เซมินารี
บทเรียนที่ 203—ความขยันหมั่นเพียรในงานเผยแผ่ศาสนา: เตรียมเป็นผู้สอนศาสนาที่ขยันหมั่นเพียร


“บทเรียนที่ 203—ความขยันหมั่นเพียรในงานเผยแผ่ศาสนา: เตรียมเป็นผู้สอนศาสนาที่ขยันหมั่นเพียร” หลักคําสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี (2025)

“ความขยันหมั่นเพียรในงานเผยแผ่ศาสนา” หลักคําสอนและพันธสัญญา คู่มือครูเซมินารี

บทเรียนที่ 203: การเตรียมตัวเป็นผู้สอนศาสนา

ความขยันหมั่นเพียรในงานเผยแผ่ศาสนา

เตรียมเป็นผู้สอนศาสนาที่ขยันหมั่นเพียร

ผู้สอนศาสนากําลังสอนบทเรียน

พระเยซูคริสต์ประทานแบบอย่างที่ดีพร้อมของความขยันหมั่นเพียรที่เราควรพยายามเลียนแบบขณะรับใช้ผู้อื่น บทเรียนนี้จะช่วยให้นักเรียนแสวงหาความช่วยเหลือจากพระเจ้าเพื่อขยันหมั่นเพียรมากขึ้นในชีวิตและเตรียมตัวรับใช้เป็นผู้สอนศาสนาของพระองค์

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทําได้

ชั้นสี่ ประตูสุดท้าย

ท่านอาจเริ่มบทเรียนด้วยการช่วยให้นักเรียนไตร่ตรองความสําคัญของความขยันหมั่นเพียรในงานเผยแผ่ศาสนา ท่านอาจให้ดูภาพต่อไปนี้และแบ่งปันเรื่องราวด้านล่าง หรือท่านอาจฉายวีดิทัศน์ “ชั้นสี่ ประตูสุดท้าย” ที่ ChurchofJesusChrist.org ตั้งแต่รหัสเวลา 14:17 ถึง 17:27 ท่านอาจหยุดวีดิทัศน์ที่นาทีที่ 16:03 เพื่อให้นักเรียนพิจารณาว่าพวกเขาจะตอบสนองอย่างไร ณ จุดนี้ จากนั้นให้แสดงวีดิทัศน์ส่วนที่เหลือ

21:33
ตึกอะพาร์ตเมนต์

เอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองแบ่งปันประสบการณ์ต่อไปนี้ของผู้สอนศาสนาในยุโรปที่รู้สึกประทับใจในการแบ่งปันพระกิตติคุณกับคนในอาคารอะพาร์ตเมนต์สี่ชั้น

เอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ

พวกเขาเริ่มจากชั้นแรกโดยเคาะประตูแต่ละห้อง นําเสนอข่าวสารแห่งความรอดของพระเยซูคริสต์และการฟื้นฟูศาสนจักรของพระองค์

ที่ชั้นแรกไม่มีใครฟังพวกเขา …

… พวกเขาจึงเคาะประตูทุกห้องบนชั้นสอง

อีกครั้งที่ไม่มีใครฟัง

ชั้นที่สามก็เช่นเดียวกัน (ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ “ชั้นสี่ ประตูสุดท้ายเลียโฮนา, พ.ย. 2016, 17)

  • ผู้สอนศาสนาเหล่านี้อาจมีความคิดอะไรในตอนนี้?

เอ็ลเดอร์อุคท์ดอร์ฟกล่าวต่อไปว่า:

เอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ

และชั้นที่สี่ [ก็เช่นเดียวกัน]—นั่นคือจนกระทั่งพวกเขาเคาะประตูสุดท้ายของชั้นที่สี่

เมื่อประตูเปิด หญิงสาวคนหนึ่งยิ้มให้พวกเขาและขอให้พวกเขารอขณะที่เธอพูดกับคุณแม่ของเธอ …

… ผู้สอนศาสนาให้ข่าวสารและยื่น—พระคัมภีร์มอรมอนให้มารดาอ่าน

หลังจากพวกเขาไปแล้ว มารดาตัดสินใจว่าอย่างน้อยจะอ่านสักสองสามหน้า

เธออ่านจบทั้งเล่มภายในไม่กี่วัน

ไม่นานหลังจากนั้น ครอบครัวของมารดาตัวคนเดียวที่ยอดเยี่ยมนี้ได้เข้าสู่นํ้าแห่งบัพติศมา (ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “ชั้นสี่ ประตูสุดท้าย,” เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 17–18)

  • คุณลักษณะเหมือนพระคริสต์อะไรบ้างที่ท่านสังเกตเห็นในผู้สอนศาสนาเหล่านี้?

คุณลักษณะเหมือนพระคริสต์ในผู้สอนศาสนา

ท่านอาจมอบหมายให้นักเรียนครึ่งชั้นอ่านข้อพระคัมภีร์ด้านล่างในหลักคําสอนและพันธสัญญา ภาค 4 และอีกครึ่งชั้นอ่านข้อพระคัมภีร์ใน ภาค 75 หลังจากอ่านแล้ว นักเรียนอาจแบ่งปันคําตอบของคําถามด้านล่างกับคนที่อ่านข้ออ้างอิงอื่น

หรือท่านอาจเชื้อเชิญให้คู่ศึกษาหมวด “ความขยันหมั่นเพียร” รวมถึงแนวคิด “การศึกษาพระคัมภีร์” ในหน้า 132–133 ของ สั่งสอนกิตติคุณของเรา: คู่มือแนะแนวการแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ (2023)

อ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 4:2–6; 75:2–5, 29 โดยมองหาคําและวลีที่พระเจ้าทรงใช้บรรยายถึงคนที่ปรารถนาจะรับใช้พระองค์ รวมทั้งผู้สอนศาสนาของพระองค์

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงคาดหวังอะไรจากคนที่ปรารถนาจะรับใช้พระองค์ในฐานะผู้สอนศาสนาเต็มเวลา? เพราะเหตุใด?

  • คุณลักษณะและการกระทําเหล่านี้จะช่วยเราในสภาวการณ์ท้าทายที่เราอาจเผชิญได้อย่างไร?

ในบรรดาความจริงที่นักเรียนแบ่งปัน พวกเขาอาจระบุว่า พระเจ้าทรงคาดหวังให้ผู้สอนศาสนาทํางานอย่างขยันหมั่นเพียรในการแบ่งปันพระกิตติคุณของพระองค์

ความขยันหมั่นเพียรคืออะไร?

เขียนข้อความต่อไปนี้บนกระดาน และเชื้อเชิญให้นักเรียนเขียนว่าพวกเขาจะเติมให้สมบูรณ์อย่างไร

ความขยันหมั่นเพียรคือ …

หากนักเรียนต้องการความช่วยเหลือในการนิยามความขยันหมั่นเพียร ท่านอาจแบ่งปันนิยามหนึ่งที่เป็นไปได้คือ “การตั้งใจพยายามอยู่เสมอ” (สั่งสอนกิตติคุณของเรา: คู่มือแนะแนวการแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ [2023], 132)

  • สถานการณ์ใดบ้างที่ท่านหรือคนวัยเดียวกันอาจต้องเผชิญซึ่งต้องอาศัยความขยันหมั่นเพียร?

ท่านอาจต้องการเขียนคําตอบของนักเรียนไว้บนกระดาน หลังจากรวบรวมแนวคิดสองสามข้อจากนักเรียนแล้ว ให้โอกาสพวกเขาคิดอย่างรอบคอบมากขึ้นว่าพวกเขาแสดงความขยันหมั่นเพียรในชีวิตอย่างไร

วิธีหนึ่งที่ทําได้คือให้ดูการประเมินตนเองต่อไปนี้และให้เวลานักเรียนใคร่ครวญในใจว่าพวกเขาจะตอบสนองอย่างไร ท่านอาจอธิบายให้นักเรียนฟังว่าเมื่อพวกเขาทําแบบประเมินตนเองเสร็จแล้ว พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงช่วยให้พวกเขารับรู้ได้ว่าพวกเขาทําอะไรได้ดีและจะปรับปรุงอย่างไร นักเรียนอาจได้รับประโยชน์จากการการบันทึกความคิดของตนลงในสมุดบันทึกการศึกษา (หมายเหตุ: ท่านอาจเลือกแสดงข้อความเหล่านี้อีกครั้งท้ายบทเรียน)

ใคร่ครวญในใจว่าข้อความแต่ละอย่างต่อไปนี้อธิบายถึงตัวท่านได้ดีเพียงใด:

  • ฉันทํางานหนักจนงานสําเร็จลุล่วง แม้จะยากก็ตาม

  • ฉันทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ไม่มีคนตรวจตราใกล้ชิด

  • ผู้คนสามารถพึ่งพาฉันและความพยายามของฉันในการทํางานให้สําเร็จ

  • ฉันพบปีติในการทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่

ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนทำกิจกรรมต่อไปนี้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อทํากิจกรรมให้เสร็จ หลังจากนักเรียนทํากิจกรรมเสร็จแล้ว เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้

  1. ค้นหาข้ออ้างอิงพระคัมภีร์หรือคํากล่าวของศาสดาพยากรณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความสําคัญของความขยันหมั่นเพียร

  2. พูดคุยกันว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างของความขยันหมั่นเพียรอย่างไร

  3. แบ่งปันประสบการณ์เมื่อท่านหรือคนรู้จักได้รับพรผ่านความขยันหมั่นเพียร

  4. สนทนาว่าท่านคิดว่าเหตุใดจึงสําคัญที่ผู้สอนศาสนาต้องขยันหมั่นเพียร

  5. สนทนาด้านอื่นในชีวิตท่านซึ่งความขยันหมั่นเพียรเป็นสิ่งสําคัญ

พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงช่วยให้ความจริงฝังลึกในใจนักเรียนและเตรียมนักเรียนให้พร้อมประยุกต์ใช้ความจริงเหล่านั้น วิธีหนึ่งที่ท่านจะช่วยนักเรียนอัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์คือให้โอกาสพวกเขาเห็นว่าพระผู้ช่วยให้รอดและผู้อื่นแสดงความขยันหมั่นเพียรอย่างไร นักเรียนอาจอ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 19:16–19 หรือ ลูกา 22:39–44 เพื่อเป็นตัวอย่างว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงแสดงความขยันหมั่นเพียรอย่างไร ChurchofJesusChrist.org

2:3

พรของความขยันหมั่นเพียร

ยํ้าเตือนนักเรียนให้นึกถึงเรื่องราวของเอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟเกี่ยวกับผู้สอนศาสนาสองคนในยุโรปที่เคาะประตูบานสุดท้ายของชั้นสี่ อธิบายว่าความพากเพียรของพวกเขาเป็นพรแก่เอ็ลเดอร์อุคท์ดอร์ฟ ท่านอาจแสดงภาพต่อไปนี้ของผู้สอนศาสนาและครอบครัวที่อาศัยอยู่ในอะพาร์ตเมนต์หลังประตูสุดท้ายบนชั้นสี่ ชี้ให้เห็นว่าเด็กสาวคนหนึ่งในสองคนนั้นคือแฮเรียต ภรรยาของเอ็ลเดอร์อุคท์ดอร์ฟ

ครอบครัวรวมตัวกันในห้อง

เอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ.อุคท์ดอร์ฟแบ่งปันความรู้สึกเกี่ยวกับผู้สอนศาสนาสองคนนี้ว่า:

21:33
เอ็ลเดอร์ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ

บ่อยครั้งที่ใจข้าพเจ้าสํานึกคุณอย่างสุดซึ้งต่อผู้สอนศาสนาสองคนผู้ไม่ยอมหยุดที่ชั้นแรก บ่อยครั้งที่ใจข้าพเจ้าเอื้อมออกไปด้วยความขอบคุณสําหรับ ศรัทธา และ งาน ของพวกเขา บ่อยครั้งที่ข้าพเจ้านึกขอบคุณพวกเขาที่พยายามต่อไป—แม้จนถึงชั้นสี่ประตูสุดท้าย (ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “ชั้นสี่ ประตูสุดท้าย,” เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 18)

  • ถ้าผู้สอนศาสนาเหล่านั้นสามารถแบ่งปันบางอย่างเกี่ยวกับความขยันหมั่นเพียรกับชั้นเรียนของเรา ท่านคิดว่าพวกเขาจะพูดอะไร?

ความขยันหมั่นเพียรในชีวิตฉัน

ท่านอาจให้ดูข้อความเกี่ยวกับความขยันหมั่นเพียรส่วนตัวที่นักเรียนใคร่ครวญก่อนหน้านี้ในบทเรียน นักเรียนอาจรู้สึกได้รับการกระตุ้นเตือนจากพระวิญญาณให้เน้นข้อความหนึ่งมากกว่าข้อความอื่น เชื้อเชิญให้นักเรียนนึกถึงข้อความนั้นขณะเขียนคําตอบของคําถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษา

  • ฉันจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้างเพื่อให้ขยันหมั่นเพียรมากขึ้น?

  • ความขยันหมั่นเพียรจะเตรียมฉันให้ดีขึ้นอย่างไรในการแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ในฐานะผู้สอนศาสนาเต็มเวลาและในชีวิตประจําวันของฉัน?

  • ความขยันหมั่นเพียรช่วยให้เราเป็นเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นอย่างไร?

ขณะที่นักเรียนบันทึกคําตอบ กระตุ้นให้พวกเขาอย่าลังเลที่จะวางแผนทําบางสิ่งที่จะทําให้พวกเขาพยายามเต็มที่และเรียกร้องการทํางานหนักและความขยันหมั่นเพียรอย่างสมํ่าเสมอ