บทที่ 9
ให้อภัยผู้อื่นอย่างหมดใจ
พระเจ้าทรงบัญชาว่าเราต้องให้อภัยผู้อื่นทั้งนี้เพื่อเราจะได้รับการยกโทษบาป ของเรา และได้รับพรด้วยสันติสุขและความปีติยินดี
จากชีวิตของลเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์
เมื่อประธานสเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลด์สอนเกี่ยวกับการแสวงหาการ ยกโทษ ท่านเน้นหลักธรรมสำคัญของการให้อภัยผู้อื่นด้วย ขณะขอร้องทุกคนให้ พยายามพัฒนาวิญญาณของการให้อภัย ท่านได้เล่าประสบการณ์ต่อไปนี้
“ข้าพเจ้ากำลังหาทางแก้ปัญหาชุมชนในวอร์ดเล็กๆ แห่งหนึ่ง… ซึ่งชายที่มี ชื่อเสืยงสองคน ผู้นำของผู้คน อาฆาตพยาบาทกันมานานและไม่มีใครยอมลด ราวาศอกให้แก่กัน ความเข้าใจผิดบางอย่างระหว่างพวกเขาบีบคั้นให้ต้องหมาง ใจกัน หลายวัน หลายสัปดาห์ และหลายเดือนผ่านไป ช่องว่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ ครอบครัวของแต่ละฝ่ายเริ่มขัดแย้งกัน จนในที่สุดเกือบทุกคนในวอร์ดเข้ามา เกี่ยวข้อง ข่าวลือแพร่สะพัดและความบาดหมางลือกระฉ่อน การนินทากลาย เป็นลิ้นแห่งไฟจนคล้ายกับมีเหวลึกแบ่งแยกชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ ข้าพเจ้าถูกส่ง ไปแก้ปัญหา… ข้าพเจ้าไปถึงชุมชนที่ร้าวฉานประมาณหกโมงเย็นวันอาทิตย์ และไปประชุมกับแกนนำทันที
“เราพยายามมาก อ้อนวอน เตือน ขอร้อง และรบเร้าก็แล้ว แต่ดูเหมือน ไม่มีอะไรทำให้พวกเขาหวั่นไหวได้ ต่างฝ่ายต่างก็แน่ใจว่าคนของตนถูกและแก้ ต่างว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้เขาเปลี่ยนท่าที
“หลายชั่วโมงผ่านไป—เลยเที่ยงคืนไปนานแล้ว และดูเหมือนความหมดหวัง จะแผ่คลุมไปทั่วบริเวณนั้น บรรยากาศของความขุ่นแค้นและเดือดดาลยังคงอยู่ ความแข็งขืนดื้อดึงยังไม่ยอมเปีดทางให้ จากนั้นเหตุการณ์หนึ่งก็เกิดขึ้น ข้าพเจ้า เปีดพระคัมภีร์คำสอนและพันธสัญญาอีกครั้งอย่างไร้จุดหมายและข้อนั้นอยู่ตรง หน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเคยอ่านมาแล้วหลายครั้งในหลายปีที่ผ่านมาและไม่เคยมี ความหมายพิเศษมาก่อน แต่คืนนี้นั่นคือคำตอบ คือคำอ้อนวอน คำขอร้อง และ คำข่มขู่ และดูเหมือนจะมาจากพระเจ้าโดยตรง ข้าพเจ้าอ่าน [ภาค 64] เริ่มจาก ข้อเจ็ดเป็นต้นไป แต่คนที่ทะเลาะกันยังไม่มืใครยอมใครจนข้าพเจ้าอ่านถึงข้อเก้า ตอนนั้นข้าพเจ้าเห็นพวกเขาผงะ สะดุ้ง และสงสัย นั้นถูกต้องหรือ พระเจ้า คำลังตรัสกับเรา—เราทุกคน—‘ดังนั้น เรากล่าวกับเจ้าว่าเจ้าควรอภัยกัน’
“นี่คือข้อผูกมัด พวกเขาเคยไค้ยินมาก่อน พวกเขาเคยพูดถึงเรื่องนี้เมื่อทบ ทวนคำสวดอ้อนวอนของพระเจ้า แต่บัดนี้ ‘… เพราะคนที่ไม่อภัยการล่วงเกิน ของพี่น้องของตน ย่อมยืนถูกกล่าวโทษต่อพระพักตร์พระเจ้า…’
“พวกเขาอาจจะพูดในใจว่า ‘ผมจะให้อภัยถ้าเขากลับใจและขออภัย แต่เขา ต้องเป็นฝ่ายเริ่มก่อน’ และแล้วดูเหมือนบรรทัดสุดท้ายจะกระทบจิตใจเขาอย่าง จัง ‘เพราะบาปที่ใหญ่หลวงกว่าคงมือยู่ในเขา’
“อะไรกัน นั่นหมายความว่าผมต้องให้อภัยแม้ปรปักษ์จะยังคงเย็นชา หมาง เมิน และใจแคบอย่างนั้นหรือ ผมไม่ทำเช่นนั้นแน่
“ความผิดพลาดโดยทั่วไปคือความคิดที่ว่าผู้กระทำผิดต้องขอโทษและเจียม ตนแม้ดังผงธุลีก่อนจะไค้รับการยกโทษ แน่นอนว่าคนที่ทำร้ายผู้อื่นควรเป็นฝ่าย ปรับปรุงแล้ไข แต่สำหรับผู้ถูกกระทำเล่า เขาต้องให้อภัยผู้กระทำผิดไม่ว่าอีก ฝ่ายจะมืท่าทีอย่างไร บางครั้งมนุษยัใค้รับความพอใจจากการไค้เห็นอีกฝ่ายคุก เข่าและหมอบอยู่แทบเท้า แต่นั่นไม่ใช่วิธีของพระกิตติคุณ
“อารามตกใจ ชายทั้งสองนั่งตัวตรง ฟ้ง และไตร่ตรองหนึ่งนาที จากนั้นก็ เริ่มจำนน พระคัมภีร์ฃ้อนี้เสริมข้ออื่นทั้งหมดที่อ่านไปแล้วและทำให้ใจเขาอ่อน ลง ตีสอง คู่ปรับจับมือกัน ยิ้มให้กัน ขออภัย และให้อภัยกัน ชายทั้งสองโอ บ กอดกัน ชั่วโมงนี้ศักดี์สทธี์ ความคับแค้นใจในอดีตไต้รับการยกโทษและเลิก แล้วต่อกัน ศัตรูกลับมาเป็นมิตรอีกครั้ง ไม่ก่อความขุ่นข้องหมองใจกันอีกต่อ ไป โครงกระดูกถูกฟัง ห้องลับของกระดูกแห้งถูกล็อคและคุญแจถูกโยนทิ้ง สันติสุขกลับคืน”1
ตลอดการปฏิบัติศาสนกิจของประธานคิมบัลล์ ท่านแนะนำสมาชิกศาสนา จักรว่า ต้องให้อภัย “ถ้าเกิดความเข้าใจผิด จงชี้แจง ให้อภัย และลืม อย่า ปล่อยให้ความคับแค้นใจในอดีตเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อจิตวิญญาณ ของท่าน ทำลายความรักและชีวิตท่าน จงจัดม้านให้อยู่ในระเบียบ จงรักกัน รัก เพี่อนม้าน รักมิตรสหาย และคนใกล้ตัวขณะที่พระเจ้าประทานพลังนี้แก่ท่าน”2
คำสอนของสเป็ีนเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์
เราต้องให้อภัยจึงจะได้รับอภัย
เนื่องจากการให้อภัยคือข้อกำหนดแน่นอนในการบรรลุถึงชีวิตนิรันดร์ มนุษย์ จึงไตร่ตรองตามปกติวิสัยว่า ทำอย่างไรฉันจึงจะนั่นใจว่าฉันจะไค้รับการอภัยนั้น หนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐานมากมายโดดเด่นขึ้นมาทันทีและขาดไม่ไค้ นั่นคือ เราต้องให้อภัยจึงจะไค้รับอภัย3
“เพราะว่าถ้าท่านยกความผิดของเพื่อนมนุษย์ พระบิดาของท่านผู้ทรงสถิต ในสวรรค์จะทรงโปรดยกความผิดของท่านด้วย
“แต่ถ้าท่านไม่ยกความผิดของเพื่อนมนุษย์ พระบิดาของท่านจะไม่ทรงโปรด ยกความผิดของท่านเหมือนกัน” (มัทธิว 6:14–15)
ทำยากใช่ไหม แน่นอน พระเจ้ามิได้ทรงสัญญาถึงเส้นทางง่ายๆ พระกิตติ คุณง่ายๆ มาตรฐานตํ่าๆ หรือบรรทัดฐานตํ่าๆ ราคานั้นสูง แต่สินด้าที่ได้มาคุ้ม ค่ากับราคาที่จ่ายไป พระเจ้าทรงทันพระปรางอีกข้างหนึ่งให้ พระองค์ทรงยอม ให้เฆี่ยนและทบตีโดยไม่ทรงขัดขืน พระองค์ทรงทนรับการดูถูกเหยียดหยามทุก อย่างแต่กระนั้นก็ไม่ทรงกล่าวโทษ พระดำรัสถามของพระองค์มาถึงเราทุกคนว่า “ฉะนั้นเจ้าควรเป็นคนอย่างไรเล่า” และพระดำรัสตอบของพระองค์คือ “แม้ดัง ที่เราเป็น” (3 นีไฟ 27:27)4
การให้อภัยผู้อื่นต้องจริงใจและลโมบูรณ์
พระบัญชาว่าต้องให้อภัยและการกล่าวโทษซึ่งติดตามความส้มเหลวในการ ไม่ทำเช่นนั้นมิได้ระบุไว้ขัดเจนเท่าการเปีดเผยยุคป้จจุบันต่อศาสดาโจเซฟ สมิธ ดังนี้
“สานุศิษย์ของเราในสมัยโบราณหาโอกาสต่อต้านกันและหาอภัยกันไม่ในใจ ของเขา และเพราะความชั่วนี้เขาจึงต้องทุกข์ทรมานและถูกตีสอนอย่างรุนแรง
“ดังนั้น เรากล่าวกับเจ้าว่าเจ้าควรอภัยกัน เพราะคนที่ไม่อภัยการล่วงเกินของ พี่น้องของตนย่อมยีนถูกกล่าวโทษต่อพระพักตร์พระเจ้า เพราะบาปที่ใหญ่หลวง กว่าคงมือยู่ในเขา
“เราพระเจ้าจะอภัยผู้ที่เราจะอภัย แต่เรียกร้องจากเจ้าให้อภัยคนทั้งปวง”(ค.พ. 64:8–10) …
บทเรียนยังคงเป็นจริงสำหรับเราในปัจจุบัน เมื่อคืนคีกับผู้อื่น หลายคนพูดว่า เขาให้อภัย แต่ยังคงเคียดแค้น ยังคงหวาดระแวงอีกฝ่าย ยังคงไม่เชื่อความ จริงใจของอีกฝ่าย นึ่คือบาป เพราะเมื่อมีการคืนดีและเมื่ออ้างการกสับใจ แต่ละ ฝ่ายควรให้อภัยและลืม ซ่อมรั้วซึ่งมืช่องโหว่ทันที และปรองดองกันเหมือนเคิม
สานุศิษย์สมัยเริ่มแรกบรรยายถึงคำว่าให้อภัยไว้อย่างขัดเจนและถ้ามองภย นอกดูเหมือนเขาจะปรับปรุงแก้ไขตามที่เรียกร้อง แต่ “หาอภัยกันไม่ในใจของ เขา” นี่ไม่ใช่การให้อภัย แต่เป็นรูปแบบหนึ่งของความหน้าชื่อใจคด ปลิ้น ปล้อน และหลอกลวง ดังบอกเป็นนัยไว้ในแบบอย่างคำสวดล้อนวอนของพระ คริสต์ว่าการให้อภัยจะต้องเป็นการกระทำจากใจและเป็นการชำระล้างความคิด [ดู มัทธิว 6:12; ดูข้อ 14–15 ต้วย] การให้อภัยหมายถึงการลืม สตรีคนหนึ่ง “ผ่าน” การคืนดีในสาขา แสดงอากัปกรยาและบอกกล่าวด้วยวาจาว่าให้อภัย และพูดออกจากปากว่าให้อภัย แค่กล่าวด้วยสายตาชุ่นเคืองว่า “ฉันจะให้อภัย เธอ แต่ฉันมีความจำดีมาก ฉันจะไม่มีวันลืม” การเสแสร้งคืนดีของเธอไม่มีค่า แต่อย่างใดและไร้ประโยชน์ เธอยังคงชุ่มซ่อนความเจ็บแคน คำพูดฉันมิตรของ เธอเป็นเหมือนใยแมงทุม สายสัมพันธ์ที่เธอสร้างขึ้นใหม่เป็นเหมือนฟางข้าว และตัวเธอยังคงทนทุกข้โดยไม่มีสันติสุขในใจ ที่แย่กว่านั้นคือ เธอยืน “ถูก กล่าวโทษต่อพระพักตร์พระเจ้า” และในตัวเธอยังคงมีบาปใหญ่หลวงกว่าคนที่ เธอล้างว่าทำให้เธอเจ็บ
สตรีผู้เป็นปรปักษ์ผู้นี้ใม่ตระหนักแม้แค่นอยว่าเธอไม่ใค้ไห้อภัยเลย เธอไค้แต่ แสดงอากัปกิริยาว่าให้อภัย เธอหมุนล้อของตนและไปไม่ถึงไหน ในพระคัมภีร์ ข้างต้น วลี ในใจของเขา มีความหมายลึกซึ้ง การให้อภัยจะต้องเป็นการชำระ ล้างความรู้สีก ความคิด และความเจ็บแต้น คำพูดแต่อย่างเดียวหาเป็นประโยชน์ อันใดไม่
“เพราะดูเถิด หากมนุษย์โดยที่ชั่วจะให้สิงของ เขาย่อมทำอย่างไม่เต็มใจ ดัง นั้นสำหรับเขา จะนับว่ามันเช่นเดียวกับเขาเก็บสิ่งของนั้นไว้ ดังนั้นจึงนับว่าเขา ชั่วต่อพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้า” (โมโรไน 7:8)
เฮนรีย์ วอร์ด มีเชอร์แสดงความคิดดังนี้ “ผมให้อภัยไต้แต่ลืมไม่ไค้เป็นอีก วิธีหนึ่งของการพูดว่าผมให้อภัยไม่ไค้”
ข้าพเจ้าขอเพิ่มเติมว่าหากบุคคลหนึ่งไม่ให้อภัยการล่วงเกินของพี่น้องเขา ด้วยความเต็มใจ เขาไม่ควรรับส่วนดีลระลึก5
เราควรปล่อยการตัดสินไว้กับพระเจ้า
เพื่อให้อยู่ในความถูกต้องเราต้องให้อภัย และเราต้องทำเช่นนั้น โดยโม่คำ มึงว่าปรปักษ์ของเรากลับใจหรือไม่ หรือการเปลี่ยนแปลงของเขาจะจริงใจหรือ ไม่ หรือเขาขออภัยเราหรือไม่ เราต้องทำตามแบบอย่างและคำสอนของพระอา-จารย์ผู้ตรัสว่า “… เจ้าควรกล่าวในใจของเจ้า—ให้พระผู้เป็นเจ้าตัดสินระหว่าง ข้าพเจ้ากับท่าน และรางวัลท่านตามการกระทำของท่าน” (ค.พ. 64:11) แต่ ปอยครั้งมนุษย์ไม่ยอมปล่อยการตัดสินไว้กับพระเจ้า โดยเกรงว่าพระเจ้าอาจทรง เมตตาเกินไป เข้มงวดน้อยกว่าที่ควรในกรณีนั้น6
บางคนไม่เพียงให้อภัยไม่ไค้หรือจะไม่ให้อภัยและลืมการล่วงละเมิดของผู้อื่น เท่านั้น แต่ตามรังควานผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิดไม่เถิกรา ข้าพเจ้าไค้รับจด หมายและโทรศัพท์มากมายจากบุคคลที่ตกลงใจว่าจะจับดาบแห่งความยุติธรรม ไว้ในมือและทำบางอย่างโดยพลการเพี่อให้เห็นว่าผู้ล่วงละเมิดถูกลงโทษ “ชาย คนนั้นควรถูกขับออก”สตรีคนหนึ่งประกาศ “และฉันจะไม่ยุติจนกว่าเขาจะไค้ รับโทษสาสมกับความผิด” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ฉันจะไม่หยุดตราบใดที่คนๆ นั้นเป็นสมาชิกของศาสนาจักร” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ฉันจะไม่มาโบสถ์ตราบ ใดที่บุคคลคนนั้นไค้รับอนุญาตให้มาโบสถ์ไค้ ฉัน อยากให้พิจารณาโทษการเป็น สมาชิกของเขา” ชายคนหนึ่งเคยเดินทางไปซอลท์เลค ซิตี้หลายครั้งและเขียน จดหมายยืดยาวหลายฉบับฟ้องอธิการและประธานสเตคผู้ไม่ดำเนินการลงโทษ ขั้นเด็ดขาดกับบุคคลที่เขาอ้างว่าทำผิดกฎของศาสนาจักร
สำหรับคนที่เข้าไปจัดการโดยพลการ เราอ่านคำประกาศที่ชัดเจนของพระเจ้า ให้ฟ้งอีกครั้งว่า ‘‘… บาปที่ใหญ่หลวงกว่าคงมีอยู่ในเขา” (ค.พ. 64:9) การเปีด เผยกล่าวต่อไปว่า “และเจ้าควรกล่าวในใจของเจ้า—ให้พระผู้เป็นเจ้าตัดสิน ระหว่างข้าพเจ้ากับท่าน และรางวัลท่านตามการกระทำของท่าน” (ค.พ. 64:11) เมื่อรายงานการล่วงละเมิดที่รู้มาต่อเจ้าหห้าที่ที่เหมาะสมของศาสนาจักร อย่างเที่ยงตรงแล้ว บุคคลคนนั้นจะยุติคดีและปล่อยความรับผิดชอบไว้กับเจ้า หห้าที่ศาสนาจักร ถ้าเจ้าหน้าที่เหล่านั้นไม่ดำเนินการแต่อย่างใด นั่นคือความรับ ผิดชอบอันน่าพรั่นพรึงสำหรับเขาและเขาจะต้องชี้แจง7
พระเจ้าจะทรงตัดสินโดยใช้มาตรการเดียวกับที่เราใข้ ล้าเรารุนแรง เราไม่ควร คาดหวังอะไรนอกจากความรุนแรง ถ้าเราเมตตาต่อผู้ทำให้เราเจ็บ พระองค์จะ ทรงเมตตาเราในความผิดพลาดของเรา ถ้าเราไม่ให้อภัย พระองค์จะทรงปล่อย เราให้กลิ้งเกลือกอยู่ในบาปของเรา
แม้พระคัมภีร์จะประกาศชัดเจนว่ามนุษย์จะถูกดวงค้วยทะนานอันเดียวกับที่ เขาใช้ตวงเพื่อนมนุษย์ แต่การตวงแม้ด้วยการตัดสินตามเหตุผลมิใช่สำหรับ สมาชิก แต่สำหรับผู้มีสิทธิอำนาจถูกต้องในศาสนาจักรและรัฐ พระเจ้าจะทรง ตัดสินในการวิเคราะห์ครั้งสุดท้าย …
พระเจ้าทรงตัดสินมนุษย์จากความคิดของเขาไค้เช่นเดียวกับสิ่งที่เขาพูดและ ทำ เพราะพระองค์ทรงรู้แม้เจตนาของใจเขา แต่มนุษย์ตัดสินแบบนั้นไม่ไค้ เรา ไค้ยินสิ่งที่คนพูด เราเห็นสิ่งที่เขาทำ แต่ไม่สามารถหยั่งรู้ไต้สิ่งที่เขาคิดหรือเจตนา เรามักตัดสินผิดล้าเราพยายามเดาความหมายและเจตนาที่อยู่เบื้องหลังการกระ ทำของคนเหล่านั้นและดีความเอาเอง8
แม้อาจจะดูเหมือนยาก แต่เราให้อภัยได้
ในบริบทของวิญญาณแห่งการให้อภัยนั้น พี่น้องชายที่ดีคนหนึ่งถามข้าพเจ้า ว่า “ใช่ นั่นคือสิ่งที่ควรทำ แต่ท่านทำอย่างไร ต้องเป็นยอดมนุษย์กระมังถึง ทำไต้”
“ใช่” ข้าพเจ้ากล่าว “แต่เราไค้รับบัญชาให้เป็นยอดมนุษย์ พระเจ้าตรัสว่า ‘เหตุฉะนั้นท่านทั้งหลายจงเป็นคนดีรอบคอบเหมือนอย่างพระบิดาของท่าน ผู้ทรงสถิตในสวรรค์เป็นผู้ดีรอบคอบ’ (มัทธิว 5:48) เราเป็นเหมือนพระผู้เป็น เจ้าไค้และพระเจ้าทรงเรียกร้องความดีพร้อมจากเรา
“ใช่ พระคริสต์ประทานอภัยคนที่ทำร้ายพระองค์ แต่พระองค์ทรงเป็นมาก กว่ามนุษย์” เขาตอบ
และคำตอบของข้าพเจ้าคือ “แต่มีมนุษย์จำนวนมากที่พบว่าตนทำสิงลํ้าเลิศ เช่นนี้ได้”
เห็นได้ชัดว่ามีคนมากมายเป็นเหมือนพี่น้องชายที่ดีคนนี้ผู้ถือทฤษฎีปลอบใจ ทฺว่าวิญญาณแห่งการให้อภัย… มีเฉพาะบุคคลในพระคัมภีร์หรือเรื่องแต่งเท่า นั้น ไม่มากก็น้อย และแทบจะคาดหวังไม่ได้เลยจากมนุษย์เดินดินในโลกทุก วันนี้ หาเป็นเช่นนั้นไม่9
ข้าพเจ้ารู้จักมารดาสาวคนหนึ่งที่สูญเสืยสามีเพราะความตาย ครอบครัวอยู่ใน สภาพยากจนและกรมธรรม์ประกันภัยให้เพียง 2,000 เหรียญ แต่นั่นเป็นเหมือน ของขวัญจากสวรรค์ บริษัทส่งเช็คจำนวนนั้นมาให้เธอทันทีที่ชันสูตรศพเรียบ ร้อย ม่ายสาวผู้นี้ตัดสินใจว่าจะเก็บเงินไว้ยามคับขัน และด้วยเหตุนี้จึงนำไปฝาก ธนาคาร หลายคนทราบว่าเธอมีเงินออม และญาติผู้ชายคนหนึ่งเกลี้ยกล่อมเธอ ให้เขายืมเงิน 2,000 เหรียญด้วยอัตราดอกเบี้ยสูง
หลายปีผ่านไป และเธอไม่ได้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เธอสังเกตว่าผู้ยืมหลบ หน้าเธอและสัญญาแบบขอไปทีเมื่อเธอถามเรื่องเงิน ตอนนี้เธอต้องใข้เงินแต่ เธอไม่มีเงิน
“ดิฉันเกลียดเขามาก” เธอบอกข้าพเจ้า นํ้าเสียงของเธอบ่งบอกความเคียด แค้นชิงชัง ดวงตาคมเข้มของเธอลุกวาว ดูเอาเถอะ ชายร่างกำยำหลอกม่าย สาวคับครอบครัวให้คํ้าจุน “ดิฉันเกลียดชังเขามาก” เธอพูดซํ้าแล้วซํ้าอีก จากนั้นข้าพเจ้าก็เล่าเรื่องหนึ่งให้เธอฟัง เรื่องที่ชายคนหนึ่งให้อภัยฆาตกรฆ่าพ่อ เธอตั้งใจฟัง ข้าพเจ้าเห็นเธอรู้สืกประทับใจ เมื่อเล่าจบข้าพเจ้าเห็นเธอนํ้าตาคลอ และเธอกระซิบว่า “ขอบคุณค่ะ ขอบคุณจริงๆ ดิฉันต้องให้อภัยศัตรูด้วยแน่ นอน ดิฉันจะชำระใจให้สะอาดจากความเจ็บแค้น ดิฉันไม่หวังอีกแล้วว่าจะได้ เงินคืน แต่ดิฉันจะปล่อยผู้กระทำผิดไว้ไนพระหัตถ์ของพระเจ้า”
หลายสัปดาห์ต่อมา เธอพบข้าพเจ้าอีกครั้งและสารภาพว่าในช่วงหลายสัปดาห์ ระหว่างนั้นเธอมีความสุขที่สุดในชีวิต สันติสุขใหม่ปกคลุมเธอและเธอสามารถ สวดล้อนวอนให้ผู้กระทำผิดและให้อภัยเขาได้แม้จะไม่ได้เงินคืนสักดอลลาร์ ก็ตาม10
เมื่อเราให้อภัยผู้อื่น เราปลดเปลื้องตนอง จากความเกลียดชังและความขมขื่น
เหตุใดพระเจ้าทรงขอให้เรารักศัตรูและตอบแทนความชั่วด้วยความดี เพื่อให้ ท่านได้ประโยชน์จากการทำเช่นนั้น เมื่อท่านเกลียดคนๆ หนึ่งนั่นไม่ได้ทำให้คน ที่ท่านเกลียดเจ็บปวดแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเขาอยู่ไกลและไม่มาข้อง แวะกับท่าน แต่ความเกลียดชังและความเจ็บแค้นจะกัดกร่อนใจที่ไม่ให้อภัยของ ท่าน …
บางทีเปโตรอาจจะพบคนที่ยังคงล่วงเกินท่าน และท่านถามว่า
“พระองค์เจ้าข้า หากพื่น์องของข้าพระองค์จะกระทำผิดต่อข้าพระองค์เรื่อย ไป ข้าพระองค์ควรจะยกความผิดของเขาสักกี่ครั้ง …
และพระเจ้าตรัสว่า
“เรามิได้ว่าเพียงเจ็ดครั้งเท่านั้น แต่เจ็ดครั้งคูณด้วยเจ็ดสิบ” (มัทธิว 18:21–22) …
… เมื่อพวกเขากลับใจและมาคุกเข่าขออภัย เราส่วนใหญ่จะให้อภัยได้ แต่ พระเจ้าทรงเรียกร้องให้เราอภัยแม้เขาจะไม่กลับใจและไม่ขออภัยจากเรา …
เราต้องเข้าใจชัดเจนมากว่าเรายังคงต้องให้อภัยโดยไม่ตอบโต้หรือแก้แค้น เพราะพระเจ้าจะทรงทำแทนเราเมื่อจำเป็น … ความเจ็บแค้นทำร้ายคนที่เจ็บ แค้น ทำให้แข็งกระด้าง บั่นทอน และกัดกร่อน11
บ่อยครั้งที่มีการทำผิดโดยผู้กระทำผิดไม่รู้ตัว บางสิงที่เขาพูดหรือทำถูกดีความ ผิดๆ หรือถูกเข้าใจผิด ผู้ถูกกระทำเก็บความผิดนั้นไว้ในใจตนโดยเพิ่มเรื่องอื่น เข้าไปด้วยเพื่อเติมเชื้อไฟและแสดงให้เห็นว่าข้อสรุปของตนถูกต้อง บางทีนึ่อาจ เป็นเหตุผลหนึ่งที่พระเจ้าทรงต้องการให้ผู้ถูกกระทำเป็นฝ่ายเริ่มขอคืนดีก่อน
“และหากพี่น้องชายหญิงของเจ้าทำให้เจ้าขุ่นเคือง เจ้าจงพาเขาหรือเธอไป ระหว่างเขาหรือเธอกับเจ้าตามลำพัง และหากเขาหรือเธอสารภาพเจ้าจงคืนดี กัน” (ค.พ. 42:88) …
เราทำตามพระบัญชาคังกล่าวหรือเราเก็บความเจ็บแค้นไว้ไนใจไม่ปริปากพูด โดยรอให้ผู้กระทำผิดเรียนรู้จากสิ่งนั้นและคุกเข่าสำนึกผิดตรงหน้าเรา12
เราอาจโกรธบิดามารดา หรือครู หรืออธิการ และทำให้ตนกลายเป็นคนสาบ สูญเมื่อเราซ่อนตัวอยู่ภายใต้พิษสงและพิษภัยของความเจ็บแค้นและความ เกลียดชัง ขณะผู้ที่ถูกเกลียดยังคงดำเนินชีวิตต่อไปโดยไม่ตระหนักแม้แต่น้อย ถึงความทุกข์ของคนที่เกลียดเขา คนประเภทหลังโกงตนเอง …
…การยุติความแข็งขันในศาสนาจักรเพียงเพื่อประชดผู้นำหรือระบายความรู้ สืกเจ็บปวดคือการโกงตนเอง13
ท่ามกลางเลียงที่ไม่ประสานกันของความเกลียดชัง ความเจ็บแค้นและความ แค้นปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งในปัจจุบัน ถ้อยคำอ่อนโยนของการให้อภัยเป็น เหมือนขี้ผึ้งเยียวยา ซึ่งมืผลต่อผู้ให้อภัยไม่น้อยเลย14
ขณะที่เราให้อภัยผู้อื่น เราจะได้รับพร ด้วยความปีติยินดีและสันติสุข
โดยได้รับการดลใจจากพระเจ้าพระเยซูคริสต์ เปาโลได้ให้วิธีแก้ไขปัญหาชีวิต แก่เราซึ่งเรียกร้องความเข้าใจและการให้อภัย “และท่านจงเมตตาต่อกัน มีใจ เอ็นดูต่อกัน และอภัยโทษให้กัน เหมือนดังที่พระเจ้าได้ทรงโปรดอภัยโทษให้ แก่ท่านในพระคริสต์นั้น” (เอเฟซัส 4:32) ถ้ามีวิญญาณของการให้อภัยอย่างมี เมตตาและใจเอ็นดูอยู่ในม้านทุกหลัง ความเห็นแก่ตัว ความไม่ไว้วางใจ และ ความเจ็บแค้นซึ่งทำลายบ้านและครอบครัวมากมายจะหายไปและมนุษย์จะมีชีวิตอยู่ในสันติสุข15
การให้อภัยคือส่วนประกอบอันน่าพิศวงที่รับประกันว่าจะมีความปรองดอง และความรักในบ้านหรือวอร์ด ปราศจากการให้อภัยย่อมมีความขัดแย้ง ปราศจากความเข้าใจและการให้อภัยย่อมมีความแตกแยก ตามด้วยการขาดความ ปรองดอง และสิ่งนี้จะนำไปสู่ความไม่ภักดีในบ้าน ในสาขา และในวอร์ด ตรงกันข้าม การให้อภัยสอดคล้องกับวิญญาณของพระกิตติคุณ กับพระวิญญาณ ของพระคริสต์ นี่คือวิญญาณที่เราทุกคนต้องครอบครองล้าเราอยากไค้รับการอภัย บาปและไม่มีที่ติต่อพระพักตร์พระผู้เป็ีนเจ้า16
บ่อยครั้งที่ความจองหองเข้ามาขวางทางเราและกลายเป็นสิ่งสะดุด แต่เราทุก คนต้องถามตนเองว่า “ความจองหองของเจ้าสำคัญกว่าสันติสุขของเจ้าหรือ”
บ่อยเหลือเกินที่ผู้ทำสิ่งวิเศษเลอเลิศมากมายในชีวิตและทำคุณประโยชน์ ยอดเยี่ยมยอมปล่อยให้ความจองหองทำให้ตนสูญเสียรางวัลอันมีค่าซึ่งเขามี สิทธื้ใต้รับหากเขาไม่เป็นเช่นนั้น เราควรนุ่งห่มผ้ากระสอบและเล้าถ่านของใจ ที่ให้อภัยและวิญญาณที่ชอกชํ้าอยู่เสมอ โดยเต็มใจแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน ที่จริงใจอยู่เสมอ เฉกเช่นคนเก็บภาษี [ดู ลูกา 18:9–14] และขอพระเจ้าช่วยเรา ให้อภัย17
ตราบใดที่ยังเป็นมนุษย์ เราต้องมีชีวิตและทำงานกับคนที่ไม่ดีพร้อม และจะ ต้องมีความเข้าใจผิด การทำผิด และการทำร้ายความรู้สีกที่ละเอียดอ่อน บ่อย ครั้งเจตนาดีที่สุดก็ยังมีผู้เข้าใจผิด นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ไค้พบคนมากมายผ้ซึ่ง ในความยิ่งใหญ่ของจิตวิญญาณเขาแค้ไขวิธีคิดของตน ระงับความจองหองของ ตน และให้อภัยสิ่งที่เขารู้สึกว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยามเขา มีคนอีกมากที่เคย เดินตามเล้นทางวิกฤต หนทางเปลี่ยว และมีขวากหนามในความทุกขเวทนา อันน่าสังเวช และสุดห้ายก็ยอมรับการแก้ไข ยอมรับความผิดพลาด ชำระใจให้ สะอาดจากความเจ็บแค้น และมีสันติสุขอีกครั้ง สันติสุฃนี้ที่เขาอยากไค้และเห็น ไค้ขัดว่าไม่เคยมี ความห้อแห้จากการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ความเจ็บแค้น และ ความห่างเหินถูกแทนที่ค้วยความอบอุ่น ความสว่าง และสันติสุข18
เราทำไค้ มนุษย์กำราบตนเองไค้ มนุษย์เอาชนะไค้ มนุษย์ให้อภัยทุกคนที่ ล่วงเกินเขาไค้และให้อภัยต่อไปเพื่อรับ สันติสุข ในชีวิตนี้และชีวิตนิรันดรไน โลกที่จะมาถึง19
ถ้าเราจะแสวงหาสันติสุขโดยเป็นฝ่ายแก้ไขความผิดพ้องหมองใจก่อน-ถ้า เราจะให้อภัยและลืมได้หมดใจ—ถ้าเราจะชำระจิตวิญญาณตนให้สะอาดจากบาป ความเจ็บแค้น และความรู้สึกผิดก่อนจะปาก้อนหินใส่ผู้อื่นหรือกล่าวหาผู้อื่น—ถ้าเราจะให้อภัยการกระทำผิดทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริงหรือคิดไปเองก่อนจะขอ อภัยบาปของเรา-ถ้าเราจะชำระหนี้ของเรา ไม่ว่ามากหรือห้อย ก่อนจะข่มขู่เอา กับลูกหนี้ของเรา—ถ้าเราจะจัดแจงเอาไม้ทั้งท่อนออกจากตาเราก่อนจะเขี่ยผง ออกจากตาผู้อื่น โลกนี้คงน่าอภิรมย์ไน้ห้อย การหย่าร้างคงลดน้อยลงมาก ศาล คงว่างเว้นจากงานประจำอันน่าเศร้า ชีวิตครอบครัวคงเป็นสุข การสร้างอาณาจักร คงจะเจริญรุดหห้าเร็วขึ้น และสันติสุขซึ่งเกินความเข้าใจ [ดู ฟิลิปปี 4:7] จะ นำความปีติยินดีและความสุขที่ “มนุษย์คิดไม่ถึง” มาให้เราทุกคน [ดู 1 โครินธ์ 2:9]20
ขอพระเจ้าทรงอวยพรเราทุกคนเพื่อเราจะมีวิญญาณที่แท้จริงของการกลับใจ และการให้อภัยอยู่ในใจเราตลอดเวลาจนกว่าเราจะทำให้ตัวเราดีพร้อม โดยเฝ้า คอยรัศมีภาพแห่งความสูงส่งที่ยังคงรอผู้ซึ่อสัตย์ที่สุด21
ข้อเสนอเเนะสำหรับศึกษาเเละสอน
พิจารณาแนวคิดต่อไปนี้ขณะศึกษาบทเรียนหรือขณะเตรียมสอน ดู ความช่วย เหลือเพิ่มเติมได้ที่หห้า ⅴ–ⅸ
-
อ่านทวนเรื่องราวในหน้า 98–100 เหตุใดบางครั้งผู้คนจึงให้อภัยกันได้ยาก คำ ว่า “บาปที่ใหญ่หลวงกว่าคงมีอยู่ในเขา” มีความหมายต่อท่านว่าอย่างไร
-
อ่านทวนมัทธิว 6:14–15 ตามที่ประธานคิมบัลล์อ้างไว้ในหน้า 101 ท่านคิด ว่าเหตุใดเราจึงต้องให้อภัยผู้อื่นเพื่อพระเจ้าจะประทานอภัยแก่เรา
-
ทัศนคติและการกระทำอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าการให้อภัยกันของเราจริงใจและ สมบูรณ์ ( ดู หน้า 101–103) เหตุใดการให้อภัยจึงต้องเป็น “การกระทำจาก ใจ”
-
อ่านทวนหัวข้อที่เริ่มต้นในหน้า 103 คำสอนพระกิตติคุณเรื่องใดช่วยให้เรา ยอมปล่อยการตัดสินไว้กับพระเจ้า
-
ขณะที่ท่านอ่านเรื่องของมารดาสาวในหน้า 105 ให้ดูว่าตอนแรกสิ่งที่ขัดขวาง เธอจากการให้อภัยคืออะไรและในที่สุดเธอให้อภัยได้เพราะอะไร เราจะเอา ชนะอุปสรรคที่ขัดขวางความปรารถนาและความพยายามของเราในการให้ อภัยผู้อื่นได้อย่างไร
-
การไม่ยอมให้อภัยมีผลอะไรบ้าง (ดู หน้า 106–107) ท่านเคยได้รับพรอะไร บ้าง เมื่อท่านให้อภัยกัน พิจารณาว่าท่านจะนำวิญญาณของการให้อภัยมาใช้ ในความสัมพันธ์ของท่านอย่างไร
ข้อพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง: มัทธิว 5:43–48; ลูกา 6:36–38; โคโลสี 3:12–15; ค.พ. 82:23