เซมินารี
บทเรียนที่ 154—หลักแห่งความเชื่อ: การเรียนรู้ความจริงพื้นฐานของพระกิตติคุณของพระผู้ช่วยให้รอด


“บทเรียนที่ 154—หลักแห่งความเชื่อ: การเรียนรู้ความจริงพื้นฐานของพระกิตติคุณของพระผู้ช่วยให้รอด” หลักคําสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี (2025)

“หลักแห่งความเชื่อ” หลักคําสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี

บทเรียนที่ 154: หลักแห่งความเชื่อและข้อประกาศอย่างเป็นทางการ 1 และ 2

หลักแห่งความเชื่อ

การเรียนรู้ความจริงพื้นฐานของพระกิตติคุณของพระผู้ช่วยให้รอด

เยาวชนยิ้มแย้ม

ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1842 ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธตอบรับคําขอจากจอห์น เวนท์เวิร์ธ ผู้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและความเชื่อของศาสนจักร ส่วนหนึ่งของคําตอบคือ โจเซฟประกาศหลักธรรมพื้นฐาน 13 ข้อของพระกิตติคุณที่รู้กันในปัจจุบันว่าหลักแห่งความเชื่อ บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจหลักคําสอนของพระผู้ช่วยให้รอดลึกซึ้งขึ้นโดยศึกษาความจริงที่อยู่ใน หลักแห่งความเชื่อ

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทําได้

การอธิบายความเชื่อของเรา

ท่านอาจเริ่มชั้นเรียนด้วยสถานการณ์สมมติต่อไปนี้

จินตนาการว่าท่านมีเพื่อนคนหนึ่งที่ต้องการรู้มากขึ้นว่าสมาชิกของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายเชื่ออะไร เพื่อนของท่านสนใจมากแต่มีเวลาฟังเพียงไม่กี่นาทีก่อนไปชั้นเรียน

  • ท่านต้องการให้เพื่อนเข้าใจอะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์?

    ท่านอาจให้เวลานักเรียนสามนาทีเขียนคําตอบลงในสมุดบันทึกการศึกษาของพวกเขา หรืออาจสนทนาว่าพวกเขาจะแบ่งปันอะไรเป็นชั้นเรียนหรือแสดงบทบาทสมมติของสถานการณ์สมมติกับคู่

  • ท่านจะแบ่งปันแหล่งช่วยอะไรกับเพื่อนของท่านเพื่อช่วยให้พวกเขาเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดและพระกิตติคุณของพระองค์?

หากจําเป็น ชี้ให้เห็นว่าแหล่งช่วยหนึ่งที่เป็นประโยชน์คือหลักแห่งความเชื่อ ให้แน่ใจว่านักเรียนสามารถหาหลักแห่งความเชื่อในพระคัมภีร์ของพวกเขาได้ ท่านอาจให้เวลาพวกเขาสักครู่เพื่อประเมินระดับความคุ้นเคยกับหลักแห่งความเชื่อ ตัวอย่างเช่น ท่านอาจถามนักเรียนว่าพวกเขาเคยท่องจําหรือใช้หลักแห่งความเชื่อบางข้อขณะสอนบทเรียน เขียนคําพูด หรือแบ่งปันพระกิตติคุณของพระผู้ช่วยให้รอดกับผู้อื่นหรือไม่

หลักแห่งความเชื่อ

เพื่อช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ว่าเราได้หลักแห่งความเชื่อมาอย่างไร ท่านอาจฉายวีดิทัศน์ “หลักแห่งความเชื่อ” (4:43) ซึ่งดูได้ที่ ChurchofJesusChrist.org ท่านอาจสรุปข้อมูลภูมิหลังต่อไปนี้ด้วย:

4:43

ในปี 1842 โจเซฟ สมิธตอบรับจดหมายที่ท่านได้รับจากจอห์น เวนท์เวิร์ธซึ่งอาศัยอยู่ในชิคาโก อิลลินอยส์ เวนท์เวิร์ธเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชื่อ Chicago Democrat และปรารถนาจะรู้มากขึ้นเกี่ยวกับความเชื่อและประวัติของวิสุทธิชนที่อยู่ในนอวู อิลลินอยส์ ในส่วนของจดหมาย โจเซฟแบ่งปันรายละเอียดเกี่ยวกับการสถาปนาและจุดหมายของศาสนจักรของพระผู้ช่วยให้รอด ศาสดาพยากรณ์ปิดท้ายจดหมายพร้อมข้อความสั้นๆ 13 ข้อที่มีความจริงและหลักคําสอนพื้นฐานของศาสนจักร ต่อมาข้อความเหล่านี้เรียกว่าหลักแห่งความเชื่อ และตีพิมพ์ในปี 1851 ในไข่มุกอันล้ำค่าฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก

เอ็ลเดอร์แอล. ทอม เพอร์รีย์ (1922–2015) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองแบ่งปันดังนี้ว่าการเรียนรู้หลักแห่งความเชื่อจะช่วยเราได้อย่างไร

14:29
เอ็ลเดอร์แอล. ทอม เพอร์รีย์

ข้าพเจ้ากระตุ้นท่านให้ใช้สติปัญญาในการศึกษาและเรียนรู้หลักแห่งความเชื่อและหลักคําสอนที่สอนไว้ในนั้น นี่เป็นสิ่งสําคัญที่สุดและแน่นอน เป็นถ้อยแถลงที่กระชับที่สุดในบรรดาหลักคําสอนในศาสนจักร หากท่านจะใช้เป็นแนวทางเพื่อนําทางการศึกษาพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ของท่าน ท่านจะพบว่าท่านพร้อมจะประกาศคําพยานถึงความจริงที่ได้รับการฟื้นฟูต่อโลก ท่านจะสามารถประกาศความเชื่อพื้นฐานที่ท่านยึดมั่นในวิธีที่เรียบง่าย ตรงไปตรงมา และลึกซึ้งได้ในฐานะสมาชิกของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย (แอล. ทอม เพอร์รีย์ “หลักคําสอนและหลักธรรมที่มีอยู่ในหลักแห่งความเชื่อ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2013, 48)

  • ท่านได้เรียนรู้อะไรจากข้อความนี้เกี่ยวกับความสําคัญของการศึกษาและการรู้หลักแห่งความเชื่อ?

ท่านอาจกล่าวคําพยานของท่านถึงพรที่ท่านสังเกตเห็นจากการศึกษาหลักแห่งความเชื่อและใช้พรเหล่านั้นประกาศพระกิตติคุณของพระผู้ช่วยให้รอด

การเรียนรู้พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ด้วยหลักแห่งความเชื่อ

ไอคอนเอกสารแจกแนวคิดต่อไปนี้เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้นักเรียนมีประสบการณ์ที่มีความหมายกับหลักแห่งความเชื่อ ท่านอาจแจกเอกสาร “กิจกรรมการศึกษาหลักแห่งความเชื่อ” เชื้อเชิญให้นักเรียนทํากิจกรรมในเอกสารแจกให้ครบถ้วน กระตุ้นให้พวกเขาเอาใจใส่การกระตุ้นเตือนหรือข้อคิดทางวิญญาณที่ได้รับจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะศึกษา ท่านอาจต้องการให้แน่ใจว่านักเรียนบางคนจะเน้นหลักแห่งความเชื่อสี่ข้อแรก ซึ่งสอนความจริงพื้นฐานที่สําคัญเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์ พระเยซูคริสต์ และหลักคําสอนของพระองค์

ขอให้ท่านพร้อมช่วยเหลือนักเรียน แต่เชื้อเชิญให้พวกเขาใช้ทักษะการศึกษาที่เรียนรู้ที่บ้าน โบสถ์ และเซมินารีเพื่อทํากิจกรรมให้เสร็จ หากนักเรียนทํากิจกรรมเสร็จอย่างรวดเร็ว เชื้อเชิญให้พวกเขาเลือกหลักแห่งความเชื่อข้ออื่นและทําขั้นตอนนี้ซ้ำ

กิจกรรมการศึกษาหลักแห่งความเชื่อ

ขั้นตอนที่ 1: เลือกหลักแห่งความเชื่อหนึ่งข้อที่ท่านต้องการศึกษาวันนี้และตอบคําถามต่อไปนี้:

  • ท่านเรียนรู้ความจริงนิรันดร์อะไรบ้างจากหลักแห่งความเชื่อข้อนี้?

  • คําสอนจากหลักแห่งความเชื่อข้อนี้จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ของท่านกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์อย่างไร?

ขั้นตอนที่ 2: เลือกอย่างน้อยสองทางเลือกต่อไปนี้เพื่อช่วยท่านเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับหลักแห่งความเชื่อที่ท่านเลือก:

  1. ท่องจํา ให้นึกถึงแนวคิดที่จะช่วยท่านท่องจําหลักแห่งความเชื่อของท่านและใช้เวลาท่องจําหลักแห่งความเชื่อ

  2. ค้นหาแหล่งช่วยที่เกี่ยวข้อง หาข้อพระคัมภีร์หรือข้อความที่เกี่ยวข้องจากผู้นําศาสนจักรที่เกี่ยวข้องกับหลักแห่งความเชื่อที่ท่านเลือก ท่านอาจใช้เครื่องมือ เช่น เชิงอรรถในพระคัมภีร์ของท่าน คู่มือพระคัมภีร์ หรือฟังก์ชันค้นหาบนแอปคลังค้นคว้าพระกิตติคุณเพื่อช่วยท่าน

  3. สร้างภาพแสดงแทน ใช้ศิลปะเพื่อช่วยท่านสื่อสารหรือนําเสนอคําสอนจากหลักแห่งความเชื่อที่ท่านเลือก ตัวอย่างอาจได้แก่ ภาพวาด ภาพตัดปะ เวิร์ดคลาวด์ หรือมีม (เนื่องจากพระลักษณะอันศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า หลีกเลี่ยงการวาดภาพสมาชิกในพระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์)

  4. สร้างสถานการณ์สมมติ นึกถึงสถานการณ์ที่ท่านหรือวัยรุ่นคนอื่นๆ เผชิญ หรือคําถามพระกิตติคุณที่หลักแห่งความเชื่อของท่านจะช่วยได้ เขียนเหตุการณ์สมมติหรือคําถามและอธิบายว่าความจริงที่สอนในหลักแห่งความเชื่อจะช่วยได้อย่างไรหรือเพราะเหตุใด

  5. เป็นพยาน เขียนประจักษ์พยานของท่านถึงความจริงที่สอนในหลักแห่งความเชื่อของท่าน อธิบายว่าคําสอนเหล่านี้เป็นพรแก่ชีวิตท่านและนําท่านเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นอย่างไร

แบ่งปันสิ่งที่ท่านเรียนรู้

คิดหาวิธีช่วยให้นักเรียนแบ่งปันและนําเสนอสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ ท่านอาจเขียนเลข 1–13 บนกระดาษแผ่นเล็กๆ 13 แผ่นและใส่ไว้ในหมวก สุ่มเลือกกระดาษมาแผ่นหนึ่งและถามว่านักเรียนคนใดที่ศึกษาหลักแห่งความเชื่อข้อนั้นเต็มใจแบ่งปันหรือไม่ สําหรับชั้นเรียนขนาดใหญ่กว่า ท่านอาจจัดนักเรียนเป็นคู่หรือกลุ่มเล็กและเชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันกัน

หลังจากแบ่งปันแล้ว นักเรียนที่เต็มใจอาจติดกระดาษของพวกเขาไว้ทั่วห้องเพื่อให้ผู้อื่นดู