เซมินารี
บทเรียนที่ 199—แบ่งปันพระกิตติคุณด้วยความรักเหมือนพระคริสต์: ความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าและผู้อื่น


“บทเรียนที่ 199—แบ่งปันพระกิตติคุณด้วยความรักเหมือนพระคริสต์: ความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าและผู้อื่น” หลักคําสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี (2025)

“แบ่งปันพระกิตติคุณด้วยความรักเหมือนพระคริสต์” หลักคําสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี

บทเรียนที่ 199: การเตรียมตัวเป็นผู้สอนศาสนา

แบ่งปันพระกิตติคุณด้วยความรักเหมือนพระคริสต์

ความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าและต่อผู้อื่น

พระเยซูทรงปฏิบัติศาสนกิจต่อบุคคลหนึ่ง

มีหลายเหตุผลที่เราอาจเลือกแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์กับผู้อื่น ความปรารถนาจะแบ่งปันพระกิตติคุณเพิ่มขึ้นเมื่อเราเรียนรู้ที่จะรักพระผู้เป็นเจ้าและคนรอบข้าง บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าความรักที่พวกเขามีต่อพระบิดาบนสวรรค์ พระเยซูคริสต์ และคนอื่นๆ สามารถกระตุ้นพวกเขาให้แบ่งปันพระกิตติคุณได้อย่างไร

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทําได้

แรงบันดาลใจในการรับใช้

ท่านอาจแสดงภาพเยาวชนที่กําลังรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆ เชื้อเชิญให้นักเรียนบอกเหตุผลหลายๆ ข้อที่เยาวชนในแต่ละภาพอาจเลือกรับใช้ (เหตุผลที่เป็นไปได้อาจรวมถึงหน้าที่ ความรัก ความคาดหวังของบิดามารดา ความรู้สึกผิด หรือการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม)

เยาวชนรับใช้ผู้อื่น 1
เยาวชนรับใช้ผู้อื่น 2
เยาวชนรับใช้ผู้อื่น 3
  • แม้จะมีเหตุผลมากมายให้รับใช้ผู้อื่น แต่เหตุผลใดน่าจะช่วยให้เราเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากที่สุด? เพราะเหตุใด?

จากนั้นท่านอาจให้ดูภาพคนที่กําลังแบ่งปันพระกิตติคุณขณะเชื้อเชิญให้นักเรียนสนทนาคําถามต่อไปนี้:

ชายหนุ่มคนหนึ่งกําลังให้ใครบางคนดูพระคัมภีร์มอรมอน
  • มีเหตุผลอะไรบ้างที่บางคนอาจเลือกแบ่งปันพระกิตติคุณกับเพื่อนหรือแม้แต่เลือกที่จะรับใช้งานเผยแผ่เต็มเวลา?

  • เหตุผลใดน่าจะช่วยให้พวกเขามีประสิทธิภาพในการนําผู้อื่นมาหาพระผู้เป็นเจ้ามากที่สุด?

ท่านอาจให้เวลานักเรียนไตร่ตรองและบันทึกความรู้สึกลงในสมุดบันทึกการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้:

  • ท่านรู้สึกอย่างไรกับการแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูพระคริสต์กับผู้อื่น? เหตุใดท่านจึงรู้สึกแบบนั้น?

  • ท่านกําลังวางแผนที่จะรับใช้งานเผยแผ่เต็มเวลาหรือไม่? ถ้ากําลังวางแผน อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านรับใช้?

เชื้อเชิญให้นักเรียนแสวงหาการนําทางจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ระหว่างบทเรียนขณะพวกเขานึกถึงความปรารถนาที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

แรงจูงใจของพระผู้เป็นเจ้า

ท่านอาจอธิบายให้นักเรียนฟังว่าเมื่อเรารู้ว่าอะไรเป็นแรงจูงใจให้พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงรับใช้เรา เราจะเลียนแบบสิ่งที่พระองค์ทรงทำเป็นแบบอย่างได้ดีขึ้น

เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจสิ่งนี้ ท่านอาจแสดงข้ออ้างอิงต่อไปนี้ เชื้อเชิญให้นักเรียนแต่ละคนเลือกอ่านและไตร่ตรองหนึ่งหรือสองข้อ

อ่านข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้หนึ่งหรือสองข้อ แล้วมองหาสิ่งที่ข้อเหล่านี้สอนเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์:

เชื้อเชิญให้นักเรียนเดินไปรอบๆ ห้องเรียนและแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์กับเพื่อนร่วมชั้นที่เลือกข้อต่างๆ

เมื่อนักเรียนแบ่งปันเสร็จแล้ว ขอให้อาสาสมัครสรุปสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์

ช่วยให้นักเรียนตระหนักว่า พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงมีแรงจูงใจที่จะรับใช้ด้วยความรัก

นักเรียนอาจต้องการเวลาไตร่ตรองคําถามต่อไปนี้ก่อนจะพร้อมตอบ ท่านอาจต้องการให้เวลาพวกเขาเขียนคําตอบลงในสมุดบันทึกการศึกษาก่อนขอให้อาสาสมัครแบ่งปัน

  • ประสบการณ์ใดจะช่วยให้ท่านรู้สึกได้ถึงความรักของพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ที่ทรงมีต่อท่าน?

  • การเข้าใจเหตุผลที่พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงรับใช้เราจะส่งผลต่อความปรารถนาของท่านในการแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่นอย่างไร?

ความรักสามารถจูงใจเราให้แบ่งปันพระกิตติคุณ

บทเรียนส่วนนี้ใช้คําสอนของพระผู้ช่วยให้รอดใน ยอห์น 21 เพื่อช่วยให้นักเรียนเห็นว่าความรักสามารถจูงใจเราให้แบ่งปันพระกิตติคุณ

อีกวิธีหนึ่งในการทําเช่นนี้คือเชื้อเชิญให้แต่ละคู่ศึกษาหมวด “จิตกุศลและความรัก” รวมถึงแนวคิด “การศึกษาพระคัมภีร์” ในหน้า 127 ของ สั่งสอนกิตติคุณของเรา: คู่มือแนะแนวการแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ (2023) โดยดูว่าความรักจะจูงใจเราให้แบ่งปันพระกิตติคุณอย่างไร

ไม่นานหลังจากการตรึงกางเขนพระเยซูคริสต์ สานุศิษย์หลายคนของพระองค์ออกไปจับปลา ขณะที่พวกเขากําลังหาปลา ชายคนหนึ่งผู้อยู่บนฝั่งเชื้อเชิญพวกเขาให้ทอดอวนทางด้านขวาของเรือ หลังจากจับปลาได้หลายตัว เหล่าสาวกตระหนักว่าชายคนนั้นคือพระผู้ช่วยให้รอดผู้ฟื้นคืนพระชนม์ เมื่อพวกเขาขึ้นฝั่ง พระเยซูทรงรับใช้พวกเขาโดยทรงเลี้ยงอาหารและสอนพวกเขา

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนมองหาพระดํารัสเชื้อเชิญซํ้าๆ ของพระผู้ช่วยให้รอดที่ตรัสกับเปโตรโดยอ่าน ยอห์น 21:15–17 ด้วยกัน ChurchofJesusChrist.org (อาจเป็นประโยชน์สําหรับนักเรียนที่จะรู้ว่าคําว่า พวกนี้ ใน ข้อ 15 อาจหมายถึงปลาทุกตัวที่เหล่าสาวกจับได้)

5:45
  • ท่านเรียนรู้อะไรจากวิธีที่พระเยซูทรงต้องการให้เปโตรแสดงความรักของเขา?

อ่านข้อความต่อไปนี้จากศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธ (1805–1844) โดยมองหาสิ่งที่จะเพิ่มความเข้าใจของท่านเกี่ยวกับพระดํารัสเชื้อเชิญของพระเยซูใน ยอห์น 21

ศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธ

ความรักเป็นคุณลักษณะสําคัญประการหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า และผู้ปรารถนาจะเป็นบุตรของพระผู้เป็นเจ้าควรแสดงให้เห็นคุณลักษณะดังกล่าว คนที่เปี่ยมด้วยความรักของพระผู้เป็นเจ้าไม่พอใจเพียงเป็นพรแก่ครอบครัวตนเท่านั้น แต่จะขยายขอบเขตไปทั่วโลกเพราะเขาปรารถนาจะเป็นพรแก่เผ่าพันธุ์ทั้งสิ้นของมนุษย์ (คําสอนของประธานศาสนาจักร: โจเซฟ สมิธ [2007], 426)

  • อะไรที่สะดุดใจท่านจากถ้อยคําของโจเซฟ สมิธ?

  • ท่านเรียนรู้อะไรจาก ยอห์น 21 และถ้อยคําของโจเซฟ สมิธที่อาจกระตุ้นท่านให้แบ่งปันพระกิตติคุณหรือรับใช้งานเผยแผ่?

  • ท่านคิดว่าวิธีใดเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการทําให้ความรักที่เรามีต่อพระผู้เป็นเจ้าลึกซึ้งยิ่งขึ้น? ทําให้ความรักที่เรามีต่อผู้อื่นลึกซึ้งยิ่งขึ้น?

เอาชนะความลังเลในการแบ่งปันพระกิตติคุณ

นักเรียนอาจตั้งกลุ่มเพื่อทํากิจกรรมต่อไปนี้ การแจกกระดาษให้แต่ละกลุ่มอาจเป็นประโยชน์

  1. สร้างสถานการณ์สมมติเป็นกลุ่มเรื่องเยาวชนชายคนหนึ่งลังเลที่จะรับใช้งานเผยแผ่เต็มเวลาหรือวัยรุ่นคนหนึ่งลังเลที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณกับเพื่อน เลือกผู้จดเพื่อเขียนสถานการณ์สมมุติลงบนกระดาษ ให้แน่ใจว่าได้ระบุเหตุผลว่าทําไมบุคคลในสถานการณ์สมมติจึงลังเล

    ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างสถานการณ์ที่กลุ่มอาจสร้างขึ้น: “อันโตนิโอเพิ่งได้ยินคําปราศรัยการประชุมใหญ่ที่กระตุ้นให้เยาวชนเตรียมรับใช้เป็นผู้สอนศาสนาของพระเจ้ามากขึ้น เขารู้ว่านั่นเป็นสิ่งถูกต้องที่เขาพึงทํา แต่เขามีปัญหากับการพูดคุยกับคนที่เขาไม่รู้จัก และรู้สึกว่าตนไม่รู้จักพระคัมภีร์ดีพอที่จะสอนคนอื่นๆ ได้ เขากังวลว่าเขาจะไม่ได้เป็นผู้สอนศาสนาที่มีประสิทธิภาพ”

    หลังจากกลุ่มเขียนสถานการณ์สมมติที่พวกเขาสร้างขึ้นแล้ว ท่านอาจขอให้พวกเขาแลกเปลี่ยนสถานการณ์สมมติกับกลุ่มอื่นก่อนทําขั้นตอนต่อไปนี้

  2. ขอให้ผู้จดเขียนสิ่งที่กลุ่มของท่านจะแบ่งปันเพื่อช่วยบุคคลในสถานการณ์สมมติโดยใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้และรู้สึกในวันนี้ เขียนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิ่งที่บุคคลอาจทําเพื่อเพิ่มความรักต่อพระผู้ช่วยให้รอดและผู้อื่น ท่านอาจต้องการเขียนบางสิ่งเกี่ยวกับวิธีที่ความรู้สึกถึงความรักของพระผู้ช่วยให้รอดสามารถช่วยเพิ่มความปรารถนาของบุคคลนี้ที่จะรับใช้

ท่านอาจเชื้อเชิญให้กลุ่มแบ่งปันกับชั้นเรียนว่าพวกเขาตอบสนองต่อสถานการณ์สมมติของอีกกลุ่มอย่างไร

ในการสรุปบทเรียน ท่านอาจให้เวลานักเรียนบันทึกในสมุดบันทึกการศึกษาว่าความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าและผู้อื่นสามารถช่วยให้พวกเขาเอาชนะความลังเลใจที่อาจรู้สึกเกี่ยวกับการแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร