คำสอนของประธานศาสนจักร
บทที่ 4: ปาฏิหาริย์แห่งการให้อภัย


บทที่ 4

ปาฏิหาริย์แห่งการให้อภัย

โดยผ่านการกลับใจที่จริงใจและพลังอำนาจการไถ่ของพระผู้ช่วยให้รอด เราจะพบปาฏิหาริย์แห่งการให้อภัย

จากชีวิตของสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์

ประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์สอนว่า “การกลับใจเป็นกุญแจไข สู่ชีวิตที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้นตลอดมา เราทุกคนต้องการการกลับใจ”1

ท่านตั้งข้อสังเกตด้วยว่า “ความหวังคือ … สาเหตุสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการ กลับใจ เพราะหากปราศจากความหวัง คงไม่มีใครออกแรงพยายามมากขึ้นเพื่อ ทำสืงที่ยากและเรียกร้องจากเขา” เพื่ออธิบายประเด็นนี้ ท่านได้เล่าประสบการณ์ ในการช่วยสตรีผู้หนึ่งที่มาพบท่านเพราะรู้สึกห้อแห้หดหู่เกี่ยวกับบาปที่เธอทำ เธอกล่าวว่า “ดิฉันทราบว่าได้ทำอะไรลงไป ดิฉันอ่านพระคัมภีร์ และรู้ถึงผลที่ จะตามมา ดิฉันรู้ตัวว่าถูกประณามและจะไม่มีวันได้รับการยกโทษ แล้วเหตุใด ดิฉันจะต้องพยายามกลับใจตอนนี้เล่า”

ประธานคิมบัลล์ตอบว่า “ซิสเตอร์ที่รัก คุณไม่รู้พระคัมภีร์ คุณไม่รู้จักพลังอํา นาจของพระผู้เป็นเจ้าและพระกรุณาธิคุณของพระองค์ คุณจะ ได้ รับการอภัย สำหรับบาปร้ายแรงนี้แต่จะต้องมีการกลับใจที่จริงใจมากจึงจะบรรลุผลสำเร็จ”

จากนั้นท่านได้หยิบยกพระคัมภีร์หลายข้อเกี่ยวกับการให้อภัยที่มาถึงผู้กลับ ใจอย่างจริงใจและเชื่อฟ้งพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า ขณะยังคงแนะนำเธอ ท่านเห็นประกายความหวังที่เกิดขึ้นในตัวเธอจนเธอร้องออกมาในที่สุดว่า “ขอบ คุณค่ะ ขอบคุณ ดิฉันเชื่อท่าน ดิฉันจะกลับใจจริงๆ และชำระอาภรณ์สกปรก ของดิฉันในพระโลหิตของพระเมษโปดกและรับการยกโทษนั้น”

ประธานคิมบัลล์จำได้ว่าในที่สุดสตรีผู้นี้ก็กลับมาที่ห้องทำงานของท่านเป็น “คนใหม่—ดวงตาสดใส ก้าวเดินกระฉับกระเฉง และเปี่ยมไปด้วยความหวัง ขณะที่เธอประกาศต่อข้าพเจ้าว่า ตั้งแต่วันอันน่าจดจำวันนั้นเมื่อความหวังเป็น เหมือนดาวนำทางและเธอตรึงแน่นอยู่กับความหวังดังกล่าว เธอไม่เคยกลับไป ทำ [บาปนั้น] และไม่เข้าใกล้อีกเลย”2

คำสอนของสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์

ปาฏิหาริย์แห่งการให้อภัยสร้างสันติสุขและ ช่วยให้เราใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น

มีปาฏิหาริย์อันน่าชื่นชมยินดีรอคอยจิตวิญญาณทุกดวงที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง การกลับใจและการให้อภัยทำให้คืนอันมืดมิดที่สุดกลายเป็นวันสว่างเจิดจ้า เมื่อ ใดที่จิตวิญญาณเกิดใหม่ เมื่อใดที่ชีวิตเปลี่ยนไป—เมื่อนั้นย่อมเกิดปาฏิหาริย์ครั้ง ใหญ่เพื่อทำให้สวยงาม อบอุ่น และเบิกบาน เมื่อความตายทางวิญญาณคุกคาม และการฟื้นขึ้นมาใหม่เข้ามาแทนที่ เมื่อชีวิตผลักความตายออกไป —เมื่อสิ่งนี้ เกิดขึ้น นั่นคือสุดยอดของปาฏิหาริย์ และปาฏิหาริย์อันยิ่งใหญ่เช่นนั้นจะไม่ยุติ ตราบที่มีบุคคลคนหนึ่งใช้พลังอำนาจการไถ่ของพระผู้ช่วยให้รอดและงานดีของ เขาเองเพื่อทำให้เขาเกิดใหม่อีกครั้ง …

เนื้อแห้ของปาฏิหาริย์แห่งการให้อภัยคือการให้อภัยจะนำสันติสุขมาให้จิตวิญ ญาณที่เคยเป็นทุกข์ ว้าวุ่น ผิดหวัง และอาจจะทุกข์ทรมานมาก่อน ในโลกแห่ง ความสับสนวุ่นวายและความขัดแย้ง นึ่คือของประทานอันประมาณค่ามิได้อย่าง แห้จริง3

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะอยู่อย่างสงบในโลกที่วุ่นวายเช่นทุกวันนี้ สันติสุขคือสิ่งที่ แต่ละคนจำเป็นด้องได้มา … สิ่งนี้จะบรรลุได้โดยรักษาทัศนคติที่ต้องกลับใจไว้ ตลอดเวลาเท่านั้น โดยแสวงหาการอภัยบาปทั้งใหญ่และเล็ก และด้วยเหตุนี้จึง มาใกล้พระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น สำหรับสมาชิกศาสนาจักรแล้วนึ่คือเนื้อแห้ของการ เตรียมตัว เตรียมความพร้อมของเขาที่จะพบพระผู้ช่วยให้รอดเมื่อพระองค์เสด็จ มา …คนที่พร้อมจะมีสันติสุขในใจ เขาจะเป็นผู้มีส่วนในพรที่พระผู้ช่วยให้รอด ทรงสัญญากับอัครสาวกของพระองค์ว่า “เรามอบสันติสุขไว้ให้แก่ท่านทั้งหลาย สันติสุขของเราที่ให้แก่ท่านนั้น เราให้ท่านไม่เหมือนโลกให้ อย่าให้ใจของท่าน วิตกและอย่ากลัวเลย” (ยอห้น 14:27)

[จุดประสงค์ประการหนึ่ง] ของศาสนาจักรของพระเยซูคริสต์แห่งสืทธิชนยุค สุดห้ายคือเรียกผู้คนทุกแห่งหนมาสู่การกลับใจ คนที่เอาใจใส่เสืยงเรียก ไม่ว่าจะ เป็นสมาชิกหรือไม่เป็นสมาชิกของศาสนาจักรจะเป็นผู้มีส่วนในปาฏิหาริย์แห่ง การให้อภัย พระผู้เป็นเจ้าจะทรงเช็ดนํ้าตาแห่งความปวดร้าว ความสำนึกผิด ความ ตื่นตระหนก ความกลัว และความผิดของเขา นํ้าตาแห้งเหือดจะแทนที่นํ้าตานอง หม้า และรอยยิ้มแห่งความพึงพอใจจะแทนที่สืหม้าวิตกกังวล

ช่างใล่งใจกระไรเช่นนี้! ช่างสบายใจกระไรเช่นนี้! ช่างปีติยินดีกระไรเช่นนี้! ที่ผู้แบกการล่วงละเมิด ความเศร้าโศก และบาปจะได้รับการอภัย การชำระให้ สะอาดและบริสุทธิ์ถ้าเขาจะกลับไปหาพระผู้เป็นเจ้า เรียนรู้จากพระองค์ และ รักษาบัญญัติฃองพระองค์ เราทุกคนจะมีล่วนในปาฏิหาริย์นี้ได้เช่นกันโดยเราต้อง กลับใจจากความซั่วร้ายและความอ่อนแอทุกวัน4

เราต่างก็ต้องการการถลับใจ

“… ไม่มีสิงใดที่ไม่สะอาดจะเข้าในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าได้ …” (1 มีไฟ 15:34) และอนึ่ง “… จะไม่มีสิ่งที่ไม่สะอาดอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าได้ …” (1 มีไฟ 10:21) คำว่า ไปสะอาด ในบริบทนี้มีความหมายต่อศาสดาอย่างที่มี ความหมายต่อพระผู้เป็นเจ้า คำนี้อาจมีความหมายต่อมนุษย์ในแง่ที่ว่ารอยเปื้เอน จุดเล็กๆ จุดหนึ่งไม่ได้ทำให้เสิ้อหรือชุดสิขาวไม่สะอาด แต่กับพระผู้เป็นเจ้าผู้ ทรงเป็นความดีพร้อม ความสะอาดหมายถึงความสะอาดส่วนตัวและความสะอาดทางสืลธรรม น้อยกว่านั้นคือความไม่สะอาด ไม่ว่าจะระตับใดก็ตาม และ ด้วยเหตุนี้จึงอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้

หากไม่ใช่เพราะของประทานแห่งการกลับใจและการให้อภัย นี่คงจะเป็น สถานการณ์สิ้นหวังสำหรับมนุษย์ เนื่องจากไม่มีใครมีชีวิตไร้บาปบนแผ่นดินโลก ยกเว้นพระอาจารย์5

ไม่มีสักวันในชีวิตมนุษย์ที่การกลับใจไม่จำเป็นต่อความผาสุกและความก้าว หน้านิรันดร์ของเรา

แต่ในเมื่อเราส่วนใหญ่คิดถึงการกลับใจ เราจึงมักทำให้วิสัยทัศน์ของเราแคบ ลงและมองว่าการกลับใจดีเฉพาะสำหรับสามีเรา ภรรยาเรา พ่อแม่เรา ลูกของ เรา เพื่อนน้านของเรา เพื่อนของเรา และโลกเท่านั้น—ใครก็ได้และทุกคนยก เว้นตัวเรา ทำนองเดียวกัน มีความรู้สีกเกิดขึ้นแพร่หลายและอาจจะไม่รู้ตัวว่า พระเจ้าทรงกำหนดการกลับใจให้เฉพาะสำหรับผู้ทำความผิดฐานฆาตกรรม หรือ เป็นชู้ หรือลักขโมย หรือทำความผิดร้ายแรงอื่นๆ แน่นอนว่าไม่ใช่เช่นนั้น ก้า เราอ่อนน้อมถ่อมตนและปรารถนาจะดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ เราจะคิด ว่าการกลับใจนำไปใช้ได้กับทุกสิ่งที่เราทำในชีวิต ไม่ว่าจะเรื่องฝ่ายโลกหรือฝ่าย วิญญาณ การกลับใจมีไว้เพื่อจิตวิญญาณทุกดวงที่ยังไม่บรรลุความดีพร้อม6

การกลับใจคือกุญแจไขส่การให้อภัย เปีดประตูรับความสุขและสันติสุข ชี้ทาง สู่ความรอดในอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า ไขเอาวิญญาณแห่งความอ่อนน้อม ถ่อมตนในจิตวิญญาณของมนุษย์ออกมาและทำให้เขามีความชอกชํ้าใจและยอม ตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า

“บาปเป็นสิ่งที่ผิดธรรมบัญญัติ” (1 ยอห์น 3:4) และมีการลงโทษติดมากับ การล่วงละเมิดเช่นนั้นภายไต้กฎนิรันดร์ ปุถุชนทุกคนต้องรับผิดชอบบาปที่เขา ทำ และจะต้องได้รับโทษที่ติดมากับกฎเหล่านั้นที่ถูกฝ่าฟืน อย่างไรก็ดี การสิ้น พระชนม์บนกางเขนของพระคริสต์ทำให้เราได้รับการยกเว้นโทษนิรันดร์สำหรับ บาปส่วนใหญ่ พระองค์ทรงรับโทษบาปของทุกคนในโลกมาไว้กับพระองค์ พร้อม ด้วยความเข้าใจว่าคนที่กลับใจและมาหาพระองค์จะได้รับการอภัยบาปและพ้น โทษ7

การตระหนักในบาปและรู้สึกเสียใจอย่างที่ชอบพระทัย พระเจ้าคือส่วนหนึ่งของการกลับใจที่แนัจริง

การกลับใจคือกฎที่เปียมด้วยเมตตากรุณา ส่งผลกระทบกว้างไกลและครอบ คลุมทั้งหมด … มีองค์ประกอบหลายอย่าง แต่ละอย่างจำเป็นต่อการกลับใจที่สม บูรณ์ …

ไม่มี ทางหลวงพิเศษสู่การกลับใจ ไม่มีเส้นทางพิเศษสู่การให้อภัย ทุกคน ต้องเดินตามวิถีเดียวกันไม่ว่าจะร๋่ารวยหรือยากจน มีการศึกษาหรึอด้อยการสืกษา สูงหรือเตี้ย เป็นเจ้าชายหรือคนอนาถา เป็นกษัตริย์หรือคนธรรมดาสามัญ “เพราะว่าพระเจ้าไม่ได้ทรงเห็นแก่หน้าผู้ใดเลย” (โรม 2:11) …

ก่อนจะเริ่มองค์ประกอบมากมายของการกลับใจจะต้องมีก้าวแรก ก้าวแรก คือช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่คนบาปจะตระหมักในบาปของตนอย่างมีจิตสำนึก นี่คือ การปลุกให้ตื่น การยอมรับผิด หากปราศจากสิ่งนี้จะมีการกลับใจที่แห้จริงไม่ได้ เลยเพราะไม่มีการยอมรับว่าทำบาป …

เมื่อเรารับรู้ถีงความร้ายแรงของบาปที่เราทำ เราจะสามารถบังคับความคิดให้ ทำตามกระบวนการต่างๆ ได้เพื่อกำจัดผลของบาป แอลมาพยายามถ่ายทอดสิ่ง นี้ให้โคริแอนทอนเมื่อท่านกล่าวว่า “… ขอให้บาปของลูกเท่านั้นเป็นที่ยุ่งยาก ใจลูก ด้วยความยุ่งยากใจนั้นซึ่งจะนำลูกลงมาสู่การกลับใจ … จงอย่าพยายาม แก้ตัวแม้แต่น้อย …” (แอลมา 42:29–30)8

พระวิญญาณบริสุทธี้ทรงมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้คนบาปยอมรับความ ผิดพลาดของตน พระองค์ทรงช่วยให้รู้ “ความจริงของทุกเรื่อง” (โมโรไน 10:5) สอนทุกเรื่องและนำทุกเรื่องมาสู่ความทรงจำของเรา (ยอห์น 14:26) และ ว่ากล่าวโลกเพราะบาป (ยอห์น 16:8)

บ่อยครั้งที่ผู้คนบอกว่าพวกเขากลับใจแก้วทั้งที่เขาไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจาก แสดงความเสียใจสำหรับการทำผิด แต่การกลับใจที่แท้จริงเห็นได้จากการเสียใจ อย่างที่ชอบพระทัยพระเจ้าที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ดีขึ้น และรอด เสืยใจเท่านั้น ไม่พอ … เปาโลกล่าวภับสิทธิชนชาวโครินธ์คังนี้

“แต่มัดนี้ข้าพเจ้ามีความชื่นชมยินดี มิใช่เพราะท่านเสืยใจ แต่เพราะความ เสียใจนั้นทำให้ท่านกลับใจใหม่ เพราะว่าท่านได้รับความเสืยใจอย่างที่ชอบพระ ทัยพระเจ้า ท่านจึงไม่ได้ผลร้ายจากเราเลย

“เพราะว่าความเสืยใจอย่างที่ชอบพระทัยพระเจ้าย่อมกระทำให้กลับใจใหม่ ซึ่งนำไปถึงความรอดและไม่เป็นที่น่าเลียใจ แต่ความเสืยใจอย่างโลกนั้นย่อมนำ ไปถึงความตาย” (2 โครินธ์ 7:9–10)9

การให้อภัยทุกอย่างมีเงื่อนไข พลาสเตอร์ต้องกว้างเท่าบาดแผล การอดอาหาร การสวดอ้อนวอน ความนอบน้อมต้องเท่าหรือมากกว่าบาป จะต้องมีใจ ที่ชอกชํ้าและวิญญาณที่สำนึกผิด จะต้องมี “ผ้ากระสอบและเถ้าถ่าน” จะต้อง มีนํ้าตาและการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงของใจ10

การละทิ้งบาปรวมไปถึงการสร้างชีวิตใหม่

แน่นอนว่าแม้จะยอมรับผิดก็ยังไม่พอ มันอาจส่งผลเสียและเป็นภัยถ้าไม่ทำ ควบคู่กับความพยายามขจัดความผิด การยอมรับผิดจะต้องมาควบคู่กับความ ปรารถนาอย่างจริงใจที่จะชำระความผิดและชดเชยความเสียหายอันเกิดจากความ ผิดพลาด11

มีการทดสอบขั้นชี้ขาดอย่างหนึ่งของการกลับใจ นั่นก็คือการละทิ้งบาป หาก บุคคลหนึ่งเลิกท๋าบาปด้วยเจตนาที่ถูกต้อง—เพราะสำนึกในความร้ายแรงของ บาปและยอมทำตามกฎของพระเจ้า—ย่อมแสดงว่าเขากำลังกลับใจจริง พระเจ้า ทรงกำหนดบรรทัดฐานดังนี้ “โดยสิ่งนี้เจ้าจะรู้ หากคนกลับใจจากบาปของเขา —ดูเถิด เขาจะสารภาพมันและ ทิ้งมัน” (ค.พ. 58:43; เน้นตัวเอน)

อีกมัยหนึ่ง นั่นไม่ใช่การกลับใจที่แท้จริงจนกว่าคนๆ นั้นจะละทิ้งความผิด พลาดในทางของเขาและเริ่มเลันทางใหม่ … พลังการช่วยให้รอดไม่ขยายไปถึง คนที่ ต้องการ เปลี่ยนชีวิตเท่านั้น การกลับใจที่แท้จริงจะผลักดันเขาไปสู่การ กระทำ

เขาต้องไม่แปลกใจที่เรียกร้องความพยายาม ไม่เพียงความปรารถนา ที่สด แล้ว นึ่คืองานซึ่งจะพัฒนากล้ามเนื้อทางศีลธรรมของเราเช่นเดียวกับกล้ามเมื้อ ทางร่างกายของเรา12

ในการละทิ้งบาปนั้นเขาจะเพียงปรารถนาสภาพที่ดีกว่าเดิมไม่ไต้ เขาต้องทำ ให้เกิดขึ้น เขาจะต้องเกลียดชังอาภรณ์ที่มีรอยเปื้อนและรังเกียจบาป เขาต้อง แน่ใจไม่เพียงว่าเขาละทิ้งบาปแล้วเท่านั้น แต่เขาได้เปลี่ยนสถานการณ์แวดล้อม บาปด้วย เขาควรหลีกเลี่ยงสถานที่ สภาพ และสภาวการณ์ที่บาปเกิดขึ้น เพราะ สิ่งเหล่านี้ทำให้หวนกลับไปทำบาปได้ง่ายที่สุด เขาต้องละทิ้งคนที่ทำบาปมาด้วย กัน เขาจะไม่เกลียดชังคนที่เกี่ยวข้องแต่เขาจะต้องหลีกเลี่ยงคนเหล่านั้นและทุก สิ่งที่เกี่ยวข้องกับบาป เขาต้องทิ้งจดหมาย ของกระจุกกระจิก และสิ่งซึ่งจะ เตือนใจเขาให้นึกถึง “วันเก่าๆ” และ “เวลาเก่าๆ” เขาต้องลืมที่อยู่ หมาย เลขโทรศัพท์ ผู้คน สถานที่ และสถานการณ์จากอดีตที่เต็มไปด้วยบาป และ สร้างชีวิตใหม่ เขาต้องขจัดสิ่งใดก็ตามซึ่งจะกระตุ้นความทรงจำเก่าๆ13

ในการละทิ้งความชั่ว ปรับปรุงชีวิต เปลี่ยนบุคลิกภาพ สร้างหรือปรับเปลี่ยน อุปนิสัยนั้น เราต้องการความช่วยเหลือจากพระเจ้า และเราจะได้รับแน่นอนถ้า เราทำส่วนของเรา คนที่พึ่งพระเจ้ามากๆ จะกลายเป็นนายตนเองและจะสามารถ ทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ไต้สำเร็จ ไม่ว่าจะไปเอาแผ่นทองเหลือง ต่อเรือ เอาชนะนิสัย หรือพิชิตการล่วงละเมิดที่ฝืงแน่น14

การสารภาพยกภาระ

การสารภาพบาปคือองค์ประกอบที่จำเป็นของการกสับใจและได้รับการยก โทษ นี่คือบททดสอบอย่างหนึ่งของการกสับใจที่แท้จริง เพราะ “โดยสิ่งนี้เจ้า จะรู้ หากคนกลับใจจากบาปของเขา—ดูเถิด เขาจะ สารภาพมัน และทิ้งมัน” (ค.พ. 58:43; เห้นตัวเอน)

บางทีการสารภาพอาจจะเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งที่ยากที่สุดในบรรดาอุปสรรค ทั้งหลายสำหรับคนบาปที่กำลังกลับใจเพื่อแก้ไข บ่อยครั้งที่ความอับอายมักจะ เหนี่ยวรั้งเขาไม่ให้บอกความผิดและยอมรับความผิดพลาดของตน บางครั้งการ แสร้งทำเป็นขาดความไว้เนื้อเชื่อใจในมนุษย์ผู้ที่เขาควรสารภาพบาปก็ทำให้เขา คิดว่าสมควรเก็บงำความลับไว้ในใจตน …

โดยที่ทรงรู้จักใจมนุษย์ เจตนาของเขา และความสามารถของเขาที่จะกลับ ใจและเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเองพระเจ้าจึงทรงรอจนกว่าการกลับใจสุกงอมจึง จะทรงให้อภัย ผู้ล่วงละเมิดต้องมี “ใจที่ชอกชํ้าและวิญญาณที่สำนึกผิด” ยอม อ่อนน้อมถ่อมตนและทำทุกอย่างที่เรียกร้อง การสารภาพบาปร้ายแรงต่อผู้มี อำนาจที่ถูกต้องของศาสนาจักรคือหนึ่งในข้อกำหนดของพระเจ้า บาปเหล่านี้ ได้แก่ การเป็นชู้ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน การล่วงละเมิดทางเพศอื่นๆ และบาปอื่นที่ร้ายแรงเท่ากัน ขั้นตอนของการสารภาพจะมีมาตรการควบคุมและ การป้องกันที่ถูกต้องสำหรับศาสนาจักรและคนในศาสนาจักร พร้อมทั้งกำหนด การก้าวเดินของผู้ล่วงละเมิดไว้บนเส้นทางของการกลับใจที่แท้จริง

ด้วยความอายและความจองหองผู้กระทำผิดจำนวนมากจึงทำตามความรู้สึก ผิดชอบชั่วดีของตน อย่างน้อยก็ชั่วคราว ด้วยการสวดอ้อนวอนในใจสองสาม ครั้งต่อพระเจ้าและแก้ตัวว่าการสารภาพบาปเท่านื้ก็เพียงพอแล้ว “แต่ผมสาร ภาพบาปต่อพระบิดาบนสวรรค์แล้วนี่” พวกเขาจะยืนกราน “และนั่นคือทั้งหมด ที่จำเป็น” นี่ไม่จริงถ้าเกี่ยวจ้องกับบาปร้ายแรง จำเป็นต้องมีการให้อภัยสอง ส่วนเพื่อนำสันติสุขมาสู่ผู้ล่วงละเมิด—ส่วนหนึ่งจากผู้มีอำนาจที่ถูกต้องของ ศาสนาจักรของพระเจ้า และอีกส่วนหนึ่งจากพระเจ้า [ดู โมไซยา 26:29) …

… การสารภาพที่สมบูรณ์แบบเป็นเรื่องของความสมัครใจ ไม่ใช่ถูกบังคับ หากแต่ถูกโน้มน้าวจากภายในจิตวิญญาณของผู้กระทำผิดไม่ใช่เพราะถูกจับได้ ว่าทำบาป การสารภาพเช่นนั้น … คือเครื่องหมายของการกลับใจที่กำลังเกิดขึ้น บ่งบอกว่าคนบาปยอมรับว่าทำบาปและปรารถนาจะละทิ้งการประพฤติชั่ว การ สารภาพด้วยความสมัครใจเป็นที่ยอมรับในสายพระเนตรของพระเจ้ามากกว่า การจำใจยอมรับ ขาดความนอบน้อม และถูกเค้นเอาความจริงเมื่อความผิดประ จักษ์ชัด การยอมรับเพราะถูกบีบบังคับไม่ใช่หลักฐานที่เกิดจากใจนอบน้อมซึ่ง ส่งผลต่อพระเมตตาจากพระเจ้า “เพราะเราพระเจ้าอภัยบาปและเมตตาคนเหล่า นั้น ที่สารภาพบาปของเขา ด้วยใจถ่อม” (ค.พ. 61:2 เน้นตัวเอน)15

แม้บาปร้ายแรงเช่นที่กล่าวข้างต้น … จะเรียกร้องให้สารภาพต่อผู้มีอำนาจที่ ถูกต้องของศาสนาจักร แต่ใช่ว่าจะต้องสารภาพหรือปรารถนาให้สารภาพบาป ทั้งหมดด้วยวิธีนั้น บาปที่ร้ายแรงห้อยกว่าแต่ล่วงเกินผู้อื่น—อาทิ ความไม่ลง รอยกันของสามีภรรยา ความโกรธเล็กๆ น้อยๆ ความเห็นไม่ตรงกัน—ควรจะ สารภาพต่อบุคคลที่เสียหายและแก้ไขเรื่องนี้ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโดย ปกติผู้มีอำนาจของศาสนาจักรจะไม่ยุ่งเกี่ยว16

การสารภาพทำให้เกิดสันติสุข … การสารภาพไม่เพียงเป็นการเปีดเผยความ ผิดพลาดต่อผู้มีอำนาจที่ถูกต้องเท่านั้น แต่เป็นการแบ่งรับภาระเพื่อให้เบาลง อย่างน้อยคนหนึ่งก็ยกภาระในส่วนของตนวางไว้บนบ่าของอีกคนหนึ่งซึ่งสามารถ และยินดีช่วยแบกภาระนั้น แล้วความพึงพอใจก็จะเกิดขณะก้าวอีกก้าวหนึ่งใน การทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อกำจัดภาระแห่งการล่วงละเมิดของตน17

การชดเชยคือส่วนจำเป็นของการกลับใจ

เมื่อบุคคลหนึ่งประสบความเสียใจอย่างสุดซึ้งและความนอบน้อมอันเกิด จากการยอมรับว่าทำบาป เมื่อเขาทิ้งบาปและตั้งใจแน่วแน่ว่าจะเกลียดชังบาป นับแต่นั้น เมื่อเขาสารภาพบาปต่อพระผู้เป็นเจ้าและบุคคลที่ถูกต้องบนแผ่นดิน โลกด้วยความนอบน้อม—เมื่อทำทั้งหมดนี้แล้ว ยังมีอีกสิงหนึ่งต้องทำนั่นคือการ ชดเชย เขาต้องชดเชยสิ่งที่เขาทำเสียหาย ขโมยมา หรือทำผิด18

คนบาปที่กลับใจจะต้องชดเชยให้มากเท่าที่จะมากได้ ข้าพเจ้าพูดว่า “มาก เท่าที่จะมากได้” เพราะมีบาปบางอย่างที่ชดเชยได้ไม่หมด และบาปอีกหลาย อย่างที่ชดเชยได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

ขโมยหรือโจรอาจจะชดเชยได้เพียงบางส่วนโดยคืนสิ่งที่ขโมยไป คนพูดปด อาจจะพูดความจริงและแก้ไขความเสียหายอันเกิดจากการพูดปดได้บางส่วน คนชอบนินทาที่ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นอาจจะชดเชยได้บางส่วนผ่านความพยายาม อย่างหนักเพื่อกอบกู้ซื่่อเสียงอันดีของบุคคลที่เขาทำให้เสียหาย ถ้าผู้ทำผิดเพราะ บาปหรือความประมาทเลินเล่อได้ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น เขาอาจจะคืนหรือ ชดใข้เต็มจำนวนหรือบางส่วน

ถ้าการกระทำของชายผู้หนึ่งนำความเสียใจและความเสือมเสียมาสู่ภรรยา และบุตร ในการชดเชยของเขานั้น เขาต้องพยายามเต็มที่เพื่อให้ได้ความไว้ วางใจและความรักกลับคืนมาโดยแสดงความ … จงรักภักดีและความซื่อสัตย์ให้ มากกว่าเดิม เป็นเช่นนี้ด้วยกับภรรยาและมารดา ทำนองเดียวกัน ถ้าบูตรทำผิด ต่อบิดามารดา การกลับใจส่วนหนึ่งของเขาคือแก้ไขความผิดเหล่านั้นและให้ เกียรติบิดามารดา

กล่าวโดยทั่วไปคือ มีหลายสิ่งซึ่งจิตวิญญาณที่กลับใจทำได้เพื่อแก้ไข “ใจที่ ชอกชํ้าและวิญญาณที่สำนึกผิด” มักจะพบวิธีกอบกู้ในระดับหนึ่ง วิญญาณที่ แท้จริงของการกลับใจเรียกร้องให้คนที่ก่อความเสียหายทำทุกสิ่งในอำนาจของ เขาเพื่อแก้ไขความผิด19

ในกระบวนการกลับใจนั้น เราต้องกอบกู้อย่างเต็มที่หากเป็นไปได้ กอบกู้ให้ ถึงระดับสูงสุด แล้ะเมื่อทำทั้งหมดแก้วเราต้องจำไว้ว่าคนบาปที่กำลังร้องขอความ กรุณาโดยปรารถนาจะชดเชยการกระทำของเขา ต้องให้อภัยผู้อื่นด้วยสำหรับ ความผิดทั้งหมดที่ผู้อื่นทำกับเขา พระเจ้าจะไม่ทรงให้อภัยเราเว้นแต่ใจเราจะถูก ชำระให้สะอาดจากความเกลียดชังทั้งปวง ความขมขื่น และการกล่าวหาเพื่อน มนุษย์20

การกลับใจที่แท้จริงรวมถึงการให้คำมั่นว่า จะดำเนินชีวิตตามพระบัญญัติของพระเจ้า

ในดำนำของการเปิดเผยยุคปัจจุบัน พระเจ้าทรงสรุปว่าอะไรคือข้อกำหนดที่ ยากที่สุดข้อหนึ่งของการกลับใจที่แท้จริง สำหรับบางคนมี่เป็นส่วนที่ยากที่สุด ของการกลับใจ เพราะทำให้เขาต้องระแวดระวังชีวิตที่เหลือ พระเจ้าตรัสว่า

“… เราพระเจ้าจะดูบาปด้วยระดับการยินยอมแม้แต่น้อยที่สุดไม่ได้

“กระนั้นคนที่กลับใจและ ทำตามบัญญ้ติของพระเจ้า ยังจะได้รับการอภัย” (ค.พ. 1:31–32; เน้นตัวเอน)

พระคัมภีร์ข้อนี้ถูกต้องที่สุด หนึ่ง เขากลับใจ เมื่อกลับใจแล้วเขาต้องดำเนิน ชีวิตตามพระบัญญัติของพระเจ้าเพื่อรักษาจุดที่เหนือกว่าเอาไว้ สิ่งนี้จำเป็นต่อ การได้รับการยกโทษอย่างสมบูรณ์ …

เนื่องด้วยเราทุกคนทำบาปไม่มากก็น้อย เราจึงต้องกลับใจอยู่เสมอ ยกระดับ การมองเห็นและการปฏิบัติของเราตลอดเวลา เราจะทำตามพระบัญญัติของพระ เจ้าในหนึ่งวัน หนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน หรือหนึ่งปีไม่ได้ นึ่คือความพยายาม ซึ่งต้องทำตลอดเวลาที่เหลือของเรา …

… การกลับใจต้องเกี่ยวข้องกับการยอมตามโปรแกรมของพระเจ้าโดยสิน เชิงด้วย ผู้ล่วงละเมิดไม่ไต้กลับใจอย่างสมบูรณ์ถ้าเขาละเลยส่วนสิบ พลาดการ ประชุม ฝ่าฟืนวันแซบธ ล้มเหลวในการสวดอ้อนวอนเป็นครอบครัว ไม่สนับ สนุนเจ้าหน้าที่ของศาสนาจักร ฝ่าฟืนพระวาจาแห่งปัญญา ไม่รักพระเจ้าและ เพื่อนมนุษย์ … พระผู้เป็นเจ้าจะทรงยกโทษให้ไม่ได้เว้นแต่ผู้ล่วงละเมิดจะแสดง ให้เห็นการกลับใจที่แท้จริงซึ่งขยายไปทั่วทุกต้านของชีวิตเขา …

“การทำตามพระบัญญัติรวมถึงกิจกรรมมากมายที่เรียกร้องจากผู้ซึ่อสัตย์ … งานดีโดยทั่วไปและการอุทิศตนควบคู่กับเจตคติที่สร้างสรรค์คือสิงที่ต้องการ นอกจากนี้ วิธีที่ถูกต้องในการลบถ้างผลของบาปในชีวิตเราคือนำความสว่างของ พระกิตติคุณไปให้ผู้ที่ยังไม่ไต้รับ นี่หมายถึงการทำงานกับสมาชิกที่ไม่แข็งขัน ของศาสนาจักรและผู้ไม่เป็นสมาชิก—โดยอาจจะทำงานกับกลุ่มหลังให้มากขึ้น จงสังเกตวิธีที่พระเจ้าทรงโยงการให้อภัยบาปกับการแสดงประจักษ์พยานเกี่ยว กับงานยุคสุดท้าย

“เพราะเราจะอภัยเจ้าจากบาปของเจ้าด้วยบัญญัติข้อนี้—คือเจ้าคงอยู่มั่นคง ในความคิดของเจ้า ในความสำรวม และวิญญาณแห่งการสวดอ้อนวอน ในการ แสดงประจักษ์พยานแก่ทั่วโลก ถึงเรื่องเหล่านั้นซึ่งติดต่อมาถึงเจ้า” (ค.พ. 84:61; เน้นตัวเอน)21

เราเข้าใจไม่ไต้หรือว่าเหตุใดพระเจ้าจึงทรงขอร้องมนุษย์มานานหลายพันปีให้ มาสู่พระองค์ แน่นอนว่าพระเจ้ากำลังตรัสเกี่ยวกับการให้อภัยผ่านการกลับใจ และการปลดเปลื้องความตึงเครียดอันเกิดจากความผิดเมื่อพระองค์ทรงกล่าวคำ วิงวอนและคำสัญญาอันสูงส่งหลังจากการสวดอ้อนวอนอันน่าชื่นชมของพระ องค์ดังนี้

“บรรดาผู้ทำงานเหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนักจงมาหาเรา และเราจะให้ ท่านทั้งหลายหายเหนื่อยเป็นสุข

“จงเอาแอกของเราแบกไว้ แถ้วเรียนจากเรา เพราะว่าเราสุภาพและใจอ่อน น้อม และจิตใจท่านทั้งหลายจะได้พัก

“ด้วยว่าแอกของเราก็พอเหมาะและภาระของเราก็เบา” (นัทธิว 11:28–30)

นื่คือความหวังและคำสวดอ้อนวอนของข้าพเจ้าว่าชายหญิงทุกแห่งหนจะ ตอบรับพระดำรัสเชื้อเชิญที่อ่อนโยนและให้พระอาจารย์สร้างปาฏิหาริย์อันยิ่ง ใหญ่แห่งการให้อภัยในชีวิตเขาทั้งหลาย22

ข้อเสนอแนะสำหรับศึกษาและลโอน

พิจารณาแนวคิดต่อไปนี้ขณะศึกษาบทเรียนหรือขณะเตรียมสอน ดูความช่วย เหลือเพิ่มเติมได้ที่หน้า ⅴ–ⅸ

  • ประธานคิมบัลล์เรียกการให้อภัยว่า “สุดยอดแห่งปาฏิหาริย์” (หน้า 39) การให้อภัยเป็นปาฏิหาริย์ในทางใด (ดูตัวอย่างหน้า 38–40)

  • ขณะอ่านหมวดที่เริ่มต้นในหน้า 40 ให้ไตร่ตรองว่าเราจะมีสภาพเช่นไรหาก ปราศจากพระผู้ช่วยให้รอดและการชดใช้ของพระองค์

  • อ่านย่อหน้าที่หก เจ็ด ในหน้า 42 และย่อหน้าแรกหน้า 43 ท่านคิดว่า “ความเสียใจอย่างที่ชอบพระทัยพระเจ้า” แตกต่างจากการแสดงความเสืยใจ อย่างไร ในพระคัมภีร์มีตัวอย่างความเสืยใจอย่างที่ชอบพระทัยพระเจ้าอะไร บ้างที่นำมาใช้กับเราได้ไนทุกวันนี้

  • ในหน้า 43–44 ประธานคิมบัลล์ยกตัวอย่างวิธีละทิ้งบาปและ “สร้างชีวิต ใหม่” เราจะนำคำแนะนำนี้ไปประยุกต์ใช้กับบาปที่เราพยายามเอาชนะได้ อย่างไร ตัวอย่างเช่น ความลามก การลบหลู่ดูหมิ่น หรือการพนัน

  • อ่านทวนหน้า 44–46 เหตุใดบางคนจึงคิดว่าการสารภาพทำได้ยาก มีพรอะไร บ้างที่มาจากการสารภาพต่อพระเจ้า ต่ออธิการหรือประธานสาขา ต่อผู้ที่เรา ล่วงเกิน

  • ไตร่ตรองย่อหน้าแรกในหน้า 47 การชดเชยบาปหมายความว่าอะไร บุคคล ที่กลับใจจะตัดสินได้อย่างไรว่าจะทำอะไรเพื่อชดเชยบาปของเขาหรือเธอ

  • คำสอนของประธานคิมนัลล์ในบทนี้แตกต่างอย่างไรจากแนวคิดผิดๆ ที่ว่าการ กลับใจคือการกระทำตามขั้นตอนทั่วไปของการกลับใจ

ข้อพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง: อิสยาห์ 1:18; โมไซยา 4:3; แอลมา 36:12–26; ค.พ. 19:15–20; 64:8–9

อ้างอิง

  1. The Miracle of Forgiveness (1969), 28.

  2. See The Miracle of Forgiveness, 340–42.

  3. The Miracle of Forgiveness, 362, 363.

  4. The Miracle of Forgiveness, 366, 367–68.

  5. The Miracle of Forgiveness, 19–20.

  6. The Miracle of Forgiveness, 32–33.

  7. The Miracle of Forgiveness, 133.

  8. The Miracle of Forgiveness, 149, 150–51.

  9. The Miracle of Forgiveness, 152–53.

  10. The Miracle of Forgiveness, 353.

  11. The Miracle of Forgiveness, 159.

  12. The Miracle of Forgiveness, 163–64.

  13. The Miracle of Forgiveness, 171–72.

  14. The Miracle of Forgiveness, 176.

  15. The Miracle of Forgiveness, 177, 178, 179, 181.

  16. The Miracle of Forgiveness, 185.

  17. The Miracle of Forgiveness, 187–88.

  18. The Miracle of Forgiveness, 191.

  19. The Miracle of Forgiveness, 194–95.

  20. The Miracle of Forgiveness, 200.

  21. The Miracle of Forgiveness, 201–2, 203, 204.

  22. The Miracle of Forgiveness, 368.

clouds

“การล้ขใจเเละการใท้อภ้ยทำใท้คืนอ้นมืดมิดทิ่สูดกลๅยเม็นวันสว่างเจิดจ้ๅ”

bishop interviewing man

“กๅรสารภาพทำใท้เกิดส้นติสุข”