พันธสัญญาเดิม 2022
18–24 กรกฎาคม เอสรา 1; 3–7; เนหะมีย์ 2; 4–6; 8: “ข้าพ‌เจ้า​กำลัง​ทำ‍งาน​ใหญ่”


“18–24 กรกฎาคม เอสรา 1; 3–7; เนหะมีย์ 2; 4–6; 8: ‘ข้าพ‌เจ้า​กำลัง​ทำ‍งาน​ใหญ่’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“18–24 กรกฎาคม เอสรา 1; 3–7; เนหะมีย์ 2; 4–6; 8” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2022

ภาพ
พระวิหารของเศรุบบาเบล

ภาพประกอบของพระวิหารของเศรุบบาเบล โดย แซม ลอว์เลอร์

18–24 กรกฎาคม

เอสรา 1; 3–7; เนหะมีย์ 2; 4–68

“ข้าพ‌เจ้า​กำลัง​ทำ‍งาน​ใหญ่”

ขณะท่านศึกษา ให้พิจารณาว่าเด็กที่ท่านสอนต้องการข่าวสารใดในเอสราและเนหะมีย์มากที่สุด วางแผนการสอนที่มีความประทับใจที่ท่านได้รับจากพระวิญญาณบริสุทธิ์

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เขียนบนกระดานว่า เศ‌รุบ‌บา‌เบล เอสรา และ เนหะมีย์ วาดรูปหรือให้ดูภาพที่เกี่ยวข้องกับคนเหล่านี้ เช่น พระวิหาร พระคัมภีร์ หรือกำแพงเยรูซาเล็ม ช่วยเด็กจับคู่ชื่อกับภาพ และให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับสิ่งที่คนเหล่านี้ทำ

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

เอสรา 3:8–13

พระวิหารสามารถนำปีติมาให้ฉันได้

เรื่องราวของเศรุบบาเบลและชาวยิวที่สร้างพระวิหารขึ้นมาใหม่สามารถช่วยให้เด็กที่ท่านสอนชื่นชมยินดีในพรที่มาถึงเพราะพระนิเวศของพระเจ้า

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กพูดถึงบางสิ่งที่ทำให้พวกเขามีความสุข ให้ดูภาพคนยิ้มที่หน้าพระวิหาร (เช่น ภาพในโครงร่างนี้) และถามเด็กว่าเหตุใดคนนั้นถึงมีความสุขมาก เป็นพยานว่าพระวิหารเป็นพระนิเวศของพระเจ้า และเล่าถึงช่วงเวลาที่ท่านรู้สึกมีความสุขเพราะพระวิหาร

  • อ่านส่วนท้ายสุดของ เอสรา 3:12 ให้เด็กฟัง โดยอธิบายว่าเมื่อชาวยิววางรากฐานของพระวิหาร “คน​เป็น​อัน​มาก​ได้​โห่‍ร้อง​ด้วย​ความ​ชื่น‍บาน” เชื้อเชิญให้เด็กโห่ร้องด้วยความชื่นบาน ช่วยให้พวกเขานึกถึงเหตุผลที่เราสามารถมีความสุขได้เกี่ยวกับพระวิหาร ตัวอย่างเช่น ในพระวิหารเราทำสัญญากับพระผู้เป็นเจ้าที่ทำให้ครอบครัวเราอยู่ด้วยกันตลอดไป

  • ร้องเพลงๆ หนึ่งเกี่ยวกับพระวิหารกับเด็ก เช่น “ฉันชอบมองดูพระวิหาร” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 99) หลังจบแต่ละบรรทัด ให้หยุดร้องเพื่อขอให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เขาชอบเกี่ยวกับพระวิหาร

    ภาพ
    ครอบครัวเดินบริเวณพระวิหาร

    พระวิหารเป็นแหล่งที่มาของปีติในชีวิตเรา

เนหะมีย์ 2:17–20; 6:1–9

พระเจ้าจะทรงช่วยฉันทำงานของพระองค์

เมื่อเนหะมีย์ซ่อมกำแพงรอบเยรูซาเล็ม ศัตรูของเขาพยายามจะให้เขาหยุด แต่เขายังคงซื่อสัตย์ต่องานของเขา มีสิ่งสำคัญอะไรบ้างที่พระเจ้าทรงต้องการให้เด็กทำ และท่านจะสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาซื่อสัตย์ต่องานนั้นได้อย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • แบ่งปันเรื่องราวของเนหะมีย์ให้เด็กฟัง (ดู เนหะมีย์ 2:17–20; 6:1–9; ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “ข้าพเจ้ากำลังทำงานใหญ่ ลงมาไม่ได้,” เลียโฮนา, พ.ค. 2009, 73–77) บอกเด็กว่าเนหะมีย์พูดอะไรเมื่อผู้คนล้อเลียนเขาเพราะต้องการซ่อมกำแพงเยรูซาเล็ม: “พระ‍เจ้า​แห่ง​ฟ้า‍สวรรค์​จะ​ทรง​ให้​เรา​ทำ​สำเร็จ และ​พวก‍เรา​ผู้​รับ‍ใช้​ของ​พระ‍องค์​จะ​ลุก‍ขึ้น​สร้าง” (เนหะยีห์ 2:20) เชื้อเชิญให้เด็กยืนขึ้นและทำท่าช่วยซ่อมกำแพงเยรูซาเล็ม

  • นำไม้บล็อกมาที่ชั้นเรียน และให้เด็กใช้ไม้บล็อกเหล่านี้เพื่อช่วยท่านสร้างกำแพง (หรือวาดกำแพงบนกระดาน) ช่วยเด็กนึกถึงสิ่งสำคัญบางอย่างที่พระบิดาบนสวรรค์อาจขอให้พวกเขาทำ เช่น เรียนรู้วิธีอ่านพระคัมภีร์ แต่ละแนวคิดที่พวกเขาแบ่งปัน ให้พวกเขาเพิ่มไม้บล็อกหนึ่งชิ้นไปที่กำแพง อธิบายว่าเมื่อเนหะมีย์ทำงานสำคัญในการซ่อมแซมกำแพงเยรูซาเล็ม ผู้คนพยายามหยุดยั้งเขา อ่าน เนหะมีย์ 6:9 และเชื้อเชิญให้เด็กยกมือขึ้นเมื่อท่านอ่าน “เสริม​กำลัง​มือ​ของ​ข้า‍พระ‍องค์” บอกเด็กถึงช่วงเวลาที่ท่านรู้สึกว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเสริมกำลังมือของท่านให้ทำงานของพระองค์

เนหะมีย์ 8:1–12

พระคัมภีร์เป็นพร

ท่านสามารถใช้เรื่องราวของเอสราที่อ่านหนัง‌สือ​ธรรม‍บัญญัติ​เพื่อช่วยให้เด็กคิดว่าเราได้รับพรอย่างไรที่มีพระคัมภีร์

กิจกรรมที่ทำได้

  • บอกเด็กว่าเอสราอ่านพระคัมภีร์ให้ผู้คนฟัง อ่านออกเสียงบางวลีจาก เนหะมีย์ 8:2–3, 5–6, 8–9, 12 ที่บรรยายถึงสิ่งที่ผู้คนทำเมื่อพวกเขาได้ยินพระคัมภีร์ และเชื้อเชิญให้เด็กทำท่าตามวลีเหล่านี้ เหตุใดเราจึงสำนึกคุณที่มีพระคัมภีร์?

  • เชื้อเชิญให้เด็กระบายสีหน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้ ขณะระบายสี ให้แบ่งปันกับเด็กว่าการอ่านพระคัมภีร์นำท่านใกล้ชิดกับพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นอย่างไร

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

เอสรา 3:8–13; 6:16–22

พระวิหารให้เหตุผลแก่ฉันที่จะชื่นชมยินดี

ขณะที่ท่านทบทวนเรื่องราวของเศรุบบาเบลและชาวยิวที่สร้างพระวิหารขึ้นใหม่กับเด็ก ให้หาวิธีเป็นพยานถึงปีติที่มาถึงเราเพราะเรามีพระวิหารในปัจจุบัน

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กทำงานด้วยกันเพื่อหาวลีใน เอสรา 3:10–13 ที่แสดงให้เห็นว่าชาวยิวรู้สึกอย่างไรเมื่อสร้างพระวิหารในเยรูซาเล็มขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เราจะแสดงปีติของเราที่มีพระวิหารบนแผ่นดินโลกในปัจจุบันได้อย่างไร? ช่วยเด็กคิดวิธีที่พวกเขาสามารถเตรียมตัวให้พร้อมไปพระวิหาร

  • แบ่งปันความรู้สึกของท่านที่มีต่อพระวิหารให้เด็กฟัง พระวิหารช่วยให้ท่านรู้สึกใกล้ชิดพระบิดาบนสวรรค์และพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นอย่างไร? เหตุใดเราจึงเฉลิมฉลองเมื่ออุทิศพระวิหาร? ให้เวลาเด็กเขียนว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรต่อพระวิหาร และกระตุ้นให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่เขียนกับครอบครัวพวกเขา

เนหะมีย์ 2; 46

พระเจ้าจะทรงเสริมกำลังให้ฉัน “ทำ‍งาน​ใหญ่”

พระเจ้าทรงมีงานสำคัญให้เด็กที่ท่านสอน พวกเขาเรียนรู้อะไรบ้างจากเนหะมีย์เกี่ยวกับความมานะบากบั่นในงานนั้นแม้พวกเขาเผชิญการต่อต้าน?

กิจกรรมที่ทำได้

  • ทบทวนเรื่องราวที่เกี่ยวกับเนหะมีย์ซ่อมแซมกำแพงรอบเยรูซาเล็ม รวมถึงการต่อต้านที่เขาเผชิญ อ่าน เนหะมีย์ 2:19 ด้วยกัน และขอให้เด็กแบ่งปันสถานการณ์ที่บางคนอาจหัวเราะเยาะเราเพราะทำสิ่งที่ถูกต้อง ตามที่กล่าวไว้ใน เนหะมีย์ 2:20 เนหะมีย์ตอบสนองอย่างไร? เราจะตอบสนองอย่างไรเมื่อมีคนล้อเลียนหรือวิพากษ์วิจารณ์เราเพราะทำในสิ่งที่ถูกต้อง?

  • อ่าน เนหะมีย์ 6:1–9 ด้วยกัน ศัตรูของเนหะมีย์พยายามซ้ำๆ ให้เขาหยุดทำงานบนกำแพงอย่างไรและเขาตอบสนองอย่างไร? งานอะไรบ้างที่พระผู้เป็นเจ้าทรงต้องการให้เราทำ? (ดูตัวอย่างใน โมไซยาห์ 18:8–10) เราจะทำตามแบบอย่างของเนหะมีย์ใน ข้อ 9 ได้อย่างไรเมื่อเป็นเรื่องยากที่จะทำสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงขอให้เราทำ?

เนหะมีย์ 8:1–12

ฉันได้รับพรเมื่อฉันศึกษาพระคัมภีร์

ผู้คนในเยรูซาเล็มไม่เคยได้ยินพระคำของพระผู้เป็นเจ้ามาเป็นเวลานานก่อนที่เอสราจะอ่านให้ผู้คนฟัง เรื่องราวของเอสราเตือนให้เรานึกถึงความสำคัญที่พระคัมภีร์มีต่อเรา

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กค้นหา เนหะมีย์ 8:1–12 เพื่อหาคำหรือวลีที่แสดงให้เห็นว่าผู้คนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการได้ยินพระคำของพระผู้เป็นเจ้า ขอให้เด็กบอกว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรเมื่อพวกเขาอ่านพระคัมภีร์ และแบ่งปันความรู้สึกของท่านเช่นกัน

  • เชื้อเชิญให้เด็กอ่าน เนหะมีย์ 8:8 และถามเด็กว่ามีอะไรบ้างที่ช่วยให้พวกเขาเข้าใจพระคัมภีร์ แสดงให้พวกเขาเห็นถึงวิธีใช้สิ่งช่วยศึกษาพระคัมภีร์ เช่น คู่มือพระคัมภีร์ เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันบางสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดจากพระคัมภีร์

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กเลือกสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในวันนี้ที่พวกเขาต้องการแบ่งปันกับครอบครัว

ปรับปรุงการสอนของเรา

เตรียมทางวิญญาณ “การสอนพระกิตติคุณอย่างทรงพลังไม่ได้หมายถึงการเตรียมบทเรียนเท่านั้นแต่เป็นการเตรียมตนเองด้วย … ครูสอนพระกิตติคุณที่มีประสิทธิภาพ—ก่อนจะคิดเตรียมสอนเต็มเวลาชั้นเรียน—จะมุ่งเน้นในการทำให้พระวิญญาณบริสุทธิ์เติมเต็มหัวใจ” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 12)

พิมพ์