คำสอนของประธานศาสนจักร
บทที่ 8: การรับใช้ที่ไม่เห็นแก่ตัว


บทที่ 8

การรับใช้ที่ไม่เห็นแก่ตัว

เมื่อเรารับใข้ผู้อื่นโดยไม่นึกถึงตนเอง เราจะมีความเข้มแข็งทางวิญญาณ และความสุขมากขึ้น

จากชีวิตของสเป็ีนเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์

ประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์กระตุ้นสิทธิชนยุคสุดท้ายให้มีส่วน ใน “การกระทำอันเรียบง่ายของการรับใช้” ซึ่งจะเป็นพรแก่ชีวิตผู้อื่นเช่นเดียว กับชีวิตตนเอง1 ท่านมักจะพบโอกาสในการรับใช้เช่นนั้นดังเรื่องราวต่อไปนี้

“มารดาสาวคนหนึ่งกับบุตรสาวอายุ 2 ขวบโดยสารเครื่องบินตอนกลางคืน และติดอยู่ที่สนามบินชิคาโกเพราะสภาพอากาศเลวร้ายโดยไม่มีอาหารหรือเสื้อ ผ้าสะอาดๆ สำหรับลูกและไม่มีเงิน เธอ…ตั้งครรภ์และอาจแท้งได้ทุกเมื่อ ด้วยเหตุนี้เธอจึงต้องเชื่อฟังคำแนะนำของแพทย์คือไม่อุ้มเด็กเว้นแต่จำเป็น เธอยืนต่อแถวชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่าเพื่อให้ได้เที่ยวบินไปมิชิแกน สนามบินชุลมุนวุ่นวายเต็มไปด้วยผู้โดยสารที่เหน็ดเหนื่อย หงุดหงิด และอารมณ์เสีย เธอ ได้ยินเลียงวิพากษ์วิจารณ์ลูกของเธอที่กำลังร้องไห้และการที่เธอใช้เท้าดันลูกไป ตามพื้นเมื่อแถวขยับไปช้างหน้า ไม่มีใครเสนอตัวเช้าช่วยเหลือเด็กที่เนี้อดัว เปียกชุ่ม หิว และอ่อนเพลีย

“ครั้นแล้ว สตรีผู้นั้นเล่าเหตุการณ์ดังกล่าวในเวลาต่อมาว่า ‘มีชายคนหนึ่ง เดินตรงมาที่เรา ยิ้มอย่างใจดีและพูดว่า “มีอะไรที่ผมพอจะช่วยคุณได้ไหมครับ” ดิฉันยอมรับข้อเสนอของเขาพร้อมกับถอนหายใจอย่างโล่งอก เขาอุ้มลูกสาวตัว น้อยของดิฉันที่กำลังร้องไห้สะอึกสะอื้นขึ้นมาจากพื้นเย็นเฉียบและกอดเธอ อย่างรักใคร่พลางตบหลังเธอเบาๆ เขาถามว่าเธอเคี้ยวหมากฝรั่งได้ไหม เมื่อเธอ นิ่งแล้ว เขาอุ้มเธอไปด้วยและบอกคนอื่นๆ ที่ต่อแถวอยู่บ้างหน้าดิฉันอย่างนุ่ม นวลว่าดิฉันต้องการความช่วยเหลือของพวกเขา ดูเหมือนพวกเขาจะยินยอม แล้วเขาก็เดินไปที่เคาน์เตอร์ขายตั๋ว [หน้าแถว] และตกลงกับพนักงานให้ดิฉัน ได้เที่ยวบินที่จะออกอีกไม่นาน เขาเดินไปที่ม้านั่งพร้อมกับเรา พูดคุยกับเราครู่ หนึ่งกระทั่งเขาแน่ใจว่าดิฉันสบายคีแลัวจึงได้เดินจากไป ราวหนึ่งสัปดาห็ให้หลัง ดิฉันเห็นรูปอัครสาวกสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์และจำได้ว่าท่านคือชาย แปลกหน้าคนนั้นที่สนามบิน’”2

หสายปีต่อมา ประธานคิมบัลล์ได้รับจดหมายฉบับหนึ่งที่ใจความส่วนหนึ่งใน จดหมายมีดังนี้

“ประธานคิมบัลล์ที่เคารพ

“ผมเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยบริดัม ยัง ผมเพิ่งกลับจากงานเผยแผ่ใน เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนีตะวันตก ผมมีงานเผยแผ่ที่ยอดเยี่ยมและเรียนรู้ มากมาย …

“สัปดาห์ที่แล้วผมนั่งอยู่ในการประชุมฐานะปุโรหิตและมีคนหนึ่งเล่าเรื่อง การรับใช้ที่เปี่ยมด้วยความรักของท่านเมื่อประมาณยี่สิบเอ็ดปีที่แล้วในสนามบิน ชิคาโก เรื่องมีอยู่ว่าท่านพบมารดาสาวที่ตั้งครรภ์กับ … ลูกที่ร้องไห์จ้า… ขณะ รอตั๋วในแถวยาวเหยียดด้วยความรันทดใจ เธออาจจะแท้งได้ทุกเมื่อด้วยเหตุนี้ จึงไม่อุ้มลูกขึ้นมาปลอบ เธอเคยแท้งมาแล้วสี่ครั้งและนั่นคือเหตุผลที่แพทย์สั่ง ไม่ให้เธอก้มหรือยกของ

“ท่านปลอบเด็กที่กำลังร้องไห้และอธิบายสภาพอับจนให้ผู้โดยสารในแถว ฟ้ง การกระทำอันเกิดจากความรักครั้งนี้พาความเครียดและความกดดันไปจาก คุณแม่ผม ผมเกิดในอีกสองสามเดือนต่อมาที่เมืองฟลินท์ รัฐมิชิแกน

“ผมเพียงต้องการ ขอบคุฌท่าน สำหรับความรักของท่าน ขอบคุณ สำหรับ แบบอย่างของท่าน”3

คำสอนของสเป็ีนเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์

เราควรทำตามแบบอย่างการรับใช้ที่ไม่เห็นแก่ตัว ของพระผู้ช่วยให้รอด

[พระผู้ช่วยให้รอด] ทรงอุทิศพระองค์เพื่อผู้ติดตามพระองค์… พระองค์ทรง สำนึกเสมอว่าต้องทำสี่งถูกต้องและตรงตามความต้องการที่แท้จริงของผู้ที่พระ องค์ทรงรับใช้4

พระองค์ทรงวางพระองค์และความต้องการของพระองค์ไว้ในอันดับสองและ ทรงดูแลช่วยเหลือผู้อื่นนอกเหนือจากการเรียกในหน้าที่ อย่างไม่เห็นแก่เหน็ด เหนื่อย ด้วยความรัก และมีประสิทธิภาพ ปัญหามากมายในโลกทุกวันนี้เกิด จากความเห็นแก่ตัวและการถือเอาตนเองเป็นใหญ่ซึ่งทำให้คนนักต่อนักเข้ม งวดกับชีวิตและคนอื่นๆ เพื่อสนองความต้องการของตน5

ยิ่งเราเข้าใจสี่งที่เกิดขึ้นจริงในพระชนม์ชีพของเยซูแห่งนาซาเร็ธในเกทเสมนึ และบนคัลวารี เราจะยิ่งเข้าใจความสำกัญของการเสียสละและความไม่เห็นแก่ ตัวในชีวิตเรา6

ภ้าเราเจริญรอยตาม [พระผู้ช่วยให้รอด] เราจะดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาไม่ใช่ ความกลัว ภ้าเรามีทัศนะต่อผู้คนเช่นเดียวกับพระองค์ เราจะรักคนเหล่านั้น เรา จะรับใช้พวกเขา และยื่นมือเช้าช่วยเหลือ—แทนที่จะรู้สืกกระวนกระวายใจและ กูกผู้อื่นคุกคาม7

บ่อยครั้งพระผู้เป็ีนเจ้าทรงตอบรับความต้องการของผู้อื่น ผ่านการกระทำเล็กๆ น้อยๆ จากการรับใช้ของเรา

เราจำเป็นต้องช่วยเหลือผู้ที่เราพยายามรับใช้เพื่อให้เขารู้ด้วยตนเองว่าพระผู้ เป็นเจ้ามิเพียงรักเขาเท่านั้นแต่ทรงเอาพระทัยใส่พวกเขาและความต้องการของ พวกเขาด้วย …

พระผู้เป็ืนเจ้าทรงสนพระทัยเรา และพระองค์ทรงดูแลเรา แต่ปกติพระองค์ จะทรงตอบรับความต้องการของเราผ่านผู้อื่น ด้วยเหตุนี้การรับใช้กันในอาณาจักร จึงสำคัญยิ่ง ผู้คนของศาสนาจักรต้องการความเข้มแข็ง การสนับสนุน และความ เป็นผู้นำของกันและกันในชุมชนของผู้เชื่ออันเป็นดินแดนของสานุศิษย์ ในพระ คัมภีร์คำสอนและพันธสัญญาเราอ่านว่าสำคัญเพียงใดที่จะ “… ช่วยคนอ่อนแอ ยกมือซึ่งตก และให้กำลังเข่าที่อ่อนเปลี้ย” (ค.พ. 81:5) บ่อยครั้งการกระทำ จากการรับใช้ของเราประกอบด้วยการให้กำลังใจง่ายๆ หรือการให้ความช่วย เหลือพื้นๆ ด้วยการทำงานพื้นๆ แต่ผลอันน่าชื่นชมยินดีจะหลั่งไหลมาจากการ ดำเนินงานพื้นๆ และจากการกระทำเล็กๆ น้อยๆ ทว่าตั้งใจ!…

ถ้าเรามุ่งเน้นหลักธรรมอันเรียบง่ายและการดำเนินงานอันเรียบง่ายในการรับ ใช้ เราจะเห็นว่าไม่นานขอบเขตองค์กรจะสูญเสียความสำคัญบางส่วน บ่อย เหลือเกินที่ในอดีตขอบเขตองค์กรในศาสนาจักรกลายเป็นกำแพงขัดขวางไม่ให้ เรายื่นมือช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเต็มสติกำลังเท่าที่เราควรทำ เราจะพบด้วยว่าเมื่อ เราสนใจชื่อเสียงขององค์กรหรือแต่ละบุคคลน้อยลงเราจะสนใจรับใช้ผู้ที่เราได้ รับมอบหมายให้ช่วยเหลือมากขึ้น เราจะพบด้วยว่าเราสนใจเอกลักษณ์ขององค์ กรน้อยลงและสนใจเอกลักษณ์ที่แห้จริงและดั้งเดิมของเรามากขึ้นในฐานะบุตร หรือธิดาของพระบิดาในสวรรค์ของเราและช่วยให้ผู้อื่นมืความรู้สึกเป็นส่วน หนึ่งเหมือนกับเรา8

เราควรใช้พรสวรรค์และความสามารถของเรารับใช้ผู้อื่น

ไม่ควรมีใครในพวกเราต้องทำงานมอบหมายอย่างเป็นทางการของศาสนา จักรจนไม่มืเวลาเหลือรับใช้เพื่อนบ้านอย่างเงียบๆ แบบชาวคริสต์9

เป็นเรื่องง่ายที่เราจะทำตัวให้เข้ากับโปรแกรมที่ตั้งไวันานแล้ว ทำสิ่่่่งที่เรียก ร้องให้เราทำ ทำงานครบชั่วโมง ร้องเพลงหลายครั้งและสวดอ้อนวอนหลายครั้ง แต่ท่านคงจำได้ พระเจ้าตรัสว่าผู้รับใช้ที่เกียจคร้านคือคนที่คอยรับคำสั่งในทุก เรื่อง [ดู ค.พ. 58:26]10

“ตามจริงแล้ว เรากล่าว มนุษย์ควรขวนขวายในอุดมการณ์ดี และทำหลาย สิ่่่่งด้วยความสมัครใจของเขาเอง และทำให้เกิดความชอบธรรมมาก” (ค.พ. 58:27)

มนุษย์ทุกคนได้รับพลังพิเศษและควรพัฒนาพลังเหล่านั้นภายในขีดจำกัดที่ แน่นอน ปลดปล่อยจินตนาการของเขา และไม่เป็นตรายาง เขาควรพัฒนาพร สวรรค์ ความสามารถ และสมรรถภาพให้ถึงที่สุดและใช้เพื่อเสริมสร้างอาณา จักร11

สมาชิกศาสนาจักรที่มีเจตคติของการปล่อยให้คนอื่นทำจะต้องรับผิดชอบ มาก มีคนจำนวนมากพูดว่า “ภรรยาผมทำงานศาสนาจักร!” หลายคนพูดว่า “ผมไม่ใช่คนประเภทเคร่งศาสนา” ราวกับว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้พยายามรับใช้ และทำหน้าที่ของเขา แต่พระผู้เป็นเจ้าประทานพรสวรรค์และเวลาให้เรา ประทานความสามารถที่ซ่อนอยู่และโอกาสให้เราใช้และพัฒนาในการรับใช้พระองค์ ด้วยเหตุนี้จึงทรงคาดหวังมากจากลูกๆ ที่มีเอกสิทธิ์เช่นเรา12

ในเรื่องต้นมะเดื่อไร้ผล (ดู มัทธิว 21:19) ต้นที่ไม่ให้ผลผลิตถูกสาปเพราะ ไม่ออกผล นับเป็นความสูญเสียอย่างยิ่งต่อบุคคลและต่อมวลมนุษย์ถ้าต้นองุ่น ไม่เติบโต ต้นไม้ไม่ออกผล จิตวิญญาณไม่ขยายผ่านการรับใช้! คนเราต้องมีชีวิต ไม่ใช่แค่ดำรงอยู่ เขาต้องทำ ไม่ใช่แค่เป็น เขาต้องเติบโต ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ เรา ต้องใช้พรสวรรค์เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ ไม่ใช่ฝังไว้ในอุโมงค์แห่งชีวิตที่ ถือเอาตนเองเป็นใหญ่13

นักสังเกตการณ์บางคนอาจสงสัยว่าทำไมเราเอาตนเองเช้าไปเกี่ยวช้องกับเรื่อง ง่ายๆ เช่นการรับใช้ผู้คนในโลกที่แวดล้อมไปด้วยปัญหานานัปการ แต่ช้อได้ เปรียบประการหนึ่งของพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์คือพระกิตติคุณให้มุม มองแก่เราเกี่ยวกับผู้คนบนดาวเคราะห์ดวงนี้ รวมถึงตัวเรา ทั้งนี้เพื่อเราจะเห็น สิ่งที่สำคัญจริงๆ และไม่ภูกฉุดเข้าไปในอุดมการณ์มากมายที่สำคัญน้อยกว่า ซึ่ง แย่งชิงความสนใจของมนุษย์…

ข้าพเจ้าขอแนะนำท่านว่าเมื่อท่านเลือกอุดมการณ์ซึ่งท่านจะสละเวลา พร สวรรค์ และทรัพย์สมบัติในการรับใช้ผู้อื่น จงเลือกอุดมการณ์ที่ดี ในอุดมการณ์ เหล่านี้มีมากมายซึ่งท่านจะอุทิศตนได้อย่างเสรีเต็มที่และซึ่งจะทำให้ท่านและ คนที่ท่านรับใช้ได้รับความปีติยินดีและความสุขอย่างมาก มีอุดมการณ์หลายอย่าง ซึ่งบางครั้งอาจดูเหมือนทันสมัยกว่าและอาจทำให้ท่านได้รับเสียงปรบมือของ โลก แต่โดยเนื้อแท้แล้วมักเป็นอุดมการณ์ที่เห็นแก่ตัวมากกว่า อุดมการณ์อย่าง หลังมักเกิดจากสิ่งที่พระคัมภีร์เรียกว่า “บทมัญญิติของมนุษย์” [มัทธิว 15:9] ไม่ใช่พระบัญญ้ติของพระผู้เป็นเจ้า อุดมการณ์เช่นนั้นมีคุณธรรมอยู่บ้างและมี ประโยชน์อยู่บ้าง แต่ไม่สำคัญเท่าอุดมการณ์ซึ่งมาจากการรักษาพระบัญญิติของ พระผู้เป็นเจ้า14

เยาวชนจะเจริญรุ่งเรืองเพราะมีโอกาส ให้การรับใชที่มีความหมาย

เราไม่ควรกลัวเมื่อขอให้เยาวชนของเรารับใช้เพื่อนมนุษย์ของเขาหรือเสียสละ เพื่ออาณาจักร เยาวชนของเรามีสำนึกของความเคร่งอุดมการณ์อยู่ในตัว และเรา ต้องไม่กลัวขณะขอให้เขาใช้ความเคร่งอุดมการณ์นั้นเมื่อเราเรียกให้เขารับใช้15

ขณะที่เราอ่านข่าวการทำผิดกฎหมายและอาชญากรรม… และขณะที่เราเห็น เด็กชายหญิงทำความผิดมากมายเหล่านี้ เราถามตัวเราว่าอะไรคือสาเหตุและ อะไรคือวิธีแล้ จากการสำรวจมามากพอสมควรเราเรียนรู้ว่าเยาวชนส่วนใหญ่ ปรารถนาความรับผิดชอบและจะเจริญรุ่งเรืองจากความรับผิดชอบนั้น

“เราจะทำอะไรได้บ้าง” [เยาวชน] ถาม …

ไปซื้อของ ทำงานในโรงพยาบาล ช่วยเหลือเพื่อนบ้าน … ล้างจาน ดูดฝุ่น บนพื้น จัดที่นอน ทำอาหาร ฝึกเย็บผ้า

อ่านหนังสือดีๆ ซ่อมแซมเครื่องเรือน ทำสิ่่่่งที่จำเป็นในบ้าน ทำความสะอาด บ้าน รีดผ้า กวาดใบไม้ โกยหิมะ16

เราเห็นถึง… ถึงความจำเป็นที่เราต้องให้โอกาสสำคัญๆ แก่เยาวชนชายของ เราอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายจิตวิญญาณของเขาในการรับใช้ โดยปกติเยาวชนชาย จะไม่กลายเป็นสมาชิกที่ไม่แข็งขันในศาสนาจักรเพราะเราให้เขาทำเรื่องสำคัญ มากเกินไป เยาวชนชายที่เห็นด้วยตาตนเองว่าพระกิตติคุณเกิดผลในชีวิตผู้คน จะไม่เดินออกจากหน้าที่ของเขาในอาณาจักรและปล่อยทิ้งไว้โดยไม่เหลียวแล17

ข้าพเจ้าหวังว่าเยาวชนหญิงของศาสนาจักรจะสร้างนิสัยของการรับใช้แบบ ชาวคริสต์แต่เนิ่นๆ ในชีวิต เมื่อเราช่วยผู้อื่นแล้ปัญหา เราจะมีมุมมองใหม่ใน ปัญหาของเรา เราขอให้พี่น้องสตรีของศาสนาจักร—ทั้งเยาว์วัยและสูงวัย— “ขวนขวาย”[ค.พ. 58:27] ในการกระทำเงียบๆ ของการรับใช้มิตรสหายและ เพื่อนบ้าน หลักธรรมทุกข้อของพระกิตติคุณมีพยานอยู่ในตัวว่าหลักธรรมเหล่า นี้เป็ีนความจริง ทำนองเดียวก้น การกระทำแห่งการรับใช้ไม่เพียงช่วยผู้ได้รับ ประโยชน์จากการรับใช้เท่านั้น แต่ผู้ให้การรับใช้ก็จะเข้มแข็งขึ้นด้วย18

การรับใช้ที่ไม่เห็นแก่ตัวนำราไปสู่ชีวิตที่บริบูรณ์

การรับใช้ผู้อื่นทำให้ชีวิตนี้ลึกซึ้งขึ้นและดีขึ้นขณะที่เราเตรียมดำเนินชีวิตใน โลกที่ดีกว่า เราเรียนรู้วิธีรับใช้โดยการรับใช้ เมื่อเรามีส่วนในการรับใช้เพื่อน มนุษย์ การกระทำของเราไม่เพียงช่วยพวกเขาเท่านั้น แต่เราจะมีมุมมองใหม่ขึ้น ในป้ญหาของเรา เมื่อเราสนใจผู้อื่นมากขึ้น เราจะมีเวลาสนใจตนเองน้อยลง ท่มกลางปาฏิหาริย์แห่งการรับใช้ มีคำสัญญาของพระเยซูที่ว่าเมื่อเราเพลินอยู่ ลับการรับใช้ เราจะพบตัวตนของเรา! [ดู มัทธิว 10:39]

เราไม่เพียง “พบ” ตัวตนของเราในแง่ของการยอมรับการนำทางจากสวรรค์ ในชีวิตเราเท่านั้น แต่ยิ่งเรารับใช้เพื่อนมนุษย์ในวิธีที่เหมาะสม จิตวิญญาณของ เราจะยิ่งมีแก่นสารมากขึ้น เราจะเป็นบุคคลที่มีความหมายมากขึ้นเมื่อเรารับใช้ ผู้อื่น เราจะมีแก่นสารมากขึ้นเมื่อเรารับใช้ผู้อื่น—โดยแท้แล้ว เราจะ “พบ” ตัว ตนของเราง่ายขึ้นเพราะมีให้เราพบมากกว่าเดิมมาก!

… ชีวิตที่บริบูรณ์ดังกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ [ดู ยอห์น 10:10] คือผลลัพธ์ทาง วิญญาณซึ่งได้จากการกระทำมากมายเพื่อรับใช้ผู้อื่นและใช้พรสวรรค์ของเราใน การรับใช้พระผู้เป็นเจ้าและมนุษย์ ท่านคงจำได้ พระเยซูตรัสว่ากฎทุกข้อและ ศาสดาทุกคนล้วนขึ้นอยู่กับพระบัญญ้ตสองข้อใหญ่ และพระบัญญ้ติสองข้อนั้น เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรักของเราต่อพระผู้เป็นเจ้า ต่อต้วเรา ต่อเพื่อนบ้าน และต่อมนุษย์ทั้งปวง [ดู มัทธิว 22:36–40] ไม่มีความบริบูรณ์ที่แท้จริงเกิดขึ้น ในชีวิตที่ไม่สัมพันธ์กับการรักษาและดำเนินตามพระบัญญ้ติข้อใหญ่สองข้อนี้

หากวีธิที่เราดำเนินชีวิตไม่ดึงเราให้เข้าใกล้พระบิดาบนสวรรค์และเพื่อนมนุษย์ ของเรา ชีวิตเราคงจะมีความอ้างว้างมาก ต้วอย่างเช่น ข้าพเจ้าตกใจเมื่อเห็นรูป แบบชีวิตของผู้คนมากมายในทุกวันนี้เป็นเหตุให้เขาต้ดขาดจากครอบครัว มิตร สหาย และคนวัยเดียวกันแล้วหันไปเสาะแสวงหาความพึงพอใจหรือวัตถุนิยม โดยไม่สนใจใคร ความภักดีต่อครอบครัว ต่อชุมชน และประเทศชาติมักจะถูก ผลักไว้ข้างๆ เพื่อเสาะแสวงหาสิ่งอื่นซึ่งเข้าใจผิดคิดว่าจะทำให้เขามีความสุขทั้ง ที่ความจริงแล้วความเห็นแก่ตัวคือการเสาะแสวงหาความพึงพอใจที่เป็นปัญหา ซึ่งผ่านพ้นไปเร็วมาก ความแตกต่างประการหนึ่งระหว่างความปีติยินดีที่แท้จริง กับความพึงพอใจคือเราจะได้ความพึงพอใจก็ต่อเมื่อต้องแลกกับความเจ็บปวด ของคนบางคน ตรงกันข้าม ความปีติยินดีเกิดจากความไม่เห็นแก่ตัวและการรับ ใช้ เป็นคุณประโยชน์และไม่ทำร้ายใคร19

ข้าพเจ้ารู้จักชายคนหนึ่งที่คิดเพื่อตนเองและคิดถึงตนเองมาตลอดสามในสิ่ ของศตวรรษ… เขาพยายามรักษาชีวิตไว้ให้ตนเอง และเก็บสิ่งดีๆ ทั้งหมดของ ชีวิตไว้เพื่อความเจริญและความเพลิดเพลินของตน ที่น่าแปลกพอๆ กันคือขณะ ที่เขาพยายามรักษาชีวิตไว้ให้ตนเองนั้น … เขากลับหวาดหวั่น สูญเสียเพื่อน และครอบครัวหลบหน้าเขาเหมือนเขาเป็นคนน่าเมื่อ

และบัดนี้ ขณะที่ชีวิตค่อยๆ เสิ่อมถอย เขาพบตนเองอยู่ตามลำพัง ถูกทอด ทิ้ง ขมขื่น ไม่มีคนรัก และไม่มีคนสรรเสริญ และด้วยความเวทนาตนเอง เขา ยังคงนึกถึงแต่บุคคลคนเดียวเท่านั้น นั่นก็คือตัวเขาเอง เขาพยายามเก็บเวลา พรสวรรค์ และทรัพย์สินเงินทองไว้ให้ตัวเขาเอง เขาสูญเสียชีวิตที่บริบูรณ์

ตรงกันข้าม ข้าพเจ้ารู้จักชายอีกคนหนึ่งที่ไม่เคยนึกถึงตนเองเลย ความปรารถนาทั้งหมดของเขาคือการคุ้มครองและความพึงพอใจของคนรอบข้าง ไม่มี ภาระหน้าที่ใดใหญ่หลวงเกินไป ไม่มีการเสียสละใดมากเกินกว่าที่เขาจะทําเพื่อ เพื่อนมนุษย์ ทรัพย์สินเงินทองของเขาช่วยบรรเทาทุกข์ทางกาย ความโอบอ้อม อารีของเขาและความเห็นอกใจเห็นใจผู้อื่นทำให้เกิดความสบายใจ ความร่าเริง ยินดี และความกล้าหาญ ที่ใดมีผู้คนทุกข์ยาก เขาอยู่ที่นั่น ให้กำลังใจคนท้อแท้ ฝังคนตาย ปลอบโยนผู้สูญเสีย และพิสูจน์ตนว่าเป็นเพื่อนในยามยาก เขาทุ่ม เทเวลา ทรัพย์สินเงินทอง และพลังงานของเขาให้คนที่ต้องการความช่วยเหลือ เขาสละตนเองโดยไม่มีอะไรผูกมัด การกระทำเช่นนี้เพิ่มพลังทำดีให้แก่สภาพที่ เจริญพัฒนาทางจิตใจ ร่างกาย และสืลธรรมของเขาจนถึงวัยไม้ใกล้ฝั่ง เพิ่ม ตัวอย่างและแรงบันดาลใจให้คนมากมาย เขาพัฒนาและเติบโตจนผู้คนทุกแห่ง หนเปล่งเสียงต้อนรับเขา รักเขา และชื่นชมเขา เขาสละชีวิตและพบชีวิตที่ บริบูรณ์อย่างแห้จริง20

ขณะที่สภาวการณ์แสดงให้เห็นชัดเจนมากขึ้นถึงความแตกต่างระหว่างทาง ของโลกกับทางของพระผู้เป็นเจ้า ศรัทธาของสมาชิกศาสนาจักรก็จะได้รับการ ทดสอบอย่างจริงจังมากขึ้นด้วย สิงสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่เราทำได้คือแสดงประ จักษ์พยานผ่านการรับใช้ ซึ่งจะทำให้เกิดการเติบโตทางวิญญาณ มีปณิธานแน่ว แน่มากขึ้น และมีสมรรถภาพมากขึ้นในการรักษาพระบัญญัติ …

มีความนั่นคงมากในความเข้มแข็งทางวิญญาณ และเราจะมีความเข้มแข็ง ทางวิญญาณไม่ได้หากปราศจากการรับใช้!21

ภ้าเราแสวงหาความสุขที่แท้จริง เราต้องใช้พลังงานของเราเพื่อจุดประสงค์ที่ ใหญ่กว่าประโยชน์ในส่วนของตัวเราเอง ขอให้เราไตร่ตรองร่วมกับการสวดอ้อน วอนว่าเราจะรับใช้ครอบครัว เพื่อนบ้าน และเพื่อนสิทธิชนอย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยความรักได้อย่างไร22

ข้อเลนอแนะสำหรับคึกษาและสอน

พิจารณาแนวคิดต่อไปนี้ขณะศึกษาบทเรียนหรือขณะเตรียมสอน ดูความช่วย เหลือเพิ่มเติมได้ที่หน้า ⅴ–ⅸ

  • อ่านทวนเรื่องราวในหน้า 87–89 พิจารณาผลจากการกระทำอันเรียบง่ายซึ่ง เป็นความเมตตาของประธานคิมมัลล์ เราเรียนรู้อะไรบ้างจากวิธีที่ท่านรับใช้

  • ท่านจะอธิบายวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงรับใช้ผู้อื่นอย่างไร (ดูตัวอย่างหน้า 89) เราทำอะไรได้บ้างเพื่อทำตามแบบอย่างของพระองค์

  • อ่านย่อหน้าที่สองในหน้า 90 พระผู้เป็นเจ้าทรงตอบรับความต้องการของท่าน ผ่านผู้อื่นเมื่อใด เราจะทำอะไรได้บัางเพื่อให้เราพร้อมที่จะตอบรับความต้อง การของผู้อื่น

  • อ่านทวนหน้า 90–92 พอสังเขปเพื่อหาอุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้เรารับใช้อย่าง ไม่เห็นแก่ตัว เราจะเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ได้อย่างไร

  • ประธานคิมบัลล์สอนว่าเยาวชนต้องมีโอกาสรับใช้ (หน้า 92–93) เหตุใดจึง เป็นเช่นนั้น บิดามารดาและผู้นำศาสนาจักรจะทำอะไรได้บัางเพื่อจัดหาโอกาส สำคัญๆ ให้เยาวชนรับใช้

  • ท่านคิดว่าการมี “ชีวิตที่บริบูรณ์” หมายถึงอะไร (ดูตัวอย่างในหน้า 93–95) เหตุใดการรับใช้ที่ไม่เห็นแก่ตัวจึงนำไปสู่ชีวิตที่บริบูรณ์

ข้อพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง: มัทธิว 25:40; ยากอบ 1:27; โมไซยา 2:17; 4:14–16; ค.พ. 88:123

อ้างอิง

  1. ดู “Small Acts of Service,” Ensign, Dec. 1974, 7.

  2. Edward L. Kimball and Andrew E. Kimball Jr., Spencer W. Kimball (1977), 334.

  3. ใน Gordon B. Hinckley, “Do Ye Even So to Them,” Ensign, Dec. 1991, 5.

  4. Regional representatives’ seminar, Mar. 30, 1979, Archives of The Church of Jesus Christ of Latter-day Saints, 3.

  5. “Jesus: The Perfect Leader,” Ensign, Aug. 1979, 6.

  6. “The Abundant Life,” Ensign, July 1978, 7.

  7. Ensign, July 1978, 5–6.

  8. Ensign, Dec. 1974, 4, 5, 7.

  9. ใน Conference Report, Apr. 1976, 71; หรือ Ensign, May 1976, 47.

  10. The Teachings of Spencer W. Kimball, ed. Edward L. Kimball (1982), 257.

  11. “How to Evaluate Your Performance,” Improvement Era, Oct. 1969, 16.

  12. The Miracle of Forgiveness (1969), 100.

  13. “President Kimball Speaks Out on Service to Others,” New Era, Mar. 1981, 49.

  14. Ensign, July 1978, 4, 5.

  15. “President Kimball Speaks Out on Being a Missionary,” New Era, May 1981, 48.

  16. ใน Conference Report, Oct. 1963, 38—39; หรือ Improvement Era, Dec. 1963, 1073.

  17. ใน Conference Report, Apr. 1976, 68–69; หรือ Ensign, May 1976, 45.

  18. “Privileges and Responsibilities of Sisters,” Ensign, Nov. 1978, 104.

  19. Ensign, July 1978, 3, 4.

  20. The Teachings of Spencer W. Kimball, 250–51.

  21. Ensign, Dec. 1974, 5.

  22. “Seek Learning, Even by Study and Also by Faith,” Ensign, Sept. 1983, 6.

President Kimball holding child

การกระทำอันเรียขง่ายซึ่อเกิ๑ลากดวามเมตตาของประธานดิมบัลล์ ที่สนามบินซิคาโกมีพลกระทบยาวไกล

boy washing window

“เราไม่ควรกลัวเมื่วขวให้เยาวชนรัขใช้เพื่อนมนุษย์ของเขาหรือเสียสละเพื่ออาณาจักร”