เซมินารี
2 โครินธ์ 5


2 โครินธ์ 5

“พันธกิจในเรื่องการคืนดี”

Jesus embraces the man who was born blind when the man finds him again after Jesus healed him.

ท่านเคยรู้สึกห่างไกลจากพระผู้เป็นเจ้าไหม? มีคนอื่นที่ท่านรู้จักที่เคยรู้สึกเหมือนกันไหม? เปาโลเตือนวิสุทธิชนในโครินธ์ถึงพระเมตตาที่พระเยซูคริสต์ทรงแสดงให้พวกเขาเห็น เปาโลสอนผู้คนว่าพวกเขาถูกแยกออกจากพระผู้เป็นเจ้าผ่านการทำบาป โชคดีที่พวกเขาสามารถกลับมามีสัมพันธภาพอันดีกับพระผู้เป็นเจ้าและรับความชอบธรรมของพระคริสต์ได้ ผ่านการชดใช้ของพระคริสต์ ( ดู 2 โครินธ์ 5:16–21) บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นและเป็นในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ให้ท่านเป็น

การกระตุ้นให้นักเรียนเตรียมตัวสำหรับเข้าชั้นเรียน เมื่อนักเรียนมาชั้นเรียนด้วยความพร้อม พวกเขาอัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้สอนพวกเขาและอยู่ในสถานะที่ดีกว่าเพื่อช่วยนักเรียนคนอื่นๆ

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนไตร่ตรองถึงช่วงเวลาที่ตนรู้สึกใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า และช่วงเวลาที่พวกเขารู้สึกอยู่ห่างไกลจากพระองค์ และเตรียมตัวมาเข้าชั้นเรียนเพื่อบอกเล่าประสบการณ์เหล่านี้

กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้

ความสัมพันธ์ของท่านกับพระผู้เป็นเจ้า

ทบทวนสถานการณ์สมมติต่อไปนี้ พิจารณาว่าสถานการณ์ส่วนตัวของท่านคล้ายหรือแตกต่างจากสถานการณ์สมมติเหล่านี้อย่างไร

แสดงสถานการณ์สมมติต่อไปนี้หรือเชื้อเชิญให้นักเรียนสร้างสถานการณ์สมมติของตนเองที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่เยาวชนอาจรู้สึกห่างไกลจากพระผู้เป็นเจ้า

หรือเริ่มต้นบทเรียนโดยใช้กิจกรรม “การได้รับความชอบธรรมของพระคริสต์” ในส่วน “กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม” เมื่อจบบทเรียน กิจกรรมนี้รวมถึงเรื่องราวของฌอง วัลฌองจาก Les Miserables ที่คืนดีกับพระผู้เป็นเจ้าด้วย

  1. จริญญาเป็นสานุศิษย์ที่ซื่อสัตย์ของพระเยซูคริสต์ เพื่อนหลายคนมองเธอเป็นแบบอย่างที่ดี อย่างไรก็ตาม เมื่อเธอทำผิดพลาด เธอรู้สึกแย่กับตนเองและกังวลว่าวันหนึ่งเธอจะกลับไปหาพระบิดาบนสวรรค์ได้หรือไม่

  2. อนันต์มีนิสัยบางอย่างที่เขารู้ว่าไม่ดี และเป็นเรื่องยากสำหรับเขาที่จะเห็นว่าเขาจะได้รับการให้อภัยและเปลี่ยนแปลงอย่างไร เขาสงสัยว่าเขาจะมีวันรู้สึกใกล้ชิดกับพระเจ้าได้หรือไม่ และเขาไม่แน่ใจว่ามันคุ้มค่าที่จะพยายาม เขาไม่อยากคุยกับบิดามารดาหรืออธิการเกี่ยวกับปัญหาของเขา

เชื้อเชิญให้นักเรียนใคร่ครวญถึงการเตรียมเข้าชั้นเรียนขณะพวกเขาทำกิจกรรมต่อไปนี้

ลองนึกถึงความสัมพันธ์ของท่านเองกับพระบิดาบนสวรรค์ ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ให้อธิบายถึงสถานการณ์ในชีวิตของท่านและความสัมพันธ์ของท่านกับพระองค์ ท่านอาจรวมถึงช่วงเวลาที่ท่านรู้สึกใกล้ชิดกับพระองค์ ช่วงเวลาที่ท่านรู้สึกห่างไกล รวมทั้งความต้องการของท่านที่จะมีสัมพันธภาพกับพระองค์ในอนาคต

ขณะที่ท่านศึกษา มองหาความจริงที่จะช่วยให้ท่านเข้าใจพรของการเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้าและวิธีที่ท่านจะเข้าใกล้พระองค์ได้

การคืนดี

ใน 2 โครินธ์ 5 เปาโลเขียนว่าขณะที่เราอาศัยอยู่บนแผ่นดินโลกเรา “คร่ำครวญ” และรู้สึกว่า “เป็นทุกข์หนัก” ปรารถนาที่จะกลับไปหาพระบิดาบนสวรรค์ของเรา (ดู 2 โครินธ์ 5:1–5) ลองนึกถึงช่วงเวลาในชีวิตท่านเมื่อท่านรู้สึกเหมือนกับที่เปาโลอธิบาย

อ่าน 2 โครินธ์ 5:17–20 และมองหาความจริงที่ท่านสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตท่านเมื่อท่านรู้สึกห่างไกลจากพระผู้เป็นเจ้า โปรดทราบว่าในข้อเหล่านี้ คืนดี และ การคืนดี หมายถึงการหวนคืนสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันและความเป็นที่โปรดปรานกับพระผู้เป็นเจ้า หลังจากเหินห่างจากพระองค์

แสดงคำถามต่อไปนี้เพื่อให้นักเรียนมองเห็นขณะศึกษา

  • คำและวลีใดในข้อเหล่านี้ ( 2 โครินธ์ 5:17–20) สามารถอธิบายได้ดีที่สุดว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงทำอะไรให้ท่าน?

  • บทบาทของพระบิดาบนสวรรค์ในการช่วยให้ท่านกลับไปหาพระองค์คืออะไร? (ดู 2 โครินธ์ 5:18–19)

  • พรใดที่เราจะได้รับเมื่อเรามุ่งมั่นที่จะใช้ชีวิต “อยู่ในพระคริสต์”? ( 2 โครินธ์ 5:17)

ความจริงประการหนึ่งที่สอนใน 2 โครินธ์ 5:17–20 คือ เราสามารถคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้าและกลายเป็นคนที่ถูกสร้างใหม่ผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์

เปาโลยังสอนด้วยว่าเหตุใดเราจึงสามารถเป็นคนที่ถูกสร้างใหม่และความหมายของสิ่งนี้

อ่าน 2 โครินธ์ 5:21 แล้วมองหาคำที่กล่าวถึงพระบิดาบนสวรรค์ พระเยซูคริสต์ และตัวท่าน

เชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พบ หากจำเป็นให้อธิบายว่า “พระเจ้า” ใน ข้อ 21 หมายถึงพระบิดาบนสวรรค์ ขณะที่ ”พระองค์” กล่าวถึงพระเยซูคริสต์

  • ท่านเรียนรู้อะไรจากข้อนี้?

ช่วยให้นักเรียนเข้าใจข้อนี้ ท่านอาจทบทวนย่อหน้าต่อไปนี้กับนักเรียนและคิดวิธีที่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดนี้ เตรียมพร้อมที่จะแบ่งปันแนวคิดเหล่านี้ด้วยคำพูดของท่านเอง

ใน 2 โครินธ์ 5:21 เปาโลสอนว่า ถึงแม้พระเยซูจะไม่เคยมีความผิดในการทำบาป แต่ในสวนเกทเสมนีและบนกางเขนแห่งคัลวารี พระองค์ทรงรับภาระ ความหนัก และผลที่ตามมาจากบาปของเรา เมื่อเราพยายามอย่างจริงใจที่จะได้รับการให้อภัยและกลายเป็น “คนที่ถูกสร้างใหม่” เรายอมรับข้อเสนอของพระเยซูคริสต์ว่า หากเรามีศรัทธาในพระองค์ พระองค์จะทรงรับบาปของเราไปและเราจะได้รับความชอบธรรมของพระองค์ ด้วยวิธีนี้เราจะถูกทำให้บริสุทธิ์ เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงบริสุทธิ์ (ดู โคโลสี 2:13–14 ; 1 เปโตร 2:24).

อย่าลืมช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่า กระบวนการที่จะบริสุทธิ์เหมือนพระเยซูคริสต์นั้นจำเป็นต้องใช้ความพยายามตลอดชีวิต

  • คำสอนใน 2 โครินธ์ 5:21 จะช่วยให้ท่านเข้าใจดีขึ้นได้อย่างไรว่า เหตุใดเราจึงสามารถกลายเป็นคนที่ถูกสร้างใหม่ในพระคริสต์ และความหมายที่แท้จริงของสิ่งนั้น?

  • ความคิดและความรู้สึกใดที่พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าผู้ไร้บาปทรงประสบในขณะที่พระองค์ทรงยินดีที่จะรับบาปของท่านมาสู่พระองค์เอง เพื่อให้ท่านสามารถคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้าและเปลี่ยนแปลงตน? (ท่านอาจจะอ่าน อิสยาห์ 49:16 และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:18 ก่อนตอบคำถามนี้)

ยกตัวอย่างในยุคปัจจุบันให้กับนักเรียนว่าเราจะคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร ท่านอาจแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวเช่นกัน .

. .

6:24

ไตร่ตรองว่าท่านหรือใครสักคนที่ท่านรู้จักได้รับการเยียวยาและการคืนดีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงเสนอผ่านการชดใช้ของพระองค์อย่างไร

ท่านอาจขอให้นักเรียนแบ่งปันความคิดหรือความรู้สึกของตนเอง (เตือนนักเรียนว่าอย่าแบ่งปันเรื่องส่วนตัวหรือเป็นความลับมากเกินไป) ถ้านักเรียนแบ่งปันประสบการณ์ ให้ถามคำถามติดตามผลเช่น “ประสบการณ์นี้สอนท่านเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และการชดใช้ของพระองค์อย่างไร?” หรือ “การกระทำใดที่ทำให้เขาสามารถกลับไปคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้า? เหตุใดท่านจึงคิดว่าการกระทำเหล่านั้นจะสร้างความแตกต่าง?”

การไตร่ตรองหลักธรรมของพระกิตติคุณจะช่วยให้เราเข้าใจและรู้สึกถึงความสำคัญของหลักธรรมเหล่านั้นได้ดีขึ้น อ่านคำอธิบายสถานการณ์ในชีวิตปัจจุบันของท่านและสัมพันธภาพกับพระผู้เป็นเจ้าที่ท่านได้เขียนไว้ในตอนต้นของบทเรียนซ้ำอีกครั้ง จากนั้นใช้เวลาสักครู่ไตร่ตรองคำถามต่อไปนี้:

ให้ดูแนวคิดต่อไปนี้เพื่อให้นักเรียนไตร่ตรอง ท่านอาจเสริมแนวคิดส่วนตัวหรือเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันความคิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาไตร่ตรองได้โดยพิจารณาจากสิ่งที่เรียนรู้ในบทเรียนนี้

  • การคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้าชั่วนิรันดร์อาจมีลักษณะและความรู้สึกอย่างไร?

  • ท่านจะกลายเป็นคนใหม่ผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ด้วยวิธีใดบ้าง?

  • ท่านมีประสบการณ์อะไรในชีวิตของท่านที่แสดงให้เห็นว่าพระเยซูคริสต์เต็มพระทัยที่จะช่วยท่านเปลี่ยนแปลง?

  • การไตร่ตรองเป็นประโยชน์อย่างไร?

  • ท่านเรียนรู้อะไรบ้างในบทเรียนนี้เกี่ยวกับความรู้สึกและพระประสงค์ของพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ที่ทรงมีต่อท่าน?

เรียนรู้ รู้สึก และทำ

ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน เขียนสิ่งที่ท่านเรียนรู้และรู้สึกในวันนี้ที่มีความหมายต่อท่านมากที่สุดและเพราะเหตุใด เขียนสิ่งที่ท่านรู้สึกได้รับการดลใจให้ทำซึ่งอาจช่วยให้ท่านคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้าและกลายเป็น “คนที่ถูกสร้างใหม่” ในพระคริสต์ การเปลี่ยนแปลงใดที่ท่านคาดว่าจะเกิดขึ้นกับตัวท่านเอง (ในหนึ่งปี สองปี หรือห้าปี ) ในฐานะใครสักคนที่เปลี่ยนแปลงในพระคริสต์อย่างแท้จริง?

เชิญนักเรียนที่รู้สึกสบายใจที่จะทำเช่นนั้นมาแบ่งปันความคิดและความรู้สึกของเขา ท่านอาจแบ่งปันความรู้สึกของท่านเองเช่นกัน

บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง

สิ่งนี้จะช่วยให้ฉันดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระคริสต์และกลายเป็น “คนที่ถูกสร้างใหม่” ในพระองค์ได้อย่างไร?

เอ็ลเดอร์ยูลิซีส ซวาเรสแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่า:

Elder Ulisses Soares, Quorum of the Twelve Apostles official portrait.

ศรัทธาและการเปลี่ยนใจเลื่อมใสที่เพิ่มขึ้นเช่นนั้นจะช่วยเราทำและรักษาพันธสัญญากับพระผู้เป็นเจ้า และเพิ่มความมุ่งมาดปรารถนาให้เราทำตามพระเยซูคริสต์และ สร้างการเปลี่ยนแปลงทางวิญญาณอย่างแท้จริงในตัวเรา—หรืออีกนัยหนึ่ง เปลี่ยนแปลงเราเป็นคนที่ถูกสร้างใหม่ ตามที่อัครสาวกเปาโลสอนในจดหมายของท่านถึงชาวโครินธ์ ( 2 โครินธ์ 5:17) การเปลี่ยนแปลงนี้จะนำมาซึ่งชีวิตที่มีความสุข มีคุณประโยชน์ และแข็งแรงมากขึ้นและช่วยเรารักษามุมมองนิรันดร์

(ยูลิซีส ซวาเรส “ฉันจะเข้าใจได้อย่างไร?เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 6)

2 โครินธ์ 5:17–21 ฉันจะเข้าใจสิ่งที่เปาโลสอนในข้อเหล่านี้ดีขึ้นได้อย่างไร?

คำอธิบายต่อไปนี้อาจช่วยให้ท่านเข้าใจบางคำและวลีในข้อเหล่านี้:

การเป็น “คนที่ถูกสร้างใหม่” หมายถึง “ใจ สีหน้า และธรรมชาติวิสัยของเราจะเปลี่ยนไปเหมือนพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น” (เบ็นจามิน เอ็ม. ซี. ไท, “พลังของพระคัมภีร์มอรมอนในการเปลี่ยนใจเลื่อมใส,” เลียโฮนา, พ.ค. 2020, 47)

พระคริสต์ “ไม่ทรงถือโทษในความผิดของพวกเขา” หมายความว่าเพราะสิ่งที่พระคริสต์ทรงทำเพื่อเรา เมื่อเราคืนดีกับพระผู้เป็นเจ้าก็จะไม่มีการนับบาปของเราไว้

กิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติม

2 โครินธ์ 5:14–21 การแลกเปลี่ยนบาปของเราเพื่อความชอบธรรมของพระคริสต์

หากนักเรียนต้องการความช่วยเหลือในการทำความเข้าใจคำสอนของเปาโลใน 2 โครินธ์ 5:14–21 ท่านอาจดู “พระเมษบาลผู้ประเสริฐ พระเมษโปดกของพระผู้เป็นเจ้า” (15:18) ตั้งแต่รหัสเวลา 10:30 ถึง 12:10 มีอยู่ใน ChurchofJesusChrist.org เชื้อเชิญให้นักเรียนเปรียบเทียบระหว่างเรื่องราวเหล่านี้กับ 2 โครินธ์ 5:14–21 เรื่องราวเหล่านี้สามารถช่วยให้นักเรียนเห็นว่าพระเยซูคริสต์ทรงรับเอาบาปของเรามาไว้กับพระองค์เองอย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้เรามีโอกาสได้รับความชอบธรรมของพระองค์

2:3
2:3

2 โครินธ์ 5:14–21 รับความชอบธรรมของพระคริสต์

ท่านอาจดู “การไถ่” (15:21) จากรหัสเวลา 6:48 ถึง 8:43 มีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org ซึ่งเอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองบรรยายเรื่องราวจากหนังสือ Les Miserables เชิญนักเรียนพิจารณาวิธีที่มุขนายกเบียงเวอนูผู้เคยช่วยให้ฌอง วัลฌองกลายเป็นคนดีขึ้น ว่าคล้ายกับพระผู้ช่วยให้รอดและการที่เราเป็นเหมือนกับฌอง วัลฌอง เชิญนักเรียนศึกษา 2 โครินธ์ 5:14–21 และดูว่าเรื่องราวที่เอ็ลเดอร์คริสทอฟเฟอร์สันเล่าเหมือนกับสิ่งที่เปาโลสอนเกี่ยวกับการกลายเป็นคนที่ถูกสร้างใหม่ในพระคริสต์และยอมรับความชอบธรรมของพระองค์อย่างไร

2:3

2 โครินธ์ 5:1–5 ของประทานแห่ง “(ความจริงใจของ) พระวิญญาณ”

นักเรียนอาจได้รับประโยชน์จากการสนทนาเกี่ยวกับของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ ให้นักเรียนอ่าน 2 โครินธ์ 5:1–5 .

จากนั้นนักเรียนสามารถศึกษา 2 โครินธ์ 1:19–22 ; 5:5 ; เอเฟซัส 1:13–14 ; และคำกล่าวต่อไปนี้ของประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์แห่งฝ่ายประธานสูงสุด:

Official Portrait of President Henry B. Eyring taken March 2018.

หากท่านรู้สึกถึงอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์วันนี้ ท่านอาจใช้ความรู้สึกนั้นเป็นหลักฐานยืนยันว่าการชดใช้กำลังเกิดผลในชีวิตท่าน

(เฮนรีย์ บี. อายริงก์, “Gifts of the Spirit for Hard Times,” Ensign, June 2007, 23)

เชื้อเชิญให้นักเรียนตอบคำถามต่างๆ เช่น “พระวิญญาณบริสุทธิ์มีอิทธิพลต่อความมั่นใจของท่านในการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดและคำสัญญาเกี่ยวกับชีวิตนิรันดร์อย่างไร?” และ “ประสบการณ์ปัจจุบันกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้แนวคิดแก่เราอย่างไรว่าการมีชีวิตนิรันดร์กับพระบิดาบนสวรรค์จะเป็นเช่นไร?”