ชีวิตและการปฏิบัติศาสนกิจ ของสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์
ในช่วงเย็นวันหนึ่งของฤดูใบไม้ร่วงต้นทศวรรษ 1900 ออร์วิลล์ อัลเลนแวะ ส่งฟักทองที่บ้านของแอนดรูว์ คิมบัลล์ ขณะที่ชายทั้งสองช่วยกันขนฟักทอง อยู่นั้น พวกเขาบังเอิญได้ยินสเป็นเซอร์บุตรชายของแอนดรูว์กำลังร้องเพลงอยู่ ในโรงนาขณะรีดนมวัว บราเดอร์อัลเลนพูดกับแอนดรูว์ว่า “ลูกชายคุณต้องมี ความสุขแน่เลย” แอนดรูว์ตอบว่า “ครับ เขามีความสุขเสมอ เขาเป็นเด็ก สะอาดและเชื่อฟัง เขาเอาใจใส่งานที่ผมขอให้ทำเสมอ ผมอุทิศเขาให้พระเจ้า และการรับใช้พระองค์ สักวันหนึ่งเขาจะต้องเป็นบุรุษผู้เกรียงไกรในศาสนาจักร แน่นอน”1
การเตรียมตลอดหลายปีที่ผ่านมาทำให้สเป็นเซอร์กลายเป็นบุรุษผู้เกรียงไกร พระเจ้า “มิได้ทรงเตรียมนักธุรกิจ หรือนายกเทศมนตรี หรือนักพูด หรือกวี หรือนักดนตรี หรือครูเท่านั้น—แม้ท่านจะเป็นทั้งหมดนี้ แต่พระองค์ทรงเตรียม บิดา ปิตุของครอบครัว อัครสาวกกับศาสดา และประธานศาสนาจักรของ พระองค์ด้วย”2
ต้นตระกูล
ครอบครัวของสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมนัลล์หยั่งรากลึกในศาสนาจักรที่ได้ รับการฟื้เนฟู ปู่ย่าตายายของท่านมีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์สมัยต้นของงานยุค สุดท้าย ฮีเบอร์ ซี. คิมมัลล์ได้รับเรียกสู่โควรัมอัครสาวกสิบสองเมื่อครั้งจัดตั้ง ในปื ค.ศ. 1835 ต่อมาเขาไต้รับใช้เป็นที่ปรึกษาที่หนึ่งของประธานบริดัม ยัง นานกว่าสองทศวรรษและเป็นผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพระเจ้าตลอดการปฏิบัติ ศาสนกิจของเขา เอ็ดวิน ดี. วูลลีย์ คุณตาของสเป็นเซอร์เคยนับถือศาสนาเคว เคอร์ในเพนซิลเวเนียและน้อมรับพระกิตติคุณในสมัยโจเซฟ สมิธ เขาเป็นอธิการที่น่าเคารพในหุบเขาซอลท์เลค เขาเคยเป็นผู้จัดการธุรกิจส่วนตัวของบริอัม ยังหลายครั้ง ความห่วงใยคนขัดสนและการอุทิศตนแน่วแน่ต่อพระกิตติคุณคือ มรดกอันยั่งยืนของอธิการวูลลีย์ที่ตกทอดมาสู่ลูกหลาน
แอนน์ อลิซ กีน คิมบัลล์คุณย่าของสเป็นเซอร์เป็น “สตรีที่ซื่อสัตย์ … เหนียมอายเมื่อเข้าสังคม รูปร่างสูงและสีหน้าเรียบเฉย มีเมตตาต่อคนอ่อนแอ และคนเจ็บป่วย”3 แอนดรูว์ คิมบัลล์เป็นบุตรชายคนที่สามของเธอ แมรีย์ แอนน์ โอลพิน วูลลีย์คุณยายของสเป็นเซอร์มาจากประเทศอังกฤษและเป็น มารดาของบุตรสิบเอ็ดคน คนที่หกชื่อโอลีฟ
แอนดรูว์ คิมบัลล์แต่งงานอัมโอลีฟ วูลลีย์เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1882 ในซอลท์เลคซิตี้ พวกเขาสร้างครอบครัวที่นั่น อีกสามปืต่อมา แอนดรูว์ ได้รับการเรียกให้จากครอบครัวไปรับใช้ในคณะเผยแผ่เขตปกครองชาวอินเดียน แดง ตั้งอยู่ในรัฐโอคลาโฮมาปัจจุบัน หลังจากรับใช้เป็นผู้สอนศาสนาเต็มเวลา สองปืครึ่ง เขาก็ได้รับเรียกให้เป็นประธานคณะเผยแผ่ การเรียกใหม่ทำให้เขาได้ อยู่บ้าน และด้วยเหตุนี้เขาอับครอบครัวจึงพำนักในยูท่าห์ติดต่ออัน 10 ปีขณะ กำอับดูแลงานเผยแผ่ผ่านจดหมายและการเดินทางไปกลับในเขตนั้น
การรับใช้ของแอนดรูว์ไนคณะเผยแผ่เขตปกครองชาวอินเดียนแดงนานร่วม 12 ปีตามมาติดๆ ด้วยการเรียกอีกอย่างหนึ่ง ครั้งนี้ต้องไปตั้งรกรากในหุบเขา กิลาทางภาคใต้ตอนกลางของแอริโซนา ที่นั่นเขาเป็นประธานสเตคดูแลถิ่นฐาน สิทธิชนยุคสุดท้ายของภูมิภาคดังกล่าว ซึ่งได้รับการจัดตั้งเป็นสเตคเซนด้โจเซฟ คริสต์ศักราช 1898 แอนดรูว์กับโอลีฟพร้อมบุตรหกคน (รวมทั้งสเป็นเซอร์วัย สามขวบ) ช่วยกันเก็บข้าวของออกเดินทาง 600 ไมล์จากซอลท์เลคซิตี้ไปภาค ใต้
วัยเยาว์
สเป็ีนเซอร์ วูลลีย์ คิมบัลล์เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1895 เป็นบุตร คนที่หกในจำนวนบุตรสิบเอ็ดคนของแอนดรูว์และโอลีฟ คิมบัลล์
เมื่อหวนนึกถึงภูมิทัศน์แถบแอริโซนาครั้งเยาว์วัย ท่านเขียนว่า “ชนบทแถบ นั้นแห้งแล้ง แม้กระนั้นยังให้ผลผลิตอันอุดมด้วยมือของแรงงานที่เด็ดเดี่ยว”4 ท่านจำได้อีกว่า “เราอาศัยอยู่ที่ฟาร์มขนาดเล็กตรงรอยต่อทางทิศใต้ของเมือง แททเชอร์ รัฐแอรีโซนา บ้านของเราอยู่ตรงหัวมุม ทางทิศใต้และทิศตะวันออก ติดกับฟาร์มขนาดใหญ่ หลังบ้านมีบ่อนํ้า เครื่องสูบนํ้า กังหันลม กังไม้ ขนาดใหญ่สำหรับเก็บนํ้า โรงเก็บเครื่องมือ มีที่ข้างหลังอีกเล็กน้อย และฟืน กองโต แล้วก็มีเล้าหมู คอกสัตว์ กองฟาง และฉางข้าว”5
สเป็นเซอร์เรียนรู้บทเรียนพระกิตติคุณที่สำคัญตั้งแต่เยาว์วัยจากบิดามารดา ของท่าน “ข้าพเจ้าจำได้สมัยเด็ก” ท่านกล่าว “ข้าพเจ้าเดินกับคุณแม่บนถนน ฟุ่นตลบไปบ้านของอธิการในสมัยที่เรามักจะจ่ายส่วนสิบจากสัตว์และผลตผล ขณะเดินไปด้วยกัน ข้าพเจ้าถามว่า ‘เราเอาไข่ไปให้อธิการทำไมครับ’ ท่านตอบ ว่า ‘เพราะไข่คือส่วนสิบจ้ะและอธิการรับส่วนสิบแทนพระบิดาบนสวรรค์’ จาก นั้นคุณแม่จะเล่าว่าทุกๆ เย็นเมื่อได้ไข่มา ท่านจะนับไข่ฟองแรกใส่ตระกร้าใบ เล็ก และนับเกัาฟองต่อมาใส่ตะกร้าใบใหญ่”6
ตัวอย่างการรับใข้อย่างอุทิศตนของแอนดฐว์ คิมนัลล์มีอิทธิพลมากมายต่อ สเป็นเซอร์ผู้กล่าวในภายหลังว่า “ความประทับใจครั้งแรกของข้าพเจ้าต่อการ ทำงานของประธานสเตคมาจากการสังเกตคุณฟ่อ … ข้าพเจ้าเชื่อว่าคุณพ่อคอย รับใช้ช่วยเหลือผู้คนจนท่านบรรลุถึงพรที่ประธานโจเซฟ เอฟ. สมิธสัญญาว่า ผู้คนในหุบเขากิลาจะ ‘พึ่งคุณพ่อเหมือนลูกพึ่งพ่อแม่’ ถึงแม้ตอนนั้นข้าพเจ้าจะ ไม่ซาบซึ้งในแบบอย่างของท่านเท่าใดนัก แต่มาตรฐานที่ท่านวางไว์คือมาตร ฐานที่ดู่ควรกับประธานสเตคทุกคน”7
ครอบครัวคิมนัลล์มีความเป็นอยู่เรียบง่าย “เราไม่รู้ว่าเรายากจน” สเป็นเซอร์ จำได้ “เราคิดว่าเรามีความเป็นอยู่ดีพอสมควร”8 พวกเขาเย็บเสื้อผ้าใส่เองและ รับช่วงกันเป็นทอดๆ รับประทานอาหารพื้นๆ ประกอบด้วยเนื้อและผลิตผลที่ เพาะปลูกและเลี้ยงไว้บนที่ดินของตน
สเป็นเซอร์ช่วยงานเล็กๆ น้อยๆ รอบฟาร์ม “ข้าพเจ้าเคยใช้มือสูบนํ้ารด สวน” ท่านเล่า “ฟึกรีดนมวัว ลิดกิ่งไม้ผล ซ่อมรั้ว และอื่นๆ ข้าพเจ้ามีพี่ชาย สองคน และเคยคิดว่าพวกเขาทำแต่งานง่ายๆ เหลืองานยากๆ ไว้ให้ข้าพเจ้าทำ แต่ข้าพเจ้าไม่บ่น เพราะทำให้ข้าพเจ้าแข็งแรง”9 เมื่ออายุเก้าขวบ สเป็นเซอร์เริ่ม ท่องหลักแห่งความเชื่อ พระบัญญัติสิบประการ และเพลงสวดส่วนใหญ่จาก เพลงสวดของศาสนาจักรขณะรีดนมวัวและตักนํ้าให้ม้ากินในแต่ละวัน
เมื่อสเป็นเซอร์อายุ 11 ขวบ มารดาท่านถึงแก่กรรม นี่คือการทดลองครั้ง ใหญ่ครั้งหนึ่งของชีวิตวัยเด็กของท่าน ท่านสงสัยว่าครอบครัวจะอยู่ต่อไปอย่างไร “แต่ข้าพเจ้าพบในตอนนั้น” ท่านกล่าว “เช่นที่เคยพบมาแล้วหลายครั้งนับแต่ นั้นว่าคนเราอดทนได้แทบทุกเรื่อง”10 ในที่สุด แอนดรูว์ คิมบัลล์ก็แต่งงานใหม่ และโจเซฟีน คลัฟฟ์กลายเป็นมารดาเลี้ยงของสเป็นเซอร์ “ใจซี” อันเป็นชื่อ ที่เพื่อนๆ เรียกขาน ไม่สามารถแทนที่โอลีฟได้ทั้งหมดในชีวิตสเป็นเซอร์ แต่ ความอดทนและสติปัญญาของเธอเพิ่มความมั่นคงให้แก่ครอบครัวคิมบัลล์
ในช่วงวัยเยาว์ สเป็นเซอร์ไม่เพียงเรียนรู้การทำงานหนักในผืนดินขรุขระ เท่านั้นแต่ได้เก็บเกี่ยวทักษะหลายอย่างที่เตรียมท่านให้พร้อมจะรับใช้งานสำคัญ ยิ่งขึ้นในเวลาต่อมา ท่านฟึกร้องเพลงและนำเพลง และได้รับแต่งตั้งเป็นนัก ร้องสเตคเมื่ออายุ 15 ปื แม้ท่านจะมีนิ้วมือที่ท่านบรรยายว่าทั้ง “สั้นและ ป้อม”11 แต่ท่านก็มุมานะฟึกอ่านโน้ตและเล่นเปืยโน ท่านฟึกฝนจนเก่งสามารถ เล่นเพลงสวดและอยู่ในวงออร์เคสตราขนาดเล็ก หลายปืต่อมา ท่านกับเอ็ลเดอร์ฮาโรลด์ บี. ลีสลับกันเป็นผู้บรรเลงเปืยโนสำหรับการประชุมประจำสัปดาห์ ของโควรัมอัครสาวกสิบสอง
สเป็นเซอร์เริ่มเรียนหนังสือข้ากว่าคนส่วนใหญ่ ตามที่เล่าไว้ในเรื่องราวต่อ ไปนื้ “คุณแม่ของสเป็นเซอร์คิดว่าลูกยังไม่โตพอจะไปโรงเรียนจนกว่าจะอายุ เจ็ดขวบ ด้วยเหตุนี้เมื่อสเป็นเซอร์เริ่มเรียนท่านจึงอายุแก่กว่าเด็กคนอื่นหนึ่งปื … ตอนเที่ยงท่านนักจะวิ่งเป็นระยะทางสามช่วงตึกจากโรงเรียนกลับม้านไป สูบนํ้าให้สัตว์ ให้อาหารหมู และกินอาหารกลางวัน วันหนึ่งคุณแม่ถามว่า ‘ลูก มาทำอะไรที่บ้าน นี่ยังไม่เที่ยงเลย’ ท่านวิ่งกลับไปโรงเรียนด้วยความตกใจและ พบว่าเพื่อนร่วมชั้นเข้าห้องเรียนหลังจากหยุดพักช่วงสั้นๆ กันหมดแล้ว ทุกคน หัวเราะ—ยกเว้นครูผู้ถือโอกาสนั้นบอกชั้นเรียนว่าสเป็นเซอร์ลํ้าหน้าเด็กมักเรียน ทุกคนในชั้นประถมปืที่สองและจะย้ายไปอยู่กับเด็กวัยเดียวกัน”12
หลังจากจบโรงเรียนประถม สเป็นเซอร์ไปเข้าเรียนโรงเรียนมัธยมกิลาของ ศาสนาจักร ที่นั่นท่านสอบได้คะแนนดีเสมอต้นเสมอปลาย มีส่วนร่วมในกีฬา และเป็นเจ้าหน้าที่โรงเรียน
สเป็นเซอร์เติบใหญ่โดยมีประสบการณ์ไนศาสนาจักรด้วยและเข้าร่วมการ ประชุมเกือบทุกครั้ง การปฏิบัติงานมอบหมายฐานะปุโรหิตมีความสำคัญเป็น อันแรก ดังตัวอย่างในเรื่องราวต่อไปนี้ “งานส่วนหนึ่งของมัคนายกคือทุกเดือน ก่อนวันอดอาหารพวกเขาต้องผูกม้าเข้ากับรถน้าขนาดเล็กแล้วไปแวะทีละบ้าน เพื่อรวบรวมเงินหรือของบริจาคสำหรับคนยากจนของศาสนาจักร หลังจากนั้น จะนำสิ่งที่รวบรวมได้ไปให้อธิการ—โถผลไม้ แป้ง นํ้าผลไม้ นํ้าผึ้ง บางครั้งก็ เงินครึ่งดอลลาร์หรือเศษสตางค์ แอนดรูว์สอนหน้าที่นี้ให้ลูกชายด้วยความกระ ตือรีอร้นจนไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางการรวบรวมของสเปืนเซอร์ในวันนั้นได้ ม้าและ รถม้าของตระกูลคิมบัลล้ไม่เคยติดธุระจนมัคนายกใช้ทำงานโควรัมไม่ได้ ก้าเด็ก คนอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ไปด้วยไม่ปรากฎตัว สเป็นเซอร์จะไปตามลำพังและ ทำงานจนเสร็จ”13
นอกจากบ้าน โรงเรียน และความรับผิดชอบในศาสนาจักรแล้ว สเป็นเซอร์ ยังทำหน้าที่เลขานุการให้คุณพ่อด้วย แอนดรูว์เขียนจดหมายหลายฉบับ เฉลี่ย วันละหกฉบับ สเป็นเซอร์จะจดตามคำบอกของคุณพ่อและพิมพ์ออกมาเป็นจด หมาย
ประสบการณ์เหล่านี้จากชีวิตในวัยเยาว์ของสเปืนเซอร์สอนท่านให้รู้ถึงคุณค่า ของการทำงาน ซึ่งเปืนบทเรียนที่ท่านนำมาใช้และสอนตลอดชีวิตท่าน หลาย ปืต่อมาในฐานะอัครสาวกวัย 70 กว่าๆ มีบางวันที่ท่านรู้สืกเหน็ดเหนื่อยเมื่อย ล้า มีอยู่วันหนึ่งที่ท่านเขียนว่า “ข้าพเจ้าเริ่มต้นวันในสภาพที่แย่มากพลางสงสัย ว่าข้าพเจ้าจะผ่านวันนั้นไปได้หรือไม่ แต่ … ดูเหมือนข้าพเจ้าจะง่วนอยู่กับงาน จนลืมนึกถึงตนเองและนั่นเป็นวันที่ดีวันหนึ่ง”14
การรับใช้ป็นผู้สอนศาสนา
คริสต์ศักราช 1914 สเป็นเซอร์สำเร็จการสืกษาจากโรงเรียนมัธยมกิลา โดย ตั้งใจว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยแห่งแอริโซนาในฤดูใบไม้ร่วง แด่ระหว่างพิธีสำเร็จ การสืกษา แอนดรูว์ คิมบัลล์ประกาศว่าสเป็นเซอร์ต้องได้รับเรียกไปทำงานเผย แผ่
ระหว่างเตรียมทำงานเผยแผ่ สเป็นเซอร์ไปรับจ้างเป็นคนงานในโรงรีดนมที่ เมืองโกลบ รัฐแอรีโซนา นึ่เป็นประสบการณ์ครั้งแรกของการอยู่นอกถิ่นฐาน ลัทธิชนยุคสุดท้ายแห่งหุบเขากิลา ท่านพบว่าท่านสามารถปรับตัวเข้ากับคนรอบ ข้างที่มาตรฐานของพวกเขาไม่สอดคล้องกับของท่านได้โดยไม่ต้องลดหย่อน มาตรฐานของตนเอง ท่านเป็นที่เคารพนับถือของผู้ร่วมงาน ปลายฤดูร้อน เจ้า นายที่ไม่ใช่ลัทธิชนยุคสุดท้ายและชอบสูบซิการ์ได้จัดงานเลี้ยงอำลาสเป็นเซอร์ พร้อมมอบนาฬิกาข้อมือเรือนทองสลักลายให้ท่าน
ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1914 ถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1916 สเป็นเซอร์รับ ใข้เป็นผู้สอนศาสนาเต็มเวลาในคณะเผยแผ่เซ็นทรัลสเตทส์ ซึ่งมืศูนย์ไหญ่ใน อินดิเพนเดนซ์ มิสซูรี เขตเดียวกับที่บิดาท่าน มารดาเลี้ยง และพี่ชายคนหนึ่ง ของท่านเคยรับใช้
การรับใช้เต็มเวลาของเอ็ลเดอร์คิมบัลล้ในสนามเผยแผ่คือช่วงเวลาของการ เติบโต ท่านเผชิญการท้าทายทางกาย ประธานคณะเผยแผ่ของท่านบอกเหล่า เอ็ลเดอร์ให้ขออาหารและที่พักจากคนที่พวกเขาสอนศาสนา ด้วยเหตุนี้ จึงมี หลายคืนที่เอ็ลเดอร์คิมบัลล์ด้องนอนในเพิงเล็กๆ บริเวณป่าไม้ของมิสซู่รีกับ พวกหมัดและเรือดขณะยุงบินว่อนอยู่รอบตัว มีหลายวันที่หิวโหย และเมื่อได้ อาหาร ท่านจะกินทุกอย่างที่ขวางหน้า
การติดต่อทีละม้านเป็นงานหมัก และได้รับความสำเร็จไม่มาก มีเรื่องเล่าอยู่ เรื่องหนึ่งถึงวิธีที่ไม่ธรรมดาที่เอ็ลเดอร์คิมบัลล์เคยใช้ ดังนี้
“ขณะหาผู้สนใจในเซนต์หลุยส์ ท่านเห็นเปืยโนตัวหนึ่งผ่านช่องประตูที่แง้ม อยู่ และท่านพูดกับสตรีที่กำลังจะปืดประตูใสํหน้าท่านว่า ‘คุณมีเปืยโนสวยมาก’
“ ‘เราเพิ่งซื้อมา, สตรีผู้นั้นพูดอํ้าๆ อึ้งๆ
“ ‘ยี่ห้อคิมบัลล่ใช่ไหมครับ นั่นเป็นชื่อของผมด้วย ผมอยากจะเล่นเปืยโน ให้ฟังสักเพลงเผื่อคุณจะชอบ’
“แปลกนะที่เธอตอบรับ่ได้ค่ะ เขามาสิคะ’
“สเป็นเซอร์นั่งเล่นเปืยโนและร้องเพลง ‘โอ้พระบิดา’
“เท่าที่สเป็นเซอร์ทราบ เธอไม่เคยเช้าร่วมศาสนาจักร แต่นั่นไม่ใช่เพราะ ท่านไม่พยายาม”15
งานเผยแผ่ของสเป็นเซอร์ช่วยเสริมสิ่งที่ท่านได้จากการอบรมเลี้ยงตูในแอริโซนา นั่นก็คือ ศรัทธาในพระเจ้า ทำงานหมัก อุทิศตน รับใช้อย่างเงียบๆ และ เสืยสละ
ชีวิตแต่งงานและครอบครัว
ในฤดูร้อนคริสต์ศักราช 1917 ประมาณเจ็ดเดือนหลังจากสเป็นเซอร์ คิมบัลล์ กลับจากงานเผยแผ่ ท่านเห็นประกาศลงหนังสือพิมพ์ห้องถิ่นฉบับหนึ่ง คามิกลา อายริงก์ซึ่งย้ายมาอยู่หุบเขากิลาในปื ค.ศ. 1912 พร้อมกับครอบครัวจะสอน วิชาเคหศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมกิลา ขณะที่สเป็นเซอร์อ่านบทความกลับไป กลับมา ท่านตั้งใจว่าสักวันหนึ่งจะแต่งงานกับคาบิลลา อายริงก์ให้ได้ ท่านพบ เธอรอรถอยู่ตรงป้ายจอดรถประจำทางใกล้โรงเรียนโดย “บังเอิญ” และเริ่มการ สนทนา ท่านนั่งกับเธอบนรถประจำทาง ทั้งสองคุยกันติดพัน และเธออนุญาต ให้ท่านแวะเยี่ยมเธอที่ม้าน
คุณแม่ของคามีลลาชอบเด็กหนุ่มสเป็นเซอร์ คิมบัลล์มาก เธอชวนท่านรับ ประทานอาหารเย็นทุกครั้งที่ท่านแวะมาเยี่ยมคามิลลา ส่วนบราเดอร์อายริงก์ซึ่ง เป็นคนเข้มงวดมากเกี่ยวกับคุณสมบ้ติฃองผู้จะมาสู่ฃอบุตรสาวแต่งงานก็ไม่คัด ค้านแต่อย่างใด 31 วันต่อมาสเป็นเซอร์กลายเป็นแขกประจำบ้านอายริงถ์ ทั้ง คู่ตัดสินใจแต่งงานกัน แต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบถึงแผน ของพวกท่าน สเป็นเซอร์จำต้องอยู่ในเมืองแททเชอร์ รัฐแอริโซนาเพื่อรอเกณฑ์ ทหาร ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถเดินทางไปพระวิหารในยูท่าห์ไต้ พวกท่านแต่งงาน ตามกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917 แต่ตั้งใจว่าจะผนึกในพระ วิหารใบ้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วไต้ เป้าหมายตังกล่าวเป็นจริงในเดือนมิถุนายนปืกัด มาที่พระวิหารซอลท์เลค
สเป็นเซอร์และคาบิลลามีบุตรด้วยกันสื่คน ชายสามคนและหญิงหนึ่งคน (สเป็นเซอร์ เลวัน แอนดรูว์ อายริงก์ เอ็ดเวิร์ด ลอว์เรนซ์ และโอลีฟ เบธ) ในฐานะบิดามารดาพวกท่านไต้จัดสภาพแวดล้อมที่ซึ่งลูกๆ ไม่เพียงรู้สืกว่าไต้รับ ความรักและการสนับสนุนเท่านั้นแต่ยังไต้รับความไว้วางใจใบ้ตัดสินใจไต้ด้วยตน เอง บุตรชายคนหนึ่งเล่าในเวลาต่อมาว่า
“เมื่อลูกๆ มีการแสดงที่โรงเรียน ที่โบสถ์ หรือที่ใดก็ตาม คุณพ่อคุณแม่จะ ไปนั่งดูแบ้ต้องเสืยสละบ้าง พวกท่านแสดงความสนใจและความภาคภูมิใจใน พวกเราเสมอ
“ในครอบครัวเรามีความรู้สืกผูกพันกัน ไม่ใช่ความเป็นเจ้าของ แต่เราด้อง รับผิดชอบการกระทำของเราเอง พ่อแม่จะคอยให้กำลังใจและนำทาง แต่จะไม่ ออกคำสั่ง”
บุตรชายคนเดิมกล่าวถึงบิดาดังนี้
“ผมไม่รู้จักใครที่ใจกว้างมากกว่าคุณพ่อ ท่านใจดีและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น จน แทบจะเกินขอบเขต เด็กๆ มักคิดว่าพ่อแม่คือบุคคลที่มีอำนาจมากจนไม่มีความ ด้องการตามปกติธรรมดา แต่ผมรู้ว่าคุณพ่อซาบซึ้งเพียงใดต่อคำชมที่จริงใจหรือ คำพูดขอบคุณ ไม่มีการแสดงความขอบคุณหรือความรักใดจะสำคัญเท่ากับที่ได้ จากครอบครัวท่าน
“รองจากความรู้สืกว่าพระเจ้าทรงเห็นชอบในความพยายามของท่าน ผมรู้ว่า ไม่มีสั่งใดให้ความพึงพอใจแก่ท่านมากไปกว่าการไต้เห็นครอบครัวเจริญรอย ตามท่านในการพยายามดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรม
“ถ้าผมด้องเลือกคนที่จะพิพากษาผมในวันสุดห้าย ไม่มีมนุษย์คนใดที่ผมจะ เลือกก่อนคุณพ่อ”16
งานอาชีพ การเรียกในศาสนาจักร และการรับใช้ชุมชน
สเป็นเซอร์เริ่มงานอาชีพในตำแหน่งเสมียนธนาคารโดยมีคาบิลลาอยู่เคียง ข้างและมีความรับผิดชอบครอบครัวอยู่ตรงหน้า เมื่อเวลาผ่านไป ท่านย้ายจาก แผนกการเงินไปอยู่แผนกประกันชีวิตและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ความผัน ผวนทางเศรษฐกิจในช่วงเศรษฐกิจตกตํ่าครั้งใหญ่ (1929–1939) ก่อให้เกิดบิญ หายุ่งยากมากมายในหน้าที่การงานของสเป็นเซอร์ แต่ครอบครัวก็สามารถฟัน ฝ่าความยากลำบากมาไต้
คุณพ่อของสเป็นเซอร์ถึงแก่กรรมในปื ค.ศ. 1924 หลังจากรับใช้เป็นประ ธานสเตคมานานเกือบสามทศวรรษ ต่อมาเมื่อประธานฮีเบอร์ เจ. แกรนท์ ประ ธานศาสนาจักรคนที่เจ็ด จัดตั้งฝ่ายประธานสเตคชุดใหม่ สเป็นเซอร์วัย 29 ปื ก็ได้รับเรียกให้รับใช้เป็นที่ปรืกษาที่สอง
นอกจากชีวิตครอบครัว ความมานะบากบั่นในอาชีพ และการรับใช้ศาสนา จักรแล้ว สเป็นเซอร์ยังเป็นผู้มีสํวนร่วมอย่างแข็งขันในชุมชนต้วย ท่านช่วยก่อ ตั้งสถานีวิทยุห้องถิ่นแห่งแรก ท่านเป็นสมาชิกที่แข็งขันของสโมสรโรตารี ซึ่ง เป็นองค์กรบำเพ็ญประโยชน์ จนในที่สุดไต้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการระดับห้องถิ่น
คริสต์ศักราช 1938 ศาสนาจักรแบ่งสเตคเซนต์โจเซฟและสเป็นเซอร์ไดัรับ เรียกเป็นประธานของสเตคเมาท์ เกรแฮมแห่งใหม่ ด้วยเกรงว่าบางคนที่ท่าน จะดูแลอาจจะยังมีความรู้สีกไม่ดีต่อท่าน สเป็นเซอร์และคานิลลาจึงพูดคุยกับ ทุกคนที่น่าจะมีความร้สืกเช่นนั้นเพื่อ “สะสางเรื่องราวในอดีต”17
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1941 ระหว่างที่ท่านรับใช้เป็นประธานสเตคเกิดอุทก ภัยครั้งใหญ่ในชุมชน ฝนที่ตกลงมาไม่ขาดสายทำให้ระดับนํ้าในแม่นั้ากิลาเพิ่ม สูงขึ้นจนไหลท่วมถนนของถิ่นฐานบางแห่ง บ้านเรือนและเรือกสวนไร่นามีนํ้า เจิ่งนอง ประชาชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของศาสนาจักร ต้องการความช่วย เหลืออย่างยิ่ง พอทราบข่าวความเสืยหาย สเป็นเซอร์ก็ขนอาหารจากแหล่งช่วย ของศาสนาจักรใส่รถยนต์ของท่านจนเต็มและบ่ายหบ้าไปยังเมืองต่างๆ ที่ได้รับ ผลกระทบจากนํ้าท่วม ท่านจัดแจงทำความสะอาดเลี้อผ้าที่สกปรก ช่วยเกษตร กรหาอาหารเลี้ยงปศุสัตว์ ไม่นานรถบรรทุกอาหารและเครื่องนุ่งห่มกีใปถึง ภาย ในหนึ่งสัปดาห์ คนที่เดือดร้อนมากที่สุดจากนํ้าท่วมก็พื่นตัว สมาชิกศาสนาจักร แสดงความเอื้อเฟืัออย่างเต็มที่ สเป็นเซอร์กำกับดูแลการประเนินความต้องการ และการแจกจ่ายข้าวของ ระหว่างนี้ท่านติดต่อกับเอ็ลเดอร์ฮาโรลต์ มี. ลีแห่ง โควรัมอัครสาวกสิบสองตลอดเวลาเพราะความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ชั้น ผู้ใหญ่ท่านนี้มีโครงการสวัสดิการรวมอยู่ด้วย
การเป็นอัครสาวก
วันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 ประธานเจ. รูเบ็น คลาร์ก จูเนียร์แห่งฝ่าย ประธานสูงสูดแวะเยี่ยมสเป็นเซอร์ที่บ้าน ท่านบอกว่าสเป็นเซอร์ได้รับเรียกให้ ดำรงตำแหน่งว่างหนึ่งในสองตำแหน่งของโควรัมอัครสาวกสิบสอง สเป็นเซอร์ ตอบว่า “โอ้ บราเดอร์คลาร์ก ไม่ใช่ผมกระมังครับ คุณคงไม่ได้หมายถึงผม จะ ต้องมีบางอย่างผิดพลาดแน่ คงไม่ใช่อย่างที่ผมได้ยินคุณพูด … ดูไม่น่าจะเป็น ไปได้ ผมอ่อนแอมาก ผมไม่ใช่คนสำคัญ มีขีดจำกัด และไร้ความสามารถ”18 สเป็นเซอร์ทำให้ประธานคลาร์กเชื่อมั่นว่ามีเพียงคำตอบเดียวเท่านั้นคือรับการ เรียกจากพระเจ้า แต่ความเต็มใจรับใช้ของท่านหาได้เอาชนะความร้สืกไม่เหมาะ สมและไม่คู่ควรของท่านในทันทีไม่
ความรุ้สืกเหล่านั้นทวีความรุนแรงติดต่อกันสามสิวัน ซึ่งระหว่างนั้นสเป็นเซอร์แทบไม่ได้หลับได้นอน ช่วงที่ท่านอยู่ในเมืองบอลเดอร์ รัฐโคโลราโดเพื่อ เยี่ยมบุตรชาย ท่านไปเดินเล่นแถบเนินเขาตอนเช้าตรู่วันหนึ่ง ท่านปืนสูงขึ้นๆ พลางใคร่ครวญความสําคัญของตำแหน่งอัครสาวกไปด้วย ท่านรู้สืกกลัดกลุ้มเมื่อ คิดว่าท่านอาจมีความสามารถไม่พอ การเรียกของท่านอาจเป็นความผิดพลาด บางอย่าง ท่านคิดอยู่อย่างนั้นจนขึ้นไปถึงยอดเขาที่ปืนอยู่ ท่านทรุดตัวลงสวด อ้อนวอนและคิดทบทวน “ข้าพเจ้าสวดอ้อนวอนมาก!” ท่านจำได้ “ข้าพเจ้า เป็นทุกข์มาก! ข้าพเจ้าร้องไห้มาก! ข้าพเจ้าทุรนทุรายมาก!” ขณะรู้สืกเจ็บปวด รวดร้าวอย่างที่สุดนั้น ท่านฟันเห็นฮีเบอร์ ซี. คิมบัลล์คุณปู่ของท่านและ “งาน ยิ่งใหญ่ที่เขาทำ” ความรู้นี้ทำให้ใจของสเป็นเซอร์นิ่งสงบ “ความรู้สืกมั่นใจอยู่ เงียบๆ เข้าครอบงำ ความสงสัยและความกังขาลดน้อยลง ราวกับว่าภาระใหญ่ หลวงถูกยกออกไป ข้าพเจ้ามั่งอยู่ในความเงียบสงบพลางสำรวจหุบเขาที่สวย งาม ขอบพระทัยพระเจ้าสำหรับความพึงพอใจและคำตอบยืนยันการสวดอ้อน วอนของข้าพเจ้า”19 วันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1943 สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ วัย 48 ปื ได้รับการวางมือแต่งตั้งเป็นอัครสาวก
การรับใช้ของเอ็ลเดอร์คิมบัลลัในโควรัมอัครสาวกสิบสองยาวนานถึงสาม ทศวรรษ ในเวลานั้น ท่านเดินทางไปทั่ว ให้กำลังใจสมาชิก และช่วยในการ เติบโตของอาณาจักร ตามงานมอบหมายพิเศษจากประธานจอร์จ อัลเบิร์ต สมิธ เอ็ลเดอร์คิมบัลล์จึงมีความสนใจเป็นพิเศษในผู้สืบตระกูลของศาสดาลีไฮสมัย พระคัมภีร์มอรมอน ซึ่งก็คือชนพื้นเมืองของอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และ อเมริกาใต้ ท่านคือเสืยงอันมีวาทคิลปึโน้มน้าวให้นึกถึงประโยชน์ของพวกเขา ทั้งในโควรัมอาวุโสของศาสนาจักรและในหมู่สมาชิกส่วนใหญ่ ท่านคัดค้านการ เหยียดหยามเชื้อชาติและการกดขี่คนยากจน
โอวาทของเอ็ลเดอร์คิมบัลล์เป็นได้ทั้งบทกวีและคำพูดตรงไปตรงมา ท่านมัก พูดถึงหัวข้อที่ละเอียดอ่อนเกี่ยวกับเรื่องที่ปฏิบัติได้จริงกับสมาชิกทั่วไปของ ศาสนาจักร นอกจากคำปราศรัยมากมายของท่านแล้ว ท่านยังได้เขียนหนังสือ The Miracle of Forgiveness ด้วย หนังสือเล่มนี้เกิดจากประสบการณ์อัน ยาวนานของเอ็ลเดอร์คิมบัลล้ในฐานะอัครสาวก โดยให้คำแนะนำแก่ผู้ที่ตกอยู่ ในการล่วงละเมิดร้ายแรง ท่านสรุปไว้ในหนังสือถึงสิงที่พระเจ้าทรงคาดหวังจาก เรา ศักยภาพอันสูงส่งของเรา และเล้นทางที่เราพึงเดินตามเพื่อกลับใจและมี ความมั่นใจว่าจะได้รับการอภัยอย่างสมบูรณ์จากพระเจ้า เอ็ลเดอร์คิมบัลล์เป็น พยานต่อผู้อ่านว่าพระเจ้าทรงเปื่ยมด้วยพระเมตตาและจะประทานอภัยแก่ผู้ที่ กลับอย่างจริงใจ
ปัญหาสุขภาพ
ตลอดชีวิตท่าน สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล้ได้รับบาดเจ็บและเจ็บป่วย หลายครั้ง ปัญหาสุขภาพครั้งสำคัญสองครั้งมีผลเด่นชัดในช่วงที่ท่านเป็นอัคร สาวก ความเจ็บป่วยครั้งแรกทิ้งร่องรอยถาวรไว้คับเอ็ลเดอร์คิมบัลล์ซึ่งประจักษ์ ชัดทุกครั้งที่ท่านพูด ปลายปื ค.ศ. 1956 ท่านรู้สีกว่าเสียงแหบแห้ง วินิจฉัยได้ ว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียง การผ่าตัดในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1957 ส่งผลให้ต้อง ตัดเส้นเสียงออกหนึ่งเส้นและบางส่วนของเส้นเสียงอีกเส้นหนึ่ง หลังจากผ่าตัด ท่านต้องพักเสียงเพื่อให้การรักษาได้ผลที่สุด ตลอดหลายคืนที่นอนไม่หลับ เอ็ลเดอร์คิมบัลล์สงสัยว่าท่านจะพูดได้อีกหรือไม่
หกเดือนหลังจากผ่าตัด คณะแพทย์ประกาศว่ากล่องเสียงของเอ็ลเดอร์คิม บัลล์หายเป็นปกติแล้ว เอ็ลเดอร์บอยด์ เค. แพคเกอร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบ สองเล่าว่าเอ็ลเดอร์คิมบัลล์ใช้อารมณ์ชันแนะนำผู้ฟ้งให้รู้จักเสียงใหม่ของท่าน ด้งนี้
“และแล้วการทดสอบก็มาถึง ท่านจะพูดได้หรือ ท่านจะสั่งสอนได้หรือ
“ท่านกลับบ้าน [ที่แอริโซนา] เพื่อกล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรก … ที่นั่น ใน การประชุมใหญ่ของสเตคเซนต์โจเซฟ… ท่านยืนที่แท่นพูด
“ ‘ข้าพเจ้ากลับมาที่นี่’ ท่านกล่าว “เพื่ออยู่ท่ามกลางผู้คนของข้าพเจ้า ใน ทุบเขานี้ข้าพเจ้าทำหน้าที่ประธานสเตค’ บางทีท่านอาจจะคิดว่าถ้าท่านล้มเหลว ท่านก็ยังอยู่ท่ามกลางผู้คนที่รักท่านมากที่สุดและจะเข้าใจ
“มีความรักมากมายท่วมท้น ความตึงเครียดของชั่วขณะอันน่าตื่นเต้นนี้คลาย ลงเมื่อท่านยังคงพูดต่อว่า ‘ข้าพเจ้าต้องบอกท่านว่าเกิดอะไรขึ้นกับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไปภาคตะวันออก และขณะอยู่ทีนั่นข้าพเจ้าตกอยู่ท่ามกลางมือมีดที่ ชอบปาดคอคนอื่น …’ หลังจากนั้นก็ไม่สำคัญแล้วว่าท่านจะพูดอะไร เพราะ เอ็ลเดอร์คิมบัลล์กลับมาแล้ว”20
เสืยงใหม่ของท่านอ่อนนุ่ม ทุ้ม และแหบ เอ็ลเดอร์แพคเกอร์บอกว่าเป็น “เสืยงที่แผ่วเบา นุ่มนวล ชวนฟ้ง เสืยงที่ได้มา เสียงที่ดึงดูดใจ เสียงที่ … สิทธิชนยุคสุดท้ายชื่นชอบ”21
เอ็ลเดอร์คิมบัลล์เคยประสบปัญหาร้ายแรงกับหัวใจด้วย หลังจากเป็นอัคร สาวก ท่านเกิดภาวะหัวใจวายหลายครั้ง คริสต์คักราช 1972 ขณะรักษาการ ประธานโควรัมอัครสาวกสิ่บสอง ท่านเข้ารับการผ่าตัดที่มีความเสียงสูง ตอน นั้น ดร. รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันเป็นศัลยแพทย์หัวใจของประธานคิมบัลล์ ต่อ มา ในฐานะสมาชิกโควรัมอัครสาวกสิบสอง เอ็ลเดอร์เนลสันเล่าว่าเกิดอะไรขึ้น ระหว่างผ่าตัด “ข้าพเจ้าจะไม่ลืมความรู้สีกที่เกิดขึ้นขณะหัวใจท่านกลับมาเต้น เหมือนเดิม เต้นแรงและมีพลัง ในขณะนั้น พระวิญญาณทรงทำให้ข้าพเจ้ารู้ว่าผู้ ป่วยที่พิเศษคนนี้จะมีชีวิตจนได้เป็นศาสดาของพระผู้เป็นเจ้าบนแผ่นดินโลก”22
ประธานของศาสนาจักร
คืนวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1973 ประธานฮาโรลด์ บี. ลี ประธานศาสนา จักรคนที่สิบเอ็ดถึงแก่กรรมอย่างกะทันหัน ตามระเบียบของการสืบทอดตำ แหบ่งอัครสาวกในศาสนาจักร วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1973 สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ สมาชิกอาวุโสของโควรัมอัครสาวกก็ได์เป็นประธานศาสนา จักรของพระเยซูคริสต์แห่งสิทธิชนยุคสุดท้าย
เรื่องนี้ยังความแปลกใจแก่สมาชิกของศาสนาจักร และโดยเฉพาะแก่ประธาน คิมบัลล์ ท่านได้รับการวางมือแต่งตั้งเป็นอัครสาวกหลังจากฮาโรลต์ บี. ลี สอง ปืครึ่ง เนื่องจากประธานคิมบัลล์อายุแก่กว่าประธานลีสี่ปืและเห็นชัดว่าท่านมี สุขภาพไม่ดี ประธานคิมบัลล์จึงคาดหวังเต็มที่ว่าท่านจะไม่ได้อยู่สืบทอดตำ แหน่งต่อจากประธานลีตามที่ท่านเล่าในภายหลังว่า “ข้าพเจ้าเสืกมั่นใจว่าข้าพเจ้าจะด้องตายตอนเป็นประธานอัครสาวกสืบสองแน่นอน เมื่อถึงเวลาของ ข้าพเจ้า… ข้าพเจ้ากล่าวในพิธีศพของประธานลีว่าไม่มีใครสวดอ้อนวอนมากเท่า ข้าพเจ้ากับซิสเตอร์คิมบัลล์เพื่อขอให้ท่านมีสุขภาพดีดังเดิมคราวท่านป่วยและ ดำรงตำแหน่งต่อไปในขณะที่ท่านสุขภาพแข็งแรง”23
ประธานคิมบัลลัใด้รับการสนับสนุนโดยสมาชิกของศาสนาจักรในการประชุม ใหญ่สามัญเดือนเมษายน ค.ศ. 1974 ท่านไม่ปรารถนาตำแหน่งนี้ แต่พระเจ้า ทรงเลือกท่านให้เป็นศาสดา ผู้พยากรณ์ และผู้เปืดเผยของพระองค์ ให้นำ ศาสนาจักรและอาณาจักรของพระองค์บนแผ่นดินโลก
ต่อจากการประชุมใหญ่สามัญเดือนเมษายนครั้งนั้น ประธานคิมมัลล์ได้กล่าว ปราศรัยเกี่ยวกับงานสอนศาสนาที่การประชุมหนึ่งสำหรับผู้นำศาสนาจักร เอ็ลเดอร์วิลเลียม แกรนท์ แบงเกอร์เทอร์ซึ่งต่อมาเป็นสมาชิกในฝ่ายประธาน สาวกเจ็ดสิบ เป็นตัวแทนเขตในเวลานั้นและอยู่ร่วมการประชุมด้วย เขาพูดถึง ผลจากคำพูดของประธานคิมมัลล์ดังนี้
“เราทราบดีว่าประธานคิมมัลล์กำลังเปืดหน้าต่างทางวิญญาณและกวักมือ เรียกเรามาจ้องมองแผนแห่งนิรันดรพร้อมกับท่าน ประหนึ่งท่านกำลังดึงม่านซึ่ง ปืดมังจุดประสงค์ของพระผู้ทรงฤทธานุภาพขึ้นและเชื้อเชิญเราให้ดูจุดหมายของ พระกิตติคุณและภาพการปฎิมัดิศาสนกิจพร้อมกับท่าน
“ข้าพเจ้าสงสัยว่าทุกคนที่อยู่ในวันนั้นจะลืมโอกาสดังกล่าวได้หรือ เกือบทุก ครั้งที่ข้าพเจ้าอ่านทวนคำปราศรัยของประธานคิมมัลล์ เนื้อหาที่ท่านพูดถูกจารึก ไว้อย่างชัดเจนในใจข้าพเจ้าจนข้าพเจ้าสามารถกล่าวซํ้าคำปราศรัยสํวนใหญ่ของ ท่านได้ในขณะนี้จากความทรงจำ
“พระวิญญาณของพระเจ้าสถิตกับประธานคิมมัลล์และมาจากท่านถึงเรา เหมือนเป็นการปรากฎที่จับต้องได้ ซึ่งทำให้ตื้นตันใจและตกตะลึงในเวลาเดียว กัน ท่านทำให้ภาพอันนำชื่นชมยินดีประจักษ์ต่อสายตาเรา”24
คำปราศรัยของประธานคิมมัลล์ในครั้งนั้นบอกให้ทราบถึงสาระสำคัญของการ ปฏิบัติศาสนกิจของท่านในฐานะประธานศาสนาจักรดังนี้
“พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าสงสัยว่าเราทำสุดความสามารถหรือไม่ เราพอใจ ในวิธีที่เราสอนชาวโลกหรือไม่ นับถึงตอนนี้เราเผยแผ่มาได้ 144 ปืแล้ว เรา พร้อมจะก้าวให้ยาวขึ้นหรือไม่ เราพร้อมจะขยายวิสัยทัศน์ของเราหรือไม่…
“พี่น้องทั้งหลายข้าพเจ้าไม่ได้หลงผิดคิดไปว่าจะทำเรื่องนี้ได้ง่ายๆ โดยไม่ ต้องพยายามและสำเร็จได้เพียงชั่วข้ามคืน แต่ข้าพเจ้ามีศรัทธานี้อย่างแท้จริงว่า เราก้าวหน้าและพัฒนาได้เร็วกว่านี้มาก …
… ข้าพเจ้าคิดว่าภ้าเราทุกคนมีใจเดียว ความคิดเดียว และจุดประสงค์เดียว ว่าเราก้าวหน้าได้ และเปลี่ยนมโนภาพซึ่งดูเหมือนจะบอกว่า ‘เราทำดือยู่แล้ว อย่า “สร้างปัญหา”25
ศตวรรษที่โดดเด่นของการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นเพราะเหตุนี้ แม้จะเน้นงานสอนศาสนาในระยะแรก แต่ไม่นานสมาชิกของศาสนาจักรก็เข้าใจ ชัดเจนว่าประธานคิมบัลล์ไม่ประสงค์จะหยุดนิ่งในความเพียรอันชอบธรรมทุกๆ ด้าน
งานสอนดาสนา
ประธานคิมบัลล์พยายามเปืดประตูของประเทศต่างๆ เพื่อการสั่งสอนพระ กิตติคุณ การแบ่งแยกอันเนื่องจาก “สงครามเย็น” ระหว่างการปกครองแบบ ประชาธิปไตยและการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ลัดขวางการเผยแผ่ในหลายประ เทศแถบยุโรปและเอเชีย อีกทั้งนโยบายศาสนาจักรเกี่ยวกับการวางมือแต่งตั้ง ฐานะปุโรหิตก็จำกัดการทำงานสอนศาสนาในแอฟริกา ภูมิภาคต่างๆ ของอเมริกา ใต้ และแคริบเบียนด้วย ประธานคิมบัลล์มองหาทุกโอกาสเพื่อขยายเขตภูมิ ศาสตร์ของศาสนาจักร
ขณะเดียวกันท่านเน้นว่าโอกาสสอนประเทศต่างๆ จะมีมากขึ้นภ้าสมาชิก ศาสนาจักรยินดีรับโอกาสเหล่านั้น เยาวชนชายที่มืค่าควรและพร้อมเต็มที่จะไม่ มองว่าการรับใช้เป็นผู้สอนศาสนาเป็นทางเลือกแต่เป็นหน้าที่และโอกาสอันสูง ส่ง ข้อผูกมัดดังกล่าวเป็นของเยาวชนชายไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใดก็ตาม เยาวชนหญิง รับใช้เป็นผู้สอนศาสนาได้ด้วยแต่ไม่ถือเป็นข้อผูกมัดเช่นเยาวชนชาย นอกจาก นี้คู่สามีภรรยาสูงอายุยังได้รับการสนับสนุนให้รับใชัในกองทัพผู้สอนศาสนาด้วย เมื่อสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์เริ่มการรับใช้เป็นประธานศาสนาจักร มืผู้ สอนศาสนาเต็มเวลารับใช้ทั่วโลก 17,000 คน เมื่อท่านถึงแก่กรรมในอีก 12 ปื ต่อมา จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจนถึงราวๆ 30,000 คน งานสอนศาสนาที่เพิ่ม ขึ้นผลิดอกออกผลมากมาย สมาชิกภาพศาสนาจักรเพิ่มจาก 3.3 ล้านคนเป็น เกือบ 6 ล้านคน
ประธานคิมมัลล์พูดกับสมาชิกหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งของศาสนาจักรในปื ค.ศ. 1975 ดังนี้ “ท่านทราบหรือไม่ว่าพระเจ้าทรงทำอะไรเพื่อคนหนุ่มอย่างท่าน ท่านคือสหายหนุ่มรูปงาม ท่านแข็งแรง ดูดี และมีความสุข ใครประทานสุขภาพ ที่ดีให้ท่าน ใครประทานดวงตาให้ท่าน ใครประทานหูให้ท่าน ใครประทานเสืยง ให้ท่าน ท่านเคยคิดเรื่องนี้ไหม จะต้องมีผู้จัดหาสิ่งลํ้าค่าเหล่านี้ให้ท่านแน่นอน”
จากนั้นท่านได้เล่าประสบการณ์การผ่าตัดกล่องเสียงและการผ่าตัดครั้งนั้นส่ง ผลให้ท่านเหลือเสียงเพียงส่วนเดียว ท่านกล่าวต่อไปว่า “ข้าพเจ้าขอถามท่าน ว่ามีกี่คนในพวกท่านที่ยอมสละเสียงของตน ท่านซื้อหรือขายเสียงได้ไหม มีใครให้เสียงท่านหรือ พระเจ้าประทานเสียงให้ท่านเพื่อแสดงความคิดเห็นของ ท่านออกมาใช่ไหม แล้วเหตุใดท่านจึงไม่ออกไปในโลกและบอกกล่าวเรื่องสำ คัญที่สุดในโลก และบอกผู้คนว่าความจริงได้รับการฟื้นฟูแล้ว ว่าพระเจ้าทรงมี ศาสดามาตลอดนับแต่แอดัมมาจนถึงบัดนี้ และตัวท่านมีฐานะปุโรหิตศักดึ์สิทธิ์ และท่านจะขยายฐานะปุโรหิตตลอดวันเวลาของชีวิตท่าน บอกโลกสิ! พวก เขาต้องการ!
“และข้าพเจ้าถามท่านอีกว่า ใครประทานเสียงให้ท่าน เพราะอะไร—เพียง เพื่อให้ท่านได้ร้องเพลงหรือพูดหรือหยอกล้อผู้อื่นอย่างนั้นหรือ หรือพระองค์ประทานเสียงเพื่อให้ท่านได้สอนพระกิตติคุณ…
“ข้าพเจ้าคิดว่าเราเข้าสู่สนามเผยแผ่จะดีกว่าไหม—เด็กหนุ่มทุกคนที่มีค่าควร26
งานพระวิหาร
ในฐานะประธานศาสนาจักร สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ควบคุมดูแลให้มี การสร้างพระวิหารเพิ่มขึ้น ช่วงแรกที่ท่านบริหารงาน มีพระวิหาร 15 แห่งเปิด ดำเนินการ เมื่อท่านล่วงลับในอีก 12 ปีให้หลัง จำนวนพระวิหารเพิ่มเป็น 36 แห่ง มากกว่าเดิมสองเท่า ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลืย์ที่ปรึกษาที่สองในฝ่าย ประธานสูงสุดเป็นพยานว่า “ประธานคิมบัลล์ได้รับพลังผลักดันอันยิ่งใหญ่ใน การสร้างพระวิหารภายใต้การเปิดเผยจากพระเจ้า”27
เกี่ยวกับงานพระวิหารนั้นประธานคิมบัลล์กล่าวว่า “วันจะมาถึงและอยู่ข้าง หน้าเราไม่ไกลนักเมื่อพระวิหารทุกแห่งบนโลกนี้จะทำงานทั้งวันทั้งคืน … จะมี เจ้าหน้าที่ทำงานทั้งวันทั้งคืนจนสายตัวแทบขาดเพราะความสำคัญของงานและ จำนวนคนมากมายผู้นอนหลับไหลในนิรันดร ผู้อยากได้และต้องการพรที่มาถึง พวกเขาได้”28
การปกครองศาสนาจักร
ระหว่างคริสต์ศักราช 1975 ถึง 1976 ประธานคิมบัลล์กำกับดูแลการจัดระ เบียบใหม่และการขยายการปกครองศาสนาจักรเพื่อให้ทันกับความเจริญของ ศาสนาจักร ส่วนหนึ่งของการจัดระเบียบและความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ชั้น ผู้ใหญ่คือตั้งโควรัมที่หนึ่งของสาวกเจ็ดสิบขึ้นมาใหม่ และเดือนตุลาคม ค.ศ. 1976 บีสาวกเจ็ดสิบรวม 39 คน ประธานคิมบัลล์อธิบายว่า “การดำเนินงาน ในเรื่องนี้ทำให้โควรัมปกครองสามโควรัมของศาสนาจักรที่กำหนดโดยการเปิด เผย—ฝ่ายประธานสูงสุด โควรัมอัครสาวกสิบสอง และโควรัมที่หนึ่งของสาวก เจ็ดสิบ—เป็นไปตามรูปแบบที่พระเจ้าทรงเปิดเผย ซึ่งจะทำให้รับมือกับภาระอัน หนักอึ้งในเวลานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเตรียมรับการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น และความเร่งด่วนของงานโดยมุ่งหวังถึงวันที่พระเจ้าจะเสด็จกลับมารับหน้าที่ ดูแลศาสนาจักรและอาณาจักรของพระองค์”29 นับแต่นั้นเป็นต้นมาการเปิดเผย จากพระเจ้าถึงศาสดาของพระองค์ไนเรื่องนี้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ใน การปกครองศาสนาจักรตามที่ “งานในสวนองุ่น” เรียกร้อง (ค.พ. 107:96)
พระคัมภีร์
คริสต์ศักราช 1976 ประธานคิมบัลล์สั่งให้เพิ่มการเปิดเผยสองเรื่องไว้ใน หนังสือซึ่งยอมรับว่าเป็นพระคัมภีร์ เรื่องหนึ่งมาถึงศาสดาโจเซฟ สมิธ ส่วนอีก เรื่องหนึ่งมาถึงประธานโจเซฟ เอฟ. สมิธ (ดู ค.พ. 137 และ 138) ภายใต้ การกำกับดูแลของประธานคิมบัลล์ พระคัมภีร์ไบเบิลคิงส์เจมส์ฉบับ ศยส ได้ รับการตีพิมผ์ในปี ค.ศ. 1979 และพระคัมภีร์สามเล่มรวมฉบับใหม่ (พระคัมภีร์ มอรมอน พระคัมภีร์คำสอนและพันธสัญญา และพระคัมภีร์ไข่มุกอันลํ้าค่า) ได้ รับการตีพิมพัในปี ค.ศ. 1981 เอ็ลเดอร์บอยด์ เค. แพคเกอร์พูดถึงการออกมา ของงานมาตรฐานเหล่านี้ว่า “ขณะที่หลายชั่วอายุผ่านไป ในแง่ประวัติศาสตร์ ถือว่าเรื่องนี้เป็นความสำเร็จสูงสุดในการบริหารงานของประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์”30
ระหว่างการดำรงตำแหน่งของประธานคิมบัลล์ พระคัมภีร์กลายเป็นส่วน สำคัญในหลักสูตรโรงเรียนวันอาทิตย์ของศาสนาจักรด้วย
การทำให้ง่ายขิ้น
ขณะที่ขนาดและขอบข่ายการดำเนินงานของศาสนาจักรขยายตัว ประธาน คิมบัลล์และผู้นำศาสนาจักรท่านอื่นได้เล็งเห็นความจำเป็นของการทำให้โปรแกรม ต่างๆ ของศาสนาจักรง่ายขึ้นทั้งนี้เพื่อให้ส่วนจำเป็นที่สุดมีผลอย่างเต็มที่ต่อคน ในสาขาที่เพิ่งจัดตั้งเช่นเดียวกับคนในวอร์ดที่จัดตั้งมานาน ประธานคิมบัลล์ กล่าวว่า
“พันธกิจที่ศาสนาจักรมีต่อสมาชิกคือทำให้หลักธรรม โปรแกรม และฐานะ ปุโรหิตมีผลเพื่อพวกเขาจะสามารถเตรียมตัวรับความสูงส่งได้ ความสำเร็จของ เราส่วนใหญ่ทั้งโดยส่วนตัวและในฐานะศาสนาจักรจะอยู่ที่ว่าเรามุ่งเน้นการดำ เนินชีวิตตามพระกิตติคุณในบ้านอย่างซื่อสัตย์เพียงใด ต่อเมื่อเราเห็นความรับผิด ชอบของแต่ละบุคคลตลอดจนบทบาทของครอบครัวและบ้านอย่างชัดเจนเท่า นั้นเราจึงจะเข้าใจได้อย่างถ่องแห้ว่าโควรัมฐานะปุโรหิตและองค์การ ช่วย รวมทั้ง วอร์ด และสเตค มีหน้าที่เบื้องต้นในการช่วยให้สมาชิกดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณในบ้าน เมื่อนั้นเราจึงจะเข้าใจได้ว่าคนมีความสำคัญกว่าโปรแกรม และ โปรแกรมศาสนาจักรควรสนับสนุนกิจกรรมครอบครัวที่มีพระกิตติคุณเป็นศูนย์ กลางเสมอและไม่ทำให้ด้อยค่าลง …
“ความบุ่งมั่นของเราในการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณที่มีบ้านเป็นศูนย์กลาง ควรเป็นข่าวสารที่ชัดเจนของโปรแกรมฐานะปุโรหิตและองค์การช่วยทั้งหมด โดยลดกิจกรรมทางเลือกบางอย่างที่อาจทำให้เบนออกจากศูนย์รวมของบ้านและ ครอบครัว”31
การเปลี่ยนแปลงสำคัญอย่างหนึ่งในช่วงที่ประธานคิมบัลล์บริหารงานคือการ นำตารางการประชุมติดต่อกันสามชั่วโมงมาใข้ในวันอาทิตย์โดยรวมการประชุม ต่างๆ ในวันธรรมดาและวันอาทิตย์เป็นการประชุมวันอาทิตย์ที่เรียบง่ายและ สะดวกกว่าเติม การใข้ตารางรวมดังกล่าวในปี ค.ศ. 1980 ลดเวลาและค่าใช้ จ่ายของสมาชิกศาสนาจักรลงไปมากทั้งนี้เพื่อพวกเขาจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ในโปรแกรมของพระเจ้า
การเปิคเผยเกืยวกับฐานะปุโรหิต
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างสเป็นเซอร์ ตับเบิลยู. คิมบัลล์เป็นประธานคือการเปืดเผยเกี่ยวกับฐานะปุโรหิต (ดู ข้อประ กาศอย่างเป็นทางการ 2 ในพระคัมภีร์คำสอนและพันธสัญญา)
วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1978 ประธานคิมนัลล์ พร้อมสมาชิกท่านอื่นในฝ่าย ประธานสูงสุดและโควรัมอัครสาวกสิบสองได้ประชุมกันในห้องชั้นบนของพระ วิหารซอลท์เลค ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ซึ่งอยู่ที่นั่นในฐานะสมาชิกโคว รัมอัครสาวกสิบสองรายงานในเวลาต่อมาค้งนี้
“คำถามเกี่ยวก้บการขยายพรของฐานะปุโรหิตไปถึงคนผิวดำมีอยู่ในความคิด พี่น้องชายหลายท่านมานานหลายปื ประธานศาสนาจักรหลายท่านเคยหยิบยก เรื่องนี้ขึ้นมาพูดหลายครั้ง และเป็นเรื่องที่ประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ให้ความสนใจเป็นพิเศษ
“นานทีเดียวที่ท่านได้สวดอ้อนวอนเกี่ยวกับคำถามที่สำคัญและตอบยากข้อนี้ ท่านใช้เวลาหลายชั่วโมงที่ห้องชั้นบนในพระวิหารเพื่อสวดอ้อนวอนและคิด ทบทวน
“ในโอกาสนี้ท่านเสนอป้ญหาต่อพื่น้องชาย-ที่ปรึกษาของท่านและอัคร สาวก หลังจากสนทนาเรื่องนี้เราสวดอ้อนวอนร่วมกันในสภาวการณ์ที่ศักดิ์สีทธิ์ ที่สุด ประธานคิมบัลล์เป็นผู้กล่าวคำสวดอ้อนวอน … พระวิญญาณของพระผู้ เป็นเจ้าสถิตที่นั่น และมีความนั่นใจมาถึงศาสดาผู้นี้โดยอำนาจของพระวิญญาณ บริสุทธิ์ว่าเรื่องซึ่งท่านสวดอ้อนวอนนั้นถูกต้อง เวลามาถึงแล้ว และบัดนี้พร วิเศษสุดของฐานะปุโรหิตควรขยายไปถึงชายที่มีค่าควรทุกแห่งหนไม่ว่าจะเชื้อ สายใดก็ตาม
“ชายทุกคนในวงกลมวงนั้นทราบเรื่องเดียวกันโดยอำนาจของพระวิญญาณ บริสุทธิ์
“นับเป็นโอกาสที่เงียบสงบและประเสริฐยิ่ง …
“… พวกเราที่อยู่ด้วยกันในคราวนั้นไม่มีสักคนเหมือนเดิมอีกหลังจากนั้น ไม่มืสักคนในศาสนาจักรเหมือนเดิมอีก”32
การประกาศการเปิดเผยดังกล่าวใช้รูปแบบของจดหมายลงวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1978 ถึงเจ้าหน้าที่ฐานะปุโรหิตระดับท้องที่และระดับสามัญทุกท่านใน ศาสนาจักร “ชายผู้มีค่าควรผู้ซึ่อสัตย์ทุกคนในศาสนาจักรจะได้รับฐานะปุโรหิต อันศักดี้สิทธี้ พร้อมด้วยพลังที่จะใช้อำนาจจากสวรรค์และมีความสุขกับเหล่า คนรักของเขาในพรทุกประการที่หลั่งออกมาจากมัน รวมถึงพรของพระวิหาร” (ค.พ. ข้อประกาศอย่างเป็นทางการ 2)
ประธานฮิงค์ลีย์จำได้ว่า “จดหมายถูกส่งไปให้ศาสนาจักรและโลก ข้าพเจ้า ไม่จำเป็นต้องบอกท่านถึงความตื่นเต้นตื้นตันใจที่เรารู้สึกทั้งในและนอกศาสนา จักร มีคนมากมายหลั่งนํ้าตาด้วยความซาบซึ้งไม่เฉพาะผู้ที่เคยถูกปฏิเสธฐานะ ปุโรหิตและผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงจากคำประกาศดังกล่าวเท่านั้น แต่ชาย หญิงของศาสนาจักรทั่วโลกที่รู้สึกเช่นเดียวกับเราเกี่ยวกับเรื่องนี้พากันหลั่งนั้าตา ด้วย”33
อีกประมาณสามเดือนต่อมา ประธานคิมบัลล์พูดถึงการเปิดเผยโดยกล่าวว่า “พี่น้องชายคนหนึ่งของเราพูดเมื่อวานนี้ว่า บัดนี้การเปลี่ยนแปลงและพรประ เสริฐสุดประการหนึ่งที่เคยรู้จักได้เกิดขึ้นแล้ว… นอกจากคนส่วนน้อยที่ด้องการ จับผิดตลอดเวลาแล้ว ชาวโลกต่างยอมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ด้วยความ ซาบซึ้ง… พวกเราจึงมีความสุขมากมากเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะผู้ที่เคย ถูกกีดกันพรเหล่านี้มาก่อน”34
ความรักต่อผู้คนและต่องานของพระเจ้า
เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองพูดถึงประธานคิมบัลล์ดังนี้ “มีความอบอุ่นอยู่ทั่วไปในการปฏิบัติศาสนกิจของชายผู้นี้ แววตาที่ เปิ่ยมด้วยความรักทว่ามองทะลุถึงจิตใจ อ้อมกอดของท่าน การจุมพิตที่บริสุทธิ์ ของท่าน ความอ่อนโยนของท่าน—คนจำนวนมากรู้สึก—ล้วนสร้างความรู้สึก หรือสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ท่านสมควรได้รับความอบอุ่นเป็นพิเศษไม่ใช่ความ เฉยเมย ความรักของท่านไปถึงทุกคน ไม่มีใครรู้สืกว่าตนถูกมองข้าม เจ้าหน้าที่ ชั้นผู้ใหญ่ทุกคนสันนิษฐานได้เลยว่า เขา เป็นคนโปรดของประธานคิมบัลล์ เพราะท่านรักเราแด่ละคนมาก! จะมีใครคิดเป็นอื่นได้อย่างไร”35
ประธานคิมบัลล์บอกสมาชิกของศาสนาจักรว่า “ข้าพเจ้าอยากได้ชื่อว่าเป็น คนที่รักพี่น้องชายหญิงของเขา”36 สิทธิชุนยุคสุดทายรู้สืกและแสดงความรักต่อ ท่านเป็นการตอบแทน ซึ่งท่านรู้สีกซาบซึ้งยิ่ง ท่านกล่าวว่า “เมื่อมีคนบอกว่า เขารักข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะบอกเขาเสมอว่า ‘วิเศษเลยครับ เพราะนั่นคือสิงที่ผม ทำอยู่’ และข้าพเจ้าหมายความเช่นนั้นจริงๆ”37
ประธานคิมบัลล์เดือนสิทธิชนยุคสุดท้ายด้วยความรักทว่าเฉียบขาดให้เขารับ ไข้พระเจ้ามากกว่าเดิม โดยเอาชนะความลำพองใจ บาป หรือป้ญหาอื่นที่ขัด ขวางไม่ให้เขาก้าวหน้า ในชีวิตท่าน ท่านเป็นแบบอย่างของการก้าวไปข้างหน้า ในการรับใช้พระเจ้าไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดก็ตาม
เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์อดีตสมาชิกโควรัมที่หนึ่งของสาวกเจ็ดสิบกล่าวถึง ประธานคิมบัลด์ดังนี้ “ท่านคือบุรุษแห่งการกระทำ เห็นได้จากป้ายง่ายๆ บน โต๊ะทำงานของท่านที่เขียนว่า ‘จงทำ’ … แบบอย่างและความรักของท่านผลัก ดันผู้ทำตามแบบอย่างของท่านให้บรรลุเป้าหมายที่สูงกว่าเดิมและก้าวยาวขึ้นสู่ ความดีพร้อม”38
ในคำปราศรัยที่การประชุมใหญ่สามัญเดือนตุลาคม ค.ศ. 1979 ประธานคิมมัลล์เล่าเรื่องคาเลบในพันธสัญญาเดิมผู้เผชิญการท้าทายเกี่ยวกับการเข้าสู่แผ่น ดินที่สัญญาไว้และกล่าวว่า “ขอมอบแดนเทือกเขานี้ … ให้แก่ข้าพเจ้า” (โยชูวา 14:12) ประธานคิมมัลล์อ้างคำพูดเหล่านี้โดยกล่าวว่า
“นี่คือความรู้สึกที่ข้าพเจ้ามีต่องานในขณะนี้ มีการท้าทายมากมายอยู่ข้างหน้า เรา มีโอกาสเหลือคณานับให้พบเจอ ข้าพเจ้ายินดีรับภาวะอันน่าตื่นเต้นนั้นและ อยากทูลพระเจ้าดัวยความนอบน้อมว่า ‘ขอมอบแดนเทือกเขานี้ … ให้แก่ข้าพเจ้า’ ขอมอบการท้าทายเหล่านี้ให้ข้าพเจ้า
“ข้าพเจ้าปฏิญาณด้วยความนอบน้อมต่อพระเจ้าและต่อท่าน พี่น้องชายหญิง ที่รักของข้าพเจ้า ผู้ร่วมงานในอุดมการณ์อันศักดิ์สิทธิ์นี้ของพระคริสต์ว่า ข้าพเจ้า จะก้าวไปข้างหน้าด้วยศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าแห่งอิสราเอล โดยรู้ว่าพระองค์จะ ทรงนำทางและชี้นำเราในที่สุด และนำเราไปสู่การทำให้จุดประสงค์ของพระองค์ สำเร็จ ไปสู่แผ่นดินที่สัญญาไว้และพรที่สัญญาไว้กับเรา …
“ข้าพเจ้าขอร้องท่านอย่างจริงจังและจริงใจให้ปฏิญาณและพยายามเช่นเดียว กัน-ผู้นำฐานะปุโรหิตทุกคน สตรีทุกคนในอิสราเอล เยาวชนชายทุกคน เยาวชนหญิงทุกคน เด็กชายและเด็กหญิงทุกคน”39
วันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 หลังจากรับใช้เป็นประธานศาสนาจักรราว 12 ปี สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ก็ถึงแก่กรรม เมื่อประธานคิมบัลล์จากไป ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์ที่ปรึกษาของท่านประกาศว่า “นับเป็นสิทธิพิเศษ และโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่ได้ทำงานเคียงข้างประธานคิมบัลล์ในงานของพระเจ้า ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าพยายามทำให้ท่านข้าลงเล็กน้อย แต่ท่านพูดว่า ‘กอร์ดอน ชีวิต ผมก็เหมือนรองเท้าของผม-ต้องสวมจนขาดในการรับใช้’ ท่านมีชีวิตเช่นนั้น ท่านสิ้นชีวิตเช่นนั้น ท่านไปอยู่กับพระองค์ผู้ที่ท่านรับใช้ แม้พระเจ้าพระเยซู คริสต์ผู้ที่ท่านเป็นพยานและแสดงประจักษ์พยานถึง”40