เซมินารี
บทเรียนที่ 182—บริหารทรัพยากรการเงินอย่างฉลาด: พยายามสร้างการพึ่งพาตนเองด้านการเงิน


“บทเรียนที่ 182—บริหารทรัพยากรการเงินอย่างฉลาด: พยายามสร้างการพึ่งพาตนเองด้านการเงิน” หลักคําสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี (2025)

“บริหารทรัพยากรการเงินอย่างฉลาด” หลักคําสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี

บทเรียนที่ 182: การสร้างการพึ่งพาตนเอง

บริหารทรัพยากรการเงินอย่างฉลาด

พยายามสร้างการพึ่งพาตนเองด้านการเงิน

คนกําลังนับเงิน

เยาวชนมีโอกาสมากมายในอนาคตที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบด้านการเงิน เช่น การรับใช้งานเผยแผ่ การได้รับการศึกษา หรือการสร้างครอบครัว เมื่อพวกเขามองไปที่พระเยซูคริสต์และทําตามหลักการด้านการเงินอย่างฉลาด พวกเขาเชื้อเชิญพรของพระผู้เป็นเจ้าที่จะจัดหาสิ่งจําเป็นให้พวกเขา (ดู หลักคําสอนและพันธสัญญา 104:15) บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจวิธีใช้ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าขณะพวกเขาสร้างการพึ่งพาตนเองด้านการเงิน

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทําได้

มองไปที่อนาคต

เชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันเป้าหมายหลักที่พวกเขาอาจมีตลอด 10 หรือ 15 ปีข้างหน้าเป็นคู่หรือกลุ่มเล็กๆ ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจแบ่งปันว่าพวกเขาวางแผนจะรับใช้งานเผยแผ่หรือไม่ ต้องการศึกษาต่อที่ใด หรือมีความปรารถนาเกี่ยวกับการแต่งงานและครอบครัวหรือไม่ หลังจากนักเรียนแบ่งปันแล้ว ท่านอาจสนทนาคําถามต่อไปนี้ในชั้นเรียน:

  • เป้าหมายใดของท่านที่ต้องเตรียมทางการเงิน?

  • ท่านคิดว่าเมื่อใดเป็นเวลาที่ดีที่สุดในการเริ่มวางแผนการเงินสําหรับอนาคตของท่าน? เพราะเหตุใด?

    ท่านอาจต้องการเตรียมแบ่งปันค่าใช้จ่ายทั่วไปคร่าวๆ ในการรับใช้งานเผยแผ่ ได้รับการศึกษา หรือดําเนินชีวิตในพื้นที่ของท่าน (พึงจดจําว่าจุดประสงค์ของบทเรียนนี้ไม่ใช่เพื่อสรุปว่าทุกอย่างต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าใดแต่เพื่อช่วยให้นักเรียนมองไปที่พระเยซูคริสต์อย่างซื่อสัตย์และได้รู้จักหลักธรรมพื้นฐานบางประการของการดูแลด้านการเงิน)

    เชื้อเชิญให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ในสมุดบันทึกการศึกษา:

  • ท่านมั่นใจเพียงใดกับอนาคตการเงินของท่าน? เพราะเหตุใด?

ตลอดบทเรียนนี้ ให้แสวงหาความช่วยเหลือจากพระบิดาบนสวรรค์ร่วมกับการสวดอ้อนวอนเพื่อเข้าใจหลักธรรมที่สามารถช่วยท่านบริหารการเงินอย่างฉลาดในเวลานี้และในอนาคต

คําสัญญาจากพระเจ้า

ในปี 1834 ศาสนจักรประสบปัญหาทางการเงิน ส่วนหนึ่งคือการสร้างพระวิหารเคิร์ทแลนด์และความพยายามที่ชอบธรรมอื่นๆ พระเจ้าประทานคําแนะนําที่ประยุกต์ใช้กับเราได้เช่นกันเมื่อเราเผชิญกับพันธะรับผิดชอบด้านการเงินเพื่อให้บรรลุความปรารถนาอันชอบธรรมของเรา

อ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 104:13–17, 78–79 ให้นึกว่าคําสอนของพระเจ้าเกี่ยวข้องกับการเงินของท่านอย่างไร

  • ท่านเรียนรู้อะไรที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับความต้องการด้านการเงินของเรา?

  • คําหรือวลีใดจะช่วยให้บางคนวางใจพระเจ้าขณะพวกเขาบริหารการเงินของตน?

    นักเรียนอาจแบ่งปันความคิดหลายอย่าง รวมถึงความจริงต่อไปนี้: พระเจ้าจะทรงจัดเตรียมสิ่งจําเป็นต่างๆ หากเราทําตามคําแนะนําของพระองค์อย่างซื่อสัตย์

  • เหตุใดความจริงนี้จึงให้กําลังใจเมื่อท่านพยายามเตรียมการเงินสําหรับอนาคตของท่าน?

หากจําเป็น ช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าพระเจ้าไม่ได้ทรงสัญญาอิสรภาพจากความยากลําบากด้านการเงินหรือความยากลําบากอื่นๆ แต่พระเจ้าทรงรู้สิ่งที่เราต้องการ เมื่อเราซื่อสัตย์ พระองค์จะทรงจัดเตรียมให้เราตามพระประสงค์และจังหวะเวลาของพระองค์

หลักธรรมของพระเจ้าด้านการเงิน

อธิบายว่า โดยผ่านพระคัมภีร์และผู้นําของศาสนจักร พระเจ้าประทานคําแนะนําเพื่อช่วยให้เราใช้พรทางโลกอย่างฉลาด รวมถึงการเงินของเรา เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจคําแนะนําของพระเจ้า ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาเลือกศึกษาหนึ่งข้อต่อไปนี้ เมื่อพวกเขาทําเสร็จแล้ว พวกเขาจะรวมกลุ่มกับนักเรียนที่ศึกษาข้อพระคัมภีร์ข้ออื่นและแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้

อ่านข้อต่อไปนี้และระบุหลักธรรมที่พระเจ้าทรงสอนที่จะช่วยวัยรุ่นคนหนึ่งเตรียมรับอนาคตทางการเงินของพวกเขา

เมื่อนักเรียนแบ่งปันให้กันเรียบร้อยแล้ว ท่านอาจถามคําถามต่อไปนี้:

  • หลักธรรมในพระคัมภีร์เหล่านี้จะช่วยท่านใช้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ขณะที่ท่านเตรียมรับความต้องการด้านการเงินได้อย่างไร?

  • ท่านคิดว่าเหตุใดการจ่ายส่วนสิบจึงเป็นส่วนสําคัญของการบริหารการเงินของเรา? (ดู มาลาคี 3:8–10)

  • นอกเหนือจากการจ่ายส่วนสิบ มีวิธีใดบ้างที่เราสามารถให้ความสําคัญกับการแสวงหาอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าเหนือการแสวงหาความรํ่ารวย?

  • การพัฒนานิสัยของการออมเงินเมื่อเป็นเยาวชนจะเป็นพรแก่ท่านตลอดชีวิตอย่างไร?

ลําดับความสําคัญด้านการเงิน

ภาพต่อไปนี้แสดงถึงเหตุการณ์หรือการตัดสินใจเกี่ยวกับการเงิน การให้นักเรียนพิจารณาลําดับเหตุการณ์หรือการตัดสินใจเหล่านี้จะช่วยให้พวกเขาเล็งเห็นลําดับความสําคัญเมื่อตัดสินใจเรื่องการเงิน ท่านอาจพิมพ์ภาพ ตัดออกมาทั้งห้าหมวด และติดไว้บนกระดานโดยไม่ต้องเรียงลําดับ เชื้อเชิญให้นักเรียนสนทนาว่าควรจัดลําดับแต่ละหมวดหมู่อย่างไร อีกทางเลือกหนึ่งคือพิมพ์และตัดภาพกราฟิกนี้ให้มากพอเพื่อให้นักเรียนกลุ่มเล็กเรียงลําดับและสนทนาด้วยกัน อาจเป็นประโยชน์ถ้าชี้ให้เห็นว่าแม้จะเห็นชัดว่าการได้รับรายได้ควรมาก่อนในชีวิตจริง แต่หลายคนยืมและใช้เงินก่อนมีรายได้ สิ่งนี้เรียกว่าหนี้ และเราควรพยายามหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้

หรือท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนค่าใช้จ่ายทั่วไปที่พวกเขามีตอนนี้หรืออาจมีในอนาคตบนกระดาน ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนจัดลําดับความสําคัญของค่าใช้จ่ายโดยเรียงจากสิ่งสําคัญที่สุดไปหาน้อยที่สุด โดยทําเป็นชั้นเรียนหรือเป็นกลุ่มและใช้หลักธรรมที่พวกเขาเพิ่งเรียนรู้ในกิจกรรมพระคัมภีร์ก่อนหน้านี้

ภาพการเงินส่วนบุคคลสําหรับการพึ่งพาตนเอง
  • ท่านจะจัดลําดับความสําคัญของเหตุการณ์ด้านการเงินหรือการตัดสินใจเหล่านี้อย่างไร? ท่านเรียนรู้อะไรจากคําสอนของพระเจ้าในพระคัมภีร์เพื่อสนับสนุนคําตอบของท่าน?

  • ความท้าทายใดอาจเกิดจากการไม่เรียงลําดับความสําคัญด้านการเงินของเรา?

  • ท่านจะพูดอะไรกับคนที่รู้สึกว่าควรให้ความสําคัญกับค่าครองชีพปัจจุบันมากกว่าการจ่ายส่วนสิบ?

ท่านอาจขอให้นักเรียนแบ่งปันว่าพระเจ้าประทานพรพวกเขาหรือสมาชิกครอบครัวอย่างไรเมื่อพวกเขาให้ความสําคัญกับส่วนสิบก่อนรายจ่ายอื่นๆ อีกตัวอย่างหนึ่งคือท่านอาจแบ่งปันประสบการณ์ของเอ็ลเดอร์วาเลรี วี. คอร์ดอน แห่งสาวกเจ็ดสิบในคําปราศรัยของท่าน “ภาษาของพระกิตติคุณ” ตั้งแต่รหัสเวลา 6:10 ถึง 7:40 ที่ ChurchofJesusChrist.org

12:27

ภาษาของพระกิตติคุณ

ท่านอาจสนทนาคํากล่าวด้านล่างจากเอ็ลเดอร์สแตนลีย์ จี. เอลลิส

หากเป็นประโยชน์ ท่านอาจใช้เวลาสอนนักเรียนเรื่องวิธีจ่ายส่วนสิบและเงินบริจาคด้วยใบส่วนสิบหรือออนไลน์ที่ donations.ChurchofJesusChrist.org

เอ็ลเดอร์สแตนลีย์ จี. เอลลิส แห่งสาวกเจ็ดสิบถามเกี่ยวกับการจ่ายส่วนสิบดังนี้:

เอ็ลเดอร์สแตนลีย์ จี. เอลลิส

เรามี ศรัทธา ที่จะวางใจในสัญญา [ของพระเจ้า] เกี่ยวกับส่วนสิบหรือไม่ว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ของเรา บวกความช่วยเหลือจากพระเจ้า ทําให้เรามีมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลําพัง (สแตนลีย์ จี. เอลลิส, “เราวางใจพระองค์หรือไม่ ยากแหละดี,” เลียโฮนา, พ.ย. 2017, 114)

เพื่อให้นักเรียนดูแบบอย่างของผู้คนที่ดําเนินชีวิตตามหลักธรรมในบทเรียนนี้ ท่านอาจฉาย “การเดินทางของเซดริก” (2:32) ที่มีอยู่ใน ChurchofJesusChrist.org

2:37

การเดินทางของเซดริก

ท่านอาจช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าพระเจ้าทรงเตรียมวิธีช่วยอนาคตด้านการเงินของเราที่ไม่ได้แสดงไว้ในบทเรียนนี้ ตัวอย่างเช่น พระองค์ทรงสามารถดลใจเราด้วยวิธีอื่นในการหาเงินหรือออมเงิน เยาวชนสามารถพูดกับอธิการหรือผู้นําของพวกเขาเกี่ยวกับความช่วยเหลือด้านการเงินสําหรับงานเผยแผ่หรือเรียนต่อระดับอุดมศึกษา

สรุป

ท่านอาจเชื้อเชิญนักเรียนให้ตอบคําถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของพวกเขาหรือสนทนากับคู่:

  • ท่านจะสรุปสิ่งที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารการเงินอย่างฉลาดว่าอย่างไร?

  • สิ่งหนึ่งที่ท่านรู้สึกว่าพระเจ้าทรงต้องการให้ท่านเรียนรู้ในวันนี้คืออะไร?

ท่านอาจเชื้อเชิญนักเรียนสองสามคนแบ่งปันคําตอบของพวกเขา แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับความปรารถนาของพระเจ้าในการจัดหาให้วิสุทธิชนของพระองค์ (ดู หลักคําสอนและพันธสัญญา 104:15) กระตุ้นให้นักเรียนมองไปที่พระผู้เป็นเจ้าและให้พระองค์มีส่วนในการตัดสินใจเรื่องการเงินตลอดชีวิตพวกเขา