาก และเหล่าเทพมาเตือนให้พวกเขาออกจากเมืองนั้น อ่าน ข้อ 15–17, 28 ด้วยกันและช่วยให้เด็กคิดว่า “หนี” ความชั่วร้ายและ “อย่าเหลียวหลัง” (ข้อ 17) หมายความว่าอย่างไร

  • ติดภาพพระผู้ช่วยให้รอดและขอให้เด็กก้าวหนึ่งก้าวเข้าไปหาภาพเมื่อพวกเขาแบ่งปันหนึ่งอย่างที่สามารถทำได้เพื่อหนีจากความชั่วร้ายและมาใกล้พระคริสต์มากขึ้น

  • สนทนาสถานการณ์ซึ่งเพื่อนคนหนึ่งอาจชวนเด็กๆ ให้ทำบางสิ่งที่พวกเขารู้ว่าไม่ถูกต้อง เราจะ “หนี” จากสถานการณ์เหล่านี้อย่างไร? เราจะพูดกับเพื่อนว่าอย่างไร?

ปฐมกาล 22:1–14

พระบิดาบนสวรรค์ทรงส่งพระบุตรมาพลีพระชนม์ชีพเพื่อเรา

ขณะที่ท่านสอนเรื่องอับราฮัมเต็มใจถวายอิสอัคเป็นเครื่องบูชา จงระวังความรู้สึกของเด็ก ใช้เรื่องนี้ช่วยเด็กเพิ่มพลังความรักและความสำนึกคุณต่อการพลีพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอด

กิจกรรมที่ทำได้

  • เพื่อช่วยให้เด็กเรียนรู้เรื่องราวใน ปฐมกาล 22:1–14 ให้อ่านข้อเหล่านั้นให้พวกเขาฟัง และเชื้อเชิญให้พวกเขาวาดภาพสิ่งที่ท่านกำลังอ่าน เหตุใดจึงยากที่อับราฮัมจะทำตามพระบัญชาของพระเจ้าให้ถวายอิสอัคเป็นเครื่องบูชา? เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับอับราฮัมจากเรื่องนี้?

  • ฉายวีดิทัศน์เรื่อง “For God So Loved the World” (ChurchofJesusChrist.org) หรือร้องเพลงหนึ่งด้วยกันเกี่ยวกับการพลีพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอด เช่น “พระองค์ทรงส่งพระบุตร” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 20–21) เชื้อเชิญให้เด็กพูดคุยกันว่าการพลีพระชนม์ชีพของพระเยซูแสดงความรักที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงมีต่อเราอย่างไร

ภาพ
learning icon

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชิญเด็กแบ่งปันกับครอบครัวเกี่ยวกับเวลาที่พระผู้เป็นเจ้าประทานพรพวกเขาเมื่อพวกเขาเชื่อฟังพระบัญญัติหนึ่งข้อของพระองค์

ปรับปรุงการสอนของเรา

ส่งเสริมความคารวะ เมื่อจำเป็นท่านอาจเตือนนักเรียนให้มีความคารวะระหว่างชั้นเรียน ท่านจะทำสิ่งนี้โดยร้องหรือฮัมเพลงเบาๆ หรือติดภาพพระเยซู

พิมพ์