พันธสัญญาเดิม 2022
19–25 กันยายน อิสยาห์ 40–49: “จง​ชู‍ใจ​ประ‌ชา‍กร​ของ​เรา”


“19–25 กันยายน อิสยาห์ 40–49: ‘จง​ชู‍ใจ​ประ‌ชา‍กร​ของ​เรา’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“19–25 กันยายน อิสยาห์ 40–49” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2022

ภาพ
พระเยซูทรงรักษาชายตาบอด

ทรงรักษาชายตาบอด โดย คาร์ล ไฮน์ริค บลอค

19–25 กันยายน

อิสยาห์ 40–49

“จง​ชู‍ใจ​ประ‌ชา‍กร​ของ​เรา”

หลายข้อเขียนใน อิสยาห์ 40–49 สามารถช่วยให้เด็กเพิ่มพูนความรักที่มีให้พระเจ้าและศรัทธาในพระองค์ แสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณเพื่อหาข้อเขียนเหล่านั้นขณะที่ท่านศึกษา

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

อ่าน อิสยาห์ 40:9 กับเด็ก และให้พวกเขาแสร้งทำเป็นปีนขึ้นไปบน “ภูเขาสูง” จากนั้นผลัดกันเปล่งเสียงแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเพิ่งเรียนรู้จากพระคัมภีร์—ทั้งที่บ้านหรือที่โบสถ์

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

อิสยาห์ 43:10

ฉันสามารถเป็นพยานถึงพระเจ้า

พระเจ้าทรงเตือนชาวอิสราเอลว่าพวกเขาได้เห็นสิ่งยิ่งใหญ่มากมายที่พระองค์ทรงทำเพื่อพวกเขา พระองค์ทรงต้องการให้พวกเขา (และเราทุกคน) เป็นพยานถึงพระองค์ โดยช่วยให้ผู้อื่นรู้จักกับพลังอำนาจและพระคุณความดีของพระองค์

กิจกรรมที่ทำได้

  • บอกเด็กเกี่ยวกับบางสิ่งที่ท่านประจักษ์ด้วยตนเอง ช่วยให้พวกเขานึกถึงสิ่งที่พวกเขาประสบที่จะเล่าให้กันฟังได้หรือเป็น “พยาน”—ตัวอย่างเช่น อาหารอร่อยที่พวกเขาได้ลิ้มลอง สถานที่ซึ่งพวกเขาไปเยี่ยมชม หรือบุคคลที่พวกเขารู้จัก อ่านให้เด็กฟังจาก อิสยาห์ 43:10: “พระ‍ยาห์‌เวห์​ตรัส​ดัง‍นี้​ว่า เจ้า​ทั้ง‍หลาย​เป็น​สักขี‍พยาน​ของ​เราและ​เป็น​ผู้‍รับ‍ใช้​ของ​เรา​ซึ่ง​เรา​เลือก​ไว้” บอกเด็กว่าเมื่อเรารับบัพติศมา เราสัญญาว่าจะเป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์ (ดู โมไซยาห์ 18:9) การเป็นพยานของพระเจ้าหมายความว่าอย่างไร?

  • ขอให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์ ให้พวกเขาดูภาพเพื่อให้แนวคิดกับพวกเขา (ตัวอย่างเช่น ภาพการฟื้นคืนพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอด ภาพพระคัมภีร์มอรมอน ภาพพระวิหาร และภาพศาสดาพยากรณ์ที่มีชีวิตอยู่) เชื้อเชิญให้พวกเขาพูดถึงสิ่งที่อาจแบ่งปันกับผู้อื่นในฐานะพยานของพระเจ้า

อิสยาห์ 43:11

“นอก‍จาก​เรา ไม่‍มี​พระ‍ผู้‍ช่วย‍ให้‍รอด”

พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระองค์เดียวที่สามารถช่วยให้เรารอดจากบาปและความตาย ไตร่ตรองว่าท่านจะสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กวางใจในพระองค์ได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กจินตนาการถึงสถานการณ์ที่พวกเขาอาจต้องการความช่วยเหลือ (เช่น เจ็บป่วยหรือติดอยู่ในพายุ) ให้ดูสิ่งของหลายๆ อย่าง (หรือภาพสิ่งของ) ของบางอย่างที่จะช่วยพวกเขาในสถานการณ์และของอื่นๆ ที่จะไม่ช่วย ตัวอย่างเช่น ร่มจะช่วยในพายุ แต่แก้วน้ำและดินสอจะไม่ช่วย ขอให้เด็กเลือกสิ่งของที่จะช่วยในสถานการณ์นั้น ให้ดูภาพพระผู้ช่วยให้รอดเพื่อช่วยให้เด็กพูดคุยกันว่าพระองค์ทรงช่วยเราอย่างไร

  • อ่าน อิสยาห์ 43:11 ให้เด็กฟัง และขอให้พวกเขาชี้ไปที่ภาพพระเยซูเมื่อพวกเขาได้ยินคำว่า “พระผู้ช่วยให้รอด” เป็นพยานว่าเพราะพระเยซูคริสต์ทรงทนทุกข์และสิ้นพระชนม์เพื่อเราและฟื้นคืนพระชนม์ พระองค์จึงทรงเป็นพระองค์เดียวที่สามารถช่วยเราให้รอดจากบาปและจากความตาย

ภาพ
คลื่นทะเล

เราสามารถมี “ความชอบธรรมเหมือนคลื่นทะเล” (อิสยาห์ 48:18)

อิสยาห์ 48:18

การรักษาพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าทำให้เกิดสันติสุข

พระเจ้าทรงให้สัญญาสันติสุขเหมือน “แม่น้ำ” และความชอบธรรมเหมือน “คลื่นทะเล” แก่ผู้ที่รักษาพระบัญญัติของพระองค์

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน อิสยาห์ 48:18 ให้เด็กฟัง เชื้อเชิญให้พวกเขาขยับมือและแขนเหมือนกับสายน้ำและคลื่น เล่าให้ฟังว่าการรักษาพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าช่วยให้ท่านรู้สึกถึงสันติสุขเหมือนแม่น้ำหรือมีพละกำลังเหมือนคลื่นได้อย่างไร

  • วาดแม่น้ำบนกระดาน ช่วยให้เด็กนึกถึงพระบัญญัติที่พระผู้เป็นเจ้าประทานแก่เรา เขียนพระบัญญัติเหล่านั้นลงบนกระดาษ (หรือวาดรูปอย่างง่าย) และให้เด็กผลัดกันติดพระบัญญัติที่แม่น้ำบนกระดาน ช่วยให้เด็กเรียนรู้ว่าการรักษาพระบัญญัติทำให้เกิดสันติสุขอย่างไร

  • ร้องเพลงด้วยกันหนึ่งเพลงเกี่ยวกับพระบัญญัติ เช่น “รักษาพระบัญญัติ” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 68) เพลงนี้สอนอะไรเกี่ยวกับเหตุผลที่เราควรรักษาพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า?

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

อิสยาห์ 40:3–5

ฉันสามารถช่วยเตรียม “มรรคาของพระยาห์เวห์”

เราช่วยให้คำพยากรณ์ใน อิสยาห์ 40:3–5 เกิดสัมฤทธิผลโดยช่วยให้ผู้อื่นรับพระเจ้าเข้าไปในชีวิตพวกเขา

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กคนหนึ่งอ่าน อิสยาห์ 40:3 ขณะที่เด็กคนอื่นแต่ละคนอ่านข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้และมองหาคำและวลีที่เหมือนกัน: มาระโก 1:3–4 (ยอห์นผู้ถวายบัพติศมา); แอลมา 7:9 (แอลมา); หลักคำสอนและพันธสัญญา 33:10–11 (ผู้สอนศาสนายุคสุดท้าย) ช่วยพวกเขาระบุชื่อคนที่กำลังเตรียม “มรรคาของพระยาห์เวห์” ในแต่ละข้อ คนเหล่านี้เตรียมมรรคาของพระเจ้าอย่างไร? เราทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วย?

  • วาดทางเดินบนกระดานแล้วอ่าน อิสยาห์ 40:3–5 กับเด็ก ขอให้เด็กเขียนอุปสรรคที่อาจขัดขวางไม่ให้ผู้คนติดตามพระผู้ช่วยให้รอด และเชื้อเชิญให้พวกเขาวาดอุปสรรคเหล่านั้นบนทางเดิน ให้พวกเขาลบอุปสรรคขณะที่ท่านพูดถึงวิธีที่เราสามารถช่วยให้ผู้คนเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น

อิสยาห์ 41:10; 43:1–5; 48:10

พระเจ้าทรงอยู่กับฉันในการทดลองของฉัน

เมื่อเราทำพันธสัญญากับพระเจ้า พระองค์ทรงสัญญาว่าจะอยู่กับเรา—แม้ในช่วงการทดลองของเรา ช่วยให้เด็กมองตนเองเป็นส่วนหนึ่งของผู้คนแห่งพันธสัญญาของพระเจ้าและในฐานะผู้รับสัญญาของพระองค์

กิจกรรมที่ทำได้

  • เขียนบนกระดานว่า ฉันคือ… และ ฉันจะ… เชื้อเชิญให้เด็กอ่าน อิสยาห์ 41:10 และอิสยาห์ 43:1–5 เพื่อดูว่าพระเจ้าตรัสว่าพระองค์เป็นใครและพระองค์ตรัสว่าพระองค์จะทรงทำอะไร มีวลีอะไรอีกบ้างที่กล่าวซ้ำในข้อเหล่านี้? ข่าวสารเหล่านี้ทำให้เราสบายใจและมีความหวังอย่างไรในช่วงเวลาที่ยากลำบาก?

  • อ่าน อิสยาห์ 48:10 ด้วยกัน และพูดคุยกันว่าเตาเผาคืออะไรและวิธีต่างๆ ในการใช้ อธิบายว่าโลหะถูกทำให้บริสุทธิ์ในเตาเผา เหตุใดเตาเผาจึงเป็นวิธีที่ดีในการอธิบายถึงความทุกข์ยาก? ความทุกข์ยากจะทำให้เราบริสุทธิ์ได้อย่างไร? (ดู แอลมา 62:41)

อิสยาห์ 49:14–16

พระเจ้าจะทรงไม่มีวันลืมฉัน

เมื่อเรารู้สึกห่างเหินจากพระเจ้าเพราะบาป การทดลอง หรือเหตุผลอื่นๆ ข่าวสารของ อิสยาห์ 49:14–16 สามารถทำให้เกิดความสบายใจ

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กอ่าน อิสยาห์ 49:14 มีอะไรบ้างที่อาจทำให้ผู้คนรู้สึกถูกลืมหรือถูกทอดทิ้ง? เราจะช่วยให้ผู้อื่นรู้ได้อย่างไรว่าพระเจ้าไม่ทรงลืมพวกเขา? เรารู้ได้อย่างไรว่าพระองค์ไม่ทรงลืมเรา?

  • เชื้อเชิญให้เด็กพูดถึงบางคนที่พวกเขารู้ว่าเป็นคนที่พวกเขาจะไม่มีวันลืม เช่น สมาชิกครอบครัวหรือเพื่อน สนทนากันว่าแม่ผู้เปี่ยมด้วยความรักรู้สึกอย่างไรกับลูกๆ ของเธอและพระเจ้าทรงรู้สึกอย่างไรกับเรา จากนั้นขอให้เด็กอ่าน อิสยาห์ 49:15–16 ตามที่กล่าวไว้ในข้อเหล่านี้ เหตุใดพระเจ้าจึงทรงไม่มีวันลืมเรา? เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันความรู้สึกของพวกเขาเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กนึกถึงบางสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้วันนี้ที่พวกเขาต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม ช่วยพวกเขาเขียนคำถามเกี่ยวกับสิ่งนั้นที่พวกเขาสามารถถามบิดามารดาหรือสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ

ปรับปรุงการสอนของเรา

ปรับให้เข้ากับความต้องการของเด็ก หากท่านสอนเด็กเล็กแต่รู้สึกได้รับการดลใจให้สอนหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่งในโครงร่างนี้ใต้ “เด็กโต” หรือในทางกลับกัน ให้ปรับกิจกรรมที่แนะนำอย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับหลักธรรมนั้นเพื่อให้ตรงกับความต้องการและความสามารถของเด็กที่ท่านสอน

พิมพ์