เซมินารี
บทเรียนที่ 183—การพึ่งพาตนเองทําให้เราสามารถดูแลผู้อื่นได้ดีขึ้น: เตรียมรับใช้เหมือนพระผู้ช่วยให้รอด


“บทเรียนที่ 183—การพึ่งพาตนเองทําให้เราสามารถดูแลผู้อื่นได้ดีขึ้น: เตรียมรับใช้เหมือนพระผู้ช่วยให้รอด” หลักคําสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี (2025)

“การพึ่งพาตนเองทําให้เราสามารถดูแลผู้อื่นได้ดีขึ้น” หลักคําสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี

บทเรียนที่ 183: การสร้างการพึ่งพาตนเอง

การพึ่งพาตนเองทําให้เราสามารถดูแลผู้อื่นได้ดีขึ้น

เตรียมรับใช้เหมือนพระผู้ช่วยให้รอด

พระผู้ช่วยให้รอดทรงปฏิบัติศาสนกิจต่อคนป่วย

พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนสานุศิษย์ของพระองค์ให้ “ช่วยเหลือคนอ่อนแอ … และให้กําลังเข่าที่อ่อนล้า” (หลักคําสอนและพันธสัญญา 81:5) เราสามารถทําตามคําแนะนํานี้ได้ดีขึ้นเมื่อเราพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าการพึ่งพาตนเองทําให้พวกเขาสามารถทําตามแบบอย่างการช่วยเหลือผู้อื่นของพระผู้ช่วยให้รอดได้ดีขึ้นอย่างไร

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทําได้

ความสามารถในการช่วยเหลือผู้อื่น

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าการพึ่งพาตนเองส่งผลต่อความสามารถของเราในการช่วยเหลือผู้อื่น ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนสามคนอ่านสถานการณ์ต่อไปนี้คนละหนึ่งสถานการณ์ หยุดครู่หนึ่งหลังจากอ่านสถานการณ์แต่ละอย่างและขอให้ชั้นเรียนแบ่งปันปัจจัยต่างๆ เพื่อพิจารณาว่ามินดี้ นาธาน หรือเจย์ดาสามารถช่วยได้มากเพียงใด (หากต้องการ ท่านอาจสร้างสถานการณ์สมมติที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนของท่านมากกว่า)

  1. เพื่อนของมินดี้มีปัญหาในการเข้าใจการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ของเธอและขอความช่วยเหลือจากมินดี้

  2. ในฐานะผู้สอนศาสนาคนใหม่ นาธานพบคนที่มีคําถามมากมายเกี่ยวกับการฟื้นฟูศาสนจักรของพระผู้ช่วยให้รอด

  3. เจย์ดาเรียนรู้ว่าครอบครัวหนึ่งในวอร์ดของเธอไม่สามารถจัดหาเสื้อผ้าอุ่นๆ ให้ลูกๆ ได้

แจกสําเนาคํากล่าวต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์ (1932–2017) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองให้นักเรียนแต่ละคน เชื้อเชิญให้พวกเขาระบุและสนทนาเป็นกลุ่มเล็กๆ อย่างน้อยหนึ่งวลีจากแต่ละย่อหน้าที่สามารถประยุกต์ใช้กับสถานการณ์สมมติข้างต้นได้ (หากต้องการ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าคําว่า ฝ่ายโลก ดังที่ใช้ในคํากล่าวอาจรวมถึงด้านสวัสดิการหลายด้าน เช่น การเงิน การศึกษา อารมณ์ และร่างกาย)

เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์

การพึ่งพาตนเองคือการรับผิดชอบต่อความผาสุกทางโลกและทางวิญญาณของตนและของคนที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงฝากฝังให้เราดูแล ต่อเมื่อเราพึ่งพาตนเองเท่านั้นเราจึงจะสามารถทำตามพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างแท้จริงในการรับใช้และเป็นพรแก่ผู้อื่น

เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจว่าการพึ่งพาตนเองเป็นหนทางบรรลุเป้าหมาย เป้าหมายสูงสุดของเราคือเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอด และการรับใช้ผู้อื่นโดยไม่เห็นแก่ตัวส่งเสริมเป้าหมายนั้น ความสามารถของเราในการรับใช้เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามระดับการพึ่งพาตนเองของเรา

ดังที่ประธานแมเรียน จี. รอมนีย์เคยกล่าว: “อาหารสําหรับคนหิวโหยจะมาจากชั้นวางของที่ว่างเปล่าไม่ได้” เงินช่วยเหลือคนขัดสนจะมาจากกระเป๋าที่ว่างเปล่าไม่ได้ กำลังใจและความเข้าใจจะมาจากคนที่ทุกข์ทรมานทางอารมณ์ไม่ได้ การสอนจะมาจากคนไม่มีการศึกษาไม่ได้ และสําคัญที่สุดคือการชี้นําทางวิญญาณจะมาจากคนอ่อนแอทางวิญญาณไม่ได้” (ใน Conference Report, Oct. 1982, 135; หรือ Ensign, Nov. 1982, 93) (Robert D. Hales, “A Gospel Vision of Welfare: Faith in Action” ใน Basic Principles of Welfare and Self-Reliance[worldwide leadership training meeting, 2009], 1–2; ดู ChurchofJesusChrist.org ด้วย)

  • ท่านเรียนรู้ความจริงอะไรจากเอ็ลเดอร์เฮลส์?

    เมื่อนักเรียนตอบคําถามก่อนหน้านี้ ให้พวกเขาพึงเข้าใจว่า เมื่อเราพัฒนาการพึ่งพาตนเอง เราจะเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น และสามารถช่วยและรับใช้ผู้อื่นได้ดีขึ้น

    ท่านอาจช่วยให้นักเรียนเห็นความเกี่ยวข้องส่วนตัวในบทเรียนโดยขอให้พวกเขาบันทึกความคิดและคําตอบของคําถามทํานองนี้:

  • ท่านเคยสามารถช่วยผู้อื่นผ่านความสามารถหรือวิธีที่พระผู้เป็นเจ้าทรงช่วยท่านพัฒนาอย่างไร?

  • เวลานี้พระบิดาบนสวรรค์ทรงให้ท่านปรับปรุงการพึ่งพาตนเองด้านใดเพื่อท่านจะสามารถดูแลตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้นในอนาคต?

การเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น

ท่านอาจให้ดูคําแนะนําและคําถามต่อไปนี้ เชื้อเชิญนักเรียนทํากิจกรรมให้เสร็จและสนทนาคําถามกับคู่

อ่าน ลูกา 2:40, 52 และทําเครื่องหมายความก้าวหน้าด้านต่างๆ ที่พระเยซูทรงทําในวัยเยาว์ของพระองค์

  • พระปรีชาสามารถของพระผู้ช่วยให้รอดในการรับใช้ผู้อื่นอาจส่งผลต่อการเติบโตและการพัฒนาของพระองค์ระหว่างที่พระองค์ทรงเป็นเยาวชนอย่างไร?

    หลังจากแบ่งปันเสร็จแล้ว เชื้อเชิญให้ชั้นเรียนแบ่งปันวิธีต่างๆ ที่วัยรุ่นในปัจจุบันสามารถสร้างการพึ่งพาตนเองในแต่ละด้านที่กล่าวไว้ใน ลูกา 2:40, 52

    ท่านอาจให้เวลานักเรียนไตร่ตรองคําถามทํานองนี้ในใจ:

  • ท่านจะช่วยเหลือใครในอนาคตได้บ้างหากท่านพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นในด้านใดด้านหนึ่งเหล่านี้? ท่านจะช่วยเหลืออย่างไร?

  • การปรับปรุงการพึ่งพาตนเองช่วยให้เราเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นอย่างไร?

แบบอย่างของการรับใช้เหมือนพระคริสต์ผ่านการพึ่งพาตนเอง

ไอคอนเอกสารแจกยกตัวอย่างของผู้คนในประวัติศาสนจักรที่สามารถรับใช้พระผู้เป็นเจ้าและผู้อื่น ท่านอาจทําสิ่งนี้โดยจัดชั้นเรียนเป็นกลุ่มศึกษาและแจกตัวอย่างหนึ่งจากเอกสารแจก “แบบอย่างการพึ่งพาตนเองจากประวัติศาสนจักร” ให้แต่ละกลุ่ม เชื้อเชิญให้แต่ละกลุ่มอ่านข้อพระคัมภีร์ด้วยกันและสนทนาคําถามที่อยู่ท้ายย่อหน้า

ตัวอย่างการพึ่งพาตนเองจากประวัติศาสนจักร

มาร์ติน แฮร์ริส: ในปี 1827 โจเซฟ สมิธกําลังประสบการข่มเหงและความยากจนขณะพยายามแปลพระคัมภีร์มอรมอนจากแผ่นจารึกทองคํา มาร์ติน แฮร์ริสชาวนาที่ประสบความสําเร็จเรียนรู้สถานการณ์ของโจเซฟ อ่าน โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:61–62 โดยมองหาว่ามาร์ตินสามารถช่วยโจเซฟ สมิธอย่างไร อ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 19:26, 34–35; 104:26 เพื่อดูวิธีอื่นที่มาร์ติน แฮร์ริสสามารถรับใช้พระเจ้าและเป็นพรแก่ผู้อื่น มาร์ตินพัฒนาการพึ่งพาตนเองด้านการเงินที่จําเป็นต่อการรับใช้พระเจ้าและคนอื่นๆ ในวิธีที่มีความหมาย เวลานี้วัยรุ่นจะทําอะไรได้บ้างเพื่อพัฒนาทักษะ การศึกษา และวิธีช่วยให้พวกเขารับใช้พระเจ้าและผู้อื่นในอนาคต?

เอ็มมา เฮล สมิธ: เมื่อเธอพบโจเซฟ สมิธ เอ็มมา เฮลเป็นนักอ่าน นักเขียน ครู และนักดนตรีที่ประสบความสําเร็จ อ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 25:5-7, 11 โดยมองหาความรับผิดชอบที่พระเจ้าทรงมอบหมายให้เอ็มมา เอ็มมาพัฒนาทักษะและการศึกษาที่ช่วยให้เธอรับใช้พระเจ้าและคนอื่นๆ ในวิธีที่มีความหมาย เวลานี้วัยรุ่นจะทําอะไรได้บ้างเพื่อพัฒนาทักษะ การศึกษา และวิธีช่วยให้พวกเขารับใช้พระเจ้าและผู้อื่นในอนาคต?

วิลเลียม ดับเบิลยู. เฟลพ์ส: พระเจ้าทรงแนะนําวิลเลียม ดับเบิลยู. เฟลพ์สผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสใหม่ให้ย้ายไปรัฐมิสซูรี อ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 55:4 และ 57:11–13 โดยมองหางานมอบหมายพิเศษที่พระเจ้าประทานแก่วิลเลียมให้รับใช้ในศาสนจักรของพระองค์ . วิลเลียมพัฒนาทักษะและการศึกษาที่ช่วยให้เขารับใช้พระเจ้าและคนอื่นๆ ในวิธีที่มีความหมาย เวลานี้วัยรุ่นจะทําอะไรได้บ้างเพื่อพัฒนาทักษะ การศึกษา และวิธีช่วยให้พวกเขารับใช้พระเจ้าและผู้อื่นในอนาคต?

ท่านอาจเชื้อเชิญให้แต่ละกลุ่มแบ่งปันกับชั้นเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้

ท่านอาจช่วยให้นักเรียนนึกถึงแบบอย่างสมัยใหม่ของคนที่พัฒนาการพึ่งพาตนเองและจากนั้นสามารถรับใช้ผู้อื่นในวิธีที่เหมือนพระคริสต์ ChurchofJesusChrist.org

3:50
60:10

ท่านอาจแบ่งปันว่าท่านเคยรับใช้ผู้อื่นอย่างไรหรือผู้อื่นรับใช้ท่านผ่านทักษะ วิธี และคุณลักษณะที่ท่านหรือผู้อื่นพัฒนามาตลอดชีวิตอย่างไร

เพื่อสรุปบทเรียน ท่านอาจต้องการให้เวลานักเรียนไตร่ตรองร่วมกับการสวดอ้อนวอนหรือเขียนสิ่งที่พวกเขาคิดว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงประสงค์ให้พวกเขาทํากับสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้และรู้สึกวันนี้ อาสาสมัครอาจแบ่งปันความคิดบางส่วนกับชั้นเรียน