“บทที่ 118—หลักคําสอนและพันธสัญญา 105: ‘พวกเขาจะถูกนำมาไกลถึงเพียงนี้ เพื่อการทดลองศรัทธาของพวกเขา’” หลักคำสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี (2025)
“หลักคำสอนและพันธสัญญา 105,” หลักคำสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี
บทที่ 118: หลักคำสอนและพันธสัญญา 102–105
“พวกเขาจะถูกนำมาไกลถึงเพียงนี้ เพื่อการทดลองศรัทธาของพวกเขา”
ไม่นานหลังจากค่ายอิสราเอลเดินทางมาถึงมิสซูรี พระเจ้าทรงเปิดเผยว่าการไถ่ไซอันควร “รอชั่วระยะเวลาไม่นาน” (หลักคําสอนและพันธสัญญา 105:9, 13) เมื่อเพิ่งเดินทางมากว่า 800 ไมล์ (1,280 กิโลเมตร) และคาดว่าจะได้ช่วยวิสุทธิชนมิสซูรีทวงคืนที่ดินของพวกเขา พวกเขารู้สึกว่าศรัทธาของตนถูกทดสอบโดยพระบัญชาของพระเจ้าให้กลับบ้าน บทนี้จะช่วยให้นักเรียนมีความปรารถนามากขึ้นที่จะยังคงซื่อสัตย์ต่อพระผู้เป็นเจ้าเมื่อศรัทธาของพวกเขาถูกทดสอบ
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำได้
ตราบที่เธอจำได้ ซิสเตอร์กอนซาเลซตื่นเต้นกับการรับใช้พระเจ้าในฐานะผู้สอนศาสนาเต็มเวลา ตลอดการรับใช้ในฐานะผู้สอนศาสนา เธอทำงานอย่างขยันหมั่นเพียรและพึ่งพาพระเจ้า แม้จะพยายาม แต่ซิสเตอร์กอนซาเลซกับเพื่อนของเธอพบคนที่จะสอนน้อยมาก และมีน้อยคนที่ยอมรับคําเชิญชวนให้มาหาพระคริสต์และรับบัพติศมา เพื่อนส่วนใหญ่ของซิสเตอร์กอนซาเลซที่รับใช้งานเผยแผ่ดูเหมือนจะช่วยให้ผู้คนยอมรับพระกิตติคุณของพระผู้ช่วยให้รอดมากกว่าเธอ
คำแนะนําที่พระเจ้าประทานแก่ค่ายอิสราเอล
หลังจากเดินทางเกือบเจ็ดสัปดาห์และประสบทั้งความยากลําบากและปาฏิหาริย์ ค่ายอิสราเอลก็เดินทางมาถึงเทศมณฑลแจ็คสัน มิสซูรี สมาชิกค่ายต่างกระตือรือร้นที่จะรู้พระประสงค์ของพระเจ้าและเรียนรู้ว่าต้องไถ่ไซอันอย่างไร สำหรับหลายคน การไถ่ไซอันหมายถึงการนําวิสุทธิชนมิสซูรีกลับคืนสู่บ้านของพวกเขา วันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1834 ขณะที่พวกเขาเดินทางจากเทศมณฑลแจ็คสันประมาณหนึ่งวัน โจเซฟ สมิธได้รับการเปิดเผยที่บันทึกไว้ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 105
อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 105:9 โดยมองหาสิ่งที่พระเจ้าตรัสเกี่ยวกับการไถ่ไซอัน
อ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 105:10–14, 17–19 โดยมองหาเหตุผลที่พระเจ้าประทานให้ว่าทําไมไซอันจึงไม่ได้รับการไถ่ในเวลานั้น
พรจะตามมาหลังจากการทดลองศรัทธา
ใช้เวลาสักครู่เพื่อหาคําสอนจากพระคัมภีร์หรือผู้นําศาสนจักรที่จะช่วยให้ท่านยังคงซื่อสัตย์ต่อพระผู้เป็นเจ้าเมื่อศรัทธาของท่านถูกทดสอบ ตัวอย่างอาจได้แก่ อิสยาห์ 55:8–9; โรม 8:28; อีเธอร์ 12:6; หลักคําสอนและพันธสัญญา 76:2–3
ประธานบริคัม ยังก์ (1801–1877) ผู้เดินทางกับค่ายอิสราเอลเล่าถึงการสนทนาที่ท่านมีหลังจากกลับบ้าน:
เมื่อกลับมาเพื่อนหลายคนถามข้าพเจ้าว่ามีประโยชน์อันใดในการเรียกคนให้ทิ้งงานไปมิสซูรีแล้วกลับมาโดยไม่บรรลุผลใดๆ เลย “ใครได้ประโยชน์บ้าง” พวกเขาถาม “ถ้าพระเจ้าทรงบัญชาให้ทำ พระองค์ทรงมีวัตถุประสงค์อะไรในการทำเช่นนั้น?” … ข้าพเจ้าบอกพี่น้องชายเหล่านั้นว่าข้าพเจ้าได้มากทีเดียว—ได้ประโยชน์เยอะมาก—แท้จริงแล้วข้าพเจ้าท่วมท้นไปด้วยความรู้ที่ข้าพเจ้าได้รับจากการเดินทางไปกับท่านศาสดาพยากรณ์ (Brigham Young, “Discourse,” Deseret News, Dec. 3, 1862, 177)
21:29
ในพระปรีชาญาณอันสมบูรณ์ของพระเจ้า ค่ายไซอันช่วยเตรียมผู้นำในอนาคตหลายคนของศาสนจักร ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1835 พระผู้ช่วยให้รอดทรงจัดตั้งโควรัมอัครสาวกสิบสองและโควรัมแห่งสาวกเจ็ดสิบชุดแรกผ่านศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธ อัครสาวกเก้าท่านแรกเหล่านั้น ประธานแห่งสาวกเจ็ดสิบเจ็ดคน และสมาชิกโควรัมแห่งสาวกเจ็ดสิบชุดแรกอีกหกสิบสามคนร่วมเดินทางกับค่ายอิสราเอลในปี 1834