พันธสัญญาใหม่ 2023
18–24 ธันวาคม คริสต์มาส: “ข่าว‍ดี​มา​ยัง​พวก‍ท่าน เป็น​ความ​ยินดี​อย่าง‍ยิ่ง​”


“18–24 ธันวาคม คริสต์มาส: ‘ข่าว‍ดี​มา​ยัง​พวก‍ท่าน เป็น​ความ​ยินดี​อย่าง‍ยิ่ง​,’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2021)

“18–24 ธันวาคม คริสต์มาส,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2023

ทารกแรกเกิด

แกะตัวน้อย โดย เจเนดี้ เพจ

18–24 ธันวาคม

คริสต์มาส

“ข่าว‍ดี​มา​ยัง​พวก‍ท่าน เป็น​ความ​ยินดี​อย่าง‍ยิ่ง​”

การสนทนาเกี่ยวกับพระกิตติคุณจะมีพลังทางวิญญาณเมื่อมีศูนย์กลางอยู่ที่พระเยซูคริสต์ เมื่อท่านศึกษาการประสูติและพระพันธกิจของพระเยซูคริสต์สัปดาห์นี้ แสวงหาการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อรู้วิธีที่ท่านจะทำให้การสนทนาในชั้นเรียนของท่านมีศูนย์กลางอยู่ที่พระผู้ช่วยให้รอด

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขากำลังทำหรือทำแล้วในอดีตเป็นส่วนตัวหรือกับครอบครัวเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระผู้ช่วยให้รอดในวิธีที่นำพวกเขาเข้าใกล้พระองค์ยิ่งขึ้น

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

มัทธิว 1:18–25; ลูกา 1:26–38; 2:1–20

พระเยซูคริสต์ทรงถ่อมพระองค์ลงมาประสูติบนแผ่นดินโลก

  • คริสต์มาสเป็นเวลาดีที่จะไตร่ตรองและเฉลิมฉลองพระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระคริสต์—ความเต็มพระทัยของพระองค์ที่จะจาก “พระราชวังของพระบิดา มาประทับอยู่กับมนุษย์และสิ้นพระชนม์เพื่อมนุษย์” (“Again We Meet around the Board,” Hymns, no.186) เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการสนทนาหัวข้อนี้ ท่านอาจถามสมาชิกชั้นเรียนว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรในการศึกษาส่วนตัวหรือกับครอบครัวสัปดาห์นี้ว่าพระเยซูคริสต์คือใครก่อนพระองค์ประสูติ (ดู ยอห์น 17:5; โมไซยาห์ 7:27; หลักคำสอนและพันธสัญญา 76:12–14, 20–24; โมเสส 4:2) จากนั้นท่านอาจจะให้ดูภาพใน โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว ขณะที่สมาชิกชั้นเรียนอ่านเกี่ยวกับการประสูติของพระผู้ช่วยให้รอด (ดู มัทธิว 1:18–25; ลูกา 1:26–38; 2:1–20) กระตุ้นให้พวกเขาแบ่งปันความคิดและความรู้สึกขณะเปรียบเทียบรัศมีภาพก่อนมรรตัยของพระผู้ช่วยให้รอดกับการประสูติที่ต่ำต้อยของพระองค์

  • คำถามเหมือนกับที่เทพถามนีไฟใน 1 นีไฟ 11:16 อาจเป็นวิธีที่ดีที่จะเริ่มการสนทนาในชั้นเรียน แต่ท่านอาจใช้คำที่แตกต่างออกไป บางทีท่านอาจเขียนบนกระดานว่า พระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระผู้เป็นเจ้าคืออะไร? และขอให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองคำถามนี้ขณะที่พวกเขาอ่าน 1 นีไฟ 11:17–33 เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันความคิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากข้อเหล่านี้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด ท่านจะให้ชั้นเรียนดูภาพใดที่เป็นฉากพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอดตามที่นีไฟบรรยายไว้?

NaN:NaN
  • ดนตรีเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการอัญเชิญพระวิญญาณเข้ามาในชั้นเรียนของท่าน ท่านอาจเชิญบางคนร้องเพลงคริสต์มาสหรืออ่านหรือร้องเพลงสวดสองสามเพลงด้วยกันเป็นชั้นเรียน (ดู เพลงสวด บทเพลงที่ 94–104) สมาชิกชั้นเรียนอาจมองหาวลีในเพลงสวดเหล่านี้และรายชื่อพระคัมภีร์ในเพลงสวดที่เพิ่มความสำนึกคุณของท่านต่อพระผู้ช่วยให้รอดและความเต็มพระทัยของพระองค์ที่จะเสด็จมาแผ่นดินโลก

พระเยซูทรงคุกเข่าในสวนเกทเสมนี

เกทเสมนี โดย เจ. เคิร์ก ริชาร์ดส์

ลูกา 4:16–21; ยอห์น 3:16

พระเยซูคริสต์ทรงทำพระพันธกิจของพระองค์ให้เกิดสัมฤทธิผลซึ่งทำให้เป็นไปได้สำหรับเราทุกคนที่จะได้รับชีวิตนิรันดร์เป็นมรดก

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนสนทนาสาเหตุที่พระเยซูคริสต์มาประสูติ ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาหาและแบ่งปันพระคัมภีร์ที่สรุปพระพันธกิจของพระองค์ (ดูตัวอย่างจาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว ) บางทีสมาชิกชั้นเรียนอาจหาหรืออ่านข้อพระคัมภีร์เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ พวกเขาเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระพันธกิจของพระคริสต์จากข้อที่พวกเขาพบ? เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระพันธกิจของพระองค์จากพระนามที่เรียกพระองค์ในพระคัมภีร์? (ดู คู่มือพระคัมภีร์ “พระเยซูคริสต์”)

  • สมาชิกชั้นเรียนอาจเรียนรู้เกี่ยวกับพระพันธกิจของพระผู้ช่วยให้รอดโดยอ่าน “พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก” (

ปรับปรุงการสอนของเรา

เผื่อเวลาให้ผู้เรียนได้แบ่งปัน “เมื่อผู้เรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้ ไม่เพียงแต่พวกเขาจะสัมผัสถึงพระวิญญาณและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ประจักษ์พยานของตนเองเท่านั้น แต่พวกเขากระตุ้นสมาชิกชั้นเรียนคนอื่นๆ ให้ค้นพบความจริงด้วยตนเองเช่นกัน … เผื่อเวลาไว้ให้นักเรียนแบ่งปันในทุกบทเรียน—ในบางกรณี ท่านอาจพบว่าการสนทนาเหล่านี้ คือ บทเรียน” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 30)