เซมินารี
บทที่ 116—หลักคําสอนและพันธสัญญา 103: การจัดค่ายอิสราเอล


“บทที่ 116—หลักคำสอนและพันธสัญญา 103: การจัดค่ายอิสราเอล” หลักคำสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี (2025)

“หลักคำสอนและพันธสัญญา 103” หลักคำสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี

บทที่ 116: หลักคำสอนและพันธสัญญา 102–105

หลักคำสอนและพันธสัญญา 103

การจัดค่ายอิสราเอล

ลากม้าและเกวียนผ่านโคลน

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1834 ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธได้รับการเปิดเผยจากพระเจ้าที่ทรงบัญชาให้ท่านจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครเพื่อช่วยวิสุทธิชนที่ทนทุกข์ในมิสซูรี พระเจ้าทรงเรียกร้องศรัทธาอันยิ่งใหญ่จากคนที่ขานรับการเรียกให้เข้าร่วมกลุ่มซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในชื่อค่ายอิสราเอล บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนเชื่อฟังพระบัญญัติที่พระเจ้าประทานแก่พวกเขา

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำได้

บทเรียนนี้เป็นบทเรียนแรกจากสามบทเรียนที่เกี่ยวกับประสบการณ์ของค่ายอิสราเอลที่สอนในสัปดาห์ หลักคําสอนและพันธสัญญา 102–105 หากท่านไม่สามารถสอนบทเรียนสามบทแยกกันได้เพราะมีเวลาในชั้นเรียนไม่เพียงพอ ให้พิจารณาว่าท่านจะรวมแนวคิดจากบทเรียนเหล่านี้เข้าด้วยกันได้อย่างไร

อุปสรรคสู่ชีวิตนิรันดร์

ท่านอาจวาดรูปคนบนกระดานด้านหนึ่ง เขียนคําว่า ชีวิตนิรันดร์ ไว้อีกด้านหนึ่งของกระดาน และวาดสิ่งกีดขวางบางอย่างคั่นกลาง จากนั้นให้แบ่งปันคํากล่าวต่อไปนี้ของประธานวิลฟอร์ด วูดรัฟฟ์

ประธานวิลฟอร์ด วูดรัฟฟ์ (1807–1898) กล่าวว่า:

ประธานวิลฟอร์ด วูดรัฟฟ์

ข้าพเจ้าแสวงหาความรอดและชีวิตนิรันดร์ และข้าพเจ้าไม่ต้องการสิ่งใดมาขวางกั้นระหว่างข้าพเจ้ากับสิ่งที่ตนกําลังแสวงหา (Wilford Woodruff, ใน Journal of Discourses, 17:246)

  • มีอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางอะไรบ้างที่ผู้คนอาจยอมให้ขวางกั้นการแสวงหาชีวิตนิรันดร์?

    ชี้ให้เห็นว่าคํากล่าวของวิลฟอร์ด วูดรัฟฟ์ใช้เพื่อตอบรับพระบัญชายากๆ ที่ท่านได้รับจากพระเจ้า ก่อนสนทนาเกี่ยวกับพระบัญชา ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงคําตอบของพวกเขาต่อคําถามต่อไปนี้ในใจ

  • ในระดับหนึ่ง (ไม่เต็มใจ) ถึงสิบ (เต็มใจมาก) ท่านเต็มใจจะเชื่อฟังพระเจ้ามากน้อยเพียงใดเมื่อดูเหมือนว่าพระบัญชาของพระองค์เป็นเรื่องยาก

ไตร่ตรองเหตุผลที่ท่านตอบแบบนั้น ขณะที่ท่านศึกษาวันนี้ จงเอาใจใส่คําสอนและการกระตุ้นเตือนทางวิญญาณจากพระบิดาบนสวรรค์ผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่สามารถช่วยให้ท่านติดตามพระผู้ช่วยให้รอดแม้ตอนที่พระบัญชาดูเหมือนเป็นเรื่องยาก

พระเจ้าทรงเรียกแต่ละคนให้ไถ่ไซอัน

อาจเป็นประโยชน์ที่จะขอให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาจําได้เกี่ยวกับสภาวการณ์ที่วิสุทธิชนในมิสซูรีเผชิญปลายปี 1833 หากจําเป็น ให้ย้ำเตือนพวกเขาว่าวิสุทธิชนถูกข่มเหงและถูกขับไล่ออกจากบ้านเรือนของตน

ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธสวดอ้อนวอนต่อพระบิดาบนสวรรค์เพื่อทราบพระประสงค์ของพระองค์เกี่ยวกับสถานการณ์นั้น การเปิดเผยที่บันทึกไว้ใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 103 ได้รับมาในวันที่โจเซฟ สมิธและผู้นําศาสนจักรคนอื่นๆ หารือกันเกี่ยวกับวิธีช่วยเหลือวิสุทธิชนในมิสซูรี

อ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 103:15–18, 22, 27–28 โดยมองหาสิ่งที่พระเยซูคริสต์ทรงบัญชาให้วิสุทธิชนทํา

  • ท่านจะสรุปคำแนะนำของพระเจ้าในข้อเหล่านี้ว่าอย่างไร?

พระเจ้าทรงบัญชาให้แต่ละบุคคลจัดตั้งเป็นหมู่คณะที่มีสิบ ยี่สิบ ห้าสิบ และหลายร้อยคน พระองค์ทรงเรียกคนทั้งหมดห้าร้อยคน แต่ต้องให้ชายอย่างน้อยหนึ่งร้อยคนเข้าร่วม (ดู หลักคําสอนและพันธสัญญา 103:29–34) รวมแล้วชายกว่าสองร้อยคนที่มีส่วนร่วมในกลุ่มที่เรียกว่าค่ายอิสราเอล ซึ่งต่อมาเรียกกันว่าค่ายไซอัน

  • ท่านคิดว่าท่านอาจมีความคิดหรือความรู้สึกอะไรบ้างหากท่านได้รับเรียกให้เข้าร่วมค่ายอิสราเอล? เพราะเหตุใด?

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนอ่านข้อต่อไปนี้กับคู่และสนทนาคําถามด้านล่าง

อ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 103:20, 36 โดยมองหาสิ่งที่พระเจ้าทรงสัญญากับคนที่จะมีส่วนร่วมในค่ายอิสราเอล

  • ท่านพบอะไรในข้อเหล่านี้ที่อาจปลอบโยนสมาชิกค่ายอิสราเอล?

อธิบายว่าในข้อความจากช่วงต้นบทเรียน วิลฟอร์ด วูดรัฟฟ์พูดถึงการเรียกให้เข้าร่วมค่ายอิสราเอล ท่านอาจให้นักเรียนดูข้อความฉบับขยายต่อไปนี้

วิลฟอร์ด วูดรัฟฟ์อธิบายการตัดสินใจของท่านในการเข้าร่วมค่ายอิสราเอลดังนี้:

ประธานวิลฟอร์ด วูดรัฟฟ์

ข้าพเจ้าได้รับการเรียกให้เอาชีวิตไว้ในกำมือข้าพเจ้าและขึ้นไปที่มิสซูรี และมีพวกเราเพียงไม่กี่คนที่ขึ้นไปเพื่อไถ่พี่น้องของเรา เราต้องไปด้วยศรัทธาอย่างเปี่ยมล้น เพื่อนบ้านของข้าพเจ้าเรียกและวิงวอนข้าพเจ้าว่าอย่าไป พวกเขากล่าวว่า “อย่าไปเลย หากท่านไป ท่านอาจเสียชีวิต” ข้าพเจ้าตอบว่า “ถ้าข้าพเจ้ารู้ว่าตนจะถูกยิงทะลุหัวใจทันทีที่ก้าวเข้าไปในมิสซูรี ข้าพเจ้าก็จะไป” … นั่นคือสิ่งที่ข้าพเจ้ารู้สึกในตอนนั้นเกี่ยวกับงานของพระผู้เป็นเจ้า และนั่นคือความรู้สึกของข้าพเจ้าในทุกวันนี้เช่นกัน ข้าพเจ้าแสวงหาความรอดและชีวิตนิรันดร์ และข้าพเจ้าไม่ต้องการสิ่งใดมาขวางกั้นระหว่างข้าพเจ้ากับสิ่งที่ตนกําลังแสวงหา (Wilford Woodruff, ใน Journal of Discourses, 17:246; ปรับตัวสะกดให้ทันสมัย)

  • คํากล่าวนี้มีอะไรที่สะดุดใจท่าน?

  • ท่านเรียนรู้อะไรจากคํากล่าวนี้ที่สามารถช่วยท่านได้เมื่อเผชิญกับพระบัญญัติที่ฟังดูเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อฟัง?

ขณะนักเรียนแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้ พวกเขาอาจระบุความจริงทํานองนี้: เมื่อเราใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ เราจะรู้สึกเต็มใจและมีความสามารถมากขึ้นในการเชื่อฟังพระบัญญัติของพระองค์

ศรัทธาในการเชื่อฟังพระบัญญัติของพระเจ้า

ท่านอาจแสดงคำถามต่อไปนี้บนกระดาน ก่อนจะสนทนาในชั้นเรียน นักเรียนอาจสนทนากับคู่หรือกลุ่มเล็กๆ ก่อน ท่านอาจให้นักเรียนเขียนคำตอบของคำถามก่อนหน้านี้เป็นข้อๆ บนกระดาน

  • มีตัวอย่างพระบัญญัติของพระเจ้าอะไรบ้างที่อาจเป็นเรื่องยากสําหรับวัยรุ่นที่จะเชื่อฟังในปัจจุบัน?

  • เหตุใดบางครั้งการรักษาพระบัญญัติจึงเป็นเรื่องยาก?

กิจกรรมการศึกษาต่อไปนี้จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับการศรัทธาในพระเยซูคริสต์เพื่อเชื่อฟังพระบัญญัติของพระองค์ ท่านอาจให้นักเรียนดูคำถามต่อไปนี้และให้เวลานักเรียนไตร่ตรอง ท่านอาจแบ่งชั้นเรียนออกเป็นสามกลุ่ม โดยมอบหมายตัวเลือกต่อไปนี้ให้กลุ่มละหนึ่งทางเลือก หรือท่านอาจให้นักเรียนเลือกศึกษาเป็นกลุ่มเล็กๆ ก็ได้

จินตนาการว่าท่านมีเพื่อนคนหนึ่งกําลังเผชิญกับพระบัญญัติที่ทําตามได้ยาก เลือกศึกษาหนึ่งตัวเลือกต่อไปนี้ และมองหาคําสอนและความจริงที่ท่านต้องการแบ่งปันกับเพื่อนของท่าน

ตัวเลือกที่ 1: เรื่องราวจากพระคัมภีร์

ตัวเลือกที่ 2: เรื่องราวเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์

ตัวเลือกที่ 3: คำสอนใน เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน: คู่มือแนะแนวการเลือก (จุลสาร, 2022)

หลังจากนักเรียนใช้เวลาทํากิจกรรมนี้เสร็จแล้ว เปิดโอกาสให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่ค้นพบ ท่านอาจถามคำถามทำนองนี้:

  • ท่านได้เรียนรู้อะไรจากแหล่งข้อมูลที่ท่านศึกษาที่จะช่วยให้เราเชื่อฟังพระบัญญัติที่ทําตามได้ยาก?

  • พระเจ้าทรงอวยพรท่านอย่างไรเมื่อท่านศรัทธาในพระองค์แม้ว่าพระบัญญัติของพระองค์จะเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อฟัง?

วางแผน

ให้เวลานักเรียนแสวงหาการชี้นําจากพระบิดาบนสวรรค์ขณะที่พวกเขานึกถึงการประยุกต์ใช้สิ่งที่พวกเขาเรียนรู้กับชีวิตตนเอง ท่านอาจแสดงข้อความต่อไปนี้และเชื้อเชิญให้นักเรียนบันทึกคําตอบลงในสมุดบันทึกการศึกษาหรือโน้ตดิจิทัลของตน

  1. ให้นึกถึงพระบัญญัติที่อาจเป็นเรื่องยากสําหรับท่านที่จะเชื่อฟัง

  2. ระบุสิ่งที่ทําให้พระบัญญัติข้อนี้ยาก

  3. ระบุสิ่งที่ท่านได้เรียนรู้วันนี้ที่จะช่วยให้ท่านเชื่อฟังพระบัญญัติข้อนี้ได้ดีขึ้น

  4. วางแผนที่จะช่วยให้ท่านใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์เพื่อเชื่อฟังพระบัญญัติข้อนี้