2 โครินธ์ 1: 4
“การหนุนใจซึ่งเราเองได้รับจากพระเจ้า”
เราทุกคนล้วนประสบกับความปวดร้าวใจและเสียใจ ความล้มเหลวและอุปสรรค ความรู้สึกไม่สบายและความเจ็บป่วย เมื่อประชาชนกรุงโครินธ์เผชิญกับความยากลำบาก เปาโลเขียนถึงสมาชิกของศาสนจักรที่นั่นเพื่อเสนอที่จะให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง เขาเป็นพยานถึงการปลอบโยนและสันตินั้นมีให้พวกเขาผ่านพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ (ดู 2 โครินธ์ 1:3–4) บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจวิธีการบางอย่างที่พระผู้เป็นเจ้าประทานการปลอบโยนให้แก่บุตรธิดาของพระองค์ และระบุวิธีที่ท่านจะแบ่งปันการปลอบโยนของพระองค์ให้กับผู้อื่นได้
สิ่งใดนำมาซึ่งการปลอบโยนแก่ท่าน?
-
ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ท่านหันไปหาใครหรือสิ่งใดเพื่อการปลอบโยน?
-
อะไรหรือใครให้การปลอบโยนท่านมากที่สุด? เพราะเหตุใด?
ไตร่ตรองคำถามต่อไปนี้:
-
เพราะเหตุใดท่านจึงวางใจได้ว่า พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์จะทรงปลอบโยนท่านผ่านของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ในช่วงเวลาเช่นนี้?
-
ท่านรู้สึกว่าท่านตระหนักและได้รับการปลอบโยนที่พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงมอบผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ดีเพียงใด?
-
ท่านจะสามารถแบ่งปันการปลอบโยนที่พระองค์ประทานกับผู้อื่นได้อย่างไร?
ค้นหาคำตอบของคำถามก่อนหน้าในขณะที่ท่านศึกษาบทเรียนนี้
เปาโลต้องการปลอบโยนวิสุทธิชนชาวโครินธ์ในการทดลองของพวกเขา
ขณะอยู่ในแคว้นมาซิโดเนีย เปาโลได้รับข่าวจากสานุศิษย์ชื่อทิตัสว่า วิสุทธิชนในเมืองโครินธ์ได้รับจดหมายฉบับก่อนของเขาเรียบร้อยแล้ว (ดู 2 โครินธ์ 2:13; 7:5) เปาโลยังได้รู้ถึงความท้าทายอย่างไม่หยุดหย่อนของวิสุทธิชนเหล่านี้และเขียนจดหมายอีกฉบับ (2 โครินธ์) เพื่อให้การปลอบโยนและตอบปัญหาของพวกเขา
-
ท่านจำอะไรได้บ้างเกี่ยวกับโครินธ์และความยากลำบากของวิสุทธิชนที่นั่น?
อ่าน 2 โครินธ์ 1:1–4 โดยให้ความสนใจวิธีที่เปาโลเปิดจดหมายฉบับที่สองของตนแก่วิสุทธิชนชาวโครินธ์
-
อะไรที่โดดเด่นสำหรับท่านในบทนำของเปาโลที่ให้แก่เหล่าวิสุทธิชน?
-
เปาโลใช้พระนามหรือชื่อเรียกใดเรียกพระบิดาบนสวรรค์ที่ทำให้ท่านสนใจ?
-
พระนามหรือชื่อเรียกเหล่านี้สอนอะไรท่านเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์?
-
เปาโลเคยสอนความจริงใดบ้างใน ข้อ 4?
รับการปลอบโยนจากพระบิดาบนสวรรค์และช่วยให้ผู้อื่นได้รับเช่นกัน
ท่านอาจระบุความจริงจาก ข้อ 4 ดังเช่นข้อความต่อไปนี้: เมื่อเราได้รับการปลอบโยนจากพระบิดาบนสวรรค์ระหว่างการทดลอง เราสามารถช่วยให้ผู้อื่นได้รับเช่นกัน
-
ท่านคิดว่าการ “หนุนใจ (ปลอบโยน) คนทั้งหลายที่มีความยากลำบาก” มีความหมายว่าอย่างไร? (ข้อ 4)
-
เหตุใดท่านจึงคิดว่ามีความคาดหวังกับสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์?
อ่านข้อความต่อไปนี้ของประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ (1895–1985)
พระผู้เป็นเจ้าสนพระทัยเรา และพระองค์ทรงดูแลเรา แต่ปกติพระองค์จะทรงตอบรับความต้องการของเราผ่านผู้อื่น ด้วยเหตุนี้ การรับใช้กันในอาณาจักรจึงสำคัญยิ่ง
(คำสอนของประธานศาสนจักร: สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ [2006], 90)
ChurchofJesusChrist.org
-
เพราะเหตุใดท่านจึงคิดว่าพระบิดาบนสวรรค์มักใช้เราในการช่วยเหลือผู้อื่นระหว่างการทดลองของพวกเขาเพื่อให้รู้สึกว่าพระองค์ทรงรักและปลอบโยน?
นึกถึงใครสักคนที่ท่านรู้จักผู้ซึ่งกำลังประสบกับความยากลำบาก พิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนว่าท่านจะช่วยให้บุคคลนั้นรู้สึกถึงการปลอบโยนดังที่พระบิดาบนสวรรค์ประทานแก่ท่านอย่างไรในขณะที่ท่านทำสิ่งต่อไปนี้:
-
นึกถึงสิ่งที่ท่านเรียนรู้จาก 2 โครินธ์ 1:1–4 ที่อาจช่วยบุคคลนี้ได้
-
อ่านชุดข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้สองชุดหรือมากกว่านั้น ซึ่งประกอบด้วยคำสอนเพิ่มเติมของเปาโลที่สอนชาวโครินทร์เกี่ยวกับการทดลอง ค้นหาวลีหรือคำพูดที่ท่านรู้สึกว่าจะมีความหมายต่อบุคคลที่ท่านเลือก
-
ทำบางสิ่งบางอย่างตอนนี้เพื่อช่วยให้คนๆ นี้รู้สึกได้ถึงการปลอบโยนจากพระบิดาบนสวรรค์ ท่านอาจสวดอ้อนวอนให้บุคคลนั้นดังเช่นวิสุทธิชนชาวโครินธ์สวดอ้อนวอนให้เปาโล (ดู 2 โครินธ์ 1:11) นอกจากนี้ท่านยังสามารถเขียนข้อความให้กำลังใจบุคคลนี้เหมือนกับที่เปาโลทำกับชาวโครินธ์ แม้ว่าข่าวสารของท่านอาจจะเป็นข้อความ อีเมล หรือโน้ตสั้นแทนที่จะเป็นจดหมาย (พิจารณาเพิ่มสิ่งที่ท่านเรียนรู้ในบทเรียนนี้จาก 2 โครินธ์ 1; 4 รวมถึงประสบการณ์ส่วนตัวใดๆ ที่อาจช่วยได้)
-
วางแผนเพิ่มเติมเพื่อช่วยบุคคลนี้ พระบิดาบนสวรรค์อาจทรงกระตุ้นเตือนให้ท่านลงมือทำอะไรเพิ่มเติม เช่น การไปเยี่ยมเยียนหรือรับใช้ในทางใดทางหนึ่ง อย่าลืมจดแผนที่ท่านคิดไว้ในที่ซึ่งท่านจะได้รับการเตือนให้ทำตามแผน เช่น ในปฏิทินบนสมาร์ทโฟนของท่าน หรือบนแผ่นกระดาษที่ท่านจะดูในภายหลัง
เลือกได้: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมใช่หรือไม่?
2 โครินธ์ 1:4 เหตุใดพระเจ้าจึงทรงคาดหวังให้ฉันติดต่อและปลอบโยนผู้คนที่ประสบปัญหา?
เอ็ลเดอร์แกรีย์ อี. สตีเวนสัน แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้:
ทันทีที่เราขึ้นมาจากน้ำบัพติศมา เราได้รับมอบหมายให้ทำงานนี้ เราแสดงความรักต่อผู้อื่นเพราะนั่นคือสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงบัญชาให้เราทำ … เมื่อเพื่อนบ้านของเรามีความทุกข์ทางโลกหรือทางวิญญาณ เราวิ่งไปช่วย เราแบกภาระของกันและกัน เพื่อมันจะได้เบา เราโศกเศร้ากับคนที่โศกเศร้า เราปลอบโยนคนที่ต้องการการปลอบโยน พระเจ้าทรงคาดหวังสิ่งนี้จากเรา วันนั้นจะมาถึงเมื่อเราจะรายงานการดูแลฝูงแกะของพระองค์
(แกรีย์อี. สตีเวนสัน, “การดูแลจิตวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 111)
2 โครินธ์ 4:17 เปาโลหมายความว่าอย่างไรเมื่อเขาเรียกความท้าทายทางมรรตัยของเราว่าเป็น “ความยากลำบากเล็กน้อย”?
เอ็ลเดอร์พอลวี. จอห์นสันแห่งฝ่ายประธานโควรัมสาวกเจ็ดสิบสอนว่า:
ท่ามกลางปัญหาทั้งหลาย เราแทบมองไม่เห็นว่าพรที่จะได้รับมีค่ายิ่งกว่าความเจ็บปวด ความอดสู หรือความปวดร้าวใจที่เราประสบขณะนั้น … อัครสาวกเปาโลสอนว่า “เพราะว่าความยากลำบากชั่วคราวและเล็กน้อยของเรา จะทำให้เรามีศักดิ์ศรีนิรันดร์มากมายอย่างไม่มีที่เปรียบ” [2 โครินธ์ 4:17] น่าสนใจที่เปาโลใช้คำว่า “ความยากลำบากเล็กน้อย” คำนี้มาจากคนที่ถูกตี ถูกหินขว้าง เรืออับปาง ถูกจองจำ และคนที่ประสบการทดลองอื่นๆ อีกมากมาย ข้าพเจ้าคิดว่าพวกเราหลายคนคงไม่คิดว่าความทุกข์เป็นเรื่องเล็ก แต่เมื่อเทียบกับพรและการเติบโตที่เราจะได้รับในท้ายที่สุดแล้ว ทั้งในชีวิตนี้และในนิรันดร ความทุกข์ของเราเล็กน้อยมาก …
บางครั้งเราต้องการเติบโตโดยไม่มีการท้าทายและเข้มแข็งขึ้นโดยไม่ต้องต่อสู้ แต่การเติบโตเกิดขึ้นไม่ได้โดยวิธีง่ายๆ เราเข้าใจชัดเจนว่านักกีฬาที่ต่อต้านการฝึกอย่างเข้มงวดจะไม่มีวันได้เป็นนักกีฬาระดับโลก เราพึงระวังว่าเราจะไม่โกรธเคืองสิ่งที่ช่วยให้เราสวมสภาพของพระองค์
(พอล วี. จอห์นสัน, “เรามีชัยเหลือล้นโดยพระองค์ผู้ได้ทรงรักเราทั้งหลาย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2011, 99–100)