พันธสัญญาใหม่ 2023
2–8 มกราคม มัทธิว 1; ลูกา 1: “ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเป็นไปตามคำของท่าน”


“2–8 มกราคม มัทธิว 1; ลูกา 1: ‘ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเป็นไปตามคำของท่าน,’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“2–8 มกราคม มัทธิว 1; ลูกา 1,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2023

มารีย์กับเอลีซาเบธ

2–8 มกราคม

มัทธิว 1; ลูกา 1

“ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเป็นไปตามคำของท่าน”

ก่อนท่านอ่านเนื้อหาการศึกษาเพิ่มเติม ให้อ่านและไตร่ตรอง มัทธิว 1 และ ลูกา 1 บันทึกความประทับใจทางวิญญาณของท่าน จงให้พระวิญญาณชี้นำการเตรียมของท่าน จากนั้นให้สำรวจแนวคิดในโครงร่างนี้และใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

จุดประสงค์หลักของมัทธิว ลูกา และผู้เขียนกิตติคุณสี่เล่มคนอื่นๆ คือเป็นพยานว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า ให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนสองสามนาทีในการทบทวน มัทธิว 1 หรือ ลูกา 1 และแบ่งปันข้อหนึ่งที่สร้างศรัทธาของพวกเขาในพระเยซูคริสต์ แนะนำชั้นเรียนว่าขณะพวกเขาศึกษาพันธสัญญาใหม่ปีนี้ พวกเขาอาจจะเก็บรายการข้อพระคัมภีร์ที่เป็นพยานว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าเอาไว้ ท่านอาจจะให้ชั้นเรียนของท่านเก็บรายการนี้ไว้เช่นกัน

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

มัทธิว 1:18–25; ลูกา 1:5–80

พระบิดาบนสวรรค์ทรงทำงานผ่านบุตรธิดาที่ซื่อสัตย์ของพระองค์ให้บรรลุจุดประสงค์ของพระองค์

  • สมาชิกชั้นเรียนอาจได้ประสบการณ์ที่มีความหมายขณะศึกษาพันธสัญญาใหม่ปีนี้ถ้าพวกเขาสามารถดึงบทเรียนมาจากประสบการณ์ของคนที่พวกเขาอ่าน เพื่อช่วยพวกเขาทำสิ่งนี้ ท่านอาจจะเขียนชื่อคนใน มัทธิว 1 และ ลูกา 1 บนกระดาน ตามด้วยพระคัมภีร์อ้างอิงเกี่ยวกับบุคคลเหล่านี้ ดังต่อไปนี้

    เราเรียนรู้อะไรได้บ้างจากเรื่องราวเหล่านี้ที่จะช่วยเหลือเราในทุกวันนี้

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนคิดอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับมารีย์และบทบาทของเธอในแผนของพระบิดา ให้อ่าน ลูกา 1:26–38, 46–56 ด้วยกันโดยมองหาสิ่งที่มารีย์กล่าวซึ่งเปิดเผยบางอย่างเกี่ยวกับอุปนิสัยของเธอ เราเรียนรู้อะไรอีกบ้างจากมารีย์?

ลูกา 1:5–25

พรของพระผู้เป็นเจ้ามาในเวลาของพระองค์

  • อาจจะมีคนในชั้นของท่านที่เหมือนเอลีซาเบธกับเศคาริยาห์คือดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรมแต่ยังไม่ได้รับพรที่หวังไว้ ท่านอาจเชิญให้ชั้นเรียนค้นคว้า ลูกา 1:5–25 โดยมองหาบทเรียนที่พวกเขาสามารถเรียนรู้จากเอลีซาเบธและเศคาริยาห์เกี่ยวกับการรอคอยพระเจ้า สมาชิกชั้นเรียนจะยกตัวอย่างอะไรได้อีกบ้างของการรอคอยจังหวะเวลาของพระเจ้าจากชีวิตของพวกเขาเองหรือจากเรื่องราวในพระคัมภีร์ เราเรียนรู้อะไรจากตัวอย่างเหล่านี้ สมาชิกชั้นเรียนยังสามารถสนทนาถึงข้อความใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” ได้เช่นกัน

ลูกา 1:26–38

“ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่พระเจ้าทรงทำไม่ได้”

  • บางครั้งสมาชิกชั้นเรียนอาจสงสัย—เช่นเดียวกับมารีย์—ว่าแผนของพระผู้เป็นเจ้าสำหรับพวกเขาหรือสัญญากับพวกเขาจะเกิดสัมฤทธิผลได้อย่างไร เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจว่าโดยผ่านเดชานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าทุกสิ่งเป็นไปได้ ท่านอาจจะให้ดูภาพ การแจ้งข่าว: ทูตสวรรค์กาเบรียลปรากฏต่อมารีย์ (หนังสือภาพพระกิตติคุณ หน้า 28) และเชื้อเชิญให้พวกเขาอ่าน ลูกา 1:26–38 ด้วยกัน เราสามารถเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการเอาชนะสิ่งที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้โดยศึกษาคำพูดและการกระทำของมารีย์? ขอให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าทรงช่วยให้พวกเขาทำสำเร็จในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นไปไม่ได้

ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

การรอคอยพระเจ้า

โดยตระหนักว่าพวกเราหลายคนสงสัยว่าเหตุใดเราจึงต้องรอพระพรจากพระผู้เป็นเจ้า เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์จึงกล่าวว่า

“คำตอบของคำถามเช่นนั้นคือ ‘แน่นอน พระผู้เป็นเจ้าทรงสามารถให้ปาฏิหาริย์ทันที แต่เราเรียนรู้ไม่ช้าก็เร็วว่าเวลาและฤดูกาลของการเดินทางมรรตัยของเราเป็นของพระองค์และพระองค์ทรงกำกับดูแลแต่ผู้เดียว’ … ศรัทธาหมายถึงการวางใจพระผู้เป็นเจ้าทั้งในยามดีและยามร้าย ถึงแม้ต้องทนทุกข์บางอย่างจนกว่าจะเห็นพระพาหุของพระองค์เผยออกมาให้เรา …

“… คนที่ ‘รอ‍คอยพระ‍ยาห์‌เวห์ จะได้รับกำลังใหม่ [และ] เขาจะบินขึ้นด้วยปีกเหมือนนก‍อิน‌ทรี; เขาจะวิ่งและไม่อ่อน‍เปลี้ย; … เขาจะเดินและไม่เหน็ด‍เหนื่อย’ [อิสยาห์ 40:31; เน้นตัวเอน] ข้าพเจ้าสวดอ้อนวอนว่า ‘ในไม่ช้า’—ไม่ช้าก็เร็ว—พรเหล่านั้นจะมาถึงทุกท่านที่แสวงหาการปลดเปลื้องจากความโศกเศร้าและอิสรภาพจากความทุกข์ใจ ข้าพเจ้าเป็นพยานถึงความรักของพระผู้เป็นเจ้าและการฟื้นฟูพระกิตติคุณอันรุ่งโรจน์ของพระองค์ ซึ่งเป็นคำตอบทางใดทางหนึ่งของทุกปัญหาที่เราเผชิญในชีวิต” (“รอคอยพระเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 116–117)

ปรับปรุงการสอนของเรา

กระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนศึกษาพระคัมภีร์ที่บ้าน วิธีหนึ่งที่ท่านจะกระตุ้นให้ศึกษาพระคัมภีร์ที่บ้านคือให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่ค้นพบและข้อคิดจากการศึกษาส่วนตัวและกับครอบครัวของพวกเขา (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด29)