พันธสัญญาใหม่ 2023
26 ธันวาคม–1 มกราคม เราต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของเราเอง


“26 ธันวาคม–1 มกราคม เราต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของเราเอง,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“26 ธันวาคม–1 มกราคม เราต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของเราเอง,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2023

ครอบครัวกำลังดูอัลบั้มรูป

26 ธันวาคม–1 มกราคม

เราต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของเราเอง

ขณะที่ท่านอ่านและไตร่ตรองข้อพระคัมภีร์ในโครงร่างนี้ ให้บันทึกความประทับใจทางวิญญาณที่ท่านได้รับ การทำเช่นนี้จะอัญเชิญพระวิญญาณเข้าสู่การเตรียมของท่าน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว และแนวคิดต่อไปนี้จะช่วยท่านสร้างแรงบันดาลใจให้คนในชั้นเรียนศึกษาพันธสัญญาใหม่ปีนี้

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

วัตถุประสงค์ประการหนึ่งของท่านในฐานะครูคือกระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนเรียนรู้จากพระคัมภีร์ด้วยตนเองและกับครอบครัวของพวกเขา การฟังประสบการณ์ของผู้อื่นจะสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาแสวงหาประสบการณ์ของตนเอง ฉะนั้นเมื่อเริ่มชั้นเรียนแต่ละชั้น ขอให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันพระคัมภีร์จากการศึกษาของพวกเขาที่สร้างแรงบันดาลใจหรือทำให้พวกเขาประทับใจ

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

การเรียนรู้เรียกร้องให้ปฏิบัติด้วยศรัทธา

  • ท่านจะสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนมีบทบาทแข็งขันมากขึ้นในการเรียนรู้ของพวกเขา แทนที่จะโยนความรับผิดชอบให้ครูแต่ผู้เดียวได้อย่างไร แนวคิดมีดังนี้ โยนวัตถุที่นิ่มให้สมาชิกในชั้นเรียนที่ท่านเคยขอไว้ไม่ให้จับวัตถุนั้น ใช้กิจกรรมนี้เริ่มการสนทนาเกี่ยวกับบทบาทของผู้เรียนและครูในการเรียนพระกิตติคุณ ในฐานะผู้เรียน เราจะ “จับ” สิ่งที่สอนในชั้นเรียนของเราอย่างไร? ข้อความที่พบใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” สามารถช่วยเสริมการสนทนาได้

  • สมาชิกชั้นเรียนทุกคนมีความรับผิดชอบต่อการอัญเชิญพระวิญญาณเข้ามาในชั้นเรียน เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจเรื่องนี้ ขอให้พวกเขาอ่าน แอลมา 1:26 และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 50:13–22; 88:122–123 แบ่งปันสิ่งที่ครูและสมาชิกชั้นเรียนทำได้เพื่ออัญเชิญพระวิญญาณ อาจเป็นประโยชน์ถ้าเขียนคำตอบของพวกเขาไว้บนกระดานใต้หัวข้อ เช่น สิ่งที่ครูทำได้ และ สิ่งที่ผู้เรียนทำได้ สมาชิกชั้นเรียนอาจสร้างโปสเตอร์ที่มีคำตอบของตนที่สามารถติดแสดงไว้สองสามสัปดาห์ติดต่อกันได้

เราจำเป็นต้องรู้ความจริงด้วยตัวเราเอง

  • หลายข้อในพันธสัญญาใหม่สอนหลักธรรมที่สามารถชี้นำการค้นหาความจริงของเรา ตัวอย่างได้แก่ ลูกา 11:9–13; ยอห์น 5:39; 7:14–17; และ 1 โครินธ์ 2:9–11 ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกในชั้นที่อ่านข้อเหล่านี้ในการศึกษาส่วนตัวแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ หรือท่านอาจจะให้ชั้นเรียนอ่านข้อเหล่านี้และเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันว่าพวกเขาได้ประจักษ์พยานอย่างไร

    เยาวชนชายหญิงในห้องเรียน

    การแสวงหาการเรียนรู้โดยศรัทธาจะช่วยให้เราได้ประจักษ์พยานของเราเอง

  • กิจการของอัครทูต 17:10–12 พูดถึงวิสุทธิชนผู้ค้นคว้าพระคัมภีร์และได้รับพยานของตนเองเกี่ยวกับความจริงนั้น เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนทำตามแบบอย่างของพวกเขา ให้อ่านข้อเหล่านี้ด้วยกันและเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันข้อพระคัมภีร์ที่เสริมสร้างประจักษ์พยานของพวกเขาเกี่ยวกับพระกิตติคุณ

เราจะทำให้การศึกษาพระคัมภีร์ของเรามีความหมายมากขึ้นได้อย่างไร

  • การพัฒนานิสัยของการศึกษาพระคัมภีร์ที่อาจเป็นเรื่องท้าทายสำหรับสมาชิกชั้นเรียนผู้รู้สึกว่าตนไม่มีเวลา ความเข้าใจ หรือทักษะที่จำเป็น ท่านจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยให้พวกเขาประสบผลสำเร็จ เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเกิดความเชื่อมั่นในการศึกษาพระคัมภีร์ ท่านอาจจะแบ่งปันข้อมูลจาก “แนวคิดเพื่อปรับปรุงการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัวของท่าน” ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว บางทีท่านหรือสมาชิกชั้นเรียนคนอื่นๆ อาจจะแบ่งปันประสบการณ์กับการใช้แนวคิดบางอย่างเหล่านี้หรือประสบการณ์ที่มีความหมายอื่นๆ กับการศึกษาพระคัมภีร์ ท่านอาจจะเลือกหนึ่งบทในพันธสัญญาใหม่และลองให้ชั้นเรียนศึกษาโดยใช้แนวคิดเหล่านี้บางประการ

ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

การได้ความรู้ทางวิญญาณด้วยตัวเราเอง

ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธสอนว่า “เรื่องของพระผู้เป็นเจ้ามีความสำคัญอย่างลึกซึ้ง เวลา ประสบการณ์ ความคิดที่สุขุมรอบคอบ ใคร่ครวญอย่างดี และจริงจังเท่านั้นจึงจะพบเรื่องของพระผู้เป็นเจ้าได้ จงฟังเถิด โอ้มนุษย์ หากเจ้าจะนำจิตวิญญาณมาสู่ความรอด เจ้าต้องยืดตัวให้สูงเทียมฟ้าที่อยู่ไกลสุด สำรวจและเพ่งพินิจเหวลึกที่สุด และความกว้างใหญ่ของนิรันดร—เจ้าต้องติดต่อกับพระผู้เป็นเจ้า พระดำริของพระเจ้าสูงส่งและล้ำค่ายิ่งกว่าความเพ้อฝันอันไร้ประโยชน์ของใจมนุษย์มากนัก!” (คำสอนของประธานศาสนาจักร: โจเซฟ สมิธ [2007], หน้า 288)

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์อธิบายว่า “ถ้าทั้งหมดที่ท่านหรือข้าพเจ้ารู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณที่ได้รับการฟื้นฟูคือสิ่งที่ผู้อื่นสอนหรือบอกเรา แสดงว่ารากฐานประจักษ์พยานของเราในพระองค์และงานยุคสุดท้ายของพระองค์สร้างบนทราย เราจะอาศัยหรือยืมแสงพระกิตติคุณและความรู้จากคนอื่นอย่างเดียวไม่ได้—แม้เราจะรักและวางใจคนนั้นก็ตาม” (“เตรียมรับสิ่งจำเป็นทุกอย่าง,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 102)

ปรับปรุงการสอนของเรา

เน้นหลักคำสอน พึงให้การสนทนาในชั้นเรียนยึดพระคัมภีร์และคำสอนของศาสดาพยากรณ์เป็นหลัก ท่านทำสิ่งนี้ได้โดยถามคำถามทำนองนี้ “เราเรียนรู้ความจริงพระกิตติคุณอะไรบ้างจากข้อคิดเห็นที่เราได้ยิน” หรือ “มีใครจะแบ่งปันข้อพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราสนทนาไปแล้วได้บ้าง” (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 20–21)