เซมินารี
บทที่ 117—ค่ายอิสราเอล: “เทพทั้งหลายของเราจะนำไปข้างหน้าเจ้า”


“บทที่ 117—ค่ายอิสราเอล: ‘เทพทั้งหลายของเราจะนำไปข้างหน้าเจ้า’” หลักคำสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี (2025)

“ค่ายอิสราเอล,” หลักคำสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี

บทที่ 117: หลักคำสอนและพันธสัญญา 102–105

ค่ายอิสราเอล

“เทพทั้งหลายของเราจะนำไปข้างหน้าเจ้า”

ประสบการณ์ที่ค่ายไซอัน

ค่ายอิสราเอลเดินทางออกจากเคิร์ทแลนด์ โอไฮโอในเดือนพฤษภาคม ปี 1834 เพื่อเริ่มเดินทางกว่า 800 ไมล์ (1,280 กิโลเมตร) ถึงแม้สมาชิกของค่ายจะเผชิญความยากลําบากและอุปสรรคมากมายระหว่างทาง แต่พวกเขาได้รับพรมากมายเช่นกัน บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าพระผู้เป็นเจ้าจะทรงอยู่กับพวกเขาและทรงช่วยพวกเขาเมื่อเลือกติดตามพระองค์

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำได้

บทเรียนนี้เป็นบทเรียนที่สองในสามบทเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ของค่ายอิสราเอลที่สอนในสัปดาห์ หลักคําสอนและพันธสัญญา 102–105 หากท่านไม่ได้สอนบทเรียนก่อนหน้า ให้พิจารณาว่าท่านจะรวมส่วนต่างๆ จากบทเรียนนั้นไว้ในบทเรียนนี้อย่างไร

การติดตามพระเยซูคริสต์

ท่านอาจเริ่มบทเรียนโดยศึกษาคํากล่าวของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์และสนทนาคําถามที่ตามมา

เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายถึงเส้นทางที่จำเป็นสำหรับผู้ติดตามของพระเยซูคริสต์:

14:18
เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์

พี่น้องที่รักทั้งหลาย คริสต์ศาสนิกชนให้ความสบายใจ แต่บ่อยครั้งไม่สุขสบาย เส้นทางสู่ความศักดิ์สิทธิ์และความสุขที่นี่และหลังจากนี้เป็นเส้นทางยาวไกลและบางครั้งมีก้อนหินเต็มไปหมด ต้องใช้เวลาและความมุ่งมั่นในการเดิน แต่รางวัลสำหรับการทำเช่นนั้นยิ่งใหญ่แน่นอน (เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “รอคอยพระเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 116-117)

  • ท่านมีความคิดหรือความรู้สึกอย่างไรบ้างเกี่ยวกับคำกล่าวนี้?

    เชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงสิ่งที่อาจทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาในการติดตามพระผู้ช่วยให้รอด และสิ่งที่ทำให้หรืออาจทำให้คุ้มค่ากับความพยายามในการติดตามพระผู้ช่วยให้รอด หลังจากนักเรียนนึกถึงสถานการณ์ของพวกเขาแล้ว ท่านอาจสนทนาคําถามต่อไปนี้ร่วมกัน

  • สิ่งใดอาจทำให้ยากต่อการเป็นผู้ติดตามของพระเยซูคริสต์ในปัจจุบัน?

    นักเรียนอาจแบ่งปันแนวคิดทํานองนี้: การติดตามพระผู้ช่วยให้รอดอาจใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก ผู้ติดตามของพระเยซูคริสต์มักจะต้องแตกต่างจากโลก หรือบางครั้งผู้ติดตามพระผู้ช่วยให้รอดถูกผู้อื่นข่มเหง

  • ท่านคิดว่าเหตุใดจึงคุ้มค่ากับความพยายามในการติดตามพระผู้ช่วยให้รอด?

ในบทเรียนนี้ ท่านจะศึกษาการเดินทางของค่ายอิสราเอลจากโอไฮโอไปยังมิสซูรี การเดินทางของพวกเขายาวนาน ยากลำบาก และใช้ความพยายามอย่างมาก แต่สมาชิกของค่ายได้รับพรอันยิ่งใหญ่ระหว่างทางเช่นกัน ขณะศึกษา ให้มองหาความจริงที่จะช่วยท่านเมื่อท่านพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะเป็นผู้ติดตามของพระเยซูคริสต์

ค่ายอิสราเอลเริ่มการเดินทาง

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาจำได้เกี่ยวกับจุดประสงค์ของค่ายอิสราเอล หากจําเป็น ให้แสดงแผนที่ต่อไปนี้และแบ่งปันหรือสรุปย่อหน้าด้านล่าง และท่านอาจให้ชม “ค่ายไซอัน” (18:44) ได้ที่ ChurchofJesusChrist.org ตั้งแต่รหัสเวลา 2:13 ถึง 3:02

21:29
ค่ายไซอัน

ในเดือนพฤษภาคม ปี 1834 สมาชิกของค่ายอิสราเอลเริ่มเดินทาง 800 กว่าไมล์ (1,280 กิโลเมตร) ไปมิสซูรี ค่ายสองกลุ่มเดินทางออกจากเคิร์ทแลนด์ โอไฮโอและจากพอนทิแอค มิชิแกนพร้อมกัน ท้ายที่สุดทั้งสองกลุ่มมารวมกันในมิสซูรี ต่อมาค่ายอิสราเอลซึ่งเรียกในภายหลังว่าค่ายไซอัน มีผู้ชายประมาณ 200 คน หญิง 12 คน และเด็ก 10 คน จุดประสงค์ของพวกเขาคือช่วยนําวิสุทธิชนในมิสซูรีกลับคืนสู่ดินแดนที่ถูกพรากไปจากพวกเขาอย่างไม่ยุติธรรม

บทเรียนส่วนนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์บางอย่างของสมาชิกค่ายอิสราเอลระหว่างการเดินทางของพวกเขา

ไอคอนเอกสารแจกท่านอาจแจกเอกสารชื่อ “ประสบการณ์จากค่ายอิสราเอล” ให้เวลานักเรียนศึกษาเนื้อหาและสนทนาคําถามจากเอกสารแจก

เพื่อเพิ่มความหลากหลาย ท่านอาจมอบหมายให้นักเรียนสามคนที่เต็มใจสอนหนึ่งส่วนจากเอกสารแจก พวกเขาอาจสอนหน้าชั้นเรียนหรือในบริเวณต่างๆ ของห้องขณะที่นักเรียนกลุ่มเล็กหมุนเวียนไปรอบห้อง

อีกทางเลือกหนึ่งคือฉายบางส่วนของวีดิทัศน์ “ค่ายไซอัน” ท่านอาจหยุดวีดิทัศน์หลังจากรหัสเวลาต่อไปนี้และให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านประสบการณ์ที่สอดคล้องกันจากเอกสารแจก

  • ประสบการณ์ที่ 1: 3:02 ถึง 5:00

    21:29
  • ประสบการณ์ที่ 2: 5:01 ถึง 8:02

    21:29
  • ประสบการณ์ที่ 3: 8:03 ถึง 13:06

    21:29

ประสบการณ์จากค่ายอิสราเอล

ประสบการณ์ที่ 1

เอ็ลเดอร์จอร์จ เอ. สมิธ (1817–1875) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองเล่าถึงสภาพบางประการที่ค่ายแห่งอิสราเอลเผชิญระหว่างการเดินทาง:

เอ็ลเดอร์จอร์จ อัลเบิร์ต สมิธ

ศาสดาพยากรณ์โจเซฟเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าพอๆ กับทุกคนตลอดการเดินทาง นอกจากจะดูแลเรื่องการจัดเตรียมค่ายและควบคุมค่ายแล้ว ท่านต้องเดินเป็นส่วนใหญ่ เท้าของท่านพุพอง มีเลือดออก และปวดแสบปวดร้อนเหมือนคนอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการเดินจาก 25 ถึง 40 ไมล์ต่อวันในฤดูร้อนของปี แต่ตลอดการเดินทาง ท่านไม่เคยบ่นหรือโอดครวญ ขณะที่ชายส่วนใหญ่ในค่ายบ่นกับท่านเรื่องนิ้วเท้าที่ปวดแสบปวดร้อน เท้าพุพอง การเดินทางไกลโดยไม่หยุดพัก เสบียงอาหารร่อยหรอ ขนมปังคุณภาพต่ำ [ขนมปังข้าวโพด] เนย [บูด] น้ำผึ้งรสชาติแปลกๆ หนอนขึ้นเบคอนกับชีส ฯลฯ … เราคือค่ายไซอัน เราหลายคนไม่สวดอ้อนวอน สิ้นคิด เลินเล่อ ไม่ใส่ใจ โง่เขลาหรือเหมือนปีศาจร้าย แต่เราไม่รู้ตัว โจเซฟต้องอดทนกับเราและสอนเราเหมือนเด็กๆ แต่ก็มีหลายคนในค่ายที่ไม่เคยพร่ำบ่น ซึ่งพร้อมและเต็มใจทำดังที่ผู้นําของเราปรารถนา (จอร์จ เอ. สมิธ ใน คำสอนของประธานศาสนาจักร: โจเซฟ สมิธ [2007], 287–288)

  • ท่านคิดว่าเหตุใดสมาชิกของค่ายจึงตอบรับสภาวการณ์เดียวกันต่างกันอย่างมาก?

  • อะไรจะช่วยให้เรามีเจตคติเชิงบวกเมื่อเราประสบความยากลําบากขณะพยายามติดตามพระผู้ช่วยให้รอด?


ประสบการณ์ที่ 2

อ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 103:20 และคํากล่าวต่อไปนี้ของประธานฮีเบอร์ ซี. คิมบัลล์ (1801–1868) แห่งฝ่ายประธานสูงสุด:

เอ็ลเดอร์ฮีเบอร์ ซี. คิมบัลล์

ทั้งที่ศัตรูของเราพูดข่มขู่ตลอดเวลาว่าจะทำร้ายเรา แต่เราไม่กลัวและไม่ลังเลที่จะเดินทางต่อ เพราะพระผู้เป็นเจ้าทรงอยู่กับเรา เทพของพระองค์อยู่ข้างหน้าเรา ศรัทธาของกลุ่มเล็กๆ ของเราไม่หวั่นไหว เรารู้ว่าเหล่าเทพเป็นเพื่อนร่วมทางของเรา เพราะเราเห็นพวกท่าน (ฮีเบอร์ ซี. คิมบัลล์ ใน คำสอนของประธานศาสนาจักร: โจเซฟ สมิธ [2007], 288–289)

  • ท่านคิดว่าพรนี้จะมีผลต่อท่านอย่างไรหากท่านเป็นส่วนหนึ่งของค่ายอิสราเอล?

  • พระเจ้าทรงช่วยให้ผู้ติดตามพระองค์ทำเรื่องยากๆ ในปัจจุบันด้วยวิธีใดบ้าง?


ประสบการณ์ที่ 3

เมื่อค่ายอิสราเอลเดินทางจากเทศมณฑลแจ็คสันเพียงหนึ่งวัน ชายห้าคนพร้อมอาวุธเดินเข้าไปหาพวกเขา ชายเหล่านั้นคุยว่ามีอีกมากกว่าสามร้อยคนกําลังเดินทางไปโจมตีค่าย ขณะที่สมาชิกค่ายสนทนาว่าต้องทำอะไร ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธกล่าวว่า “จงยืนนิ่งอยู่ คอยดูความรอดจากพระ‍เจ้า”

ยี่สิบนาทีต่อมา พายุฝนกระหน่ำพัดผ่านค่าย พายุทำให้น้ำในแม่น้ำใกล้เคียงสูงขึ้นมาก ช่วยป้องกันไม่ให้ศัตรูข้ามมาและโจมตี สมาชิกค่ายอิสราเอลหลายคนพบที่หลบภัยในโบสถ์หลังเล็กใกล้ๆ หลังจากนั้นครู่หนึ่ง โจเซฟ สมิธก็เข้ามาในโบสถ์และร้องอุทานว่า “พระผู้เป็นเจ้าทรงสถิตอยู่ในพายุลูกนี้!”

เช้าหลังจากเกิดพายุ สมาชิกค่ายพบเต็นท์และเสบียงเปียกโชกและกระจัดกระจาย แต่ไม่มีชายคนใดบุกเข้ามา (อ้างอิงและสรุปจาก วิสุทธิชน: เรื่องราวของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์ในยุคสุดท้าย, เล่ม 1, มาตรฐานแห่งความจริง, 1815–1846 [2018], 203–204)

  • หากท่านเป็นส่วนหนึ่งของค่ายอิสราเอล ประสบการณ์นี้อาจส่งผลต่อความรู้สึกของท่านเกี่ยวกับศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธอย่างไร?

  • ประสบการณ์นี้สอนอะไรท่านเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าในช่วงเวลาที่ยากลำบากในชีวิตท่าน?

เชื้อเชิญให้นักเรียนสนทนาสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากกิจกรรมการศึกษานี้โดยถามคําถามทํานองนี้

  • อะไรทำให้ท่านสะดุดใจขณะท่านศึกษาประสบการณ์บางอย่างของค่ายอิสราเอล?

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเจ้าจากประสบการณ์เหล่านี้?

ขณะที่นักเรียนแบ่งปัน พวกเขาอาจระบุความจริงทํานองนี้: พระผู้เป็นเจ้าจะทรงอยู่กับเราและทรงช่วยเราเมื่อเราพยายามติดตามพระองค์

การเข้าใจให้ลึกซึ้งขึ้น

ใช้เวลาสักครู่เพื่อหาและศึกษาพระคัมภีร์หนึ่งข้อหรือมากกว่านั้นที่สอนเกี่ยวกับความปรารถนาของพระผู้เป็นเจ้าที่จะอยู่กับเราและช่วยเราในชีวิต ท่านอาจเลือกพระคัมภีร์ของท่านเองหรือเลือกบางข้อจากรายการต่อไปนี้:

  • มีสิ่งใดที่สะดุดใจจากข้อพระคัมภีร์ที่ท่านศึกษา? เพราะเหตุใด?

  • ท่านค้นพบอะไรที่จะช่วยผู้คนที่คิดว่าการติดตามพระเยซูคริสต์เป็นเรื่องยากลำบาก?

ท่านอาจเป็นพยานถึงความจริงที่ท่านได้สนทนาและกระตุ้นให้นักเรียนทำตามการกระตุ้นเตือนทางวิญญาณที่พวกเขาอาจได้รับ