“11–17 ธันวาคม วิวรณ์ 6–14: ‘พวกเขาชนะ … ด้วยพระโลหิตของพระเมษโปดก,’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2021)
“11–17 ธันวาคม วิวรณ์ 6–14,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2023
11–17 ธันวาคม
วิวรณ์ 6–14
“พวกเขาชนะ … ด้วยพระโลหิตของพระเมษโปดก”
โจเซฟ สมิธกล่าวว่าหนังสือ วิวรณ์ “เป็นหนังสือที่แจ้งชัดที่สุดเล่มหนึ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงให้เขียน” (ใน Journal, December 1842–June 1844; Book 2, 10 March 1843–14 July 1843, 98, JosephSmithPapers.org) ท่านจะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนพบความจริงที่ชัดเจนในบทเหล่านี้ได้อย่างไร?
เชื้อเชิญให้แบ่งปัน
เพื่อช่วยสมาชิกชั้นเรียนทบทวนข้อคิดที่พวกเขามีขณะศึกษา วิวรณ์ 6–14 ให้เขียนตัวเลข 6 ถึง 14 ไว้บนกระดาน สมาชิกชั้นเรียนอาจเขียนข้อคิดที่พวกเขาพบในบทที่เกี่ยวข้องกับคนที่อาศัยอยู่ในยุคสุดท้ายข้างตัวเลข
สอนหลักคำสอน
พระเยซูคริสต์ทรงเปิดตราประทับของหนังสือ
-
เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนนึกภาพหนังสือที่มีตราประทับเจ็ดดวง (ดู วิวรณ์ 5:1) ท่านอาจอธิบายว่าม้วนหนังสือโบราณมักผนึกด้วยดินเหนียวหรือขี้ผึ้งเล็กน้อย จะต้องกดแหวนหรือตราประทับลงในดินเหนียวหรือขี้ผึ้งก่อนที่มันจะแข็งตัว แสดงถึงอำนาจของบุคคลที่ปิดผนึกม้วนหนังสือและกีดกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เปิด สมาชิกชั้นเรียนสามารถแบ่งปันความคิดหรือความประทับใจที่พวกเขามีขณะอ่านเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ใน วิวรณ์ 6; หลักคำสอนและพันธสัญญา 77:6–7; และ โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว ท่านคิดว่าเหตุใดการรู้ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของหนังสือเล่มนี้จึงสำคัญ? ท่านคิดว่าเหตุใดการรู้ว่าพระผู้ช่วยให้รอดจะทรงเป็นผู้เปิดตราผนึกหนังสือแต่ละเล่มจึงสำคัญ? (ดู วิวรณ์ 5:1–9)
“อาณาจักรของโลกนี้กลับกลายเป็นขององค์พระผู้เป็นเจ้าของเราแล้ว”
-
วิวรณ์ 7–11 อาจเข้าใจได้ยาก พรข้อหนึ่งของชั้นเรียนโรงเรียนวันอาทิตย์คือสมาชิกชั้นเรียนสามารถช่วยกันทำความเข้าใจพระคัมภีร์ได้ ท่านอาจเขียนรายการคำถามที่สมาชิกชั้นเรียนมีเกี่ยวกับบทเหล่านี้และเชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันข้อคิดให้กันและกัน กระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนทุกคน—ผู้ที่อาจรู้สึกว่ามีความรู้มากกว่าและผู้ที่อาจรู้สึกว่าไม่ได้รู้อะไรมาก—แบ่งปันข้อคิดของพวกเขาเกี่ยวกับบทเหล่านี้
-
ท่านอาจเริ่มการสนทนาโดยถามสมาชิกชั้นเรียนว่าพวกเขาพบประเด็นอะไรซ้ำๆ ใน วิวรณ์ 7–11 พวกเขาสามารถแบ่งปันข้อที่พบในประเด็นเหล่านี้และอธิบายว่าเหตุใดหัวข้อนี้จึงสำคัญ หากพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ ท่านอาจเสนอแนะให้พวกเขาอ่าน วิวรณ์ 11:15–17 พวกเขาพบหัวข้ออะไรในข้อเหล่านี้ และหัวข้อนี้แสดงในข้ออื่นใน วิวรณ์ 7–11 อย่างไร? แม้ว่าบทเหล่านี้จะพูดถึงสงครามและภัยพิบัติ เราพบอะไรที่ทำให้เรามีความหวังและความมั่นใจในพระเยซูคริสต์?
เราชนะซาตาน “ด้วยพระโลหิตของพระเมษโปดกและด้วยคำพยานของ [พวกเรา] เอง”
-
การเรียนรู้เกี่ยวกับสงครามในสวรรค์จะช่วยให้เราเข้าใจชีวิตบนแผ่นดินโลกมากขึ้น ให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน งานแปลของโจเซฟ สมิธ, วิวรณ์ 12:7–11 (ในคู่มือพระคัมภีร์) และระบุว่าเราชนะซาตานและไพร่พลของเขาได้อย่างไร เราได้ข้อคิดอะไรอีกจากหัวข้อสงครามในสวรรค์ใน คู่มือพระคัมภีร์? เราเรียนรู้อะไรที่สามารถช่วยเราเอาชนะปฏิปักษ์?
-
สงครามระหว่างความดีกับความชั่วอธิบายไว้ใน วิวรณ์ 13–14 บทที่ 13 สอนอะไรเราเกี่ยวกับวิธีที่พญานาคต่อสู้กับสงครามครั้งนี้? ตามที่กล่าวไว้ใน บทที่ 14 พระเมษโปดกต่อสู้ในสงครามอย่างไร? อาจเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะทำรายการวิธีที่แต่ละฝ่ายต่อสู้กับสงครามครั้งนี้ตามที่กล่าวไว้ในสองบทนี้ ท่านเห็นความคล้ายคลึงและความแตกต่างอะไรบ้าง?
-
พระเมษโปดก “ถูกปลงพระชนม์ตั้งแต่แรกสร้างโลก” หมายความว่าอย่างไร? (วิวรณ์ 13:8; ดู วิวรณ์ 5:6 ด้วย) ท่านอาจช่วยสมาชิกชั้นเรียนของท่านหาคำตอบของคำถามนี้โดยอ่าน โมไซยาห์ 3:13 และ โมเสส 7:47 เป็นชั้นเรียน การชนะซาตาน “ด้วยพระโลหิตของพระเมษโปดก” หมายความว่าอย่างไร? (วิวรณ์ 12:11)
“ข้าพเจ้าเห็นทูตสวรรค์อีกองค์หนึ่ง … ประกาศข่าวประเสริฐนิรันดร์”
-
โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว แนะนำให้เรียนรู้เกี่ยวกับทูตสวรรค์หลายองค์ที่ฟื้นฟู “ข่าวประเสริฐนิรันดร์แก่คนทั้งหลายที่อยู่บนแผ่นดินโลก” (วิวรณ์ 14:6) เชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ หลักคำสอนและพันธสัญญา 133:36–40 สอนอะไรเราเกี่ยวกับ วิวรณ์ 14:6–7? เรามีส่วนร่วมในงานของทูตสวรรค์ที่กล่าวถึงใน วิวรณ์ 14:6–7 อย่างไร?