บททิ่ 2
โศกนาฏกรรมหรือชะตากรรม
เมื่อเราเผชิญหน้ากับโศกนาฏกรรมอันเนื่องจากความเศร้าโศก ความทุกข์ยาก และความตาย เราต้องวางใจพระผู้เป็นเจ้า
จากชีวิตของสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์
ในวัยเด็กตอนต้น สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์ได้รับความเจ็บปวดที่เกิด จากการเสียชีวิตของผู้เป็นที่รัก เมื่อท่านอายุแปดขวบ แมรีย์น้องสาวท่านเสืยชีวิต หลังเกิดได้ไม่นาน หนึ่งเดือนต่อมา คุณพ่อคุณแม่ของสเป็นเซอร์รู้สึกว่าแฟนนี วัยห้าขวบซึ่งทรมานมาหลายสัปดาห์จะด้องหมดลมหายใจในไม่ช้า สเป็นเซอร์ พูดถึงวันที่แฟนนีเสียชีวิตดังนี้ “ในวันเกิดปีที่เก้าของข้าพเจ้า แฟนนีเสียชีวิต ในอ้อมแขนของคุณแม่ ลูกทุกคนถูกปลุกให้อยู่ที่นั่นตอนหัวคํา ดูเหมือนข้าพเจ้า จะจำภาพเหตุการณ์ในห้องนั่งเล่นของเราได้ … คุณแม่สุดที่รักของข้าพเจ้ากำลัง ร้องไห้โดยมืลูกห้อยวัยห้าขวบที่จวนจะสิ้นลมอยู่ในอ้อมแขนและเราทุกคนเบียด กันอยู่รอบๆ”1
ที่น่าเศร้ากว่านั้นสำหรับเด็กน้อยสเป็นเซอร์คือข่าวที่ท่านได้รับอีกสองปีต่อ มาเมื่อท่านกับพี่ๆ ห้องๆ ถูกตามกลับจากโรงเรียนตอนเช้าวันหนึ่ง พวกเขาวิ่ง กลับบ้านและพบอธิการ ท่านพาพวกเขามาอยู่รอบท่านและบอกว่าคุณแม่ของ พวกเขาเสียชีวิตแล้วเมื่อวันก่อน ประธานคิมบัลล์เล่าในเวลาต่อมาว่า “มันเกิด ขึ้นราวกับสายฟ้าฟาด ข้าพเจ้าวิ่งออกจากบ้านไปร้องไห้โฮๆ อยู่ในสวนหลังบ้าน ตามลำพัง ข้าพเจ้าร้องไห้สะอึกสะอื้นอยู่ในที่ที่ไม่มืใครมองเห็นและได้ยิน ทุก ครั้งที่พูดกำว่า ‘แม่, มํ้าตาจะไหลพรั่งพรูออกมาทันทีจนกว่าจะเหือดแห้งไปเอง แม่—ตายแล้ว แต่ท่านจะตายไม่ไต้ ชีวิตเราคงดำเนินต่อไปไม่ไต้ … หัวใจของ เด็กอายุสิบเอ็ดขวบอย่างข้าพเจ้าแทบระเบิดออกมา”2
ห้าสิบปีต่อมา เอ็ลเดอร์สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมมัลล์ซึ่งตอนนั้นเป็นสมาชิก ในโควรัมอัครสาวกสิบสอง อยู่ไกลบ้านเผื่อพักฟื้นจากการผ่าตัดครั้งใหญ่ ท่าน นอนไม่หลับเพราะมึกถึงวันที่มารดาเสียชีวิต “ข้าพเจ้ารู้สีกเหมือนกำลังสะอื้น ไห้อีกครั้ง … ขณะนึกถึงเส้นทางอันน่าเศร้าเหล่านั้น”3
ขณะเผชิญความเสืยใจอย่างสุดซึ้งของประสบการณ์เช่นนั้นสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์มักจะพบความปลอบโยนในการสวดอ้อนวอนและในหลักธรรม แห่งพระกิตติคุณเสมอ แม้ในวัยเด็ก ท่านก็ยังรู้ว่าจะหันไปรับสันติสุขได้ที่ใด สหายคนหนึ่งของครอบครัวเขียนถึงการสวดอ้อนวอนของเด็กน้อยสเป็นเซอร์ ดังนี้ “การสูญเสืยมารดาทำให้หัวใจดวงน้อยของเขาหนักอึ้งแต่เขาต่อสู้กับความ โศกเศร้าด้วยความกล้าหาญยิ่งและแสวงหาการปลอบโยนจากแหล่งนั้น”4
ในการปฎิมัติศาสนกิจของประธานคิมมัลล์ บ่อยครั้งที่ท่านกล่าวปลอบประ โลมผู้เป็นทุกข์เพราะการสูญเสืยผู้เป็นที่รัก ท่านเป็นพยานถึงหลักธรรมนิรันดร์ โดยยืนยันลับสืทธิชนว่าความตายไม่ใช่ที่สุดของการดำรงอยู่ ท่านเคยพูดในพิธี ศพครั้งหนึ่งว่า
“เราถูกจำกัดการมองเห็น ด้วยดวงตาของเราเราเห็นได้ในระยะไม่กี่ไมล์ ด้วย หูของเราเราได้ยินเพียงไม่กี่ปี คล้ายกับว่าเราถูกกักขัง ถูกปีดล์อมให้อยู่ในห้อง แต่เมื่อใดที่ความสว่างของเราออกนอกชีวิตนี้ เมื่อนั้นเราจะมองเห็นเกินขีดจำ กัดความเป็นมนุษย์ของเรา …
“กำแพงลดตํ่าลง เวลาสิันสุด ระยะทางห่างหายและเลือนไปขณะที่เราเข้าสู่ ความเป็นนิรันดร์ … และเราโผล่เข้าไปในโลกที่ยิ่งใหญ่ทันที โลกที่ไม่มีข้อจำ กัดทางโลก”5
คำสอนของสเป็นเซอร์ ดับบิลยู. คิมบัลล์
ในพระปรีชาญาณของพระผู้เป็นเจ้า พระองค์มิได้ทรงยับยั้งโศกนาฏกรรมเสมอไป
หนังสือพิมพ์รายวันพาดหัวข่าวว่า “เครื่องบินตก 43 ชีวิตดับ ไม่มีผู้รอด ชีวิตจากโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่” และหลายพันคนถามพร้อมกันว่า “ทำไมพระ เจ้าทรงปล่อยให้เรื่องน่ากลัวเช่นนี้เกิดขึ้น”
รถยนต์สองคันชุนกันเมื่ออันหนึ่งฝ่าไฟแดงและหกคนเสืยชีวิต ทำไมพระผู้ เป็นเจ้าไม่ทรงยับยั้งเรื่องนี้
ทำไมคุณแม่ยังสาวจึงเสืยชีวิตเพราะมะเร็งและปล่อยให้ลูกแปดคนขาดแม่ ทำไมพระเจ้าไม่ทรงรักษาเธอ
เด็กเล็กคนหนึ่งจมนํ้าตาย และอีกคนหนึ่งถูกรถทับ ทำไม
ชายคนหนึ่งเสียชีวิตกะทันหันเพราะเสันเลือดอุดด้นขณะปีนบันได ร่างของ เขาหล่นลงไปบนพื้น ภรรยาของเขาร้องออกมาด้วยความปวดร้าว “ทำไม ทำไม พระเจ้าทรงทำเช่นนี้กับฉัน พระองค์ไม่คิดหรือว่าลูกเล็กๆ สามคนของฉันยัง ต้องการพ่อ”
ชายหนุ่มคนหนึ่งเสียชีวิตในสนามเผยแผ่และผู้คนต่างวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ทำไมพระเจ้าไม่ทรงคุ้มครองเด็กหนุ่มคนนี้ขณะที่เขาทำงานเผยแผ่”
ข้าพเจ้าปรารถนาจะให้ตนมีอำนาจตอบคำถามเหล่านี้ได้ แต่ข้าพเจ้าตอบไม่ ได้ ข้าพเจ้ามั่นใจว่าสักวันหนึ่งเราจะเข้าใจและยอมรับ แต่สำหรับเวลานี้เราต้อง แสวงหาความเข้าใจให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ในหลักธรรมพระกิตติคุณ
พระเจ้าหรือที่ทรงกำกับเครื่องบินให้พุ่งชนภูเขาเพื่อตับชีวิตผู้อยู่ในเครื่องบิน ลำนั้น หรือมีข้อผิดพลาดทางกลไกหรือความผิดพลาดของมนุษย์
พระบิดาในสวรรค์ทรงทำให้รถยนต์ชนกันเพื่อนำหกคนไปสู่นิรันดรอย่างนั้น หรือ หรือเป็นความผิดของคนขับที่มองข้ามกฎเกณฑ์ความปลอดภัย
พระผู้เป็นเจ้าทรงพรากชีวิตมารดาที่อายุยังม้อยหรือทรงบอกให้เด็กคนนั้น เดินเตาะแตะลงคลองหรือพาเด็กอีกคนหนึ่งเข้าไปในเส้นทางที่รถกำลังวิ่งมา อย่างนั้นหรือ
พระเจ้าทรงทำให้ชายคนนั้นเกิดภาวะหัวใจวายหรือ ผู้สอนศาสนาเสียชีวิต ในเวลาที่ไม่สมควรอย่างนั้นหรือ ตอบสีถ้าท่านตอบได้ ข้าพเจ้าตอบไม่ได้ เพราะ แห้ข้าพเจ้าจะรู้ว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงมีบทบาทสำคัญในชีวิตเรา แต่ข้าพเจ้าไม่ ทราบว่าพระองค์ทำให้เกิดขึ้นมากเท่าใดและพระองค์ทรงยอมให้เกิดขึ้นมากเท่า ใด ไม่ว่าคำตอบของคำถามนี้จะเป็นอะไรก็ตาม มีอีกเรื่องหนึ่งที่ข้าพเจ้ามั่นใจ
พระเจ้าทรงยับยั้งโศกนาฎกรรมเหล่านี้ได้หรือไม่ คำตอบคือได้ พระเจ้าทรงมี พระพลานุภาพไพศาล มีพลังอำนาจทั้งหมดที่จะควบคุมชีวิตเรา ช่วยให้เรา รอดพ้นจากความเจ็บปวด ป้องกันอุบัติเหตุทุกอย่าง ขับเครื่องบินและรถยนต์ เลี้ยงดูเรา คุ้มครองเรา ช่วยให้เรารอดพ้นจากการทำงานหนัก ความยากลำบาก ความเจ็บป่วย แห้จากความตาย ถ้าพระองค์ประสงค์จะทำ แต่พระองค์จะไม่ ทรงทำเช่นนั้น
เราน่าจะเข้าใจเรื่องนี้ได้ เพราะเราทราบดีว่าไม่ฉลาดเลยที่เราจะกำบังลูกๆ ของเราจากความยากลำบากทุกอย่าง จากความผิดหวัง การล่อลวง ความเศร้า โศก และความทุกข์ยากก
ฎพระกิตติคุณเบื้องต้นคือสิทธิ์เสรีและการพัฒนานิรันดร์ การบังคับเราให้ ระบัดระวังหรือเป็นคนชอบธรรมจะทำให้กฎพื้นฐานไร้ผลและทำให้เราเติบโตไม่ ไต้6
การมีมุมมองนิรันดร์ช่วยให้เราเข้าใจว่าความยากลำบากจำเป็น ต่อความเจริญก้าวหน้านิรันดร์ของเรา
ถ้าเรามองว่าความเป็นมรรตัยคือภาพรวมทั้งหมดของการดำรงอยู่ เมื่อนั้น ความเจ็บปวด ความเศร้าโศก ความล้มเหลว และชีวิตอันสั้นคงจะเป็นความ หายนะ แต่ถ้าเรามองว่าชีวิตเป็นนิรันดร์ที่ย้อนไปไกลในอดีตก่อนมรรตัยส่อนาคต นิรันดร์หลังความตาย เมื่อนั้นเหตุการณ์ทั้งหลายน่าจะอยู่ในมุมมองที่ถูกต้อง
ไม่มีปรีชาญาณเลยหรือที่พระองค์ประทานการทดลองให้เราเอาชนะ ประทาน ความรับผิดชอบให้เราบรรลุ ประทานการทำงานเพื่อให้กล้ามเบื้อของเราแข็งแรง และประทานความเศร้าโศกเพื่อทดสอบจิตวิญญาณของเรา เราจะไม่เผชิญการ ล่อลวงเพื่อทดสอบความเข้มแข็งของเรา เผชิญความเจ็บป่วยเพื่อเราจะเรียนรู้ ความอดทน และเผชิญความตายเพื่อเราจะเป็นอมตะและมีรัศมีภาพหรอกหรือ
ถ้าคนป่วยทุกคนหายดีเมื่อเราสวดอ้อนวอน ถ้าคนชอบธรรมทุกคนได้รับ ความคุ้มครองและคนชั่วถูกทำลาย โปรแกรมทั้งหมดของพระบิดาย่อมเป็น โมฆะและหลักธรรมเบื้องต้นแห่งพระกิตติคุณคับสิทธิ์เสรีย่อมสั้นสุด และไม่มี มนุษย์คนใดต้องดำเนินชีวิตด้วยศรัทธา
ถ้าผู้ทำความดีไต้รับความปีติยินดี สันติสุข และรางวัลในทันที คงไม่มีความ ชั่วร้ายทุกคนคงจะทำความดีแต่ไม่ใช่เพราะความถูกต้องของการทำดี คงจะ ไม่มีการทดสอบความเข้มแข็ง ไม่มีการพัฒนาอุปนิสัย ไม่มีการเติบโตของพลัง ไม่มีสิทธี้เสรี มีแต่การควบคุมแบบซาตาน
ถ้าการสวดอ้อนวอนทั้งหมดไต้รับดำตอบทันทีตามความปรารถนาที่เห็นแก่ ตัวของเราและตามความเข้าใจอันจำกัดของเรา เมื่อนั้นคงมีความทุกข์ยาก ความ เศร้าโศก ความผิดหวังเพียงเล็กห้อยหรือไม่มีเลยหรือไม่มีแม้แต่ความตาย และ ถ้าไม่มี คงไม่มีความปีติยินดี ความสำเร็จ การพื้นคืนชีวิต ชีวิตนิรันดร์ และ ความเป็นพระผู้เป็นเจ้า
“เพราะจำด้องเป็นว่ามีการตรงกันข้ามในทุกสิ่ง … ความชอบธรรม … ความชั่วร้าย … ความบริสุทธิ์ … ความทุกข์ยาก … ความดี… ความชั่ว …” (2 มี ไฟ 2:11)
โดยที่เป็นมนุษย์ เราจึงอยากขับความเจ็บปวดทางกายและความปวดร้าวทาง ใจออกไปจากชีวิตเรา และอยากให้ตัวเราได้รับความชื่นมื่นและสบายใจตลอด เวลา แต่ถ้าเราปีดประดูรับความเศร้าโศกและความอาดูร เราอาจจะกีดกันเพื่อน ที่ยอดเยี่ยมที่สุดและผู้มีพระคุณของเราออกไป ความทุกข์ยากจะทำให้ผู้คนเป็น สิทธิชนขณะที่เขาเรียนรู้ความอดทน ความอดกลั้น และการเป็นนายตนเอง …
ข้าพเจ้าชอบเนื้อร้องท่อนหนึ่งของเพลง “ฐานมั่นคงหนักหนา”
เมื่อเราบอกเจ้าไปข้ามแม่นํ้าลึกนานา
สายนํ้าแห่งโศกาจะไม่พัดพาเจ้าไป
เพราะเราจะอยู่ด้วย อวยพรเจ้ายามทุกข์ไจ
จะปัดเป่าเภทภัยไม่ให้เข้ามากรํ้ากราย
[ดู เพลงสวด บทที่ 33]
และเอ็ลเดอร์เจมส์ อี. ทาลเมจเขียนดังนี้ “ไม่มีความปวดร้าวใดที่ชายหรือ หญิงบนแผ่นดินโลกจะได้รับโดยปราศจากผลตอบแทน … ถ้าเขาเผชิญต้วย ความอดทน”
อีกนัยหนึ่งคือ ผลกระทบที่มีพลังมหาศาลของสิ่งเหล่ามี้จะบดขยี้เราถ้าเรา พ่ายต่อความอ่อนแอ การบ่นว่า และการวิพากษ์ตำหนิ
“ไม่มีความเจ็บปวดใดที่เราทนทุกข์ ไม่มีการทดลองใดที่เราประสบจะสูญ เปล่า หากแต่ให้การศึกษาแก่เรา ให้การพัฒนาคุณสมนัติต่างๆ เช่น ความ อดทน ศรัทธา ความทรหด และความอ่อนม้อมถ่อมตน ทั้งหมดที่เราทนทุกข์ และทั้งหมดที่เรายืนหยัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรายืนหยัดด้วยความอดทน จะ สร้างอุปนิสัยของเรา ทำให้ใจเราบริสุทธี้ ขยายจิตวิญญาณของเรา ทำให้เราอ่อน โยนและมีความใจบุญมากขึ้น มีค่าควรมากขึ้นที่จะได้รับเรียกว่าเป็นบุตร ของพระผู้เป็นเจ้า … ความเสืยใจและความทุกข์ยาก ความลำบากและความ ทุกข์ทรมานจะช่วยให้เราได้รับความรู้ซึ่งเรามาที่มี่่ก็เพื่อให้ได้มาและจะทำให้เรา เป็นเหมือนพระบิดาพระมารดาในสวรรค์ของเรามากขึ้น …” (ออร์ลัน เอฟ. วิทมีย์)
มีคนที่ขมชื่นขณะเฝ้าดูผู้เป็นที่รักทนรับความปวดร้าว ความเจ็บปวดที่ไม่สิ้น สุด และความทรมานทางกาย บางคนอยากกล่าวหาพระเจ้าว่าไร้ความเมตตา เมินเฉย และไม่ยุติธรรม เราไม่สามารถตัดสินเช่นนั้นได้ …
พลังของฐานะปุโรหิตไร้ขีดจำกัดแต่พระผู้เป็นเจ้าทรงวางขีดจำกัดที่แน่นอน ให้เราแต่ละคนด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์ ข้าพเจ้าอาจจะพัฒนาพลังฐานะ ปุโรหิตได้เมื่อข้าพเจ้าทำชีวิตให้ดีพร้อม แต่ข้าพเจ้ารู้สึกซาบซึ้งที่แม้จะผ่านฐานะ ปุโรหิตข้าพเจ้าก็ไม่สามารถรักษาคนป่วยทุกคนให้หายได้ ข้าพเจ้าอาจจะรักษาคน ที่ควรเสียชีวิตให้หายได้ ข้าพเจ้าอาจจะบรรเทาทุกข้ผู้ที่ควรทนทุกข์ได้ แต่ข้าพ เจ้าเกรงว่าจะทำให้จุดประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าล้มเหลว
หากข้าพเจ้ามีพลังไร้ขีดจำกัด แต่มีวิสัยทัศน์และความเข้าใจจำกัด ข้าพเจ้า อาจจะช่วยชีวิตอหินาไดจากเปลวไฟเมื่อท่านถูกเผาทั้งเป็น และในการทำเช่น นั้น ข้าพเจ้าอาจทำให้ท่านเสืยหายโดยไม่สามารถชดเชยได้ ท่านเสืยชีวิตเป็นมรณสักขีและได้รับรางวัลของมรณสักขี นั่นก็คือ ความสูงส่ง
เป็นไปได้ว่าข้าพเจ้าจะคุ้มครองเปาโลให้พ้นภัยล้าพลังของข้าพเจ้าไร้ขอบเขต ข้าพเจ้าจะรักษา “หนามใหญ่ในเนื้อ” ของเขาแน่นอน [2 โครินธ์ 12:7] และ ในการทำเช่นนั้นข้าพเจ้าอาจจะขัดขวางโปรแกรมของพระเจ้า เขาสวดอ้อนวอน สามครั้งโดยทูลขอพระเจ้าให้ทรงเอา “หนามใหญ่” ออกไป แต่พระเจ้ามิได้ ทรงตอบคำสวดอ้อนวอนของเขา [ดู 2 โครินธ์ 12:7–10] หลายครั้งที่อาจจะ ทำให้เปาโลหลงตัวเองได้ถ้าเขามีวาทศิลป์ รํ่ารวย รูปงาม และปราศจากสิงทั้ง หลายที่ทำให้เขาอ่อนน้อมถ่อมตน …
ข้าพเจ้าเกรงว่าถ้าข้าพเจ้าอยู่ในคุกคาร์เทจเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1844 ข้าพเจ้าอาจจะเปลี่ยนวิถีกระสุนที่ทะลุร่างศาสดาและผู้ประสาทพร ข้าพเจ้าอาจ จะช่วยพวกท่านให้รอดพ้นจากความทุกข์ยากและความปวดร้าว แต่จะทำให้ พวกท่านสูญเสียรางวัลและความตายเนื่องจากมรณสักขี ข้าพเจ้าดีใจที่ไม่ต้อง ตัดสินใจเรื่องนั้น
หากมีพลังที่ไม่ถูกควบคุม แน่นอนว่าข้าพเจ้าคงอยากปกป้องพระคริสต์จาก ความปวดร้าวในเกทเสมนี การเหยียดหยาม มงถุฎหนาม การสบประมาทใน ศาล และการทำร้ายร่างกาย ข้าพเจ้าอยากทำแผลให้พระองค์และรักษาแผลเหล่า นั้น ให้นํ้าเย็นแทนนํ้าสัมสายชู ข้าพเจ้าอาจจะช่วยให้พระองค์รอดพ้นจากความ ทุกข์ยากและความตาย แต่โลกจะสูญเสียการเสียสละอันเป็นการชดใช้ของ พระองค์
ข้าพเจ้าคงไม่กล้ารับผิดชอบนำชีวิตกลับมาให้ผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า พระ คริสต์ทรงยอมรับความแตกต่างระหว่างพระประสงค์ของพระองค์กับของพระ บิดาเมื่อพระองค์ทรงสวดอ้อนวอนให้จอกแห่งความขมขื่นเลื่อนพ้นไปจากพระ องค์ แต่พระองค์ทูลเพิ่มเติมว่า “แต่อย่างไรก็ดี อย่าให้เป็นไปตามใจข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยฃองพระองค์เถิด” [ถูกา 22:42]7
ความตายจะเปิเดประตูรับโอกาสอันน่าชื่นชมยินดี
สำหรับผู้ล่วงลับ ชีวิตดำเนินต่อไปและสิทธิ์เสรีของเขายังคงอยู่ ความตาย ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความหายนะสำหรับเรานั้นอาจจะเป็นพรแอบแฝงก็ได้ …
ถ้าเราพูดว่าการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรคือความหายนะ ภัยพิบ้ติ หรือโศก นาฎกรรม เราไม่ได้กำลังบอกหรือว่าความเป็นมรรตัยดีกว่าการเข้าสู่โลกวิญญาณ เร็วขึ้นและดีกว่าความรอดและความสูงส่งในท้ายที่สุด ถ้าความเป็นมรรตัยคือ สภาพที่สมบูรณ์แบบ ความตายก็คงจะเป็นสภาพความล้มเหลว แต่พระกิตติ คุณสอนเราว่าไม่มีเรื่องเศร้าในความตาย มีแต่ในบาป “… คนตายที่ตายใน พระเจ้าย่อมเปีนสุข …” (ดู ค.พ. 63:49)
เรารู้น้อยมาก วิจารณญาณของเราถูกจำกัด เราตัดสินวิธีของพระเจ้าจากทัศนะ อันกับแคบของเรา
ข้าพเจ้าพูดในพิธีศพของนักศึกษามหาวิทยาลัยบริคัม ยังคนหนึ่งที่เสียชีวิต ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง มีคนหนุ่มหลายแสนคนรีบร้อนเข้าสู่ความเป็นนิรันดร้ก่อนวัยอันควรเพราะความพินาศย่อยยับของสงครามครั้งนั้นและข้าพเจ้า แถลงว่าข้าพเจ้าเชื่อว่าคนหนุ่มที่ชอบธรรมเหล่านี้ได้รับเรียกให้ไปยังโลกวิญญาณ เพื่อสั่งสอนพระกิตติคุณแก่จิตวิญญาณที่ด้อยโอกาสเหล่านี้ นี่อาจไม่เป็นความ จริงกับทุกคนที่เสืยชีวิต แต่ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเป็นความจริงกับเขา
ในภาพปรากฎเกี่ยวกับ “การไถ่คนตาย” ประธานโจเซฟ เอฟ. สมิธเห็นสิ่ง นี้ …ท่านเขียนว่า
“… ข้าพเจ้าเห็นว่าพระเจ้ามิได้เสด็จไปโดยพระองค์เองในบรรดาคนชั่วร้าย และคนไม่เชื่อฟัง ผู้ปฏิเสธความจริงที่ทรงสอนเขา … แต่ดูเถิด จากบรรดาคน ชอบธรรม พระองค์ทรงจัดวางกำลังคนของพระองค์ … และทรงมอบหมายให้ เขาออกไปพร้อมทั้งนำความสว่างแห่งพระกิตติคุณไปด้วย …
“… พระผู้ไล่ของเราทรงใช้เวลาของพระองค์ …ในโลกของวิญญาณทั้งหลาย สอนและเตรียมวิญญาณที่ชื่อสัตย์ … ผู้ให้ถ้อยคำถึงพระองค์ในเนื้อหนัง เพื่อ ท่านจะได้นำข่าวสารการไถ่ไปยังคนตายทั้งหมด ไปยังผู้ที่พระองค์เสด็จไปเองไม่ ได้เนื่องจากการกบฏและการล่วงละเมิดของเขา …
“ข้าพเจ้าเห็นว่าเก็ลเดอร์ที่ชื่อสัตย์ของสมัยการประทานนี้ เมื่อเขาออกจาก ชีวิตมตะ ทำงานของเขาต่อไปในการสั่งสอนพระกิตติคุณแห่งการกลับใจและ การไถ่” [ดู ค.พ. 138:29–30, 36–37, 57]
เมื่อถึงตอนนั้นความตายอาจจะเป็นการเปีดประตูรับโอกาสก็ได้ รวมไปถึง โอกาสในการสอนพระกิตติคุณของพระคริสต์8
ในช่วงเวลาของการทดลอง เราต้องวางใจพระผู้เป็นเจ้า
ถึงแม้จะมีข้อเท็จจริงที่ว่าความตายเปีดประตูบานใหม่ แต่เราก็ไม่แสวงหา ความตาย เราได้รับการตักเตือนให้สวดอ้อนวอนสำหรับผู้ที่เจ็บป่วยและใช้พลัง ฐานะปุโรหิตของเรารักษาพวกเขา
“และจะเรียกเอ็ลเดอร์ฃองศาสนาจักรมาสองคนหรือมากกว่านั้น และจะ สวดอ้อนวอนเพื่อเขา และปรกมือบนเขาในนามของเรา และหากเขาตาย เขา จะตายไว้กับเรา และหากเขาอยู่เขาจะอยู่กับเรา
“เจ้าจงอยู่ด้วยกันด้วยความรัก ถึงขนาดที่เจ้าจะร้องไห้เพราะการสูญเสียพวก เขาที่ตาย และเฉพาะยิ่งกว่านั้นเพราะคนที่ไม่มีความหวังในการฟื้นคืนชีวิตที่ รุ่งโรจน์
“และเหตุการณ์จะบังเกิดขึ้นคือ คนที่ตายในเราจะไม่ชิมรสความตายเพราะ บันจะหวานสำหรับเขา
“และวิบัติแก่คนที่หาตายในเราไม่เพราะความตายของเขาขม
“และอนึ่ง เหตุการณ์จะบังเกิดขึ้นคือคนที่มีศรัทธาในเราที่จะได้รับการรักษา และไม่ถูกกำหนดให้ตายจะได้รับการรักษา” (ค.พ. 42:44–48)
พระเจ้าทรงรับรองกับเราว่าคนป่วยจะหายดีถ้าประกอบพิธีการให้เขา ถ้ามี ศรัทธาเพียงพอ และถ้าคนป่วย “ไม่ถูกกำหนดให้ตาย” แต่มีองค์ประกอบสาม อย่างซึ่งควรทำให้ได้ทั้งหมด หลายคนไม่ทำตามพิธีการ และคนจำนวนมากไม่ ยอมหรือไม่แสดงศรัทธามากพอ แต่องค์ประกอบอีกอย่างหนึ่งก็สำคัญด้วย นั่น คือ ถ้าเขาไม่ถูกกำหนดให้ตาย
ทุกคนต้องตาย ความตายเป็นส่วนสำคัญของชีวิต แน่นอนว่าเราไม่พร้อม รับการเปลี่ยนแปลงสักเท่าใด โดยไม่รู้ว่าความตายจะเกิดขึ้นเมื่อใด เราจึงต่อสู้ ตามสมควรเพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ แต่เราไม่ควรกลัวความตาย เราสวดอ้อนวอน ให้คนป่วย เราดูแลผู้ทุกข์ทรมาน เราอ้อนวอนพระเจ้าให้ทรงรักษา ลดความ เจ็บปวด ช่วยชีวิต และเลื่อนความตายออกไปตามความเหมาะสม แต่ไม่ใช่ เพราะความเป็นนิรันดร์นั้นน่ากลัว …
เช่นที่ปัญญาจารย์ (3:2) กล่าว ช้าพเจ้ามั่นใจว่ามีวาระตาย แต่ข์าพเจ้าเชื่อ ด้วยว่าคนเป็นอันมากตายก่อน “วาระ” เพราะเขาประมาท ใช้ร่างกายผิด ฉวย โอกาสที่ไม่จำเป็น และทำให้ตนเองเผชิญอันตราย อุบัติเหตุ และความเจ็บ ป่วย …
พระผู้เป็นเจ้าทรงควบคุมชีวิตเรา ทรงมําทางและทรงอวยพรเรา แต่ประทาน สิทธิ์เสรีแก่เรา เราจะดำเนินชีวิตให้สอดคถ้องกับแผนของพระองค์เพื่อเราก็ได้ หรือเราจะทำให้ชีวิตสั้นลงหรือจบชีวิตอย่างโง่ๆ ก็ได้
ข้าพเจ้าแน่ใจในความคิดที่ว่าพระเจ้าทรงวางจุดหมายของเรา สักวันหนึ่งเรา จะเข้าใจอย่างล่องแท้ และเมื่อเรามองจากจุดสูงสุดของอนาคตย้อนกลับไป เรา จะพึงพอใจกับเหตุการณ์มากมายของชีวิตที่ยากเกินกว่าเราจะเช้าใจ
บางครั้งเราคิดว่าเราอยากจะรู้สิ่งที่อยู่ตรงหน้า แต่ความคิดที่มีสตินำเราให้ กลับไปยอมรับชีวิตทีละวัน ขยาย และทำให้วันนั้นนำชื่นชมยินดี …
เรารู้ก่อนเราเกิดว่าเราจะมายังโลกนี้เพื่อรับร่างกายและประสบการณ์ รู้ว่าเรา จะมีความปีติยินดีและความโศกเศร้า ความชื่นมื่นและความเจ็บปวด ความ สบายใจและความยากลำบาก สุขภาพดีและความเจ็บป่วย ความสำเร็จและ ความผิดหวัง และเรารู้ด้วยว่าหลังจากช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตเราจะตาย เรายอม รับเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ด้วยใจยินดี กระหายใคร่ยอมรับทั้งเรื่องน่าอภิรมย์และไม่ น่าอภิรมย์ เรากระหายใคร่ยอมรับโอกาสที่จะมาโลกนี้แม้เพียงหนึ่งวันหรือหนึ่ง ปี บางทีเราอาจจะไม่สนใจด้วยซํ้าว่าเราจะตายเพราะโรคภัย อุบัติเหตุ หรือความ ชรา เรายินดีรับชีวิตตามที่เกิดขึ้นและตามที่เราจะจัดระบบและควบคุมได้ โดย ไม่บ่นว่าหรือเรียกร้องอย่างไร้เหตุผล
ในการเผชิญโศกนาฎกรรมที่เห็นได้นั้น เราต้องวางใจพระผู้เป็นเจ้า โดยรู้ว่า แม้เราจะมีทัศนะจำกัด แต่จุดประสงค์ของพระองค์จะไม่ล้มเหลว ชีวิตพร้อม กับความยุ่งยากทั้งหมดจะให้เอกสิทธิ์อันลํ้าเลิศแก่เราเพื่อเติบโตในความรู้และ ปัญญา ศรัทธาและการทำงาน เพื่อเตรียมกลับไปรับส่วนแบ่งรัศมีภาพของพระ ผู้เป็นเจ้า9
ข้อเสนอแนะสำหรับศึกษาและสอน
พิจารณาแนวคิดต่อไปนี้ขณะศึกษาบทเรียนหรือขณะเตรียมสอน ดูความช่วย เหลือเพิ่มเติมได้ที่หน้า ⅴ–ⅸ
-
เหตุใดพระเจ้าไม่ทรงป้องกันเราจากความโศกเศร้าและความทุกข์ยากทั้งหมด (ดู หน้า 14–16)
-
ศึกษาหม้า 16–18 โดยดูว่าเราจะพลาดอะไรถ้าพระเจ้าไม่ทรงยอมให้เราประ สบกับการทดลอง เราควรตอบรับการทดลองและความทุกข์ยากของเราอย่าง ไร พระเจ้าทรงเสริมกำลังท่านอย่างไรในการทดลองของท่าน
-
อ่านย่อหน้าที่เริ่มว่า “มีคนที่ …” หน้า 17–18 เหตุใดเราจึงไม่อยากเห็นผู้ เป็นที่รักทนทุกข์ เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อหลีกเลี่ยงความขมชื่นหรือความ ท้อแท้ในเวลาเช่นนั้น
-
อ่านทวนหน้า 17–22 เพื่อหาคำสอนเกี่ยวกับพรฐานะปุโรหิต ท่านเคยเห็น พลังการรักษาหรือการปลอบโยนของฐานะปุโรหิตเมื่อใด เราจะตอบสนอง อย่างไรเมื่อเราเรียนรู้ว่าพระเจ้าไม่ประสงค์ไห้คนที่เรารักหายเป็นปกติหรือเลื่อน ความตายออกไป
-
ท่านจะอธิบายคำสอนของประธานคิมบัลล์อย่างไรเกี่ยวกับความตายของเด็ก
-
ประธานคิมบัลล์สอนว่า “ในการเผชิญหน้ากับโศกนาฎกรรม เราต้องวางใจ พระผู้เป็นเจ้า” (หน้า 22) เมื่อบุคคลหนึ่งวางใจพระผู้เป็นเจ้า เขาหรือเธอ จะทำอะไรไต้น้างในเวลาแห่งการทดลอง
ข้อพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง: สดุดี 116:15; 2 นีไฟ 2:11–16; 9:6; แอลมา 7:10–12; ค.พ. 121:1–9; 122:1–9