บทนำ
ฝ่ายประธานสูงสุดและโควรัมอัครสาวกสิบสองจัดทำหนังสือชุด คำสอน ของประธานศาสนาจักร เพื่อช่วยให้ท่านมีความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้นในพระกิตติ คุณที่ได้รับการพื่นฟู และใกล้ชิดพระเข้ามากขึ้นโดยผ่านคำสอนของศาสดายุค สุดท้าย เมื่อศาสนาจักรเพิ่มคำสอนของประธานท่านอื่นในชุดนี้ ท่านก็จะมี หนังสืออ้างอิงพระกิตติคุณสะสมไว้ใข้ที่บ้านมากขึ้น
หนังสือเล่มนี้เน้นคำสอนของประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมปัลล์ผู้รับใช้ เป็นประธานศาสนาจักรของพระเยซูคริสต์แห่งสิทธิชนยุคสุดท้ายตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1973 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985
ศึกษาส่วนตัว
ขณะที่ท่านศึกษาคำสอนของประธานคิมนัลล์ จงแสวงหาการดลใจจากพระ วิญญาณ พึงจดจำคำสัญญาของนีไฟที่ว่า “ผู้ที่แสวงหาอย่างพากเพียรจะพบและ ความลับ้ลึกของพระผู้เป็นเข้าจะคลี่ต่อเขาโดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์” (1 นีไฟ 10:19) จงเริ่มการศึกษาของท่านด้วยการสวดอ้อนวอน และสวดอ้อน วอนในใจต่อไปขณะอ่าน
ท้ายบทแต่ละบทท่านจะพบคำถามและพระคัมภีร์อ้างอิงที่จะช่วยให้ท่านเข้า ใจและประยุกต์ใข้คำสอนของประธานคิมนัลล์ ท่านควรทบทวนสิ่งเหล่านี้ก่อน อ่านเนื้อหาในแต่ละบท
แนวทางที่พึงพิจารณาควบคู่กันไปคือ
-
มองหาคำและวลีสำคัญๆ ถ้าท่านพบคำที่ไม่เข้าใจ ให้ใช้พจนานุกรมหรือ แหล่งช่วยอื่นเพื่อจะเข้าใจความหมายของคำนั้นดีขึ้น
-
ตรึกตรองความหมายในคำสอนของประธานคิมนัลล์ ท่านอาจจะทำเครื่อง หมายคำและประโยคที่ส่งผลต่อความคิดและจิตใจท่าน
-
ใคร่ครวญประสบการณ์ที่ท่านเคยมีซึ่งเกี่ยวข้องกับคำสอนของประธานคิม บัลล์
-
ไตร่ตรองว่าจะนำคำสอนของประธานคิมบัลล์มาประยุกต์ใช้กับท่านอย่างไร ใคร่ครวญว่าคำสอนเกี่ยวช้องอย่างไรกับข้อกังวลหรือช้อสงสัยที่ท่านมี ตัดสินใจว่าท่านจะทำอะไรสืบเนื่องจากสิ่งที่ท่านเรียนรู้
สอนจากหนังสือเล่มนี้
หนังสือเล่มนี้ใช้สอนได้ทั้งที่บ้านและที่โบสถ์ แนวทางต่อไปนี้จะช่วยท่าน
มุ่งเน้นคำลอนบองประธานคิมบัลล์และพระคัมภีร์
พระเจ้าทรงบัญชาว่าเราจะไม่สอน “เรื่องอื่นใดนอกจากเรื่องซึ่งศาสดาและ อัครสาวกเขียนไว้ และเรื่องซึ่งพระผู้ปลอบโยนสอน [เรา] โดยทางคำสวดอ้อน วอนแห่งศรัทธา” (ค.พ. 52:9)
งานมอบหมายของท่านคือช่วยให้ผู้อื่นเช้าใจและประยุกต์ใช้พระกิตติคุณ ผ่านคำสอนของประธานคิมบัลล์และพระคัมภีร์ อย่าสอนโดยไม่ใช้หนังสือเล่ม นี้หรือเตรียมบทเรียนจากหนังสือเล่มอื่น จงใช้ส่วนสำคัญของบทเรียนไปกับ การอ่านคำสอนของประธานคิมบัลถ์ในหนังสือเล่มนี้พร้อมทั้งสนทนาความ หมายและการประยุกต์ใช้
สนับสนุนผู้เรียนให้ศึกษาเนื้อหาในบทต่างๆ ก่อนมาการประชุมวันอาทิตย์ และนำหนังสือติดตัวมาด้วย เมื่อผู้เรียนอ่านมาล่วงหน้าพวกเขาย่อมพร้อมจะมี ส่วนร่วมและสร้างสรรค์กันมากขึ้น
แสวงทำการนําทางจากพระวิญญาณบริฮุทธิ์
เมื่อท่านสวดอ้อนวอนขอความช่วยเหลือและหมั่นเตรียม พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงนำทางท่าน พระองค์จะทรงช่วยท่านเน้นส่วนต่างๆ ของแต่ละบท ซึ่งจะกระตุ้นผู้เรียนให้เช้าใจและนำพระกิตติคุณมาประยุกต์ใช้
เมื่อท่านสอน จงสวดอ้อนวอนในใจขอให้อำนาจของพระวิญญาณอยู่กับคำ พูดของท่านและการสนทนาในชั้นเรียน นีไฟกล่าวว่า “เมื่อคนใดพูดโดยอำนาจ ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ อำนาจของพระวิญญาณบริสุทธี้ย่อมนำคำพูดไปสู่ใจ ของลูกหลานมนุษย์” (2 นีไฟ 33:1; ดู ค.พ. 50:13–22 ด้วย)
เตรียมสอน
บทเรียนแต่ละบทในหนังสือเล่มนี้จัดเรียงตามลำดับเพื่อช่วยท่านเตรียมสอน พึงพิจารณาแนวทางต่อไปนี้
-
ศึกษาบทเรียน ศึกษาบทเรียนร่วมกับการสวดอ้อนวอนเพื่อให้มั่นใจว่าท่าน เข้าใจคำสอนของประธานคิมบัลล์ ท่านจะสอนด้วยความจริงใจและด้วยพลัง มากขึ้นเมื่อถ้อยคำของประธานคิมบัลล์มีอิทธิพลต่อตัวท่าน (ดู ค.พ. 11:21) ขณะอ่านให้นึกถึงความต้องการของคนที่ท่านสอน ท่านอาจจะทำเครื่อง หมายข้อความที่ท่านรู้สึกว่าจะช่วยพวกเขา พึงสนใจหัวข้อที่เป็นตัวเข้มของ แต่ละบทด้วย หัวข้อเหล่านี้จะสรุปประเด็นหลักในบท
-
ตัดสินใจว่าจะใช้ส่วนใด แต่ละบทมีเนื้อหามากเกินกว่าจะสอนได้หมดในบทเรียนเดียว แทนที่จะพยายามสอนทั้งบท ให้ท่านสวดอ้อนวอนและเลือกส่วนที่ท่านรู้ลืกว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด
-
ตัดสินใจว่าจะนำเช้าสู่บทเรียนอย่างไร เพื่อชุดประกายความคิดให้เกิดความ สนใจตอนเริ่มบทเรียน ท่านอาจจะเล่าประสบการณ์ส่วนตัวหรือขอให้ผู้เรียน อ่านเรื่องหนึ่งจากด้นบทเรียนหรือดูรูปในบท แถ้วท่านอาจจะถามว่า “เรื่องนี้ (หรือรูปนี้) สอนอะไรเกี่ยวกับหัวข้อของบท” ทางเลือกอื่นๆ สำหรับเริ่มบท เรียนได้แก่ การอ่านพระคัมภีร์หรือข้อความอ้างอิงจากบทเรียนหรือร้องเพลง สวด อีกความคิดหนึ่งที่ช่วยได้คือให้ผู้เรียนรู้ว่าประเด็นหลักของบทเรียนคือ อะไร
-
ตัดสินใจว่าจะกระตุ้นการสนทนาอย่างไร นี่่คือส่วนที่ท่านควรให้เวลาแก่บทเรียนมากที่สุด ทบทวนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการสนทนาอย่าง สร้างสรรค์หน้า ⅷ-ⅸ ของหนังสือเล่มนี้ ท่านอาจจะใช้คำถามจาก “ข้อเสนอแนะสำหรับศึกษาและสอน” ท้ายบทหรือจะตั้งคำถามเองก็ได้ จงถาม คำถามซึ่งจะช่วยคนที่ท่านกำลังสอน
-
ดูว่าสอนอะไร คำถามลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้เรียนพบและคุ้นเคยกับข้อมูล จำเพาะเจาะจงในคำสอนของประธานคิมบัลล์ ตัวอย่างเช่น หลังจากบอก ข้อความอ้างอิงตอนหนึ่งแล้ว ท่านอาจจะถามว่า “มีคำหรือวลีสำคัญๆ อะไรบ้างในข้อความนี้” หรือ “อะไรคือหัวข้อของข้อความด้งกล่าว”
-
ตรึกตรองความหมาย คำถามลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจคำสอนของ ประธานคิมนัลล์ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น “ท่านคิดว่าเหตุใดคำสอนนี้จึงสำคัญ” หรือ “ท่านมีความคิดหรือความรู้ลืกอย่างไรเกี่ยวกับข้อความนี้” หรือ “คำสอนนี้มีความหมายต่อท่านอย่างไร”
-
เล่าประสบการณ์ คำถามเหล่านี้จะกระตุ้นผู้เรียนให้โยงสิ่งที่ประธานคิมบัลล์พูดเข้ากับเรื่องบางเรื่องในชีวิตส่วนตัวของเขา ตัวอย่างเช่น “ท่าน เคยมีประสบการณ์อะไรบ้างซึ่งเกี่ยวโยงกับสิ่งที่ประธานคิมบัลล์พูด”
-
ประยุกต์ใข้เนื้อหาที่เรียน คำถามเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนคิดหาวิธีที่เขาจะ สามารถดำเนินชีวิตตามคำสอนของประธานคิมบัลล์ได้ ตัวอย่างเช่น “ประ ธานคิมบัลล์กำลังกระตุ้นเราให้ทำอะไร เราจะนำสิ่งที่ท่านพูดไปประยุกต์ใช้ในทางใด”
-
-
ตัดสินใจว่าจะสรุปบทเรียนอย่างไร ท่านอาจจะเลือกสรุปบทเรียนอย่างรวดเร็ว หรือขอให้ผู้เรียนหนึ่งหรือสองคนเป็นผู้สรุป เป็นพยานถึงคำสอนที่ท่านสอน เมื่อพระวิญญาณกระตุ้นเตือน ท่านอาจจะเชิญนักเรียนบางคนแสดงประจักษ์ พยาน สนับสนุนผู้เรียนให้ทำตามการกระตุ้นเตือนที่เขาได้รับจากพระวิญญาณ บริสุทธี้
ขณะเตรียมสอน ท่านอาจจะค้นหาแนวคิดใน โม่ปีการเรียกใดยิ่งใหญ่กว่า การสอน (36123 425) ภาค ข บทที่ 14, 16, 28 และ 29 หรือใน หนังสือ แนะแนวการสอน (34595 425)
ดำเนินการสนทนาอย่างสร้างสรรค์
แนวทางต่อไปนี้จะช่วยท่านส่งเสริมและดำเนินการสนทนาอย่างสร้างสรรค์
-
แสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณบริสุทธี้ พระองค์อาจจะกระตุ้นเตือน ท่านให้ถามคำถามบางข้อหรือรวมคนบางคนไว้ในการสนทนา
-
ช่วยให้ผู้เรียนมุ่งเนันคำสอนของประธานคิมนัลล์ ให้เขาอ่านถ้อยคำของ ท่านเพื่อให้เกิดการสนทนาและตอบคำถาม นำการสนทนากลับเข้าสู่ประเด็น หาก เริ่มออกนอกประเด็นหรือเกิดการคาดเดาหรือความขัดแย้ง
-
หากเห็นสมควรให้เล่าประสบการณ์ที่เกี่ยวโยงกับคำสอนในบท
-
กระตุ้นผู้เรียนให้แบ่งปันความคิด ซักถาม และสอนกัน (ดู ค.พ. 88:122) ตัวอย่างเช่น ท่านอาจจะขอให้เขาแสดงความเห็นในสิ่งที่ผู้อื่นพูด หรือท่าน อาจจะใข้คำถามข้อเดียวแต่ให้ผู้เรียนหลายคนตอบ
-
อย่ากลัวความเงียบหลังจากที่ท่านถามคำถาม ผู้เรียนมักต้องการเวลาคิดหรือ หาคำตอบในหนังสือก่อนจะแบ่งปันแนวคิด ประจักษ์พยาน และประสบการณ์
-
ตั้งใจฟัง และพยายามเข้าใจความคิดเห็นของทุกคน กล่าวขอบคุณสำหรับ การมีส่วนร่วมของพวกเขา
-
เมื่อผู้เรียนแบ่งปันแนวคิดหลายประการ ท่านอาจจะขอให้คนใดคนหนึ่งเขียน แนวคิดเหล่านี้บนกระดาน
-
หาวิธีหลายๆ วิธีให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสนทนา ตัวอย่างเช่น ท่านอาจ จะให้เขาสนทนาคำถามในกลุ่มเล็กหรือกับคนที่นั่งติดกัน
-
ติดต่อกับผู้เรียนหนึ่งหรือสองคนล่วงหน้า ขอให้เขาเตรียมตอบคำถามข้อ หนึ่งที่ท่านเตรียมไว้
-
อย่าตัดบทการสนทนาที่ดีเพียงเพราะท่านต้องการสอนให้ครอบคลุมเนื้อหา ทั้งหมดที่เตรียมมา เรื่องสำคัญที่สุดคือผู้เรียนต้องรู้สึกถึงอิทธิพลของพระวิญ ญาณและมีปณิธานแน่วแน่มากขึ้นว่าจะดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ
ข้อมูลเกี่ยวกับบรรณานุกรมในหนังสือเล่มนี้
คำสอนของประธานคิมบัลล์ในหนังสือหยิบยกมาจากแหล่งต่างๆ โดยตรง บทคัดลอกเหล่านี้ยังคงเครื่องหมายวรรคตอน ตัวสะกด และย่อหน้าไว้เหมือน ต้นฉบับเติม แต่จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบบทความหรือการเรียงพิมพ์เพื่อให้อ่าน ง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอาจจะเห็นความลักลั่นเล็กๆ น้อยๆ ปรากฎอยู่ใน เนื้อหา
ประธานคิมบัลล์ใข้คำว่า มนุษย์ หรือ มนุษยชาติ บ่อยๆ เพื่อหมายถึงคนทั้ง ปวง ทั้งชายและหญิง ท่านใช้สรรพนาม เขา อยู่บ่อยครั้งเพื่อหมายถึงคนทั้ง สองเพศ นี่เป็นภาษาที่ใข้กันทั่วไปในสมัยของท่าน แห้จะมีความแตกต่างระ หว่างกฎเกณฑ์การใช้ภาษาในอดีตและป้จจุมัน แต่คำสอนของประธานคิมบัลล์ ยังคงประยุกต้ใข้ได้ทั้งหญิงและชาย